25 ก.ค. 2559

การดำเนินการทางวินัยกับผู้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น


           
   1. ในการปฏิบัติราชการ หัวหน้าส่วนราชการไม่ว่าจะเป็นระดับ นายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง อธิบดี หรือผู้ว่าราชการจังหวัด หากมีภาระกิจตามอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการมากหรือหลากหลายก็สามารถมอบอำนาจ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นในส่วนราชการเดียวกันหรือส่วนราชการอื่น หรือผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติราชการแทนได้ เว้นแต่กฎหมาย กฎระเบียบหรือมติค.ร.ม.มิได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจในการสั่ง อนุญาต อนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการอื่นใดที่ผู้ดำรงตำแหน่งจะพึงปฏิบัติหรือ ดำเนินการไว้เป็นอย่างอื่น หรือมิได้ห้ามเรื่องการมอบอำนาจไว้ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา (มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม)

               2. เมื่อมีการมอบอำนาจแล้ว ผู้รับมอบอำนาจมีหน้าที่ต้องรับมอบอำนาจนั้นโดยผู้มอบอำนาจจะกำหนดให้ผู้รับ มอบอำนาจ มอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทนต่อไปก็ได้(มาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม)

               3. ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการดำเนินการทางวินัยโดยการมอบให้ผู้บังคับบัญชา ระดับต่ำไปปฏิบัติราชการแทนตามหลักเกณฑ์ที่ก.พ.กำหนดก็ได้ (มาตรา 90 วรรคสาม) โดยก.พ.กำหนดหลักเกณฑ์ประการสำคัญไว้ว่า ผู้มอบหมายอำนาจหน้าที่ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 ต้องเป็นผู้บังคับบัญชาของผู้รับมอบหมาย เว้นแต่เป็นการดำเนินการทางวินัยกับผู้ดำรงตำแหน่งในต่างประเทศ (หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่นร 1011/ว 35 ลงวันที่ 28 กันยายน 2551)

               4. ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยแก่ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวย การระดับต้นในราชการส่วนภูมิภาค จะเป็นภาระของอธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดที่จะต้องดำเนินการ ตรงนี้เป็นประเด็นสำคัญเพราะว่าผู้ว่าราชการจังหวัด และอธิบดีต่างก็เป็นผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงเหมือนกัน

               5. เรื่องนี้ได้นำเสนอ ก.พ.พิจารณาและได้ข้อยุติว่า การที่จะพิจารณาว่าผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจดำเนินการทางวินัยแก่ ข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทอำนวยการระดับต้นในสังกัดจังหวัดนั้น ให้พิจารณาว่าอธิบดีได้มอบอำนาจการดำเนินการทางวินัยให้แก่ผู้ว่าราชการ จังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินหรือไม่ ถ้าหากมีการมอบอำนาจไว้ ผู้ว่าราชการจังหวัดก็สามารถดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญ ประเภทอำนวยการระดับต้นได้ แต่ถ้าหากไม่มีการมอบอำนาจไว้ ก็ตกเป็นหน้าที่ของอธิบดี ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจดำเนินการทางวินัยตามมาตรา 90 ได้ (หนังสือสำนักงานก.พ.ที่ นร 1011/541 ลงวันที่ 20 ธันวาคม 2554)

               6. หารือมาในประเด็นเฉพาะตำแหน่งอธิบดีกับผู้ว่าราชการจังหวัดเท่านั้น คำตอบก็เลยออกมาแบบนี้ แต่โดยปกติแล้วอาจจะมีผู้ได้รับมอบหมายตามมาตรา 90 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 หรือผู้รับมอบอำนาจจากผู้ว่าราชการจังหวัดตามมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ประกอบพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ.2550 มาตรา 22 และมาตรา 23 เป็นผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยได้ด้วยครับ


               ที่มา  http://www.naewna.com/politic/39193

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...