10 มี.ค. 2556

ดุลพินิจศาล...กับการลดเบี้ยปรับหลักประกันซอง

            หลักประกันซอง คือ หลักประกันที่ผู้มีสิทธิเสนอราคาได้ยื่นต่อส่วนราชการเพื่อเป็นหลักประกันใน การเสนอราคา อันเป็นเงื่อนไขและเป็นเอกสารแนบท้ายประกาศประกวดราคาเพื่อจัดหาพัสดุ ทั้งด้วยวิธีการปกติและวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งผู้มีสิทธิเสนอราคาจะต้องวางหลักประกันซอง เช่น เงินสด เช็คธนาคาร หรือหนังสือค้าประกันของธนาคาร เป็นต้น ไปพร้อมกับการยื่นซองข้อเสนอด้านเทคนิคและเมื่อผ่านข้อเสนอทางด้านเทคนิค แล้วจะต้องเข้าเสนอราคา การวางหลักประกันซองจึงเป็นกระบวนการ ที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อนาไปสู่การทาสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง โดยมีเงื่อนไขว่า หากผู้เข้าประกวดราคาถอนการเสนองานหรือไม่ไปเสนอราคากับทางราชการภายในกาหนด ทางราชการจะยึดหลักประกันซอง อันเป็นมาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการสมยอมกันในการเสนอราคาหรือกระทาการใดๆ ที่เป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมกรณีการประกวดราคา ซื้อหรือจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หากผู้มีสิทธิเสนอราคาไม่ส่งผู้ แทนมาลงทะเบียนเพื่อเข้าสู่กระบวนการเสนอราคาตามวัน เวลา และสถานที่ที่กาหนด หรือ ผู้มีสิทธิเสนอราคามาลงทะเบียนแล้ว ไม่ LOG IN เข้าสู่ระบบ หรือผู้มีสิทธิเสนอราคา LOG IN แล้ว แต่ไม่มีการเสนอราคาหรือเสนอราคาผิดเงื่อนไขที่กาหนด หรือผู้มีสิทธิเสนอราคาไม่ลงลายมือชื่อในแบบยืนยันราคาสุดท้าย หน่วยงานผู้ประกวดราคาสามารถยึด (ริบ) หลักประกันซองของผู้มีสิทธิเสนอราคาได้ เว้นแต่เป็นเหตุสุดวิสัยตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๘ ซึ่งผู้มีสิทธิเสนอราคาสามารถยกขึ้นกล่าวอ้างเพื่อไม่ให้หน่วยงานที่จะจัดหา พัสดุยึดหลักประกันซอง

                   คดีที่จะนามาเล่าสู่กันฟังฉบับนี้เป็นกรณีที่ผู้แทนของผู้ฟ้องคดีไม่สามารถ เดินทางไปลงทะเบียนได้ทันตามวัน เวลา และสถานที่ตามที่กาหนดไว้เนื่องจากเกิดอุบัติเหตุ แต่หน่วยงานผู้ประกวดราคาได้ยึดหลักประกันซอง จึงนาคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองเนื่องจากเห็นว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเป็น “เหตุสุดวิสัย” โดยมีข้อเท็จจริงว่า ผู้ถูกฟ้องคดี (กรมชลประทาน) ได้ประกวดราคาจ้างโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์งานจ้างก่อสร้างกิจกรรมขุดลอก ลาห้วย ๒ โครงการ ผู้ฟ้องคดีได้รับการคัดเลือกให้ผ่านคุณสมบัติเบื้องต้นเป็นผู้มีสิทธิเสนอ ราคางานก่อสร้างตามประกาศประกวดราคาดังกล่าว พร้อมทั้งได้วางหลักประกันซองเป็นหนังสือ ค้าประกันของธนาคารกรุงไทย รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๕๗๔,๑๐๐ บาท ซึ่งประกาศดังกล่าวได้กาหนดให้มีการลงทะเบียนเสนอราคาในวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๔๙ ระหว่างเวลา ๘.๓๐ ถึง ๙.๐๐ น. ณ สานักงานบริการโทรคมนาคม จังหวัดสกลนคร และในวันเดียวกันนั้น นางสาว บ. ซึ่งเป็นผู้เข้าทาการเสนอราคาแทนผู้ฟ้องคดีได้เดินทางโดยรถยนต์ส่วนบุคคลโดย มีนาย ช. เป็นพนักงานขับรถ แต่ก่อนที่จะไปถึงจุดหมายรถได้เกิดอุบัติเหตุทาให้เดินทางไปถึงสถานที่ลง ทะเบียนเมื่อเวลา ๙.๑๕ น. คณะกรรมการดาเนินการประกวดราคา จึงได้ประกาศให้ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้หมดสิทธิในการเสนอราคาและยึดหลักประกันซอง ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าการไปลงทะเบียนไม่ทันเกิดจากเหตุสุดวิสัย และไม่ทาให้การประกวดราคาดังกล่าวเกิดความเสียหาย จึงขอให้ศาลออกคาบังคับให้ผู้ถูกฟ้องคดีคืนหลักประกันซองทั้งหมดให้แก่ผู้ ฟ้องคดี


          อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหรือไม่ และศาลปกครองมีดุลพินิจในการ ลดเบี้ยปรับได้ตามมาตรา ๓๘๓ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือไม่ เพียงใด


            ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ข้อ ๒.๑ ของหนังสือแสดงเงื่อนไขการซื้อและการจ้าง โดยการประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ในส่วนที่เกี่ยวกับการใช้ สิทธิยึดหลักประกันซองกาหนดให้ผู้ถูกฟ้องคดีสามารถยึดหลักประกันซองได้ หากผู้ฟ้องคดีหรือผู้แทนของผู้ฟ้องคดีไม่มาเสนอราคา ณ วัน เวลา และสถานที่ที่กาหนด เมื่อนางสาว บ. เดินทางไปถึงสถานที่ลงทะเบียนในเวลา ๙.๑๕ น. อันเป็นการล่วงพ้นเวลาที่กาหนดให้ลงทะเบียน จึงเป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีผิดเงื่อนไขตามสัญญาหลักประกันซอง และกรณีนี้เมื่อนางสาว บ. ได้ออกเดินทางจากบ้านในเวลา ๓.๐๐ น. โดยในระหว่างการเดินทางมีฝนตกและได้ประสบอุบัติเหตุรถยนต์เมื่อเวลา ๖.๒๐ น. จึงต้องหยุดการเดินทางชั่วคราวเพื่อจัดการคดีและเฝ้าทรัพย์สินจนกระทั่งเจ้า หน้าที่ตารวจเดินทางมาถึงเมื่อเวลา ๗.๕๐ น. แต่หลังจากเสร็จภารกิจด้านคดีแล้ว ได้ว่าจ้างรถยนต์ออกจากสถานที่เกิดเหตุเพื่อเดินทางต่อไปยังสถานที่เสนอราคา โดยเดินทางไปถึงในเวลา ๙.๑๕ น. อันแสดงให้เห็นว่าเมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วก็สามารถเดินทางต่อไปยังจุดหมาย ปลายทางเพื่อดาเนินการเสนอราคาได้โดยใช้ระยะเวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง ๒๕ นาที ดังนั้น เมื่อเกิดอุบัติเหตุเวลา ๖.๒๐ น. หากนางสาว บ. ให้ความสาคัญในเรื่องที่จะต้องไปดาเนินการลงทะเบียนเสนอราคาให้ทันภายในเวลา ที่กาหนด ย่อมมีเวลาเหลือมากพอแต่กลับรอพบเจ้าหน้าที่ตารวจและอ้างว่าต้องอยู่รักษารถ ยนต์ ทั้งๆ ที่สมควรให้นาย ช. พนักงานขับรถซึ่งเป็นคู่กรณีโดยตรงและมีหน้าที่ในการรักษารถคันดังกล่าวเป็น ผู้เฝ้าทรัพย์สินและคอยพบเจ้าหน้าที่ตารวจเพื่อจัดการคดีไปพลางก่อน นางสาว บ. ก็จะเดินทางถึงที่หมายได้ทันเวลาเพราะเหลือระยะทางเพียง ๘๐ กิโลเมตร เท่านั้น จึงเป็นการตัดสินใจที่ไม่เหมาะสมถือไม่ได้ว่ามีเหตุสุดวิสัยที่ทาให้ ไม่อาจเดินทางไปถึงจุดหมายปลายทางได้ทันเวลา ประกอบกับเมื่อพิจารณารายงานประจาวันเกี่ยวกับคดีระบุว่า อุบัติเหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่อของนาย ช. ที่ไม่ใช้ความระมัดระวัง กรณีจึงฟังได้ว่าเหตุดังกล่าวไม่ใช่เหตุสุดวิสัย แต่เป็นเหตุที่เกิดจากความประมาทเลินเล่อของคนขับรถยนต์ของผู้ฟ้องคดีเอง อย่างไรก็ตาม หลังจากเสร็จภารกิจด้านคดีแล้วได้เดินทางไปถึงจุดหมายในเวลา ๙.๑๕ น. และล่วงเลยเวลาไปเพียง ๑๕ นาที ซึ่งแสดงให้เห็นได้ว่าผู้ฟ้องคดีมีความตั้งใจที่เข้าเสนอราคาแต่ไม่สามารถไป ลงทะเบียนได้ทันเนื่องจากรถยนต์ประสบอุบัติเหตุดังกล่าว จึงไม่ใช่กรณีที่ผู้ฟ้องคดีมีความจงใจที่จะไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข เพื่อสมยอมในการเสนอราคาหรือมีลักษณะเป็นการขัดขวางมิให้การเสนอราคาเป็นไป ด้วยความเรียบร้อยและไม่ปรากฏว่าผู้ถูกฟ้องคดีได้รับความเสียหายแต่อย่าง ใด   โดยที่สัญญาหลักประกันซองเป็นข้อผูกพันที่ผู้ฟ้องคดีตกลงให้ผู้ถูกฟ้องคดี ยึดหลักประกัน ที่วางไว้ได้เมื่อไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับตามมาตรา ๓๗๙ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ถ้าเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจานวนพอสมควรก็ได้ โดยพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน เมื่อได้ใช้เงินตาม เบี้ยปรับแล้วสิทธิเรียกร้องขอลดก็เป็นอันขาดไปตามมาตรา ๓๘๓ แห่งประมวลเดียวกัน เมื่อการประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ถูกฟ้องคดีเป็นไปด้วย ความเรียบร้อยและไม่ปรากฏว่า การที่ผู้ฟ้องคดี ไปลงทะเบียนไม่ทันตามกาหนดเวลาก่อให้เกิดความเสียหายในเชิงทรัพย์สิน หรือมีผลกระทบทาให้มาตรการเพื่อป้องกันการสมยอมในการเสนอราคาตลอดจนการ ป้องกันการกระทาการใดๆ อันมีลักษณะเป็นการขัดขวางมิให้การเสนอราคาเป็นไปด้วยความเรียบร้อยไม่บรรลุ ผลแต่อย่างใด การที่ผู้ถูกฟ้องคดีใช้สิทธิ ริบหลักประกันซองทั้งหมดจึงสูงเกินส่วน สมควรลดเบี้ยปรับที่จะริบลงกึ่งหนึ่งโดยให้คืนหลักประกันซองให้แก่ผู้ฟ้อง คดีเป็นเงินจานวน ๒๘๗,๐๕๐บาท จากที่ยึดไว้จานวน ๕๗๔,๑๐๐ บาท (คำพิพำกษำ ศำลปกครองสูงสุดที่ อ. ๒๐๕/๒๕๕๕)


           จากคาพิพากษาดังกล่าวศาลปกครองสูงสุดมีหลักการสาคัญเกี่ยวกับการยึดหลัก ประกันซองกรณีผู้มีสิทธิเสนอราคาไม่เข้าเสนอราคาตามขั้นตอนการจัดซื้อจัด จ้างด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้


          ๑. การที่ผู้มีสิทธิเสนอราคาได้วางหลักประกันซองต่อหน่วยงานผู้ประกวดราคาถือ ได้ว่า ผู้มีสิทธิเสนอราคาได้แสดงเจตนาสนองรับคาเสนอของหน่วยงานผู้ประกวดราคาและ ก่อให้เกิดสัญญาประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นก่อนสัญญาจ้าง เรียกว่า สัญญาหลักประกันซอง


           ๒. กรณีที่ผู้มีสิทธิเสนอราคาไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของการประกวดราคา โดยไม่มาลงทะเบียนเข้าสู่กระบวนการเสนอราคาตามวันและเวลาที่กาหนด หน่วยงานผู้ประกวดราคามีอานาจ ยึดหลักประกันที่วางไว้ได้ และหลักประกันซองถือเป็นเบี้ยปรับตามมาตรา ๓๗๙ แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ ซึ่งศาลมีอานาจลดจานวนเบี้ยปรับได้ตามที่เห็นสมควรหากเห็นว่าเบี้ยปรับที่ ริบนั้นสูงเกินส่วน ซึ่งในการพิจารณาลดจานวนเบี้ยปรับนั้นนอกจากจะพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของ เจ้าหนี้ในเชิงทรัพย์สินแล้วยังต้องพิจารณาถึงผลกระทบต่อมาตรการที่กาหนดให้ ผู้มีสิทธิเสนอราคาต้องวางหลักประกันซองด้วย ซึ่งคดีนี้ศาลพิเคราะห์ทั้งในด้านความเสียหายของหน่วยงานผู้ประกวดราคาและใน ด้านการแสดงเจตนาของ ผู้มีสิทธิเสนอราคาประกอบกัน

๓. “เหตุสุดวิสัย” ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมายความว่า เหตุใดๆ อันจะเกิดขึ้นก็ดีจะมีผลพิบัติก็ดีเป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้ แม้ทั้งบุคคลผู้ประสบหรือใกล้จะต้องประสบเหตุนั้นจะได้จัดการระมัดระวังตาม สมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้น กรณีการเกิดอุบัติเหตุระหว่างการเดินทางไปเข้าร่วมกระบวนการเสนอราคา โดยผู้มีสิทธิเสนอราคายังมีวิธีการจัดการเพื่อให้สามารถเข้าร่วมเสนอราคาได้ ทันตามกาหนดเวลา และการเกิดอุบัติเหตุเป็นผลมาจากความประมาทเลินเล่อของฝ่ายผู้มีสิทธิเสนอ ราคาเอง ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่ผู้มีสิทธิเสนอราคาจะได้รับการยกเว้น การยึดหลักประกันซองแต่อย่างใด


ที่มา
นางสาวสุนันทา ศรีเพ็ง เจ้าหน้าที่ศาลปกครองชานาญการ
กลุ่มเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการและวารสาร
สานักวิจัยและวิชาการ สานักงานศาลปกครอง
http://www.admincourt.go.th/00_web/09_academic/document/05_case/14-22-56.pdf

เปลี่ยนแปลงวิธีการจัดหาพัสดุ เพื่อเบิกจ่ายเงินให้ทันปีงบประมาณ ... ผิดทั้งวินัยและละเมิด ?




                    การจัดหาหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งวัสดุครุภัณฑ์หรือบริการต่างๆ เพื่อประโยชน์ ในการสนับสนุนภารกิจการบริการสาธารณะของส่วนราชการ จะต้องดาเนินการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย การพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๙ หรือระเบียบเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างที่หน่วยงานของรัฐบางแห่งได้กาหนดไว้ เป็นการเฉพาะ เพื่อให้กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างเป็นไปอย่างโปร่งใสและ เป็นธรรมและให้ได้วัสดุครุภัณฑ์ที่มีมาตรฐานเกิดประโยชน์สูงสุดต่อทางราชการ

                ทั้งนี้ โดยกฎหมายหรือระเบียบแทบทุกฉบับจะกาหนดวิธีการจัดซื้อหรือจัดจ้างหลักๆ ไว้ ๖ วิธี คือ (๑) วิธีตกลงราคา (๒) วิธีสอบราคา (๓) วิธีประกวดราคา (๔) วิธีพิเศษ (๕) วิธีกรณีพิเศษ และ (๖) วิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์    ส่วนจะใช้วิธีการใดในการจัดหาขึ้นอยู่กับดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการที่จะ เลือกวิธีการในการจัดหาพัสดุภายใต้วงเงินงบประมาณที่จะใช้ในการจัดหาตามที่ กฎหมายหรือระเบียบกาหนดไว้ และภายใต้ความเหมาะสมและความจาเป็นตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น กรณีการซื้อหรือการจ้างโดยวิธีพิเศษกาหนดเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นกรณีหนึ่ง กรณีใดดังต่อไปนี้ (๑) เป็นงานจ้างซ่อมพัสดุที่จาเป็นต้องจ้างช่างผู้มีฝีมือโดยเฉพาะหรือผู้มีความ ชานาญเป็นพิเศษ (๒) เป็นงานจ้างซ่อมพัสดุที่จาเป็นต้องถอดตรวจให้ทราบความชารุดเสียหายก่อนจึงจะ ประมาณค่าซ่อมได้ (๓) เป็นงานที่ต้องกระทาโดยเร่งด่วน หากล่าช้าอาจเสียหายแก่ราชการ (๔) เป็นงานที่ต้องปกปิด เป็นความลับของทางราชการ (๕) เป็นงานที่จาเป็นต้องการจ้างเพิ่มในสถานการณ์ที่จาเป็น หรือเร่งด่วน หรือเพื่อประโยชน์ของส่วนราชการ และจาเป็นต้องจ้างเพิ่ม (๖) เป็นงานที่ได้ดาเนินการจ้างโดยวิธีการอื่นแล้วไม่ได้ผลดี


                    นอกจากนี้ ในการดาเนินการจัดหาพัสดุ หากต้องอาศัยเงินงบประมาณแผ่นดิน ตามมาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒ กาหนดว่า การขอเบิกจ่ายเงินจากคลังตามงบประมาณรายจ่ายประจาปีงบประมาณใด ให้กระทำได้แต่เฉพาะภายในปีงบประมาณนั้น เว้นแต่ (๑) เป็นงบประมาณรายจ่ายข้ามปี หรือ (๒) เป็นงบประมาณรายจ่ายที่ได้ก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณ หรือได้รับอนุมัติให้เบิกเหลื่อมปีและได้มีการกันเงินไว้ตามระเบียบ หรือข้อบังคับเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินจากคลัง ดังนั้น ส่วนราชการจึงต้องมีการวางแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณที่ได้รับอนุมัติให้ เสร็จสิ้นในปีงบประมาณนั้นๆ แต่หากส่วนราชการเห็นว่า ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ทันก่อนสิ้นปีงบประมาณ พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒ และระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้ผ่อนผันการเบิกจ่ายเงินไว้โดยส่วนราชการสามารถดาเนินการได้สองวิธี

               วิธีที่หนึ่ง ถ้าส่วนราชการได้ก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณ เห็นว่าการเบิกจ่ายเงินไปชาระหนี้ผูกพันไม่ทันสิ้นปีก็ขอกันเงินไว้เบิก เหลื่อมปีได้
               วิธีที่สอง กรณีที่ไม่ได้ก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณแต่มีความจาเป็นจะต้องใช้ เงินต่อไปอีก ส่วนราชการก็สามารถขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีได้

                ในทางปฏิบัติคงปฏิเสธไม่ได้ว่า  มีส่วนราชการหลายแห่งไม่ได้มีการวางแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณอย่างมี ประสิทธิภาพ ทาให้มีการเปลี่ยนแปลงการใช้จ่ายเงินงบประมาณอย่างกะทันหันในช่วงปลายปีงบ ประมาณหรือนาเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรในปีนั้นๆ ไปใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ในด้านอื่นๆ เพื่อให้มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่ได้รับอนุมัติอย่างครบถ้วน


                คดีที่นำมาเป็นอุทาหรณ์ฉบับนี้ จึงน่าจะเป็นบรรทัดฐานที่ดีสาหรับส่วนราชการต่างๆ ที่จะมีการวางแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจาปีอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้เป็นหัวหน้าส่วนราชการที่มีอานาจดาเนินการจัดหาพัสดุให้ใช้อานาจด้วยความ ระมัดระวัง  เพราะผลของการใช้อานาจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย  ไม่เพียงแต่หมดอานาจเท่านั้น ยังต้องชดใช้ค่าเสียหายให้กับส่วนราชการอีกด้วย ข้อเท็จจริงในคดีนี้ก็คือ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ (สานักงานเขตพื้นที่การศึกษา) ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ประจาปี ๒๕๔๑ (เพิ่มเติม) และได้มีการอนุมัติให้ดาเนินการจัดจ้างก่อสร้างและต่อเติม อาคารเรียนโรงเรียนในสังกัด ในช่วงเดือนกันยายนของปีงบประมาณ นาย อ. ผู้ช่วยผู้อานวยการ การประถมศึกษาจังหวัดรักษาราชการแทนผู้อานวยการการประถมศึกษาจังหวัดในขณะ นั้น จึงได้ออกประกาศประกวดราคาจ้างก่อสร้างอาคารเรียนและมีคาสั่งลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๔๑ แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา และวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๑ คณะกรรมการดังกล่าว ได้เสนอความเห็นต่อผู้อานวยการการประถมศึกษาจังหวัด (ผู้ฟ้องคดี) ว่าเห็นควรยกเลิกการประกวดราคาเนื่องจากผู้เสนอราคาทุกรายทาผิดเงื่อนไขและ ควรดาเนินการจ้างโดยวิธีพิเศษ


                    ผู้ฟ้องคดีจึงมีคาสั่งยกเลิกการประกวด ราคาและจัดให้มีการจ้างโดยวิธีการพิเศษ โดยดาเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ การคัดเลือกผู้เสนอราคาและการอนุมัติจ้างแล้วเสร็จภายในวันเดียว คือ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๑   ต่อมามีผู้ร้องเรียนในความไม่โปร่งใสในการจัดจ้าง   ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ (สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) จึงได้สอบสวนทางวินัย ขณะเดียวกันผู้ว่าราชการจังหวัดก็มีคาสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จ จริงความรับผิดทางละเมิด  ผลการสอบสวนทางวินัย ผู้ฟ้องคดีถูกลงโทษไล่ออกจากราชการ ผลการสอบสวนความรับผิดทางละเมิด เห็นว่าผู้ฟ้องคดีต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทางราชการอันเนื่อง มาจากกรณีการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษในราคาที่สูงกว่าราคาที่ผู้เสนอราคาต่าสุด เสนอในการประกวดราคาที่ถูกยกเลิก  ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีคาสั่งตามความเห็นของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ (กระทรวงการคลัง) ว่าผู้ฟ้องคดีปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงโดยไม่ ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการและขาดการกากับติดตามการปฏิบัติงานของผู้ใต้ บังคับบัญชาอย่างใกล้ชิด เป็นเหตุให้ทางราชการเสียหายให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นจานวนกึ่งหนึ่งของ ค่าเสียหาย ผู้ฟ้องคดีไม่เห็นด้วยจึงอุทธรณ์คาสั่ง แต่ผลการพิจารณาอุทธรณ์ให้ยืนตามคาสั่งเดิม   ผู้ฟ้องคดีจึงนาคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองขอเพิกถอนคาสั่งให้ผู้ฟ้องคดีชดใช้ค่า เสียหาย โดยอ้างว่า การสั่งให้ยกเลิกการประกวดราคาและอนุมัติให้จ้างโดยวิธีพิเศษ เป็นการสั่งตามความเห็น ของคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องถึง ๙ คน การมีคาสั่งให้ผู้ฟ้องคดีรับผิดชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดจึงไม่ถูกต้อง ประกอบกับเป็นงานที่ดาเนินการโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลดี  และต้องดาเนินการโดยเร่งด่วน หากล่าช้าจะเสียหายแก่ทางราชการ เพราะต้องดาเนินการให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๑ อันเป็นวันสิ้นปีงบประมาณ หากงบประมาณในการจ้างตกไปอาจถูกดาเนินการทางวินัย และผู้ฟ้องคดีมีอานาจตามข้อ ๒๔ (๓) และ (๖) ประกอบกับข้อ ๕๒ ของระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ จึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบด้วยกฎหมาย  ข้อกล่าวอ้างของผู้ฟ้องคดีฟังขึ้นหรือไม่ ?

ศาลปกครองสูงสุดมีคาพิพากษาในประเด็นต่างๆ ดังนี้

          ประเด็นแรก การก่อสร้างอาคารเรียนซึ่งผู้ฟ้องคดีอ้างว่าจะต้องดาเนินการให้เสร็จสิ้นภาย ในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๑ ถือเป็นงานที่ต้องกระทาโดยเร่งด่วน หากล่าช้าอาจเสียหาย แก่ราชการ และการอ้างว่าผู้เสนอราคากระทาผิดเงื่อนไข ถือเป็นงานที่ได้ดาเนินการจ้างโดยวิธีการอื่นแล้วไม่ได้ผลดีหรือไม่ ? ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า การที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ (เพิ่มเติม) เมื่อใกล้สิ้นปีงบประมาณ เป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีคาดหมายได้ว่าอาจใช้เงินงบประมาณดังกล่าวไม่ทันภายใน ปีงบประมาณนั้น และชอบที่จะให้กระทรวงเจ้าสังกัดขอทาความตกลงเพื่อขอกันเงินงบประมาณไว้เบิก เหลื่อมปีตามข้อ ๖๓ วรรคสอง ของระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง พ.ศ. ๒๕๒๐ ซึ่งหากได้มีการขอกันเงินดังกล่าวแล้ว แม้การประกวดราคาครั้งแรกจะถูกยกเลิกไปก็ยังสามารถจัดให้มีการประกวดราคา ครั้งต่อไปได้ โดยไม่จาต้องมีการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษแต่อย่างใด การที่ผู้ฟ้องคดีจัดให้มีการจ้างโดยวิธีพิเศษโดยอ้างว่า เป็นกรณีที่ได้ดาเนินการจ้างโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลดีตามข้อ ๒๔ (๖) และข้อ ๕๒ ของระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ จึงไม่อาจรับฟังได้ และการจัดจ้าง เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนก็ไม่มีลักษณะหรือความจาเป็นที่จะต้องดาเนินการจ้าง โดยวิธีพิเศษตามข้อ ๒๔ (๑) ถึง (๕) ของระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕


            ประเด็นที่สอง การที่ผู้ฟ้องคดียกเลิกการประกวดราคาและจัดให้มีการจ้างโดยวิธีพิเศษ เป็นการกระทาโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ ? ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า เมื่อการจัดจ้างก่อสร้างและต่อเติมอาคารเรียนโรงเรียนไม่มีลักษณะหรือความจา เป็นต้องดาเนินการ โดยวิธีพิเศษตามข้อ ๒๔ ของระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ ทั้งยังไม่ปรากฏด้วยว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ หรือกระทรวงเจ้าสังกัดได้เร่งรัดให้ดาเนินการโดยเร่งด่วนหรือหากไม่สามารถดา เนินการได้จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงแต่อย่างใด ตรงกันข้ามการดาเนินการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษเป็นเหตุให้ได้ราคาค่าก่อสร้าง สูงกว่าราคาที่ผู้เสนอราคารายต่าสุดเสนอในการประกวดราคาที่ยกเลิกไปแล้วเป็น เงินจานวน ๗๒๙,๘๕๐.๕๙ บาท อันถือเป็นความเสียหายที่เกิดแก่ทางราชการ   ดังนั้น การที่ผู้ฟ้องคดีมีคาสั่งให้ยกเลิกการประกวดราคาและอนุมัติให้จัดจ้างโดย วิธีพิเศษจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจน เป็นเหตุให้ทางราชการได้รับ ความเสียหาย จึงต้องรับผิดในผลแห่งการกระทาละเมิดตามมาตรา ๑๐ ประกอบกับมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙


              ประเด็นที่สาม ผู้ฟ้องคดีต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการยกเลิกการประกวดราคาและจัดจ้าง โดยวิธีพิเศษ เพียงใด ? ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า มาตรา ๘ วรรคสอง และวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่ไม่จำต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเต็มจานวน โดยให้คานึงถึงระดับความร้ายแรงแห่งการกระทาและความเป็นธรรม เป็นเกณฑ์ และในกรณีที่การกระทาละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคน ให้เจ้าหน้าที่แต่ละคนรับผิด เฉพาะส่วนของตน และไม่ให้นำหลักลูกหนี้ร่วมมาใช้บังคับ  ดังนั้น เมื่อผู้ฟ้องคดีมีอานาจหน้าที่โดยตรงในการยกเลิกการประกวดราคาและดาเนินการ ประกวดราคา ตามข้อ ๕๒ ของระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และถึงแม้จะเป็นการสั่งการตามความเห็นของคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา แต่ผู้ฟ้องคดี ในฐานะหัวหน้าส่วนราชการ มีหน้าที่ต้องพิจารณาความเห็นดังกล่าวก่อนการสั่งการทุกครั้ง ผู้ฟ้องคดี จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในความเสียหายที่เกิดจากการสั่งให้ยกเลิก การประกวดราคาและ จัดให้มีการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษในราคาที่สูงขึ้นโดยใช่เหตุ เป็นเงินจานวน ๗๒๙,๘๕๐.๕๙ บาท การที่ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคาสั่งตามความเห็นของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ให้ผู้ฟ้องคดีรับผิดเป็นจานวนกึ่งหนึ่ง ของค่าเสียหายทั้งหมด เป็นเงิน ๓๖๔,๙๒๕.๒๙ บาท โดยอีกกึ่งหนึ่งเป็นความรับผิดของนาย อ. ในฐานะประธานคณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา จึงเป็นสัดส่วนที่เหมาะสมกับความผิดตามมาตรา ๘ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ แล้ว โดยผู้ถูกฟ้องคดีชอบที่จะนาราคาของผู้เสนอราคารายต่าสุดจากการประกวดราคามา เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาค่าเสียหายได้ เนื่องจากเหตุที่มีการสั่งยกเลิกการประกวดราคาเพราะผู้เสนอราคาทุกรายทาผิด เงื่อนไขตามประกาศประกวดราคา มิได้มีปัญหาจากราคาจ้างที่ผู้เสนอราคาเสนอ จึงเป็นราคาที่เชื่อว่าผู้เสนอราคาสามารถ จะดาเนินการได้จริงหากไม่ได้ถูกยกเลิก  คาสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีชาระค่าเสียหาย จึงชอบด้วยกฎหมาย


                อย่างไรก็ตาม นอกจากประเด็นสาคัญทั้งสามประการตามที่กล่าวแล้ว ผู้ฟ้องคดียังได้โต้แย้งเกี่ยวกับกระบวนการในการออกคาสั่งว่าไม่ชอบด้วย กฎหมายอีกสองประเด็น คือ ประเด็นเรื่องสิทธิในการชี้แจงหรือโต้แย้งในชั้นของคณะกรรมการสอบข้อเท็จ จริงความรับผิดทางละเมิด และประเด็นเรื่อง ผู้มีอานาจในการออกคาสั่งให้ผู้ฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหายตามระเบียบสานักนายก รัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ข้อ ๑๔ ข้อ ๑๕ และข้อ ๑๘ ซึ่งทั้งสองประเด็นศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า กระบวนการออกคาสั่งชอบด้วยกฎหมายแล้ว ผู้อ่าน ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดได้จากคาพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๒๑๘ /๒๕๕๔


            คำพิพากษานี้จึงนับเป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติราชการที่ดีสาหรับหน่วยงานของ รัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาพัสดุของส่วนราชการ โดยเฉพาะหัวหน้าส่วนราชการที่มีอานาจอนุมัติให้ดาเนินการต่างๆ ตามระเบียบว่าด้วยการพัสดุที่จะต้องใช้อานาจดุลพินิจ อย่างระมัดระวังและถูกต้อง ตั้งแต่การเลือกวิธีการจัดหาพัสดุมาใช้ในราชการ ซึ่งมิใช่จะเลือกใช้ได้ ตามอาเภอใจ หรือการยกเลิกกระบวนการจัดหาที่ได้ดาเนินการไปแล้ว หรือการอนุมัติเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดหา ซึ่งผู้มีอานาจมีหน้าที่ความรับผิดชอบที่จะต้องตรวจสอบพินิจพิเคราะห์หลัก เกณฑ์หรือเงื่อนไข ปรับกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นด้วยความละเอียดรอบคอบและโปร่งใส นอกจากนั้น ในการใช้จ่ายเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรแต่ละปีจาเป็นอย่างยิ่งที่จะ ต้องวางแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณที่ได้รับด้วยความระมัดระวังภายใต้กฎหมาย และระเบียบ ตลอดจนวิธีปฏิบัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณของแผ่นดินเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทางราชการ เพราะหากมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่ ทางราชการ นอกจากเจ้าหน้าที่ผู้มีอานาจหน้าที่จะต้องรับผิดในทางวินัยแล้ว ยังต้องรับผิดในความเสียหาย ที่เกิดขึ้นอีกด้วย


ที่มา
นางสาวฐิติพร ป่านไหม พนักงานคดีปกครองชานาญการ
กลุ่มเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการและวารสาร
สานักวิจัยและวิชาการ สานักงานศาลปกครอง
จดหมายข่าว คอลัมน์พลิกแฟ้มคดีปกครอง


วันลาไม่มี หน้าที่ก็โดดเด่น ... เหตุไฉน ! ไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนพิเศษ


                    ในช่วงสิ้นปีงบประมาณ เรื่องสาคัญประการหนึ่งของข้าราชการทุกหน่วยงานเห็นจะหนีไม่พ้นการรอคาสั่ง เลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการแต่ละคน และผลพวงของการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนก็เห็นจะหนีไม่พ้น การวิพากษ์วิจารณ์การใช้อานาจของผู้บังคับบัญชาว่าไม่เหมาะสมบ้าง เลือกปฏิบัติบ้าง ไม่เป็นธรรมบ้าง และท้ายที่สุด หากไม่สามารถชี้แจงแสดงเหตุผลให้เป็นที่พอใจได้ก็คงหนีไม่พ้นการเป็นเรื่อง เป็นราวถึงโรงถึงศาล

                         ดังเช่น คดีปกครองที่จะนามาเล่าสู่กันฟังในวันนี้ ซึ่งเป็นเรื่องของข้าราชการครู (ผู้ฟ้องคดี) ที่เห็นว่า ผู้อานวยการโรงเรียน (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1) พิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนโดยมีอคติ เนื่องจากตนได้ปฏิบัติหน้าที่ไปด้วยความอุตสาหะ ไม่หยุด ไม่ลา และมีผลงานอันเป็นที่ประจักษ์ชัดได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นครูภูมิปัญญาไทย และเป็นผู้ประสานงานโครงการของโรงเรียนซึ่งควรได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือน กรณีพิเศษ แต่กลับได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน 0.5 ขั้น เท่ากับผู้ที่มีวันลา จึงนาคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองขอให้ยกเลิกคาสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน 0.5 ขั้น


                            ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 โต้แย้งว่าได้ประเมินผลการปฏิบัติงานให้ผู้ฟ้องคดีได้ 185 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 92.5 ซึ่งแม้คะแนนของผู้ฟ้องคดีจะอยู่ในเกณฑ์ดีเด่น แต่การพิจารณาในภาพรวมต้องอยู่ในวงเงินและโควตาร้อยละของจานวนข้าราชการที่ มีตัวอยู่จริงตามเกณฑ์ที่ทางราชการกาหนดด้วย กรณีของผู้ฟ้องคดีและข้าราชการครูที่ได้คะแนนประเมิน 185 คะแนน จึงพิจารณาให้เลื่อนขั้นคนละ 0.5 ขั้น จากนั้นได้เสนอผลการพิจารณาต่อคณะกรรมการกลั่นกรองระดับเขตพื้นที่การศึกษา พิจารณา ซึ่งต่อมาผู้อานวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2) ในฐานะผู้มีอานาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน ได้พิจารณาแล้วเห็นชอบตามที่เสนอจึงมีคาสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนผู้ฟ้องคดี 0.5 ขั้น


                          คดีนี้มีหลักกฎหมายที่สาคัญคือ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2523 ซึ่งกาหนดให้นากฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนมาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน พ.ศ. 2544 ข้อ 9 กาหนดว่า ในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการ ผู้ประเมินต้องนาผลการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานในรอบ ประเมินมาเป็นหลักในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน ส่วนข้อมูลการลาเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาร่วมกับพฤติกรรมการมาทางาน การรักษาวินัย การปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ และข้อควรพิจารณาอื่นๆ ของข้าราชการผู้นั้นประกอบด้วย


                           ข้อกล่าวอ้างของผู้ฟ้องคดีที่ว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการประเมินทั้งที่ผู้ฟ้องคดีไม่มีวันลาและมีผล การปฏิบัติงานในรอบการประเมินที่โดดเด่น ควรจะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนกรณีพิเศษ เป็นข้ออ้างที่รับฟังได้หรือไม่ และการมีคาสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้ฟ้องคดีจานวน 0.5 ขั้น เป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ?


                        ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า การที่ผู้ฟ้องคดีไม่มีวันลาก็ไม่ได้หมายความว่า ต้องได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนกรณีพิเศษ เนื่องจากข้อมูลการลาเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งที่ใช้พิจารณาร่วมกับข้อควร พิจารณาอื่นๆ เท่านั้น และเมื่อพิจารณาจากคะแนนในแต่ละหัวข้อแล้วไม่ปรากฏว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีอคติ เกณฑ์การให้คะแนนก็ไม่ได้แตกต่างกันกับข้าราชการครูในสถานศึกษาเดียวกัน และแม้ผลงานของผู้ฟ้องคดีอาจได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน 1 ขั้น แต่มีข้อจากัดเกี่ยวกับวงเงินที่ใช้เลื่อน จึงเป็นการประเมินที่เหมาะสมและไม่ปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับความเป็นธรรม ประกอบกับวัตถุประสงค์ของการเลื่อนขั้นเงินเดือนก็เพื่อประโยชน์ตอบแทนให้ แก่ข้าราชการที่ได้ประพฤติตนและปฏิบัติงานให้เป็นที่ประจักษ์ตามเงื่อนไขและ เวลาที่กาหนด


                ดังนั้น การพิจารณาจึงต้องพิจารณาจากความประพฤติและผลการปฏิบัติงานในรอบการประเมิน นั้น  นอกจากนี้ ผลงานที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างก็เป็นผลงานที่ได้รับการพิจารณาจากผู้บังคับ บัญชาไปแล้ว และแม้ผู้ฟ้องคดีได้ใช้ความรู้ความสามารถในการประสานงานโครงการของโรงเรียน แต่ผลสาเร็จของการดาเนินงานตามโครงการดังกล่าวนั้นย่อมต้องเกิดจากความร่วม แรงร่วมใจจากบุคลากรในสถานศึกษาทุกฝ่าย และไม่ปรากฏข้อมูลเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ผู้ฟ้องคดีได้ใช้ความรู้ความสามารถเป็นพิเศษอย่างไร และมีผลงานโดนเด่นเหนือกว่าข้าราชการคนอื่น อันสมควรจะได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนกรณีพิเศษแต่อย่างใด  การมีคาสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ผู้ฟ้องคดี 0.5 ขั้น จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายแล้ว (คาพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 243/2555)


                 คดีนี้เป็นบรรทัดฐานการปฏิบัติราชการที่ดีสาหรับข้าราชการในฐานะผู้บังคับ บัญชาว่า การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน หากได้ดาเนินการไปตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนที่กฎหมายกาหนด และใช้ดุลพินิจอย่างรอบคอบ เหมาะสม และปราศจากอคติ นอกจากจะเป็นธรรมกับข้าราชการด้วยกันแล้ว ยังทาให้การบริหารราชการแผ่นดินเกิดทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล ส่วนข้าราชการในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชาที่ไม่เห็นด้วยกับผลการประเมินของผู้ บังคับบัญชานอกจากจะต้องพิจารณาถึงผลงานที่เกิดขึ้นจริงในรอบการประเมินผล งานนั้นแล้ว ยังต้องพิจารณาด้วยว่าผลงานมีความโดดเด่นเหนือกว่าข้าราชการคนอื่นหรือไม่ ไม่ใช่เพียงแค่ไม่เจ็บ ไม่ป่วย ไม่ลา เท่านั้นครับ !



นายปกครอง, หนังสือพิมพ์บ้านเมือง คอลัมน์คดีปกครอง ฉบับวันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2555

ตรวจรับการจ้างตามรายงานของผู้ควบคุมงาน ... ไม่ละเอียด ! ต้องรับผิดในความเสียหาย



              คณะกรรมการตรวจการจ้างงานก่อสร้างมีอานาจหน้าที่ทาการตรวจสอบรายงานการ ปฏิบัติงาน ของผู้รับจ้าง และเหตุการณ์แวดล้อมที่ผู้ควบคุมงานรายงาน โดยตรวจสอบกับแบบรูปรายการละเอียด และข้อกาหนด ในสัญญาทุกสัปดาห์ รวมทั้งรับทราบหรือพิจารณาการสั่งหยุดงานหรือพักงานของผู้ควบคุมงานแล้ว รายงานประธานกรรมการบริหาร เพื่อพิจารณาสั่งการ และหากกรณีมีข้อสงสัยหรือมีกรณีที่เห็นว่าตามหลักวิชาการต่างๆ ไม่น่าจะเป็นไปได้ ให้ออกตรวจงานในสถานที่กาหนดไว้ในสัญญาหรือที่ตกลงให้ทางานจ้างนั้นๆ โดยให้มีอานาจ สั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติม หรือตัดทอนงานได้ตามที่เห็นสมควรและตามหลักวิชาการช่าง เพื่อให้เป็นไปตาม แบบรูปรายการละเอียดและข้อกาหนดในสัญญา ทั้งนี้ ตามข้อ ๔๘ (๑) และ (๒) ของระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วย การพัสดุขององค์การบริหารส่วนตาบล พ.ศ. ๒๕๓๘

                คดีที่จะนามาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้แม้จะเป็นคดีพิพาทอันเกิดจากการปฏิบัติ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุขององค์การบริหารส่วนตาบล พ.ศ. ๒๕๓๘ แต่ก็สามารถนาข้อเท็จจริงในคดี มาปรับใช้กับระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยเฉพาะในเรื่องของคณะกรรมการตรวจการจ้างปฏิบัติหน้าที่โดยขาดความระมัด ระวัง ไม่ได้ออกไปตรวจงานจ้างในขณะที่ผู้รับจ้างกาลังปฏิบัติงานตามสัญญาเพราะ เชื่อตามรายงานการปฏิบัติงานของผู้ควบคุมงานเนื่องจากในรายงานไม่มีประเด็น หรือข้อสงสัยที่จะเป็นเหตุให้ต้องออกไป ตรวจงานจ้างก่อนลงชื่อตรวจรับงานและทาให้ทางราชการเสียหาย ซึ่งข้ออ้างดังกล่าวจะทาให้พ้นความรับผิดได้หรือไม่ มีข้อเท็จจริงในคดีนี้คือ


                   ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ผู้ฟ้องคดีได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการตรวจการจ้างโครงการบุกเบิกปรับถมดิน ที่ทาการของผู้ถูกฟ้องคดี (องค์การบริหารส่วนตาบล) ได้ตรวจรับงานจ้างของผู้ว่าจ้างเมื่อเห็นว่าถูกต้องครบถ้วน ตามสัญญา โดยไม่ออกตรวจงานจ้างจริง อาศัยเพียงข้อรายงานของนาย อ. นายช่างโยธาซึ่งทาหน้าที่ผู้ควบคุมงาน และเป็นพนักงานใหม่อยู่ระหว่างทดลองงาน แต่หลังจากที่ผู้ถูกฟ้องคดีเบิกจ่ายเงินค่าจ้างให้ผู้รับจ้าง จึงทราบว่าปริมาณดิน ที่นามาถมในโครงการขาดหาย ไม่ครบถ้วนตามสัญญาที่กาหนดให้ผู้รับจ้างถมดินหนาเฉลี่ย ๑.๔๐ เมตร ปริมาณดิน ๑๑,๒๐๐ ลูกบาศก์เมตร ผลการตรวจสอบของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดและสานักงาน โยธาธิการจังหวัดพบว่าปริมาณดินที่ผู้รับจ้างขนย้ายไปปรับถมพื้นที่ไม่ครบ ถ้วนตามสัญญา ทาให้ผู้ถูกฟ้องคดีต้องสูญเงิน จานวน ๑๒๙,๑๖๔ บาท ต่อมา ผู้ถูกฟ้องคดีได้มีคาสั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลังให้ผู้ฟ้องคดีชดใช้ ค่าเสียหาย โดยเห็นว่าผู้ฟ้องคดีกระทาโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เนื่องจากผู้ฟ้องคดีมีหน้าที่จะต้องตรวจสอบความถูกต้องของผู้รับจ้าง และใบรายงานการปฏิบัติงานของผู้ควบคุมงานด้วยความละเอียดถี่ถ้วนเพื่อให้ เป็นไปตามสัญญา มิใช่เพียงแต่ตรวจใบรายงานและเชื่อถือรายงานของผู้ควบคุมงานโดยมิได้พิจารณา ตรวจสอบความถูกต้อง อันเป็นการกระทาละเมิดต่อผู้ถูกฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าสาเหตุที่ไม่ออกตรวจสถานที่เป็นเพราะเมื่อพิจารณารายงาน การปฏิบัติงาน ของผู้ควบคุมงานแล้วเห็นว่างานจ้างแล้วเสร็จถูกต้องครบถ้วนตามสัญญา ไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ ว่า การถมดินไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นไปตามหลักวิชาช่างที่ดีหรือไม่ ทั้งสภาพพื้นดินเป็นป่า มีความสูงต่าไม่เท่ากัน ดินไม่ได้ขาดหาย และตนไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ ไม่อาจยืนยันว่าปริมาณดินที่ถมถูกต้องหรือไม่ จึงขอให้ศาลปกครองมีคาพิพากษาเพิกถอนคาสั่งให้ชดใช้เงินดังกล่าว


                ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า เมื่อข้อเท็จจริงเป็นที่รับกันว่าในขณะผู้รับจ้างกาลังปฏิบัติงาน ตามสัญญา ผู้ฟ้องคดีไม่ได้ออกไปตรวจงานจ้างเพราะได้พิจารณารายงานการปฏิบัติงานของผู้ ควบคุมงานแล้วเห็นว่า ไม่มีประเด็นข้อสงสัยตามข้อ ๔๘ (๒) ของระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุขององค์การบริหารส่วนตาบล พ.ศ. ๒๕๓๘ แต่จากรายงานการปฏิบัติงานของผู้ควบคุมงานไม่มีการจดบันทึกเพื่อรายงานการ ปฏิบัติงานว่าในวันที่ ผู้รับจ้างเข้าดาเนินการตามสัญญาจ้างมีรถบรรทุกขนดินเข้ามาจานวนกี่คัน แต่ละคันบรรทุกดินจานวนกี่ลูกบาศก์เมตร เพราะการจดบันทึกและรายงานผลการปฏิบัติงานอย่างละเอียดย่อมทาให้รับทราบผล การปฏิบัติงานในแต่ละวันได้ว่าขณะนี้ได้ถมดินไปแล้วกี่ลูกบาศก์เมตร อันจะเป็นพยานหลักฐานอ้างอิงเพื่อทาการตรวจสอบจานวนดินในเบื้องต้นได้ว่า  การดาเนินงานของผู้รับจ้างตามสัญญาจ้างคืบหน้าและเป็นไปตามข้อกาหนดในสัญญา หรือไม่ ซึ่งหากผู้ฟ้องคดีใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบรายงานการปฏิบัติงานของผู้ ควบคุมงานก็จะเห็นข้อสงสัยในการรายงานการปฏิบัติงานและออกไปตรวจงานจ้าง เพื่อดูว่าการดาเนินงานเป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกาหนดในสัญญาหรือ ไม่ ทั้งข้อเท็จจริงจากการตรวจสอบของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทาง ละเมิดและสานักงานโยธาธิการจังหวัดซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านก็เป็นหลัก ฐานยืนยันได้ชัดเจนว่าจานวนดินที่ถมไม่ครบตามสัญญาถือได้ว่าผู้รับจ้างไม่ ได้ปฏิบัติตามสัญญา การตรวจรับการจ้างของคณะกรรมการตรวจการจ้างจึงไม่เป็นไปตามระเบียบดังกล่าว เนื่องจากเป็นการตรวจรับการจ้างที่ไม่ถูกต้องครบถ้วนตามที่กาหนดไว้ในสัญญา และหากผู้ฟ้องคดีเห็นว่า ไม่สามารถยืนยันปริมาณดินที่ถมถูกต้องตามสัญญา โดยหน้าที่แล้วก็ควรที่จะดาเนินการแจ้งให้ผู้เชี่ยวชาญเข้าตรวจสอบในการตรวจ รับงานจ้างร่วมได้ เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่รัฐ แต่ผู้ฟ้องคดีมิได้ดาเนินการแต่อย่างใด   พฤติการณ์ของผู้ฟ้องคดี จึงเป็นการกระทาที่ขาดความระมัดระวังและขาดการตรวจสอบที่ถูกต้องตามวิสัยและ พฤติการณ์ของบุคคลซึ่งปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการตรวจการจ้างที่จะต้องใช้ความ ระมัดระวังเช่นว่านั้นได้แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ จึงเป็นการกระทาโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทาให้ผู้ถูกฟ้องคดีได้รับความ เสียหาย  จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ถูกฟ้องคดีตามมาตรา ๔๒๐ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และมาตรา ๑๐ ประกอบมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙

และ เมื่อกรมบัญชีกลางเห็นว่า การคานวณจานวนที่ดินที่ขาดหายไปของสานักงานโยธาธิการจังหวัดโดยวัดขนาดของ พื้นที่และวัดความสูงต่าของดินเดิมกับดินถมโดยใช้กล้องระดับ อาจมีความคลาดเคลื่อนเนื่องจากดินมีการบดอัดไม่เท่ากัน  โดยคิดเป็นเงินสูงถึง ๒๑๒,๑๕๖ บาท อาจไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่ จึงให้คณะกรรมการตรวจการจ้างรับผิดร้อยละ ๖๐  ของความเสียหายตามที่คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดตรวจสอบ ความเสียหาย (๑๒๙,๑๖๔ บาท)   โดยให้แต่ละคนรับผิดเป็นส่วนละเท่าๆ กัน อันเป็นการกาหนดค่าสินไหมทดแทนโดยคานึงถึงระดับความร้ายแรงแห่งการกระทาและ ความเป็นธรรมแล้ว ดังนั้น การที่ผู้ถูกฟ้องคดีได้มีคาสั่งแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินคน ละ ๒๕,๘๓๒.๘๐ บาท จึงชอบด้วยกฎหมาย (คำพิพำกษำศำลปกครองสูงสุดที่ อ. ๕๘๓-๕๘๔/๒๕๕๔)

                คดีนี้เป็นบรรทัดฐานการปฏิบัติราชการที่ดีให้กับหน่วยงานของรัฐและเจ้า หน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะผู้ที่ทาหน้าที่เป็นกรรมการตรวจการจ้าง ซึ่งการที่กฎหมายกาหนดให้มีคณะกรรมการตรวจการจ้างก็โดยมีเจตนารมณ์ที่จะให้ การตรวจรับผลงานที่ผู้รับจ้างส่งมอบว่าถูกต้องสมบูรณ์ครบถ้วนตามแบบ รูปรายการละเอียดและข้อกาหนดในสัญญาอันเป็นประโยชน์ต่อราชการหรือไม่ คณะกรรมการตรวจรับงานจึงมีหน้าที่ตรวจสอบรายงานการปฏิบัติงานของผู้ควบคุม งานด้วยความละเอียดถี่ถ้วนและใช้ความระมัดระวังรอบคอบในการตรวจสอบรายงานการ ปฏิบัติงานของผู้ควบคุมงานและตรวจสอบงานจ้างให้เป็นไปตามแบบรูปรายการ ละเอียดและข้อกาหนดในสัญญา ดังนั้น คณะกรรมการตรวจการจ้างจึงไม่เพียงแต่ตรวจรายงานผลการปฏิบัติงานของผู้ควบคุม งานด้วยความละเอียดถี่ถ้วนเท่านั้น หากเห็นว่ารายงานมีข้อบกพร่องหรือมีข้อสงสัยจะต้องออกไปตรวจงานจ้างเพื่อดู ว่าการดาเนินงานของผู้รับจ้างเป็นไปตามรายละเอียดของสัญญาหรือข้อกาหนดใน สัญญาหรือไม่ นอกจากนี้ หากเห็นว่าไม่มีความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบงาน ได้อย่างครบถ้วน ก็ควรจะดาเนินการเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ เข้ามาตรวจสอบ เพราะการที่ราชการได้รับความเสียหาย  อันเนื่องมาจากการไม่ใช้ความระมัดระวังและไม่ตรวจสอบงานจ้างด้วยความละเอียด รอบคอบตามวิสัยและพฤติการณ์การทาหน้าที่เป็นกรรมการตรวจการจ้าง ย่อมเป็นการกระทาโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงที่กรรมการตรวจการจ้าง จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของ เจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙


ที่มา  นางสาวเบญญาภา ไชยคามี พนักงานคดีปกครองชานาญการ  กลุ่มเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการและวารสาร  สานักวิจัยและวิชาการ สานักงานศาลปกครอง http://www.admincourt.go.th/00_web/09_academic/document/05_case/23-31-56.pdf

6 มี.ค. 2556

เมื่อนายก ! หมดความไว้วางใจ ... จะสั่งให้รองนายก ! พ้นจากตาแหน่งทันทีได้หรือไม่ ?

    
                   ในการพิจารณาทางปกครองเพื่อจะออกคาสั่งทางปกครองที่มีผลกระทบกระเทือนต่อ สิทธิของคู่กรณี พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้กาหนดขั้นตอนและวิธีการสาคัญหลายประการที่ฝ่ายปกครองจะต้องถือปฏิบัติต่อ สิทธิของคู่กรณี ทั้งในขั้นตอนก่อนออกคาสั่งทางปกครอง เช่น การให้คู่กรณีมีโอกาสได้ทราบข้อเท็จจริง โต้แย้งหรือแสดงหลักฐานเพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิของตน (มาตรา ๓๐) ในขั้นตอนการออกคาสั่งทางปกครอง เช่น การให้เหตุผลของการออกคาสั่งทางปกครองโดยเฉพาะคาสั่งทางปกครองที่ทาเป็น หนังสือ ทั้งเหตุผลที่เป็นข้อเท็จจริง เหตุผลของการนาบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาใช้บังคับ และเหตุผลที่เป็นข้อพิจารณาหรือข้อสนับสนุนของการใช้อานาจ (มาตรา ๓๗) และการแจ้งสิทธิในการอุทธรณ์คาสั่ง (มาตรา ๔๐) หรือขั้นตอนภายหลังที่มีการออกคาสั่งทางปกครองไปแล้ว เช่น การให้สิทธิคู่กรณีที่จะได้รับการพิจารณาทบทวนคาสั่งทางปกครองจาก ผู้มีอานาจโดยไม่ชักช้า (มาตรา ๔๔) ซึ่งขั้นตอนและวิธีการสาคัญดังกล่าวจะมีผลทาให้คาสั่งทางปกครองที่ออกไปนั้น ชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายได้

                          แต่เนื่องจากในทางปฏิบัติฝ่ายปกครองอาจมีการใช้อานาจออกคาสั่งหลายเรื่อง ทั้งที่มีลักษณะเป็นคาสั่งทั่วไปหรือที่มีลักษณะเป็น “คาสั่งทางปกครอง” ขึ้นอยู่กับสภาพข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในแต่ละกรณี และถึงแม้จะมีลักษณะเป็นคาสั่งทางปกครองที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิของคู่ กรณี แต่ตามมาตรา ๓๐ วรรคสอง (๑) – (๖) และมาตรา ๓๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ก็ได้บัญญัติยกเว้นไม่ให้นาขั้นตอนและวิธีการสาคัญดังกล่าวมาใช้บังคับใน กระบวนการพิจารณาทางปกครอง ทาให้ในบางครั้งอาจเกิดปัญหาในทางปฏิบัติว่าคาสั่งใดมีสภาพเป็นคาสั่งทาง ปกครองที่ฝ่ายปกครองผู้ออกคาสั่งจะต้องนาขั้นตอนและวิธีการสาคัญดังกล่าวมา ใช้ในกระบวนการออกคาสั่งทางปกครองหรือเป็นคาสั่งทางปกครองที่เข้าข้อยกเว้น ไม่ต้องนาขั้นตอนและวิธีการสาคัญดังกล่าวมาใช้บังคับ


                        คดีปกครองที่จะนามาเล่าสู่กันฟังในคอลัมน์ระเบียบกฎหมายฉบับนี้ เป็นเรื่องของฝ่ายปกครอง ออกคาสั่งที่มีลักษณะเป็นคาสั่งทางปกครองและไม่ได้ปฏิบัติต่อสิทธิของคู่ กรณีตามขั้นตอนและวิธีการอันเป็นสาระสาคัญดังกล่าวข้างต้น คู่กรณีจึงนาคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองขอให้เพิกถอนคาสั่งโดยอ้างว่าการออกคา สั่งทางปกครองกระทาไม่ถูกต้องตามขั้นตอนและวิธีการอันเป็นสาระสาคัญ จึงเป็นคาสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย


                     คดีนี้มีความน่าสนใจก็ตรงที่ ศาลปกครองสูงสุดท่านวินิจฉัยว่า เป็นคาสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายไม่อยู่ในบังคับของมาตรา ๓๐ และมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ โดยไม่ได้ยกเหตุผลว่า  เป็นคาสั่งทางปกครองที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๓๐ วรรคสอง (๑) – (๖) และมาตรา ๓๗ วรรคสอง


                       ถ้าเช่นนั้น ศาลปกครองสูงสุดยกเหตุผลใด ? มาวินิจฉัย


                        ข้อเท็จจริง คือ ผู้ฟ้องคดีได้รับการแต่งตั้งให้ดารงตาแหน่งรองนายกองค์การบริหารส่วนตาบล คนที่ ๒ ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ (นายกองค์การบริหารส่วนตาบล) ได้มีคาสั่งลงวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๔๙ ให้ผู้ฟ้องคดี พ้นจากตาแหน่ง เนื่องจากเห็นว่าผู้ฟ้องคดีไม่ปฏิบัติตามนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น โดยการประพฤติตัวไม่เหมาะสมกับการเป็นคณะผู้บริหารท้องถิ่น มีความขัดแย้งกับคาสั่งของผู้บริหารท้องถิ่นทาให้การบริหารงานไม่เป็นไป ตามนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น และสร้างความแตกแยกให้กับคณะผู้บริหารท้องถิ่น โดยการนาข้อมูลข่าวสารไปเผยแพร่ให้บุคคลอื่นทราบโดยไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติ ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐


                       ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคาสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงได้อุทธรณ์คาสั่งและผู้ ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ยืนยันตามคาสั่งเดิม ผู้ฟ้องคดีจึงนาคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองโดยอ้างว่าไม่ได้ให้โอกาสผู้ฟ้องคดี ได้ทราบข้อเท็จจริงและมีโอกาสโต้แย้ง ไม่มีการสอบสวนก่อนออกคาสั่ง และไม่ได้ให้เหตุผลประกอบการออกคาสั่งที่ชัดเจนเพียงพอ การออกคาสั่ง เป็นการกระทาละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี จึงขอให้ศาลปกครองมีคาพิพากษาหรือคาสั่งเพิกถอนคาสั่งให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตา แหน่งและให้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจานวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท

ข้อกฎหมายสาคัญ คือ พระราชบัญญัติสภาตาบลและองค์การบริหารส่วนตาบล พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๕๘/๓ กาหนดว่า “นายกองค์การบริหารส่วนตาบลอาจแต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนตาบล ซึ่งมิใช่สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตาบลเป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการ ขององค์การบริหารส่วนตาบลตามที่นายกองค์การบริหารส่วนตาบลมอบหมายได้ไม่เกิน สองคน และอาจแต่งตั้งเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตาบล คนหนึ่งซึ่งมิได้เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตาบลหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้” มาตรา ๕๙ กาหนดว่า “นายกองค์การบริหารส่วนตาบลมีอานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ ... (๓) แต่งตั้งและถอดถอนรองนายกองค์การบริหารส่วนตาบลและเลขานุการนายกองค์การ บริหารส่วนตาบล” และมาตรา ๖๔/๑ วรรคหนึ่ง กาหนดว่า “รองนายกองค์การบริหารส่วนตาบลพ้นจากตาแหน่งเมื่อ ... (๒) นายกองค์การบริหารส่วนตาบลมีคาสั่งให้พ้นจากตาแหน่ง”

คดีนี้มีประเด็นสาคัญ ๒ ประเด็น คือ

                          ประเด็นแรก คาสั่งให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตาแหน่งรองนายกองค์การบริหารส่วนตาบลคนที่ ๒ เป็นคาสั่งทางปกครองหรือไม่ ?


                           ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า คาสั่งให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตาแหน่งรองนายกองค์การบริหารส่วนตาบล มีลักษณะเป็นการใช้อานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลกระทบต่อสถานภาพของ สิทธิหรือหน้าที่ของผู้ฟ้องคดี จึงเป็นคาสั่งทางปกครองตามนัยมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙


                         ประเด็นต่อมา เมื่อเป็นคาสั่งทางปกครองแล้ว เหตุใด ? จึงไม่ตกอยู่ในบังคับตามมาตรา ๓๐ และมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙


                         ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ตามพระราชบัญญัติสภาตาบลและองค์การบริหารส่วนตาบล พ.ศ. ๒๕๓๗ นายกองค์การบริหารส่วนตาบลมีดุลพินิจที่จะแต่งตั้งบุคคลซึ่งมิใช่สมาชิกสภา องค์การบริหารส่วนตาบลที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๕๘/๑ และที่ตนไว้วางใจเป็นรองนายกองค์การบริหารส่วนตาบลเพื่อให้เป็น ผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตาบลและถอดถอนหรือสั่ง ให้รองนายกองค์การบริหาร ส่วนตาบลพ้นจากตาแหน่งเมื่อตนหมดความไว้วางใจ และถึงแม้จะเป็นคาสั่งทางปกครองและเป็นคาสั่งทางปกครองที่ทาเป็นหนังสือซึ่ง โดยหลักต้องตกอยู่ในบังคับของมาตรา ๓๐ และมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ โดยการให้ผู้ฟ้องคดีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงและโต้แย้งแสดงพยานหลัก ฐานของตน รวมทั้งต้องจัดให้มีเหตุผลซึ่งประกอบด้วยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสาคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิงและข้อพิจารณา และข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจไว้ในคาสั่งหรือเอกสารแนบท้ายคาสั่งดังกล่าว แต่เนื่องจากการใช้ดุลพินิจมีคาสั่งถอดถอนรองนายกองค์การบริหารส่วนตาบลหรือ ให้รองนายกองค์การบริหารส่วนตาบลผู้ใดพ้นจากตาแหน่ง เนื่องจากหมดความไว้วางใจในตัวรองนายกองค์การบริหารส่วนตาบลผู้นั้น ไม่ถือว่าเป็นการลงโทษ ทั้งการกระทาหรือพฤติการณ์ที่เป็นเหตุให้นายกองค์การบริหารส่วนตาบลเสื่อม หรือหมดความไว้วางใจก็ไม่จาเป็นต้องเป็นการกระทาหรือพฤติการณ์ในเรื่องใด เรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่องโดยเฉพาะเจาะจง แต่อาจเป็นการกระทาหรือพฤติการณ์โดยรวม โดยเหตุผลของเรื่องการออกคาสั่งให้รองนายกองค์การบริหารส่วนตาบลพ้นจากตาแห น่ง จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของมาตรา ๓๐ และมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙


                     ดังนั้น การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ออกคาสั่งทางปกครองโดยมิได้ดาเนินการตามมาตรา ๓๐ และมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการกระทาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากไม่เป็นไปตาม รูปแบบ ขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสาคัญที่กาหนดไว้สาหรับการกระทาดังกล่าว ประกอบกับเป็นกรณีที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ หมดความไว้วางใจผู้ฟ้องคดีแล้วโดยสิ้นเชิง จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่สุจริตหรือเป็นการใช้ดุลพินิจ โดยมิชอบแต่อย่างใด และเมื่อมิใช่การกระทาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการกระทาละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี

พิพากษายกฟ้อง (คาพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๒๙๖/๒๕๕๕)

                     คดีนี้ถือเป็นอุทาหรณ์ที่ดีสาหรับผู้บริหารในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะ ต้องปฏิบัติหน้าที่ ให้เป็นไปตามนโยบายและสนองนโยบายของคณะผู้บริหารท้องถิ่น ไม่สร้างความแตกแยกหรือก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานเพื่อ ประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น เพราะการที่นายกองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เลือกรองนายกองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเข้าไปเป็นทีมงานก็เพื่อให้ช่วยกันใน การปฏิบัติงานตามนโยบายที่ให้คามั่นไว้กับประชาชนบรรลุผลสาเร็จ หากทีมงานมีข้อขัดแย้งกันหรือมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมอย่างหนึ่งอย่างใด จนหมดความไว้วางใจกันเสียแล้ว ไม่เพียงแต่ทาให้งานราชการเสียหายเท่านั้น ประชาชนที่เป็นผู้มีสิทธิมีเสียงในการเลือกตั้ง ก็อาจหมดความไว้วางใจให้ทาหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนรวมได้ง่ายๆ เมื่อเป็นเช่นนั้นกฎหมายจึงให้อานาจนายกองค์การบริหารส่วนตาบลใช้อานาจถอด ถอนหรือสั่งให้พ้นจากตาแหน่งได้ทันที โดยไม่ต้องให้โอกาสโต้แย้ง แสดงพยานหลักฐานหรือชี้แจงเหตุผลให้ทราบตามขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสา คัญที่พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ กาหนดไว้



เครดิต   :  
นางสาววชิราภรณ์ คงกัลป์ พนักงานคดีปกครองปฏิบัติการ
กลุ่มเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการและวารสาร
สานักวิจัยและวิชาการ สานักงานศาลปกครอง
(วารสารกานันผู้ใหญ่บ้าน คอลัมน์ระเบียบกฎหมาย ฉบับเดือนธันวาคม ๒๕๕๕)

11 ม.ค. 2556

การมีส่วนได้เสียในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ความหมาย
ในบันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การเป็นผู้มีส่วนได้เสียของสมาชิกสภาเทศบาลในสัญญาที่เทศบาลเป็นคู่สัญญา (กรณีเทศบาลตำบลวังสะพุง) คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๑) ได้อธิบายความมุ่งหมายของมาตรา ๑๘ ทวิ  แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล ฯ ไว้ว่า การพิจารณาความมุ่งหมายของมาตรานี้ นอกจากจะพิจารณาว่าในการปฏิบัติตามสัญญานั้นสมาชิกผู้นั้นได้รับประโยชน์โดยตรงหรือไม่แล้ว ยังต้องพิจารณาว่าสมาชิกผู้นั้นมีความสัมพันธ์กับคู่สัญญา ในลักษณะที่จะส่งผลดีหรือผลเสียต่อตนในทางอ้อม อันจะได้ชื่อว่ามีส่วนได้เสียในทางอ้อมหรือไม่ ซึ่งความสัมพันธ์ที่มีอยู่อาจจะเป็น ดังนี้ (๑) ความสัมพันธ์ในเชิงบริหาร โดยเป็นผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ตัวแทน ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจในการดำเนินงานในกิจการของบุคคลธรรมดาหรือของนิติบุคคลที่มีการกระทำกับเทศบาล  (๒) ความสัมพันธ์ในเชิงทุน โดยเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วน ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือผู้ถือหุ้นในบริษัทจำกัดซึ่งสามารถครอบงำการจัดการบริษัทได้ หรือ (๓) ความสัมพันธ์ในระหว่างบุคคล ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูต่อกัน เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา หรือความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดากับบุตร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

แนววินิจฉัย

๒.๑ ความสัมพันธ์ในระหว่างบุคคล
สามี - เทศมนตรีเป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เป็นหุ้นส่วนห้างฯ ซึ่งทำสัญญาซื้อขายน้ำมันเชื้อเพลิงกับเทศบาล ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียกับห้างฯ โดยทางคู่สมรส
บุตรสาว นายกเทศมนตรีเป็นบุตรสาวของหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดของห้างฯ ซึ่งในฐานะที่เป็นบุตรย่อมมีหน้าที่ตาม ป.ป.พ. มาตรา ๑๕๖๓ (๔) ที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาทั้งยังมีสิทธิเป็นทายาทโดยชอบตามกฎหมายตามมาตรา ๑๖๒๙(๑)(๕)  ดังนั้น การที่นายกเทศมนตรีได้มอบอำนาจให้นาย ฉ. เทศมนตรี เข้าทำสัญญาซื้อขายน้ำมันเชื้อเพลิงกับห้างฯ จึงเป็นการกระทำอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา ๑๘ ทวิ เพราะเป็นผู้มีส่วนได้เสียทางอ้อมเนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างบิดาและบุตร
(เรื่องเสร็จที่ ๕๙๖/๒๕๔๔ บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญาซื้อขายน้ำมันเชื้อเพลิงกับเทศบาลตำบลแจ้ห่ม)

๒.๒ การเป็นผู้ถือหุ้น สมาชิกสภาเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด
นาย อ. (สมาชิกสภาเทศบาล) ปรากฏจากหนังสือรับรองการจดทะเบียนห้างฯ ว่าเป็นผู้ถือหุ้นของห้างฯ และถึงแม้ว่าเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดก็ตาม แต่การมีส่วนได้ส่วนเสียก็มิได้ต่างจากหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด เพราะตาม ป.ป.พ. มาตรา ๑๐๘๔ (๒) และมาตรา ๑๐๘๐ (๓) นั้น หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดก็ยังได้ผลประโยชน์จากผลกำไรซึ่งห้างหุ้นส่วนทำมาค้าอยู่ได้ เว้นแต่ห้างหุ้นส่วนยังขาดทุนอยู่  จึงเป็นสมาชิกที่มีส่วนได้เสียกับห้างฯ
(เรื่องเสร็จที่ ๕๙๖/๒๕๔๔ บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญาซื้อขายน้ำมันเชื้อเพลิงกับเทศบาลตำบลแจ้ห่ม)

๒.๓ ไม่มีสถานีบริการน้ำมันใกล้เคียง
ข้อเท็จจริงที่ว่าในบริเวณรัศมี ๑๐ กิโลเมตร มีสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงของห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. เพียงแห่งเดียว และการซื้อน้ำมันนี้ได้กระทำมาตั้งแต่เทศบาลยังเป็นสุขาภิบาลอยู่ ซึ่งจังหวัดมีความเห็นว่าบุคคลทั้งสองมิได้มีเจตนาต้องการผลประโยชน์จาก เทศบาลตำบลแจ้ห่ม และมิได้ระวังว่าตนเป็นผู้มีส่วนได้เสีย เมื่อดำเนินการแก้ไขแล้วน่าจะยังคงมีสมาชิกภาพต่อไปนั้น คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๑) เห็นว่า บทบัญญัติมาตรา ๑๘ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาลฯ ประสงค์ที่จะห้ามสมาชิกเข้ามามีประโยชน์ได้เสียกับเทศบาลในขณะดำรงตำแหน่ง สมาชิกอยู่ เพื่อให้สมาชิกทำหน้าที่รักษาประโยชน์ของเทศบาลอย่างเที่ยงธรรม โดยไม่ประสงค์จะให้สมาชิกได้ประโยชน์ใด ๆ จากการเข้าทำสัญญาหรือทำกิจการใดจากเทศบาลไม่ว่าโดยตนเองหรือโดยผ่านทางผู้ อื่นในขณะดำรงตำแหน่ง และมิได้คำนึงว่าจะต้องการผลประโยชน์จากเทศบาลหรือไม่ ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงรับฟังไม่ได้ และไม่ทำให้การกระทำที่มีส่วนได้เสียไปแล้วกลับกลายเป็นการกระทำที่ชอบขึ้น มาได้
(เรื่องเสร็จที่ ๕๙๖/๒๕๔๔ บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญาซื้อขายน้ำมันเชื้อเพลิงกับเทศบาลตำบลแจ้ห่ม)

๒.๔ นายกเทศมนตรี เป็นกรรมการบริษัทฯ
นาย ก. นายกเทศมนตรี เป็นกรรมการบริษัทฯ ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเทศบาลเมืองได้ทำบันทึกตกลงซื้อขาย เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓ ซื้อรถจักรยานยนต์ของบริษัทฯ โดยบริษัทฯ ได้ส่งมอบรถจักรยานยนต์และได้มีการชำระเงินให้แก่บริษัทฯ เรียบร้อยแล้ว จึงเห็นได้ว่าการซื้อขายรถจักรยานยนต์มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว  และนายก. ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาที่เทศบาลเป็นคู่สัญญา การที่ในภายหลังบริษัทฯ ได้ขอยกเลิกสัญญาและคืนเงินให้แก่เทศบาลเมืองย่อมไม่มีผลต่อความสมบูรณ์ของสัญญาแต่อย่างใด และไม่ทำให้การกระทำอันไม่ชอบตามที่บัญญัติห้ามไว้ในมาตรา ๑๘  ทวิ ของนาย ก. กลับกลายเป็นการชอบขึ้นมาได้
(เรื่องเสร็จที่ ๓๙๕/๒๕๔๔ บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การมีส่วนได้เสียของสมาชิกสภาเทศบาลเมืองกำแพงเพชร)

๒.๕ บริษัทฯ เป็นศูนย์รถยนต์ฯ เพียงแห่งเดียว
นาย ก. นายกเทศมนตรี เป็นกรรมการบริษัทฯ ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเทศบาลเมืองได้ขออนุมัติจ้างเมื่อวันที่  ๒๒ มีนาคม ๒๕๔๓ เพื่อให้บริษัทฯ ตรวจเช็คสภาพรถยนต์ และมีหลักฐานการรับเงินจากเทศบาลเมืองลงวันที่  ๗  เมษายน  ๒๕๔๓  ทั้งมีหลักฐานเป็นใบตรวจรับพัสดุลงวันที่  ๒๗  มีนาคม  ๒๕๔๓  ว่าบริษัท ฯ ได้นำส่งสินค้าและกรรมการตรวจรับพัสดุได้ตรวจรับแล้ว  จึงแสดงให้เห็นว่าบริษัทฯ ได้กระทำกิจการให้แก่เทศบาลเมืองแล้ว  และถือได้ว่านาย ก. ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทฯ เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทางตรงหรือทางอ้อมในกิจการที่บริษัทฯ กระทำให้แก่เทศบาลเมือง ความจำเป็นที่บริษัทฯ เป็นศูนย์รถยนต์ฯ เพียงแห่งเดียวในจังหวัดหาเป็นเหตุให้เกิดสิทธิที่จะฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา ๑๘ ทวิ ไม่
(เรื่องเสร็จที่ ๓๙๕/๒๕๔๔ บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การมีส่วนได้เสียของสมาชิกสภาเทศบาลเมืองกำแพงเพชร)

๒.๖ เทศมนตรี เป็นผู้จัดการและเจ้าของโรงพิมพ์
นาย ส. เทศมนตรี เป็นผู้จัดการและเจ้าของโรงพิมพ์ ศ.ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเทศบาลเมืองได้มีการอนุมัติเมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๔๓ และเมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๓  ให้จัดจ้างโรงพิมพ์ ศ. หนังสือพิมพ์เทศบาลประจำเดือนเมษายน ๒๕๔๓ และพฤษภาคม ๒๕๔๓  แม้ว่าจังหวัดจะได้วินิจฉัยว่ามิได้มีการทำบันทึกตกลงซื้อขายหรือสัญญาระหว่างผู้ว่าจ้างกับผู้รับจ้าง คำวินิจฉัยดังกล่าวย่อมขัดต่อความเป็นจริง เพราะปรากฏข้อเท็จจริงว่าได้มีการจ่ายและรับเงินค่าจ้างพิมพ์หนังสือพิมพ์เทศบาลจากเทศบาลเมือง และมีการตรวจรับหนังสือพิมพ์เทศบาลแล้ว  จึงแสดงให้เห็นว่าโรงพิมพ์ ศ.ได้ทำสัญญาหรือกิจการให้แก่เทศบาลเมืองแล้ว นาย ส. ซึ่งเป็นเทศมนตรี เจ้าของและผู้จัดการโรงพิมพ์ ศ. ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทางตรงหรือทางอ้อมจากการรับพิมพ์หนังสือพิมพ์ให้แก่เทศบาล
(เรื่องเสร็จที่ ๓๙๕/๒๕๔๔ บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การมีส่วนได้เสียของสมาชิกสภาเทศบาลเมืองกำแพงเพชร)

๒.๗ ห้างหุ้นส่วนจำกัดมีผู้ถือหุ้นเพียงสองคน
นาย ส. เทศมนตรี เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. มีผู้ถือหุ้นเพียง ๒ คน คือ นาย ส. และนาง พ. โดยมีนาง พ. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ  เมื่อนายสมชายฯ มีหนังสือลงวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๔๓ ลาออกจากการเป็นหุ้นส่วน จึงมีผลทำให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.เหลือผู้ถือหุ้นเพียง ๑ คน เท่านั้น ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. จึงไม่อาจคงสภาพการเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดได้อีกต่อไป  และมีผลเป็นการเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดโดยปริยาย แต่ต่อมาห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. ยังคงดำเนินกิจการในฐานะห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยได้ทำบันทึกตกลงซื้อขายกับเทศบาลเมืองกำแพงเพชร จำนวน ๔ สัญญา ทั้งนาย ส. ซึ่งต้องรู้ถึงเหตุที่ห้างหุ้นส่วน ก. มีอันที่จะต้องเลิกห้างหุ้นส่วนก็ได้ดำเนินการในนามของเทศบาลลงนามในฐานะผู้ซื้อในบันทึกตกลงซื้อขายระหว่างเทศบาล กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. ตามบันทึกตกลงซื้อขายลงวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๓ ฉบับลงวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๔๓ และฉบับลงวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๓  รวม ๓  ฉบับ ด้วย อันแสดงให้เห็นว่าการลาออกของนายสมชายฯ มิได้ลาออกจริง  ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. จึงสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้โดยมิได้มีผู้เป็นหุ้นส่วนใหม่เข้ามาแทนที่หรือเลิกห้างหุ้นส่วนแต่อย่างใด พฤติการณ์ดังกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นว่านายสมชายฯ  ยังคงเป็นหุ้นส่วนอยู่  และถือได้ว่ามีส่วนได้เสียในทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาที่เทศบาลเป็นคู่สัญญากับห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.
(เรื่องเสร็จที่ ๓๙๕/๒๕๔๔ บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การมีส่วนได้เสียของสมาชิกสภาเทศบาลเมืองกำแพงเพชร)

๒.๘ อำนาจสอบสวนของผู้ว่าราชการจังหวัด
มาตรา ๑๑ (๕) แห่งพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. ๒๕๔๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖ มีเจตนารมณ์ที่จะให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดผู้มีส่วนได้เสียกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดในระหว่างที่ตนเป็นสมาชิกอยู่จะต้องสิ้นสุดการเป็น สมาชิกภาพลงโดยผลของกฎหมายตามมาตรานี้ทันที นับแต่วันที่มีเหตุดังกล่าว และหากมีข้อสงสัย ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสอบสวนและวินิจฉัยโดยเร็ว ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นการกำหนดไว้แตกต่างจากมาตรา ๑๑ (๕)  แห่งพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. ๒๕๔๐ ก่อนที่จะมีการแก้ไขดังกล่าว  ดังนั้น โดยเจตนารมณ์ของการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด เพราะเหตุที่มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่ตนเป็นสมาชิกนี้ หากข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในระหว่างที่สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดดำรงตำแหน่งอยู่มีเหตุดังกล่าวเกิดขึ้น แม้ว่าต่อมาสมาชิกผู้นั้นจะพ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดไปด้วยเหตุใดก็ตาม ต้องถือว่าผู้นั้นสิ้นสุดสมาชิกภาพนับแต่วันที่มีเหตุดังกล่าว โดยหากมีข้อสงสัยผู้ว่าราชการจังหวัดก็สามารถที่จะสอบสวนและวินิจฉัย เพื่อให้ได้ความว่าผู้นั้นเป็นผู้มีส่วนได้เสียจริงหรือไม่ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีผู้ใดได้ร้องเรียนไว้แล้วหรือไม่ และผู้นั้นจะยังคงดำรงตำแหน่งอยู่ในขณะนั้นหรือพ้นจากตำแหน่งเพราะลาออก หรือครบวาระการดำรงตำแหน่งไปก่อนที่จะมีการสอบสวนในเรื่องนี้ก็ตาม หากสอบสวนได้ความว่าผู้นั้นเป็นผู้มีส่วนได้เสียแล้ว ผู้นั้นย่อมสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดโดยผลของกฎหมายนับแต่วันที่มีเหตุเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
 (เรื่องเสร็จที่ ๒๘๓/๒๕๔๘ บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง สมาชิกภาพของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี)

๒.๙ กำหนดวันส่งมอบน้ำมันเชื้อเพลิงตรงกับวันที่ได้รับเลือกตั้ง
สัญญาจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปั๊มน้ำมันกับเทศบาลได้ทำไว้ก่อนที่นาย ท. จะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาล คือ ในวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๕  แต่เมื่อในวันกำหนดส่งมอบน้ำมันเชื้อเพลิงตามที่ได้ทำสัญญาไว้นั้น เป็นวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๔๕ ซึ่งเป็นวันเดียวกันกับวันที่นาย ท. ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาล ซึ่งตามกฎหมายกำหนดให้วันดังกล่าวเป็นวันเริ่มต้นของการดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาเทศบาล จึงมีผลให้นาย ท. เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับเทศบาล แม้จะปรากฏข้อเท็จจริงว่าตั้งแต่วันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๔๕ เป็นต้นมา ปั๊มน้ำมันมิได้จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่เทศบาลอีกแต่อย่างใด  ดังนั้น เมื่อในวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๔๕ นาย ท. มีสมาชิกภาพเป็นสมาชิกสภาเทศบาล จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญาที่ได้ทำไว้กับเทศบาล มีผลให้ต้องสิ้นสุดสมาชิกภาพตั้งแต่วันที่มีเหตุดังกล่าวเป็นต้นไป
(เรื่องเสร็จที่ ๒๖๒/๒๕๔๗ บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การดำเนินกิจการของคณะเทศมนตรีภายหลังสมาชิกสภาเทศบาลลาออกจากตำแหน่งนายกเทศมนตรี และการมีส่วนได้เสียของสมาชิกสภาเทศบาลและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล)

๒.๑๐ แจ้งขอจดทะเบียนลาออกจากการเป็นหุ้นส่วน แต่ลงนามในหนังสือส่งมอบงาน
ในวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๔๕ ที่นาย ค. ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาล มีข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในวันดังกล่าวนั้น นาย ค. ยังเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด อ.อยู่  โดยปรากฏหลักฐานเบื้องต้นว่า มีการแจ้งขอจดทะเบียนลาออกจากการเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๔๕  แม้ต่อมาภายหลังจะได้ขอแก้ไขเพิ่มเติมให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๔๕ อันเป็นวันก่อนวันเลือกตั้งก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่า นาย ค. ยังได้กระทำการในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าว โดยเป็นผู้ลงนามในหนังสือส่งมอบงานก่อสร้างถนนให้แก่เทศบาลตำบลหนองกี่เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๔๕   ดังนั้น ในวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๔๕ นาย ค. จึงยังคงเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด อ.  กรณีจึงถือได้ว่านาย ค. สมาชิกสภาเทศบาล เป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาที่ทำกับเทศบาลตามมาตรา ๑๘ ทวิ  แห่งพระราชบัญญัติเทศบาลฯ ซึ่งมีผลให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาเทศบาลสิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๙ (๖)  แห่งพระราชบัญญัติเทศบาลฯ แล้ว
(เรื่องเสร็จที่ ๗๘/๒๕๔๗ บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับเทศบาลตำบลหนองกี่ อำเภอหนองกี่  จังหวัดบุรีรัมย์)

๒.๑๑ ลาออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เพื่อสมัครรับเลือกตั้ง แต่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน
เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๔๔ เทศบาลได้ทำสัญญาว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ค. ให้ก่อสร้างสะพาน มีนาย ช. หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างฯ ลงนามในสัญญาดังกล่าว โดยงานมีกำหนดแล้วเสร็จภายในวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๔๔ ต่อมาเมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๔ นาย ช. ได้มีหนังสือถึงหุ้นส่วนในห้างฯ ลาออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างฯ เพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาล ซึ่งนาย ช. ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๔ นาย ช. จึงไปยื่นต่อนายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดสุโขทัย เพื่อขอเปลี่ยนแปลงให้นาย ม. บิดาของนาย ช. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างฯ แทน ซึ่งนายทะเบียนได้รับจดทะเบียนไว้เมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๔
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๗๒ บัญญัติให้การเปลี่ยนตัวผู้แทนนิติบุคคลมีผลต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งแล้ว สำหรับผู้แทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นมาตรา ๑๐๔๒ บัญญัติให้ความเกี่ยวพันระหว่างหุ้นส่วนผู้จัดการกับหุ้นส่วนอื่นเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยตัวแทน ซึ่งเมื่อพิจารณาเทียบเคียงกับมาตรา ๘๒๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๘๒๗ วรรคหนึ่ง เห็นได้ว่าหุ้นส่วนผู้จัดการสามารถลาออกจากการเป็นหุ้นส่วนในเวลาใดๆ ก็ได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นาย ช. ได้แสดงเจตนาลาออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการต่อหุ้นส่วนคนอื่นในวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๔ จึงถือได้ว่าระหว่างหุ้นส่วนด้วยกันเอง การลาออกของนาย ช. มีผลตั้งแต่วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๔  อย่างไรก็ตามการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องมีรายการเกี่ยวกับชื่อของหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นสำคัญตามมาตรา ๑๐๗๘ (๖) ซึ่งเอกสารที่ลงทะเบียนไว้ดังกล่าวเป็นเอกสารมหาชนที่บุคคลทุกคนสามารถตรวจดูได้ตามมาตรา ๑๐๒๐  และเมื่อลงพิมพ์โฆษณาในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา ๑๐๒๑ แล้วถือได้ว่าเป็นอันรู้แก่บุคคลทั่วไปตามมาตรา ๑๐๒๒ เมื่อใดที่รายการที่ได้จดทะเบียนไว้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมก็ต้องแก้ไขข้อความที่ได้จดทะเบียนไว้ ณ หอทะเบียนที่ได้จดทะเบียนไว้เดิมตามมาตรา ๑๐๑๖ เพื่อใช้เป็นหลักฐานให้บุคคลทั่วไปทราบถึงสถานะและผู้จัดการปัจจุบันของห้างฯ และตราบใดที่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน นาย ช. ยังคงต้องรับผิดชอบกับบุคคลภายนอกตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๗๒  ความมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับเทศบาลจึงยังคงมีอยู่ นอกจากนั้นการที่นาย ช. ลาออก และนาย ม. ซึ่งเป็นบิดาของนาย ช. เข้าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแทนตน ความมีส่วนได้เสียของนาย ช. จึงยังคงมีอยู่เช่นเดิม แม้จะได้มีการจดทะเบียนการลาออกแล้วก็ตาม ดังที่ได้เคยวินิจฉัยไว้แล้วในเรื่องการเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญาซื้อขายน้ำมันเชื้อเพลิงกับเทศบาลตำบลแจ้ห่ม
คณะกรรมการ กฤษฎีกา (คณะที่ ๑) มีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า การให้ความเห็นในเรื่องนี้เป็นการพิจารณาประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการเป็นผู้มี ส่วนได้เสียของสมาชิกสภาเทศบาลตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๘ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาลฯ ซึ่งมีเจตนารมณ์มิให้สมาชิกใช้ตำแหน่งหน้าที่หรือขณะที่อยู่ในตำแหน่ง หน้าที่นั้นมีประโยชน์ได้เสียอยู่กับเทศบาล สมาชิกจึงมีหน้าที่ต้องกระทำด้วยประการทั้งปวงให้ปรากฏว่าตนมิได้มีประโยชน์ ได้เสียเกี่ยวข้องกับคู่สัญญาหรือการกระทำกับเทศบาลนั้นต่อไป ฉะนั้น แม้เพียงการแสดงเจตนาจึงย่อมไม่เพียงพอ เพราะตราบใดที่ยังไม่ดำเนินการแก้ไขทางทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายบุคคลภาย นอกก็ย่อมอ้างอยู่ได้เสมอ
(เรื่องเสร็จที่ ๕๒๖/ ๒๕๔๕ บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การมีส่วนได้เสียของสมาชิกสภาเทศบาลในสัญญาที่เทศบาลเป็นคู่สัญญาหรือในกิจการที่กระทำให้แก่เทศบาลหรือที่เทศบาลจะกระทำ (กรณีเทศบาลตำบลบ้านโตนด และเทศบาลตำบลบ้านม่วง))

๒.๑๒  ขอซื้อเอกสารในการสอบราคาและยื่นเอกสารประกวดราคา
ห้างหุ้นส่วน จำกัด บ. มีนาย พ. สมาชิกสภาเทศบาล เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้ขอซื้อเอกสารในการสอบราคาและยื่นเอกสารประกวดราคา กับเทศบาลที่นาย พ. ดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลอยู่ การเข้ามีส่วนได้เสียตามมาตรา ๑๘ ทวิ ดังกล่าว มีความหมายถึงการที่บุคคลหนึ่งบุคคลใดอาจจะได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์ หรือน่าจะได้ประโยชน์หรือน่าจะเสียประโยชน์ในสัญญาที่เทศบาลเป็นคู่สัญญา หรือในกิจการที่มีผู้กระทำให้แก่เทศบาลหรือที่เทศบาลจะกระทำด้วย โดยไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ในทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม  การ ที่ห้างหุ้นส่วนที่มีนาย พ. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเข้าซื้อเอกสารในการสอบราคาและยื่นเสนอราคาโครงการ จ้างเหมาก็เพื่อจะได้รับประโยชน์จากกิจการที่เทศบาลจะกระทำในโครงการจ้าง เหมาก่อสร้าง ในทันทีที่นาย พ. เข้ายื่นซองประกวดราคา การกระทำจึงเป็นการเข้ามีส่วนได้เสียในกิจการที่เทศบาลจะกระทำสมบูรณ์และ เป็นการต้องห้ามตามมาตรา ๑๘ ทวิ และมีผลทำให้สมาชิกภาพในฐานะสมาชิกสภาเทศบาลได้สิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๙ (๖) แล้ว การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.ไม่ได้รับการคัดเลือกในการสอบราคาโครงการจ้างเหมาก่อสร้างรางระบายน้ำของ เทศบาลฯ หามีผลทำให้สมาชิกภาพที่สิ้นสุดลงแล้ว กลับฟื้นขึ้นใหม่ไม่
(เรื่องเสร็จที่ ๕๒๖/ ๒๕๔๕ บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การมีส่วนได้เสียของสมาชิกสภาเทศบาลในสัญญาที่เทศบาลเป็นคู่สัญญา หรือในกิจการที่กระทำให้แก่เทศบาลหรือที่เทศบาลจะกระทำ (กรณีเทศบาลตำบลบ้านโตนด และเทศบาลตำบลบ้านม่วง))

๒.๑๓ การวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาเทศบาลสิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๘ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาลฯ เป็นคำสั่งทางปกครองหรือไม่
การวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาเทศบาลสิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๘ ทวิแห่งพระราชบัญญัติเทศบาลฯ เป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙
นาง ร. ได้ยื่นหนังสือและเอกสารให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตรวจสอบเพิ่มเติม ถือว่านาง ร. เป็นคู่กรณี และการกระทำดังกล่าวเป็นการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ หรือไม่นั้น เห็นว่า ผู้ที่จะเป็น คู่กรณีตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ นั้น จะต้องเป็นผู้ที่สิทธิของตนถูกกระทบกระเทือนหรืออาจถูกกระทบกระเทือนโดยมิ อาจหลีกเลี่ยงได้ตามมาตรา ๒๑ ซึ่ง การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีสอบสวนและวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของ สมาชิกสภาเทศบาลนครอุบลราชธานีที่ถูกร้องเรียนทั้งสี่คนไม่ได้สิ้นสุดลงนั้น มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิและหน้าที่ของสมาชิกสภาเทศบาลที่ถูกร้องเรียน เท่านั้น  มิได้มีผลกระทบต่อประชาชนหรือสมาชิกสภาเทศบาลอื่นรวมทั้งนาง ร. ดังนั้น จึงไม่อาจถือว่านาง ร. เป็น คู่กรณีที่จะอุทธรณ์คำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีในเรื่องนี้ได้  การดำเนินการทั้งหลายของผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีจึงมิใช่เป็นการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๔๕ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ
(เรื่องเสร็จที่ ๔๒๘/๒๕๔๔ บันทึกคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเรื่อง การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙)

๒.๑๔ สัญญาเสร็จสิ้นแล้วก่อนดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรี
นาย ป. ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ทำสัญญาจ้างงานกับเทศบาล โดยดำเนินการตามสัญญาเสร็จสิ้นแล้วก่อนดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรี รวมทั้งปรากฏข้อเท็จจริงด้วยว่า นาย ป. ได้ลาออกจากหุ้นส่วนผู้จัดการตั้งแต่วันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๔๗ และมีการแก้ไขทางทะเบียนก่อนลงสมัครรับเลือกตั้ง ความเกี่ยวพันระหว่างนาย ป. กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. จึงสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๔๗  กรณีจึงถือได้ว่านาย ป. ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาที่ทำกับเทศบาล  ส่วนกรณีที่หุ้นส่วนจะต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องของสัญญาที่กำหนด ระยะเวลาไว้สองปีนั้น เมื่อนาย ป. ลาออกจากการเป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. แล้ว จึงไม่มีความเกี่ยวพันกับห้างหุ้นส่วนดังกล่าวที่จะต้องรับผิดในความชำรุด บกพร่องตามสัญญาที่ทำไว้กับห้างหุ้นส่วนเป็นระยะเวลาสองปีนั้นอีก
สำหรับกรณีที่นาย ป. จะต้องรับผิดชอบในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่ตนลาออกจากห้างหุ้นส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๐๖๘  เป็นความรับผิดตามกฎหมาย ซึ่งเป็นคนละลักษณะกับความรับผิดในสัญญาที่ทำกับเทศบาลหรือกิจการที่กระทำให้แก่เทศบาลตามมาตรา ๔๘ จตุทศ (๓)
(เรื่องเสร็จที่ ๑๘/๒๕๔๘ บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การมีส่วนได้เสียของนายกเทศมนตรีตำบลหนองแสง)

ที่มา   นายธรรมนิตย์ สุมันตกุล กรรมการร่างกฎหมายประจำ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (กันยายน ๒๕๔๘) ,http://web.krisdika.go.th/data/activity/act67.htm

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...