6 ก.ค. 2559

เรียกรับเงินเพื่อช่วยเหลือการบรรจุเป็นข้าราชการ ... ต้องพ้นจากตำแหน่ง !


             
 พฤติกรรมในทางทุจริตเป็นลักษณะต้องห้ามที่สำคัญในเรื่องคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลอันมีผลทำให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดังกล่าวพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๖๔ วรรคหนึ่ง (๔) ประกอบกับมาตรา ๕๘/๑ (๓) แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖

               คดีปกครองที่จะนำมาเป็นอุทาหรณ์ในคอลัมน์ระเบียบกฎหมายฉบับนี้ เป็นกรณีของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลได้เรียกรับเงินเพื่อช่วยเหลือบุคคลให้ได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นพนักงานส่วนตำบล แต่ต่อมามีการร้องเรียนและหลังจากการสอบสวนนายอำเภอจึงวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่ง โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว

               คดีนี้มีประเด็นที่น่าสนใจ ๓ เรื่อง คือ 

              (๑) พฤติกรรมของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลที่เป็นสาเหตุให้ต้องพ้นจากตำแหน่ง 

              (๒) การดำเนินการตามขั้นตอนหรือวิธีการตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ. ๒๕๓๙ ก่อนออกคำสั่งทางปกครอง ซึ่งมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ กำหนดหลักเกณฑ์สำคัญเพื่อประกันความเป็นธรรมให้กับคู่กรณีในกระบวนการพิจารณาทางปกครองประการหนึ่งว่าในกรณีที่คำสั่งทางปกครองอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ต้องให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐาน ดังนั้น การวินิจฉัยให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลผู้ใดพ้นจากตำแหน่ง เพราะมีพฤติกรรมทุจริตซึ่งเป็นการพิจารณาเพื่อออกคำสั่งทางปกครองที่มีผลกระทบต่อสิทธิของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลที่เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหน้าที่สอบสวนจะต้องให้โอกาสคู่กรณีได้รับทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและโต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานตามมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ หรือไม่ ?

             และ (๓) หากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลพ้นจากตำแหน่งตามวาระก่อนที่นายอำเภอจะวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่ง จะมีผลทำให้คำสั่งให้พ้นจากตำแหน่งไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ? และนายอำเภอมีอำนาจวินิจฉัยหรือไม่ ?

              ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้มีว่า นาย ภ. ได้ร้องเรียนต่อผู้ว่าราชการจังหวัดว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบล(ผู้ฟ้องคดี) เรียกรับเงินจากนาย ภ. จำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเปิ ดกรอบตำแหน่งเจ้าหน้าที่ ระดับ ๓ และใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันของคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดขอนแก่นเพื่อบรรจุบุตรชายของนาย ภ. ที่มีชื่อสอบขึ้นบัญชีไว้ให้เป็นพนักงานส่วนตำบล แต่ปรากฏว่าบัญชีผู้สอบแข่งขันดังกล่าวครบกำหนดทำให้บุตรชายของนาย ภ.ไม่ได้รับการบรรจุแต่งตั้ง นาย ภ. จึงขอเงินคืน ผู้ฟ้ องคดีคืนเงินให้จำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท ส่วนที่เหลือ ๑๕๐,๐๐๐ บาท ผู้ฟ้ องคดีได้ทำสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันไว้ต่อมา ภายหลังการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง นายอำเภอ (ผู้ถูกฟ้องคดี)ได้วินิจฉัยให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่ง  ผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์คำวินิจฉัย แต่ผู้ถูกฟ้องคดีเห็นว่าคำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นที่สุด ผู้ฟ้องคดีนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว โดยอ้างว่าตนเองไม่ได้รับเงินดังกล่าว และผู้ถูกฟ้องคดีไม่ได้ให้โอกาสได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและโต้แย้งแสดงพยานหลักฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกัน อีกทั้งคำสั่งให้ผู้ฟ้ องคดีพ้นจากตำแหน่งยังมีขึ้นภายหลังที่ผู้ฟ้องคดีได้พ้นจากตำแหน่งตามวาระไปแล้ว

           ประเด็นแรกที่ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยก็คือ กระบวนการพิจารณาก่อนออกคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งได้มีการให้โอกาสผู้ฟ้องคดีได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานหรือไม่ ?

            ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า การที่คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงได้แจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อร้องเรียนให้ผู้ฟ้ องคดีทราบ อีกทั้งให้ผู้ฟ้ องคดีตอบคำถามและแจ้งการให้ถ้อยคำเพิ่มเติมแล้ว กรณีจึงถือว่าผู้ถูกฟ้องคดีได้ดำเนินการตามขั้นตอนและหลักเกณฑ์ในการออกคำสั่งและเปิดโอกาสให้ผู้ฟ้ องคดีได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและโต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตนแล้ว และแม้จะไม่มีการแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันให้ผู้ฟ้ องคดีทราบ แต่พยานหลักฐานสำคัญที่ยืนยันถึงการจ่ายเงิน คือ การให้ถ้อยคำเกี่ยวกับการส่งมอบเงินของนาย ภ. และนาย ท. ซึ่งนาย ภ. ได้ทำการส่งมอบซองบรรจุเงินในห้องทำงานของผู้ฟ้ องคดี โดยมีนาย ท. เป็นผู้รับและส่งต่อให้แก่ผู้ฟ้ องคดี แม้ผู้ฟ้ องคดีจะให้ถ้อยคำปฏิเสธว่านาย ท. ไม่ได้ส่งมอบเงินให้แก่ตนเองก็ตาม  แต่เมื่อปรากฏว่าในวันเดียวกันนั้นผู้ฟ้ องคดีได้ทำหนังสือขอใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันของคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดขอนแก่นเพื่อบรรจุบุตรชายของนาย ภ. เป็ นพนักงานส่วนตำบล ทั้งที่ในขณะนั้นมีผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวอยู่แล้ว ประกอบกับสัญญากู้ยืมเงินและหนังสือค้ำประกันไม่ใช่หลักฐานที่ชี้ความผิดของผู้ฟ้องคดีซึ่งเมื่อพิจารณาร่วมกับพยานหลักฐานอื่นๆ ก็ทำให้ข้อร้องเรียนมีน้ำหนักเพียงพอรับฟังได้ ดังนั้น การไม่ได้แจ้งให้ทราบถึงสัญญาดังกล่าวจึงยังถือไม่ได้ว่าไม่เปิดโอกาสให้ผู้ฟ้องคดีได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและโต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานแต่อย่างใด  

            ส่วนพฤติกรรมของผู้ฟ้องคดีเป็นการกระทำในทางทุจริตที่มีลักษณะต้องห้ามและเป็นเหตุให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลต้องพ้นจากตำแหน่งหรือไม่ ? นั้น ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า เมื่อนาย ภ. และนาย ท.ให้ถ้อยคำเกี่ยวกับการรับเงินของผู้ฟ้ องคดี และผู้ฟ้ องคดียอมรับความมีอยู่จริงของสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันซึ่ง สอดคล้องกับที่นาย ภ. ให้ถ้อยคำว่าผู้ฟ้ องคดีได้นำเงินจำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท มาคืนให้ภายหลัง ส่วนที่เหลือ๑๕๐,๐๐๐ บาท ผู้ฟ้องคดีได้ทำสัญญากู้ยืมเงินอีกฉบับ  อีกทั้ง ประจักษ์พยานให้ถ้อยคำสอดคล้องต้องกันถึงการจ่ายเงินย่อมเพียงพอที่จะวินิจฉัยว่าผู้ฟ้ องคดีมีพฤติกรรมทุจริต พฤติการณ์ของผู้ฟ้ องคดีจึงเชื่อได้ว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ในการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น อันเป็นพฤติกรรมในทางทุจริตที่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๕๘/๑ (๓) ซึ่งเป็นเหตุให้พ้นจากตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลตามมาตรา ๖๔ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖

            สำหรับประเด็นว่าหากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลพ้นจากตำแหน่งตามวาระก่อนที่นายอำเภอจะวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่ง จะมีผลทำให้คำสั่งให้พ้นจากตำแหน่งไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ? และนายอำเภอมีอำนาจวินิจฉัยหรือไม่ ? นั้น 

              ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยประเด็นนี้ว่า การที่ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากครบวาระการดำรงตำแหน่งก่อนที่จะมีคำวินิจฉัย ไม่มีผลทำให้เป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด เมื่อเหตุที่จะต้องมีการสอบสวนและวินิจฉัยการพ้นจากตำแหน่งเกิดขึ้นในขณะที่ผู้ฟ้ องคดียังดำรงตำแหน่งอยู่ แม้ต่อมาผู้ฟ้องคดีจะพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว ผู้ถูกฟ้ องคดียังคงมีอำนาจหน้าที่สอบสวนและวินิจฉัยตามมาตรา ๖๔ ประกอบมาตรา ๕๘/๑ (๓)แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖การที่ผู้ถูกฟ้องคดีวินิจฉัยให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเพราะเป็นผู้มีพฤติกรรมในทางทุจริตจึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบด้วยกฎหมาย (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๓๙๕/๒๕๕๖)

                  คดีนี้ไม่เพียงแต่วางบรรทัดฐานในการปฏิบัติราชการที่ดีแก่หน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวกับกระบวนการก่อนออกคำสั่งทางปกครองที่มีลักษณะที่อาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณีว่า หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐมีหน้าที่ต้องให้โอกาสคู่กรณีที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงและมีโอกาสในการโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานอย่างเพียงพอเพื่อประกันความเป็นธรรมให้แก่คู่กรณีตามมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ. ๒๕๓๙ ศาลปกครองสูงสุดยังได้วางแนวทางในการรับฟังพยานหลักฐานเพื่อนำไปสู่การใช้ดุลพินิจของผู้มีอำนาในฝ่ายปกครองว่า เจ้าหน้าที่จะต้องแสวงหาข้อเท็จจริงและรับฟังพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักรับฟังได้ว่าพฤติการณ์อันเป็นเหตุแห่งการออกคำสั่งทางปกครองมีอยู่จริงหรือไม่ โดยไม่จำเป็นต้องรับฟังพยานหลักฐานจนปราศจากความสงสัยดังเช่นการใช้อำนาจในทางอาญาที่จะต้องรับฟังพยานหลักฐานโดยปราศจากความสงสัย เพราะการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐในทางปกครองเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายปกครองมิใช่การใช้อำนาจตามกฎหมายอาญา เช่น การวินิจฉัยให้นายกองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่งเป็นการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลพ.ศ. ๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นต้น


               เครดิต  :  นางสาวฐิติพร ป่านไหม  พนักงานคดีปกครองชำนาญการ  สำนักวิจัยและวิชาการ สำนักงานศาลปกครองคอลัมน์ระเบียบกฎหมาย , วารสารกำนันผู้ใหญ่บ้าน ฉบับเดือนมกราคม ๒๕๕๗

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...