14 ก.ค. 2559

ต้อง ! รับผิด ... เมื่อขับรถเกินมาตรฐาน “บนทางด่วน”


             
  ปัจจุบันแม้ว่าทุกภาคส่วนจะรณรงค์ให้มีการขับขี่รถอย่างปลอดภัย แต่ข่าวสารเกี่ยวกับอุบัติเหตุบนท้องถนนก็มักจะได้ยินอยู่เสมอ ซึ่งในการใช้รถใช้ถนนให้ปลอดภัยนั้น นอกจากผู้ขับจะต้องดูแลสภาพรถให้พร้อมใช้งานแล้ว ยังจะต้องเคารพกฎจราจรอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจรหรือการใช้ความเร็วในการขับขี่ เป็นต้น เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ย่อมเกิดอุบัติเหตุทำให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินได้  

                ดังเช่นคดีปกครองที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นกรณีของผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นพนักงานขับรถยนต์ของผู้ถูกฟ้องคดี (สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร) โดยขณะขับรถยนต์รับรองของผู้ถูกฟ้องคดี อยู่บนทางด่วนพิเศษขั้นที่ 2 (ปากเกร็ด - บางปะอิน) เพื่อพานาย ว. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาประชุมรัฐสภา รถคันดังกล่าวได้ประสบอุบัติเหตุทำให้นาย ว. และผู้ติดตามถึงแก่ความตาย และรถได้รับความเสียหาย

                เมื่อรถเกิดความเสียหาย ผู้ถูกฟ้องคดีจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด  ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีเห็นว่า การกระทำของผู้ฟ้องคดีไม่เป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจึงไม่ต้องรับผิด    แต่กระทรวงการคลังเห็นว่า  พฤติการณ์เป็นการขับรถด้วยความเร็วสูงมากกว่าความเร็วทั่วไปจึงเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ระหว่างนั้นทายาทของนาย ว.ได้ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่ง ซึ่งปรากฏผลคดีเป็นที่สุดว่าให้ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ผู้ถูกฟ้องคดีจึงแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดและรายงานกระทรวงการคลัง ต่อมา ได้มีคำสั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลังให้ผู้ฟ้องคดีชดใช้ค่าสินไหมทดแทนครึ่งหนึ่งจากร้อยละ 50 ของความเสียหายที่ศาลได้มีคำพิพากษา
                ผู้ฟ้องคดีไม่เห็นด้วยโดยโต้แย้งว่า ระหว่างที่ขับรถบนทางด่วนใช้ความเร็วคงที่ประมาณ 110 - 120  กิโลเมตรต่อชั่วโมง และไม่ได้ขับรถด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง นอกจากนี้ การมีความเห็นแตกต่างกัน  ทั้งที่เป็นข้อเท็จจริงและเหตุการณ์เดียวกัน จึงเป็นการใช้ดุลพินิจไม่ชอบ และในชั้นการพิจารณาของกระทรวงการคลังไม่เปิ ดโอกาสให้ผู้ฟ้องคดีโต้แย้งแสดงพยานหลักฐาน จึงขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว 

               ข้ออ้างของผู้ฟ้องคดีฟังขึ้นหรือไม่ ? และการขับรถบนทางด่วนด้วยความเร็ว 110 - 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายหรือไม่ เพียงใด ? โดยมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติการทางพิเศษแห่งประเทศไทย  พ.ศ. 2550 ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2522) และฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2524) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 กำหนดให้รถยนต์อื่น นอกจากรถบรรทุกฯ หรือรถยนต์สามล้อ จะต้องวิ่งบนทางด่วนด้วยความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

               ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า เมื่อผู้ฟ้ องคดีได้ขับรถด้วยความเร็ว 110 - 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง  กรณีย่อมเป็นความเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จึงทำให้เกิดอุบัติเหตุที่รุนแรงเช่นนี้ขึ้น หากผู้ฟ้ องคดีซึ่งเป็นผู้ขับรถมานานกว่า 14 ปี ย่อมต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษและใช้ความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นผู้ฟ้ องคดีจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ อุบัติเหตุก็คงไม่เกิดขึ้นหรือหากเกิดผลก็คงจะร้ายแรงน้อยกว่านี้   ดังนั้น จึงเป็นการเบี่ยงเบนไปจากมาตรฐานที่บุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์  ถือเป็นการกระทำประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง การที่ผู้ถูกฟ้องคดีมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีชดใช้เงินค่าสินไหมทดแทนครึ่งหนึ่งจากร้อยละ 50 ของความเสียหาย จึงเหมาะสมและเป็นธรรมแล้ว  

               สำหรับประเด็นการใช้ดุลพินิจของหน่วยงานทางปกครองนั้น ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยประเด็นนี้ว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดขึ้นมาพิจารณาในชั้นแรกเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงว่า มีการกระทำละเมิดและมีผู้ใดจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือไม่ จำนวนเท่าใด อันเป็นเพียงขั้นตอนดำเนินการภายในของฝ่ายปกครอง มิได้มีผลโดยตรงต่อผู้ฟ้องคดี จึงมิใช่คำสั่งทางปกครองที่จะส่งผลให้ผู้ถูกฟ้องคดีมีหน้าที่ต้องผูกพันต่อการใช้ดุลพินิจที่ผ่านมาของตนในการพิจารณาหรือกระทำการใดๆ และการรายงานความเห็นให้กระทรวงการคลังตรวจสอบอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งกระทรวงการคลังมีความเห็นให้ผู้ฟ้ องคดีรับผิดชดใช้เงินครึ่งหนึ่งของความเสียหาย ตามมาตรา 10 ประกอบมาตรา 8 แห่ง พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539  จึงมิใช่เป็นกรณีที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิเสธใช้ดุลพินิจในครั้งแรกโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร อันเป็นการเลือกปฏิบัติและเป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ และเป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด  อีกทั้งกระบวนการและขั้นตอนเพื่อพิจารณาออกคำสั่งได้เริ่มจากการพิจารณาของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดซึ่งได้เชิญผู้ฟ้ องคดีมาให้ถ้อยคำ จึงเป็นการเปิ ดโอกาสให้ผู้ฟ้ องคดีโต้แย้งตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 600/2556)
                คดีนี้เป็นอุทาหรณ์ที่ดีสำหรับผู้ใช้รถใช้ถนนโดยเฉพาะอย่างยิ่งพนักงานขับรถยนต์ของส่วนราชการต่างๆ ที่จะต้องระมัดระวังในการขับขี่รถยนต์ และขับขี่อย่างไรให้ปลอดภัย เพราะปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน  สาเหตุหนึ่งมาจากการขับรถด้วยความเร็วสูง การที่กฎหมายกำหนดอัตราความเร็วของรถไว้ก็เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนน นอกจากนี้ยังเป็ นบรรทัดฐานการปฏิบัติราชการที่ดีเกี่ยวกับกระบวนการและขั้นตอนการพิจารณาความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ว่า การที่คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดได้เปิดโอกาสให้คู่กรณีได้ชี้แจงและโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานแล้ว แม้ในขั้นตอนการพิจารณาของกระทรวงการคลังมิได้เปิดโอกาสดังกล่าวด้วย ก็ถือเป็นการดำเนินการที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ครับ !


                Cr :   นายปกครอง  หนังสือพิมพ์บ้านเมือง คอลัมน์คดีปกครอง ฉบับวันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2557

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...