26 เม.ย. 2560

ทำงานออฟไซค์ ไม่ต้องรับผิดทางละเมิด

ข้อเท็จจริง

                    มีผูู้ร้องเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลเกี่ยวกับการจัดซื้อวัสดุในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ว่า มิได้มีการจัดทำรายงานการจัดซื้อจัดจ้าง และคณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษไม่มีการประชุมการกำหนดราคาจำนวนการจัดซื้อจัดจ้าง วัน เวลา และสถานที่ส่งมอบและการตรวจรับพัสดุไม่เป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุขององค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นเหตุให้องค์การบริหารส่วนตำบลได้รับความเสียหายคิดเป็นเงิน จำนวน ๑,๘๒๕,๙๗๖.๕๖ บาท

คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางแพ่ง
                   ตามสำนวนการสอบสวนข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้เกิดอุทกภัยในเขตพื้นที่ตำบล ร. ซึ่งเป็นพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบล ทำให้ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวที่ตั้งขององค์การบริหารส่วนตำบลถูกน้ำท่วม คงเหลือพื้นที่ป้องกันเฉพาะตำบล ห. จึงได้มีการย้ายที่ทำการไปยังวัดเป็นสถานที่ทำการขององค์การบริหารส่วนตำบล ร.เป็นการชั่วคราว ซึ่งในการดำเนินภารกิจในการป้องกันน้ำท่วมดังกล่าว นาย ป. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลในขณะนั้น ได้ดำเนินการสั่งซื้อทรายถม กระสอบทรายและเสาเข็มไม้ เพื่อใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลไปก่อนแล้วจึงจัดทำเอกสารการจัดซื้อจัดจ้างขึ้นภายหลังน้ำลด โดยได้จัดทำสัญญาซื้อขายกระสอบทรายและเสาเข็มไม้ จาก นาง บ. ตามสัญญา ลงวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๔๙ เป็นเงินจำนวน ๙๓๙,๔๐๐ บาท และทำสัญญาซื้อขายทรายถมจากนาย ว. ตามสัญญาลงวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๔๙ เป็นเงินจำนวน ๙๐๔,๔๐๐ บาท ซึ่งปรากฏเอกสารระบุว่า ผู้ขายได้จัดส่งวัสดุในการป้องกันน้ำท่วมตามหมู่บ้านแต่ละจุดที่ต้องการ และมีผู้ใหญ่บ้านหรือสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในแต่ละหมู่บ้านเป็นผู้ลงชื่อตรวจรับวัสดุในใบส่งของชั่วคราวไว้แทน เนื่องจากคณะกรรมการตรวจรับพัสดุมิได้อยู่ในพื้นที่ที่มีการนำวัสดุไปส่งมอบและได้นำวัสดุไปใช้ในการป้องกันน้ำท่วมแล้ว ต่อมาได้มีการจัดทำฎีกาเบิกจ่ายเงินให้แก่ผู้ขาย ซึ่งหัวหน้าส่วนการคลังได้มีบันทึกข้อความลงวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๔๙ เสนอนายกองค์การบริหารส่วนตำบลผ่านปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลทักท้วงว่าการเบิกจ่ายเงินมีหลักฐานไม่ถูกต้อง ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลจึงได้สั่งการให้นิติกรทำการตรวจสอบว่าการจัดซื้อ การตรวจรับ สัญญาและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ นาย พ. นิติกรได้มีบันทึกข้อความลงวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๙ เห็นว่า การดำเนินการของเจ้าหน้าที่พัสดุซึ่งมีหน้าที่รวบรวมรายงานการขอซื้อขอจ้าง คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หนังสือเชิญผู้ขายมาเสนอราคา สัญญาระหว่างนายกองค์การบริหารส่วนตำบลกับผู้ขาย บันทึกคณะกรรมการตรวจรับพัสดุโดยที่เอกสารทุกอย่างลงวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๔๙ ซึ่งการดำเนินการจัดหาพัสดุในวันเดียวนั้นกระทำได้ยากและคณะกรรมการตรวจรับพัสดุลงลายมือชื่อตรวจรับไว้เพียง ๒ ราย จากจำนวน ๖ ราย การดำเนินการจัดหาพัสดุจึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุขององค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลจึงขอให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทบทวนคำสั่งให้เบิกจ่ายเงินอีกครั้ง แต่นาย ป. ยังคงยืนยันให้มีการเบิกจ่ายต่อไป องค์การบริหารส่วนตำบลจึงได้ทำการเบิกจ่ายเงินให้แก่นาง บ. เป็นค่ากระสอบทรายและเสาเข็มไม้ ตามฎีกาเลขที่ ๑ ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๔๙ เป็นเงินจำนวน ๙๓๙,๔๐๐ บาท และเบิกจ่ายเงินให้แก่นาย ว. เป็นค่าทรายถม ตามฎีกาเลขที่ ๒ ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๔๙ จำนวน ๙๐๔,๔๐๐ บาท ซึ่งจากข้อเท็จจริงดังกล่าว แม้ในการจัดซื้อพัสดุในการป้องกันน้ำท่วมจะได้มีการจัดทำเอกสารการจัดซื้อจัดจ้างในภายหลังเนื่องจากองค์การบริหารส่วนตำบลประสบปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานเอกสารในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง จึงมิได้ดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุขององค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในขณะนั้นก็้ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าภายหลังได้มีการจัดทำเอกสารตามที่ได้มีการจัดซื้อจริงและผู้ขายได้จัดส่งวัสดุที่ใช้ในการป้องกันน้ำท่วมไปยังพื้นที่ต่างๆ ซึ่งได้มีการตรวจรับพัสดุไว้โดยคณะกรรมการร่วมตรวจรับพัสดุรับรองและตรวจสอบพัสดุฝ่ายสภา และคณะกรรมการร่วมตรวจรับพัสดุรับรองและตรวจสอบพัสดุฝ่ายบริหาร ตามคำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบล ลงวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๔๙ ซึ่งได้แต่งตั้งคณะกรรมการทั้ง ๒ คณะ เพื่อร่วมในการตรวจรับพัสดุร่วมกับคณะกรรมการตรวจรับพัสดุได้ลงลายมือชื่อตรวจรับและรับรองว่าได้รับของซึ่งได้ตรวจรับถูกต้องแล้วสมควรเบิกจ่ายเงินให้แก่ผู้ขายได้ ประกอบกับเมื่อได้ตรวจสอบรายการใบส่งของชั่วคราว ปรากฏว่ามีการส่งมอบพัสดุตรงตามที่กำหนดไว้ในสัญญา อีกทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าราคาวัสดุที่ได้จัดซื้อดังกล่าวมีราคาแพงกว่าท้องตลาดแต่อย่างใด และองค์การบริหารส่วนตำบลได้นำวัสดุไปใช้ในภารกิจป้องกันน้ำท่วมจนสามารถป้องกันน้ำท่วมในเขตพื้นที่รับผิดชอบได้ ดังนั้น แม้ว่าในการจัดซื้อวัสดุป้องกันน้ำท่วมดังกล่าว จะมิได้ปฏิบัติตามระเบียบและขั้นตอนของทางราชการตั้งแต่แรก แต่เมื่อองค์การบริหารส่วนตำบลได้รับมอบวัสดุดังกล่าวไว้ใช้ในราชการแล้ว จึงยังถือไม่ได้ว่าองค์การบริหารส่วนตำบลได้รับความเสียหาย เห็นควรยุติเรื่องความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ได

เครดิต : คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางแพ่ง
เรื่องเสร็จที่ สรพ.๘/๒๕๕๖

23 เม.ย. 2560

ความเห็นไม่ตรงกันในการปฏิบัติงาน...พฤติการณ์ “ไม่เป็นกลาง” หรือไม่ ?

คดีปกครองที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้เป็นเรื่องของข้าราชการครูที่เห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการกลั่นกรองพิจารณาการเลื่อนขั้นเงินเดือนมีความขัดแย้งกับตน จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง
โดยมูลพิพาทคดีนี้แม้เกิดในขณะที่การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนใช้ระบบเดิมคือ “ระบบขั้น” และถูกยกเลิกโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน พ.ศ. 2552 โดยให้การพิจารณาเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนเป็น “ระบบอัตราร้อยละ” แต่อุทาหรณ์ในคดีนี้ เป็นการวางหลักปฏิบัติราชการที่ดีเกี่ยวกับความเป็นกลางของผู้มีอำนาจพิจารณาทางปกครองตามกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์และเป็นแนวปฏิบัติราชการที่ดีให้แก่ข้าราชการผู้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนข้าราชการในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
เรื่องราวมีอยู่ว่า ผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนสุขใจ (นามสมมติ) (ผู้ถูกฟ้ องคดีที่ 1) มีคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนผู้ฟ้องคดี 0.5 ขั้น แต่ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงได้ร้องทุกข์ต่อคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2) ซึ่งมีความเห็นให้ยุติเรื่อง จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเฉพาะรายของผู้ฟ้องคดีและให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ฟ้องคดีใหม่ โดยเห็นว่า สาเหตุเนื่องมาจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 แต่งตั้งผู้ฟ้องคดีให้เป็นกรรมการกำหนดราคากลางจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์และให้สืบราคา โดยรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงบประมาณได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการชุดดังกล่าวด้วย แต่ผู้ฟ้องคดีไม่เห็นด้วยกับการกำหนดราคากลางที่สูงกว่าราคาท้องตลาดจึงไม่ลงลายมือชื่อในใบเสนอราคากลาง ต่อมา ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงบประมาณในฐานะเป็นกรรมการกลั่นกรองพิจารณาการเลื่อนขั้นเงินเดือนของโรงเรียนได้พิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ผู้ฟ้องคดีได้รับการประเมินผลการปฏิบัติงานต่ำกว่าคุณภาพของงานที่ปฏิบัติจริงเมื่อเทียบกับบุคคลอื่น
ในเรื่องนี้มีกฎหมายสำคัญที่เกี่ยวข้องคือ มาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ซึ่งวางหลักปฏิบัติราชการที่ดีเกี่ยวกับความเป็ นกลางของเจ้าหน้าที่ไว้ว่า ในกรณีเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจพิจารณาทางปกครองมีพฤติการณ์ซึ่งมีสภาพร้ายแรงเกี่ยวกับความเป็นกลางแล้ว ย่อมไม่อาจที่จะดำเนินการพิจารณาทางปกครองในเรื่องนั้นได้
ดังนั้น จึงมีปัญหาว่า ความขัดแย้งดังกล่าวถือเป็นกรณีเจ้าหน้าที่มีพฤติการณ์ซึ่งมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนของผู้ฟ้องคดีไม่เป็นกลางตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 หรือไม่ ?
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า แม้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนในฐานะประธานคณะกรรมการและออกคำสั่ง แต่หน้าที่ของคณะกรรมการกลั่นกรองพิจารณาการเลื่อนขั้นเงินเดือนคือ การนำคะแนนของบุคลากรที่ได้จากการประเมินมาจัดเรียงลำดับคะแนนและกำหนดการเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ครูในโรงเรียนตามลำดับคะแนนและจำนวนงบประมาณที่ได้รับ คณะกรรมการดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขจำนวนคะแนนที่ครูแต่ละคนได้รับ ส่วนกรณีของรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงบประมาณ เป็นผู้ให้คะแนนเฉพาะส่วนของการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการทำงาน 50 คะแนน ซึ่งได้ให้คะแนนผู้ฟ้องคดี 42 คะแนนใกล้เคียงกับคะแนนที่รองผู้อำนวยการกลุ่มอื่น ๆ อีกสามคนได้ประเมิน การดำเนินการของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงบประมาณ จึงยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่สุจริต ประกอบกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องความเห็นที่ไม่ตรงกันในการปฏิบัติงาน ซึ่งย่อมเกิดขึ้นได้มิได้เป็นความขัดแย้งที่รุนแรงมากมาย ทั้งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงบประมาณ เป็นกรรมการกลั่นกรองพิจารณาการเลื่อนขั้นเงินเดือนตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2547 ซึ่งกำหนดให้ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นประธานคณะกรรมการกลั่นกรองพิจารณาการเลื่อนขั้นเงินเดือน และในกรณีที่มีผู้ช่วยผู้บริหารสถานศึกษาให้ผู้ช่วยผู้บริหารสถานศึกษานั้น ซึ่งในกรณีนี้คือรองผู้อำนวยการกลุ่มเป็นกรรมการด้วย จึงเป็นกรณีที่ไม่มีเจ้าหน้าที่อื่นปฏิบัติหน้าที่แทนได้ และหากปล่อยให้ล่าช้าจะเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะหรือสิทธิของบุคคล ซึ่งเป็นข้อยกเว้นตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
ดังนั้น การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงบประมาณเป็นกรรมการกลั่นกรองพิจารณาการเลื่อนขั้นเงินเดือน จึงไม่ถือเป็นเหตุที่มีสภาพร้ายแรงที่ทำให้การพิจารณาคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนของผู้ฟ้องคดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 251/2557)
คดีนี้เป็นแนวบรรทัดฐานการปฏิบัติราชการที่ดีว่า เจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจพิจารณาทางปกครองผู้ใดมีพฤติการณ์ซึ่งมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลางตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ย่อมไม่อาจที่จะทำการพิจารณาทางปกครองหรือการเตรียมการและดำเนินการเพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครองได้ อย่างไรก็ตาม พฤติการณ์ดังกล่าวจะต้องมีสภาพร้ายแรงจนอาจส่งผลให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยได้ว่า เจ้าหน้าที่ทำการพิจารณาทางปกครองด้วยความมีอคติลำเอียงไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยหรือคาดเดาสงสัยหรือเป็ นเรื่องความเห็นในการปฏิบัติหน้าที่ไม่ตรงกัน นอกจากนี้ แม้จะมีเหตุดังกล่าวก็ตาม หากการพิจารณาทางปกครองในเรื่องนั้น ๆ ไม่มีเจ้าหน้าที่อื่นปฏิบัติหน้าที่แทนได้ ก็อาจถือเป็นข้อยกเว้นตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ที่เจ้าหน้าที่ที่มีสภาพดังกล่าวจะพิจารณาทางปกครองต่อไปไม่ได้... ครับ !
เครดิต : หนังสือพิมพ์บ้านเมือง คอลัมน์คดีปกครอง ฉบับวันเสาร์ที่ 30 เมษายน 2559

สั่งให้เกษียณอายุ โดยไม่ตรวจสอบปีเกิด : เป็นละเมิดทางปกครอง !

“ก้าวสู่สังคมธรรมาภิบาลกับศาลปกครอง” ฉบับนี้ เป็นเรื่องการกระทำละเมิดอันเกิดจากการที่ผู้ว่าราชการจังหวัดออกคำสั่งให้แพทย์ประจำตำบลเกษียณอายุโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากยังมีอายุไม่ครบ 60 ปี แต่มีการลงทะเบียนข้อมูลประวัติปีเกิดไม่ตรงกับความเป็นจริง โดยผู้ออกคำสั่งอ้างว่าได้ดำเนินการตามกฎหมายแล้ว และแพทย์ประจำตำบลดังกล่าวไม่แจ้งแก้ไขข้อมูลภายในเวลาที่กำหนด กรณีเช่นนี้แพทย์ประจำตำบลจะต้องพ้นจากตำแหน่งหรือไม่ ? มาฟังคำตอบไปพร้อมๆ กันเลยค่ะ
ผู้ฟ้องคดีได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่อำเภอว่าผู้ฟ้องคดีจะครบวาระการดำรงตำแหน่งแพทย์ประจำตำบลคืออายุครบ 60 ปี ในวันที่ 31 มีนาคม 2552 ตามข้อมูลประวัติที่ลงไว้ในทะเบียนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน (สน.11) ผู้ฟ้องคดีโต้แย้งว่า ผู้ฟ้องคดีเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2495 มิใช่ พ.ศ. 2492 จึงยังไม่ครบกำหนดที่จะเกษียณอายุนายอำเภอ (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1) จึงได้แจ้งให้ผู้ฟ้องคดีนำเอกสารหลักฐานมาขอแก้ไขให้ถูกต้องก่อนครบวาระ แต่ผู้ฟ้องคดีไม่ได้มาติดต่อเพื่อให้มีการแก้ไข นายอำเภอจึงมีหนังสือรายงานผู้ว่าราชการจังหวัดว่าผู้ฟ้องคดีต้องพ้นจากตำแหน่งแพทย์ประจำตำบล เนื่องจากมีอายุครบ 60 ปี และผู้ว่าราชการจังหวัดได้มีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2552 เป็นต้นไป
หลังจากที่ได้รับทราบคำสั่ง ผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือขอให้นายอำเภอแก้ไข พ.ศ. เกิดในทะเบียนกำนันผู้ใหญ่บ้าน แต่นายอำเภอแจ้งว่าไม่สามารถแก้ไขให้ได้เนื่องจากพ้นกำหนดเวลาและผู้ว่าราชการจังหวัดได้มีคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว และต้องถือปฏิบัติตามหนังสือกรมการปกครอง ที่ มท 0311.2/3277 ลงวันที่ 21 มีนาคม 2538 ที่ระบุว่า ในกรณีวัน เดือน ปีเกิด ที่ปรากฏในเอกสารหลักฐานต่างๆ ไม่ตรงกันและไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่าเอกสารหลักฐานใดแสดงวัน เดือน ปีเกิดที่แท้จริง การนับอายุของบุคคลเพื่อทราบว่าจะต้องพ้นตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้านเมื่อใด จะต้องพิจารณาจากทะเบียนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นสำคัญซึ่งรวมถึงตำแหน่งแพทย์ประจำตำบลด้วย
ถึงตรงนี้ ท่านผู้อ่านคงอยากทราบแล้วใช่ไหมคะว่า... ศาลท่านได้วินิจฉัยวางหลักกรณีดังกล่าวว่าอย่างไร ?
คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่าเมื่อพิจารณา พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 มาตรา 47 มาตรา 31 (1) และมาตรา 14 (1) เห็นได้ว่าตำแหน่งแพทย์ประจำตำบลจะครบวาระการดำรงตำแหน่งเมื่อผู้นั้นมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ซึ่งแตกต่างกับข้าราชการพลเรือนทั่วไปที่จะครบวาระการดำรงตำแหน่งเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ข้าราชการผู้นั้นมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์
ดังนั้น ในการพิจารณาว่าผู้ที่ดำรงตำแหน่งแพทย์ประจำตำบลพ้นจากตำแหน่งหรือไม่ จึงต้องพิจารณาจากวัน เดือน ปี เกิด ที่ถูกต้องแท้จริงของผู้นั้นเป็นข้อสาระสำคัญ โดยผู้ถูกฟ้องคดีมีอำนาจตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ตามความเหมาะสม โดยไม่ต้องผูกพันอยู่กับคำขอหรือพยานหลักฐานจากผู้ฟ้องคดีเท่านั้น ทั้งนี้ ตามมาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
เมื่อผู้ฟ้องคดีได้เคยโต้แย้งเกี่ยวกับปี พ.ศ. เกิด ก่อนที่จะมีคำสั่งที่พิพาท นายอำเภอจึงมีหน้าที่ต้องตรวจสอบข้อโต้แย้งของผู้ฟ้องคดี และรายงานผลการตรวจสอบและพิจารณาข้อโต้แย้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาสั่งการต่อไป เมื่อมีการออกคำสั่งโดยมิได้ตรวจสอบเอกสารทางทะเบียนอื่นๆ ประกอบการพิจารณาด้วย จึงถือว่าผู้ถูกฟ้องคดีมิได้พิจารณาตามคำโต้แย้งของผู้ฟ้องคดีก่อนมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งแพทย์ประจำตำบล กรณีจึงไม่ชอบด้วยมาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ประกอบกับพยานเอกสารต่างๆ ได้แก่ ทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนนักเรียนของโรงเรียน ได้ระบุเกี่ยวกับวัน เดือน ปีเกิดของผู้ฟ้องคดีตรงกันว่า ผู้ฟ้องคดีเกิดปี พ.ศ. 2495 โดยไม่ระบุ วันที่ และเดือนเกิดของผู้ฟ้องคดี มีเพียงทะเบียนประวัติ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน (สน.11) เท่านั้น ที่ระบุว่าผู้ฟ้องคดีเกิดวันที่ 1 เมษายน 2492 จึงเห็นได้ว่าแม้ข้อมูลเกี่ยวกับ วัน เดือน ปีเกิดของผู้ฟ้องคดีตามเอกสารดังกล่าวไม่ตรงกันทั้งหมด แต่ข้อมูลเกี่ยวกับปีเกิดของผู้ฟ้องคดีตามเอกสารอื่นๆ สอดคล้องตรงกันว่า ผู้ฟ้องคดีเกิดปี พ.ศ. 2495 และในการบันทึกข้อมูลประวัติแพทย์ประจำตำบล เป็นการบันทึกโดยอาศัยฐานข้อมูลจากหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน และหลักฐานการศึกษาเป็นสาระสำคัญ ดังนั้น จึงเชื่อได้ว่าการบันทึกข้อมูลในประวัติของผู้ฟ้องคดี อาจมีข้อผิดพลาดหรืออาจมีการแก้ไขข้อมูลภายหลังกรณีนี้จึงเป็นกรณีที่รู้ปี พ.ศ.เกิดของผู้ฟ้องคดี ดังนั้น ตามมาตรา 16 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้ถือว่าผู้ฟ้องคดีเกิดวันที่ 1 มกราคม 2495 ซึ่งจะครบวาระการดำรงตำแหน่งแพทย์ประจำตำบลเมื่อครบ 60 ปี คือวันที่ 1 มกราคม 2555 การสั่งให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งในขณะที่ยังมีอายุไม่ครบ 60 ปี จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ฟ้องคดีจึงเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิด จังหวัด(ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2) ในฐานะหน่วยงานต้นสังกัดของผู้ออกคำสั่ง จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีตามเงินเดือนในช่วงเวลาที่เหลือของการดำรงตำแหน่งดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย (คดีหมายเลขแดงที่ อ.1434/2558)
คดีนี้ ศาลปกครองสูงสุดได้วางบรรทัดฐานการปฏิบัติราชการที่ดี ดังนี้
๑. กระบวนการพิจารณาทางปกครองก่อนมีคำสั่งทางปกครองที่กระทบสิทธิของบุคคล เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่จะต้องตรวจสอบข้อเท็จจริง พยานหลักฐานต่างๆ โดยละเอียด ตามมาตรา 28 แห่งพ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 เพราะการออกคำสั่งทางปกครองเป็นเรื่องที่กระทบสิทธิของบุคคล โดยเฉพาะเมื่อเจ้าตัวได้มีการโต้แย้งเกี่ยวกับการนำข้อเท็จจริงมาใช้ในการพิจารณา แม้จะมิได้ยื่นหนังสือภายในกำหนดเวลาก็ตาม หรือหากเจ้าหน้าที่พบหรือได้รับแจ้งข้อผิดปกติหรือข้อน่าสงสัยใดๆ ก็จะต้องดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องโดยทันที โดยมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นได้เองตามความเหมาะสมเพื่อให้การใช้อำนาจเป็นไปอย่างถูกต้องและเป็นธรรม
๒. กรณีที่รู้แต่พียงปีเกิด มาตรา 16 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้ถือว่าผู้นั้นเกิดวันที่ 1 มกราคม ของปีนั้น
คดีนี้ นอกจากจะเป็นอุทาหรณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐแล้ว ยังเป็นอุทาหรณ์สำหรับประชาชนในการสามารถใช้สิทธิตรวจสอบข้อมูลของตนเองหรือข้อมูลข่าวสารของราชการได้ตลอดเวลา หากมีประเด็นปัญหาหรือข้อสงสัย และไม่เข้าข้อยกเว้นห้ามมิให้เปิดเผย ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการพ.ศ.2540 โดยมิจำต้องรอให้มีคำสั่งมากระทบสิทธิของตนให้เสียหายก่อน เรียกว่า “กันไว้ดีกว่าแก้” นะคะ
เครดิต : ธัญธร ปังประเสริฐ , พนักงานคดีปกครองชำนาญการพิเศษ , สำนักวิจัยและวิชาการ สำนักงานศาลปกครอง

คำสั่งให้พ้นจากตำแหน่งรองนายกเทศมนตรี ... ข้อยกเว้นที่ไม่ต้องให้โอกาสโต้แย้งและเหตุผล !!

ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณีนั้น เจ้าหน้าที่ต้องแจ้งหรือให้โอกาสคู่กรณีได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอที่คู่กรณีจะสามารถโต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตนได้โดยเหมาะสมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ แต่หากมิได้แจ้งหรือให้โอกาสดังกล่าว ก็ถือเป็นความบกพร่องของการพิจารณาทางปกครองที่คู่กรณีอาจขอให้เพิกถอนกระบวนการออกคำสั่งทางปกครองเดิมได้ นอกจากนี้ หากเป็นคำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือจะต้องจัดให้มีเหตุผลของการออกคำสั่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน เพื่อให้คู่กรณีทราบได้ว่าตนได้รับการพิจารณาไปโดยถูกต้องหรือไม่ ทั้งข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และการใช้ดุลพินิจในการออกคำสั่ง และจะเป็ นประโยชน์ต่อฝ่ ายปกครองหากจะทบทวนคำสั่งทางปกครองนั้น ไม่ว่าจะโดยผู้บังคับบัญชาหรือในชั้นการพิจารณาอุทธรณ์
อย่างไรก็ตาม ในการให้โอกาสคู่กรณีได้ทราบข้อเท็จจริง โต้แย้ง และแสดงพยานหลักฐานของตนอย่างเพียงพอนั้น บทบัญญัติมาตรา ๓๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ กำหนดยกเว้นไม่ต้องให้สิทธินั้นแก่คู่กรณีก็ได้ นอกจากนี้ ศาลปกครองสูงสุดยังได้วินิจฉัยวางหลักไว้ในบางกรณีที่ไม่ต้องให้โอกาสเช่นนั้น ดังเช่นคดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในคอลัมน์ระเบียบกฎหมายฉบับนี้ ซึ่งนายกเทศมนตรีได้ใช้อำนาจตามกฎหมายออกคำสั่งให้รองนายกเทศมนตรีพ้นจากตำแหน่ง เพราะเห็นว่ารองนายกเทศมนตรีไม่เอาใจใส่และปล่อยปละละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย กรณีดังกล่าวศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่าไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของบทบัญญัติมาตรา ๓๐ และมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติข้างต้น
ศาลปกครองสูงสุดได้ให้เหตุผลในประเด็นนี้อย่างไร ?
เหตุของคดีนี้เกิดจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดี (นายกเทศมนตรี) มีคำสั่งแต่งตั้งและมอบหมายให้ผู้ฟ้องคดีดำรงตำแหน่งรองนายกเทศมนตรี ซึ่งมีอำนาจในการสั่งการหรือปฏิบัติราชการแทนในส่วนราชการของกองช่างและกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ต่อมา ผู้ถูกฟ้องคดีได้มีคำสั่งถอดถอนผู้ฟ้องคดีให้พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากผู้ฟ้องคดีไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ให้สอดคล้องกับแนวนโยบายที่วางไว้ โดยไม่เอาใจใส่ในการพัฒนาตลาดสดของเทศบาลให้เป็นไปตามหลักสุขาภิบาลที่ดี ปล่อยปละละเลยมิได้ควบคุมในการจัดระเบียบการจำหน่ายสินค้าบริเวณริมสระน้ำตลาดสดเทศบาล ทำให้บดบังทัศนียภาพบริเวณสวนสาธารณะ ไม่ดูแลรักษาห้องสุขาของตลาดสดเทศบาล โดยมีคำสั่งที่พิพาทระบุว่าเพื่อให้การปฏิบัติราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เรียบร้อย และรวดเร็ว บังเกิดผลดีต่อทางราชการและต่อประชาชน ผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์คำสั่ง แต่ผู้ถูกฟ้องคดีเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากไม่เปิดโอกาสให้ได้ทราบข้อเท็จจริงและโต้แย้งแสดงพยานหลักฐาน ไม่แสดงเหตุผลในการออกคำสั่ง และเป็นการใช้อำนาจตามอำเภอใจ จึงนำคดีมาฟ้องเพื่อขอให้ศาลปกครองมีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดี
คำสั่งถอดถอนและให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งรองนายกเทศมนตรีได้ดำเนินการโดยถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน และวิธีการอันเป็นสาระสำคัญตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ ?
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า แม้คำสั่งถอดถอนและให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งรองนายกเทศมนตรีจะเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ที่กระทบถึงสิทธิของผู้ฟ้องคดีและเป็นคำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือ ซึ่งแม้มาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวจะบัญญัติให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน และมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันได้บัญญัติให้คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือต้องจัดให้มีเหตุผล และเหตุผลนั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจก็ตาม
แต่เมื่อพิเคราะห์มาตรา ๔๘ อัฏฐ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๔๖ และมาตรา ๔๘ โสฬส วรรคหนึ่ง (๒) แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันโดยตลอดแล้วเห็นได้ว่า บทบัญญัติดังกล่าวได้ให้อำนาจนายกเทศมนตรีซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น และต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการของเทศบาลให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เทศบัญญัติ และนโยบายต่อสภาเทศบาลและราษฎรในเขตเทศบาล มีดุลพินิจที่จะแต่งตั้งบุคคลซึ่งมิใช่สมาชิกสภาเทศบาลที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามและที่ตนไว้วางใจเป็นรองนายกเทศมนตรี เพื่อให้เป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการของเทศบาล และถอดถอนรองนายกเทศมนตรีหรือสั่งให้รองนายกเทศมนตรีพ้นจากตำแหน่งเมื่อตนหมดความไว้วางใจแล้ว
ซึ่งโดยสภาพการที่นายกเทศมนตรีใช้ดุลพินิจมีคำสั่งถอดถอนหรือให้รองนายกเทศมนตรีผู้ใดพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากหมดความไว้วางใจในตัวรองนายกเทศมนตรีผู้นั้น ไม่อาจจะถือได้ว่าเป็ นการลงโทษรองนายกเทศมนตรีทั้งการกระทำหรือพฤติการณ์ของรองนายกเทศมนตรีที่เป็นเหตุให้นายกเทศมนตรีเสื่อมหรือหมดความไว้วางใจลงก็ไม่จำเป็นต้องเป็นการกระทำหรือพฤติการณ์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่องโดยเฉพาะเจาะจง แต่อาจจะเป็นการกระทำหรือพฤติการณ์ของรองนายกเทศมนตรีผู้นั้นโดยรวมก็ได้
กรณีจึงเห็นได้ชัดว่าโดยเหตุผลของเรื่องแล้ว การที่นายกเทศมนตรีใช้ดุลพินิจมีคำสั่งถอดถอนหรือให้รองนายกเทศมนตรีผู้ใดพ้นจากตำแหน่ง ไม่อยู่ในบังคับของมาตรา ๓๐ และมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ การที่ผู้ถูกฟ้องคดีมีคำสั่งโดยมิได้รับฟังผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นคู่กรณีในกระบวนการออกคำสั่งถอดถอนก่อน และมิได้จัดให้มีเหตุผลในการใช้ดุลพินิจไว้ในคำสั่งหรือในเอกสารแนบท้ายคำสั่งดังกล่าวโดยละเอียด จึงไม่อาจถือเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเหตุที่ไม่เป็นไปตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้นแต่อย่างใด และถือว่าผู้ถูกฟ้องคดีหมดความไว้วางใจผู้ฟ้องคดีแล้วโดยสิ้นเชิง จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่สุจริตหรือโดยมิชอบ
ดังนั้น การที่ผู้ถูกฟ้องคดีมีคำสั่งถอดถอนและให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งรองนายกเทศมนตรีจึงไม่ใช่การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย พิพากษายกฟ้อง (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๔๔๖/๒๕๕๘)
คดีนี้เป็นอุทาหรณ์ที่ดีสำหรับผู้บริหารในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีที่นายกเทศมนตรีมีอำนาจใช้ดุลพินิจเพื่อมีคำสั่งถอดถอนหรือให้รองนายกเทศมนตรีพ้นจากตำแหน่งได้ หากเห็นว่า รองนายกเทศมนตรีไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็ นไปตามแนวนโยบายที่วางไว้สำหรับการพัฒนาท้องที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบและเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอันจะเป็นประโยชน์สำหรับประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆ หรือจะกล่าวให้เข้าใจอย่างง่าย ๆ ว่า เมื่อกฎหมายได้ให้อำนาจนายกเทศมนตรีแต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีเพื่อช่วยเหลือในการบริหารราชการของเทศบาลตามที่นายกเทศมนตรีมอบหมายได้ แต่เมื่อนายกเทศมนตรีหมดความไว้วางใจในตัวรองนายกเทศมนตรีแล้ว นายกเทศมนตรีมีอำนาจใช้ดุลพินิจถอดถอนและมีคำสั่งให้รองนายกเทศมนตรีพ้นจากตำแหน่งได้ตามมาตรา ๔๘ โสฬส แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ และแม้คำสั่งดังกล่าวจะเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ก็ไม่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา ๓๐ และมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน การออกคำสั่งถอดถอนหรือให้รองนายกเทศมนตรีพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุข้างต้นจึงไม่ต้องให้โอกาสโต้แย้งและแสดงพยานฐานและไม่ต้องให้เหตุผลประกอบคำสั่งโดยไม่ถือว่าเป็นการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่บทบัญญัติดังกล่าวกำหนดไว้แต่อย่างใด
เครดิต :นางสาวจารุณี กิจตระกูล พนักงานคดีปกครองชำนาญการ , กลุ่มเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการและวารสาร , สำนักวิจัยและวิชาการ สำนักงานศาลปกครอง , คอลัมน์ระเบียบกฎหมาย วารสารกำนันผู้ใหญ่บ้าน ฉบับเดือนสิงหาคม ๒๕๕๙

เป็นวิทยากรบรรยาย..แต่อาศัยโอกาส..! ทำ “ทุจริต”

เมื่อใกล้ถึงช่วงสิ้นปีงบประมาณ สิ่งที่พบเห็นกันเป็นประจำในการปฏิบัติงานของส่วนราชการต่างๆ คงหนีไม่พ้นเรื่องที่หลายหน่วยงานต่างพากันเร่งรัดดำเนินโครงการและเบิกจ่ายเงินงบประมาณให้เป็นไปตามแผน ซึ่งการดำเนินการเหล่านี้อาจเปิดช่องให้ข้าราชการบางคนอาศัยโอกาสหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยโอกาสจากอำนาจหน้าที่ของตนหาประโยชน์โดยมิชอบ อันเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่า เป็นข้อห้ามการประพฤติปฏิบัติตนสำหรับข้าราชการทุกคนที่หากฝุ่าฝืนข้อห้ามที่ได้มีการบัญญัติไว้แล้วจะถือว่าผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิดวินัย ส่วนจะเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของ การกระทำนั้นๆ โดยมีพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นกฎหมายหลักที่กำหนดลักษณะ การกระทำหรือพฤติการณ์ที่ถือว่าเป็นเหตุแห่งการกระทำผิดวินัยสำหรับข้าราชการพลเรือน รวมถึงข้าราชการประเภทอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดให้นำพระราชบัญญัติดังกล่าวไปอนุโลมบังคับใช้ และแม้ว่าพระราชบัญญัติดังกล่าวจะถูกยกเลิกไปแล้ว แต่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งบังคับใช้อยู่ในปัจจุบันก็ได้กำหนดลักษณะการกระทำหรือพฤติการณ์ของการกระทำผิดวินัยไว้ในทำนองเดียวกัน เช่น การปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้หรือเพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด การจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ การขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา หรือการดูหมิ่น เหยียดหยาม หรือข่มเหงประชาชนผู้มาติดต่อราชการอย่างร้ายแรง เป็นต้น ถือเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และหากผู้ใดกระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงนั้นแล้วก็จะต้องถูกลงโทษทางวินัยตามระดับโทษที่กฎหมายกาหนด คือ ปลดออกหรือไล่ออก
คอลัมน์ระเบียบกฎหมายฉบับนี้ เป็นพฤติการณ์การทุจริตของข้าราชการที่ได้อาศัยการเป็นวิทยากร ในโครงการฝึกอบรมเบิกเงินที่ได้รับอนุมัติไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวและทุจริตเบียดบังนัำมันรถยนต์ของราชการ ซึ่งนอกจาก จะเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นพฤติการณ์หรือลักษณะการกระทำที่เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงแล้ว ยังเป็นบรรทัดฐานที่ดีสาหรับหน่วยงานของรัฐหรือผู้มีอำนาจในการใช้ดุลพินิจและพิจารณาชั่งน้าหนักพยานหลักฐานก่อนที่จะมีคำสั่งลงโทษทางวินัยและเป็นอุทาหรณ์ให้กับข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐทั่วไปที่จะต้องตระหนักในหน้าที่ความรับผิดชอบ ไม่อาศัยโอกาสที่ตนมีตำแหน่งหน้าที่เบียดบังหรือแสวงหาประโยชน์ให้ตนเองในทางที่ไม่ชอบ
ข้อเท็จจริง คือ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑) มีคำสั่งลงโทษไล่ผู้ฟัองคดีออกจากราชการ ในความผิด ๒ กรณี กรณีแรก ขณะที่ผู้ฟัองคดีดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานชั่งตวงวัด ๗ ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าสำนักงานทะเบียนการค้าจังหวัดได้ร่วมกับนาย ส. (ผู้ใต้บังคับบัญชา) กระทำการทุจริตในการเบิกเงินงบประมาณโดยอาศัยโอกาสที่ตนเป็นวิทยากรในโครงการฝึกอบรม อพป. ของ กอรมน. ขอให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานผู้จัดฝึกอบรมรวบรวมรายชื่อ ผู้เข้ารับการอบรมและให้ผู้เข้ารับการอบรมกรอกชื่อ ที่อยู่และลงลายมือชื่อ จากนั้น ได้จัดทำแผนปฏิบัติงานตามโครงการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องชั่งตวงวัดของสำนักทะเบียนการค้าจังหวัดตามแผนพัฒนาจังหวัดประจำปีงบประมาณในระหว่างโครงการฝึกอบรม อพป. ของ กอรมน. ยังดำเนินการอยู่โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมายและวันอบรมให้ตรงกับโครงการอบรมดังกล่าว หลังจากที่ผู้ฟ้องคดีอนุมัติโครงการแล้วได้นำหลักฐานรายชื่อผู้เข้ารับการอบรม ใบสาคัญรับเงินค่าอาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่มที่จัดทำขึ้นอันเป็นเอกสารเท็จประกอบการเบิกเงินและนำเงินที่ได้รับอนุมัติไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว และกรณีที่สอง ผลการตรวจสอบบันทึกการใช้รถยนต์และใบอนุญาตการใช้รถยนต์ของสานักงานทะเบียนการค้าจังหวัดพบว่า ผู้ฟ้องคดีสั่งให้พนักงานขับรถยนต์นำรถยนต์ไปเติมน้ามันในวันศุกร์ ๔๕.๘๗ ลิตร รุ่งขึ้นวันเสาร์เติมน้ามันรถยนต์คันดังกล่าวอีก ๔๒.๔๓ ลิตร (รวม ๘๘.๓ ลิตร) ทั้งที่ถังน้ามันจุได้เพียง ๕๖ ลิตร แต่ระหว่างนั้นมีการใช้รถยนต์ระยะทาง ๕๐๖ กม. ควรใช้น้ามัน ๕๐.๖ ลิตร และมีการเติมน้ามันอีก ๓๘.๘ ลิตร ซึ่งไม่สมเหตุผลจึงน่าเชื่อว่าผู้ฟ้องคดีเบียดบังน้ำมันของทางราชการไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว
ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำสั่งไล่ออกจากราชการไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยอ้างว่าผู้ฟ้องคดีไม่ได้เข้าร่วมดำเนินการฝึกอบรมโครงการดังกล่าวเนื่องจากติดราชการสำคัญและได้มอบหมายให้นาย ส. เป็นผู้รับผิดชอบแทน รวมทั้งการจัดอบรมหลักสูตรดังกล่าวไม่มีการกำหนดพื้นที่เป้าหมายและวันอบรมให้ตรงกับการอบรมโครงการ อพป. และการอนุมัติให้เบิกจ่ายเงินก็เพราะเชื่อว่ามีการฝึกอบรมจริงเพราะมีลายมือชื่อผู้เข้ารับการอบรมและนาย ส. รับรองเอกสารที่ใช้ในการเบิกจ่าย ทั้งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในก็ตรวจสอบและไม่พบเหตุพิรุธหรือข้อสงสัย จึงไม่มีพยานหลักฐานที่แสดงให้เห็นหรือสนับสนุนว่าผู้ฟ้องคดีกระทำผิด ส่วนข้อกล่าวหาเรื่องทุจริตน้ำมันนั้น ผู้ฟ้องคดีจะต้องเตรียมเดินทางนำเครื่องมือชั่งตวงวัดที่ขอยืมจากสำนักงานทะเบียนการค้าท้องที่อื่นไปส่งคืนจึงได้เติมน้ำมันรถยนต์ของสำนักงานและเติมใส่ถังสารองไว้ แต่มีเหตุต้องเลื่อน การเดินทาง และน้ำมันสารองได้นามาใช้ในราชการปกติแล้ว
นอกจากข้อต่อสู้ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ผู้ฟ้องคดียังได้ยกข้ออ้างว่า ในส่วนคดีอาญา พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องผู้ฟ้องคดี แต่มีคำสั่งฟ้องนาย ส. เมื่อข้อกล่าวหาทางวินัยและทางอาญาตรงกัน จึงต้องรับฟังความเห็นของพนักงานอัยการ จึงขอให้ศาลปกครองมีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งลงโทษไล่ออกจากราชการดังกล่าว
คดีนี้ในชั้นสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงและคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย นาย ส. ได้ให้การรับสารภาพว่า ร่วมกับผู้ฟ้องคดีกระทำการทุจริตตามที่ถูกกล่าวหาโดยจัดทำเอกสารเท็จในการขอเบิกเงิน บางครั้งผู้ฟ้องคดีเป็นผู้จัดหาใบสาคัญรับเงินและบัญชีรายชื่อผู้เข้ารับการอบรม เมื่อผู้ฟ้องคดีอนุมัติและเบิกเงินแล้วได้นาเงินใส่แฟ้มเสนอผู้ฟ้องคดีและตนเองได้รับเงินบางส่วนจากผู้ฟ้องคดี สอดคล้องกับคำให้การของนาง ม. ลูกจ้างชั่วคราว ซึ่งเห็นธนบัตรในแฟ้มเสนอ นอกจากนี้ ผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านที่อ้างว่ามีการจัดฝึกอบรมยืนยันว่าตามวันเวลาและสถานที่ที่อ้างเป็นการอบรมโครงการ อพป. ของ กอรมน.
เมื่อฝ่ายผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีต่างก็มีข้ออ้างและเหตุผลสนับสนุนความเห็นของตน ศาลปกครองสูงสุดจะรับฟังพยานหลักฐานใด? เพือวินิจฉัยพฤติการณ์ของผู้ฟ้องคดีว่าการทุจริตต่อหน้าที่ราชการและเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือไม่..? 

และในการมีคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงผู้มีอำนาจจะต้องนำผลการพิจารณาความผิดทางอาญามาวินิจฉัยความผิดทางวินัยให้เป็นไปตามแนวทางเดียวกันหรือไม่?
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า เมื่อพิจารณาถ้อยคำของนาย ส. และผู้ฟ้องคดี ซึ่งเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่าร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่ราชการ แม้จะให้ถ้อยคำแตกต่างกันในสาระสาคัญว่า ผู้ฟ้องคดีได้เดินทางไปดำเนินการฝึกอบรม ทั้ง ๕ ครั้งหรือไม่ แต่จากพยานหลักฐานต่างๆ ประกอบกับถ้อยคำของผู้ฟ้องคดีเป็นการให้ถ้อยคำที่มีข้อพิรุธ ซึ่งในวันที่เปิดการฝึกอบรมครั้งแรกของปีงบประมาณ ผู้ฟ้องคดีในฐานะหัวหน้าส่วนราชการที่รับผิดชอบโครงการย่อมต้องให้ความสาคัญกับการจัดเตรียมความพร้อมทั้งด้านเจ้าหน้าที่ อุปกรณ์เครื่องมือและเอกสารที่เกี่ยวข้อง แต่ผู้ฟ้องคดีกลับอ้างว่าไม่ได้ร่วมดำเนินการฝึกอบรมแต่ไปราชการที่อื่นซึ่งมีลักษณะเป็นงานประจำและมีความสาคัญน้อยกว่า ประกอบกับจากการตรวจสอบแผนปฏิบัติการฝึกอบรมหลักสูตรความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือชั่งตวงวัดพบว่า พื้นที่เป้าหมายการฝึกอบรม ๕ จุด ตรงกันกับการฝึกอบรมโครงการ อพป. ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว อันเป็นข้อเท็จจริงที่สอดคล้องกับการให้ถ้อยคำของผู้ที่ไม่มีส่วนได้เสียและโกรธเคืองผู้ฟ้องคดีคือเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานผู้จัดฝึกอบรมว่า ผู้ฟ้องคดีได้เคยขอให้ช่วยนำเอกสารบัญชีรายชื่อของผู้รับ การอบรมโครงการ อพป. กรอกชื่อ ที่อยู่ และลงลายมือชื่อในระหว่างการฝึกอบรม จึงเป็นข้อเท็จจริงที่เชื่อได้ว่า ผู้ฟ้องคดีได้กระทำการทุจริตต่อหน้าที่ราชการโดยนำบัญชีรายชื่อที่เวียนให้ผู้เข้าอบรมโครงการ อพป. กรอกชื่อ ที่อยู่ พร้อมลงลายมือชื่อในระหว่างการฝึกอบรมเพื่อให้นาย ส. จัดทำเอกสารเท็จเบิกเงินงบประมาณค่าใช้จ่ายในการจัดฝึกอบรมโดยไม่ได้มีการฝึกอบรมจริง ประกอบกับส่วนราชการดังกล่าวมีข้าราชการปฏิบัติงานประจำเพียง ๒ คน ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการสามารถกำกับติดตามหรือตรวจสอบการปฏิบัติงานของข้าราชการในสังกัดได้อย่างทั่วถึงโดยง่าย การที่ผู้ฟ้องคดีไม่ทราบว่านาย ส. ทำเอกสารเท็จมาเบิกเงินโดยไม่มีการฝึกอบรมจริงนั้น จึงไม่อาจรับฟังได้
ส่วนข้อกล่าวหาเบียดบังน้ำมันรถยนต์ราชการนั้นเมื่อการเดินทางไปปฏิบัติราชการต่างท้องที่ ซึ่งมีระยะทางไกลหากน้ามันเชื้อเพลิงที่เติมไว้หมดลงก่อนเดินทางถึงที่หมาย ผู้เดินทางไปราชการสามารถเติมน้ามันเชื้อเพลิงจากสถานีบริการน้ามันที่อยู่รายทางและนำหลักฐานใบเสร็จรับเงินมาเบิกจ่ายจากราชการได้ และแม้ว่าการเติมน้ามันจากสถานีบริการน้ามันจะเป็นการสั่งซื้อน้ามันโดยผู้ขายเรียกเก็บเงินจากส่วนราชการในภายหลัง แต่ก็ไม่มีความจำเป็นถึงขนาดที่จะต้องเติมน้ามันเชื้อเพลิงใส่ถังแกลลอนเพื่อสำรองไว้ใช้ในการเดินทางไปราชการ อีกทั้งหากผู้ฟ้องคดีจะมีเจตนาสำรองน้ามันไว้ใช้ตามที่อ้างจริงก็ควรที่จะแสดงถึงเจตนาดังกล่าวต่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงในชั้นแรกด้วย แต่กลับมาแสดงถึงเจตนาในชั้นคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย นอกจากนั้นยังจงใจลงวันที่ในใบสั่งซื้อน้ามันผิดเพื่อให้มีช่วงเวลาห่างออกไปเพื่อไม่ให้มีพิรุธเนื่องจากถังน้ามันจุได้เพียง ๕๐ ลิตร อีกทั้งยังปรากฏว่าได้ใช้รถยนต์เพียง ๒๑ กิโลเมตร และไม่มีหนังสือขออนุญาตเดินทาง ไปราชการนอกสถานที่แต่อย่างใด
ดังนั้น แม้จะไม่ปรากฏพยานที่ยืนยันแน่ชัดว่าผู้ฟ้องคดีได้เบียดบังน้ำมันของทางราชการไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว แต่พฤติการณ์ย่อมพอฟังได้ว่าผู้ฟ้องคดีมีเจตนาทุจริตเบียดบังน้ำมันของทางราชการไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว และแม้ไม่ปรากฏพยานหลักฐานแน่ชัดว่าผู้ฟ้องคดีมีส่วนร่วมกับนาย ส. กระทาทุจริตในการเบิกเงิน แต่พฤติการณ์และการกระทำก็เป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่น ได้ประโยชน์ที่มิควรได้ อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการและเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามมาตรา ๘๒ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕
สาหรับการลงโทษทางวินัยจะต้องรับฟังความเห็นของพนักงานอัยการหรือไม่? นั้น
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยวางหลักไว้ว่า พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้กาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนพิจารณาโทษทางวินัยไว้เป็นการเฉพาะต่างหากจากวิธีการสอบสวน การดำเนินคดีอาญา โดยการดำเนินการทางวินัยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาระเบียบวินัยของข้าราชการซึ่งต่างจากการดำเนินคดีอาญาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อลงโทษผู้กระทำความผิด ผลการพิจารณาจึงมีความแตกต่างกันได้อันเนื่องมาจากระดับมาตรฐานในการพิจารณาวินิจฉัย และการที่พนักงานอัยการมีคาสั่งไม่ฟ้องผู้ฟูองคดีก็เพราะนาย ส. ให้การรับสารภาพว่ากระทำการทุจริตตามข้อกล่าวหาคนเดียว แต่เมื่อข้อเท็จจริงจากการสอบสวนทางวินัยฟังได้ว่าผู้ฟ้องคดีร่วมกันกับนาย ส. กระทำทุจริต พฤติการณ์จึงถือเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงแล้ว (คาพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๑๐๑/๒๕๕๕)
คดีปกครองข้างต้น นอกจากจะเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับหน่วยงานของรัฐในเรื่องการแสวงหาข้อเท็จจริง ตลอดจนการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานเพื่อประกอบการพิจารณาออกคำสั่งลงโทษทางวินัยของผู้มีอำนาจทั้งในชั้นการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ในชั้นการสอบสวนทางวินัยว่า ถึงแม้ว่าข้อเท็จจริงจะไม่ปรากฏพยานยืนยันความผิดชัดเจนหรือไม่ปรากฏพยานหลักฐานแน่ชัด แต่หากได้มีการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานหรือพิเคราะห์ข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน ทั้งพยานเอกสาร พยานบุคคลหรือแม้กระทั่งการให้ถ้อยคำของผู้ถูกกล่าวหาต่อคณะกรรมการสอบสวนที่สะท้อนให้เห็นเจตนาในการกระทำความผิดตามข้อกล่าวหา ย่อมสามารถนำพฤติการณ์ดังกล่าวมาวินิจฉัย เพื่อออกคาสั่งลงโทษทางวินัยได้ และถึงแม้คดีอาญาซึ่งมีมูลกรณีเดียวกัน พนักงานอัยการจะมีคาสั่งไม่รับฟ้องผู้ถูกกล่าวหา หากผลการสอบสวนทางวินัยพบว่า มีพฤติการณ์อันเป็นการกระทำความผิดทางวินัย ผู้มีอำนาจก็สามารถออกคำสั่งลงโทษทางวินัยตามหลักเกณฑ์และระดับโทษที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ กำหนดไว้ได้ และคดีนี้ยังเป็นอุทาหรณ์ให้กับข้าราชการทุกคนว่า ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการต่างๆ นั้น จะต้องไม่อาศัยโอกาสหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยโอกาสจากอำนาจหน้าที่ราชการของตนหาประโยชน์โดยมิชอบไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม และเหนือสิ่งอื่นใดสิ่งที่ข้าราชการจะต้องตระหนักและระลึกอยู่เสมอก็คือการครองตนให้เหมาะสมกับตาแหน่งหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความอุตสาหะ โปร่งใส ซื่อสัตย์ สุจริต และเที่ยงธรรม พฤติการณ์ใดที่เป็นข้อห้ามก็สมควรที่จะ ละเว้นเสีย รักษาระเบียบวินัยให้เป็นตามข้อบัญญัติกฎหมายทั้งที่เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเพื่อให้ประชาชนได้เกิดความเชื่อถือและไว้วางใจ สมกับเป็นข้าราชการ...“ข้าของแผ่นดิน”
เครดิต : นางสาวสุนันทา ศรีเพ็ง เจ้าหน้าที่ศาลปกครองชานาญการ , กลุ่มเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการและวารสาร , สานักวิจัยและวิชาการ สานักงานศาลปกครอง , คอลัมน์ระเบียบกฎหมาย วารสารกานันผู้ใหญ่บ้าน ฉบับเดือนตุลาคม ๒๕๕๕

ให้ผู้บังคับบัญชารับผิด ... แต่ไม่ให้โอกาสโต้แย้ง !

คดีปกครองที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังฉบับนี้ เป็นกรณีที่หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งเรียกให้ผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการที่ปล่อยปละละเลยไม่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชา แต่หน่วยงานมิได้ให้โอกาสแก่ผู้บังคับบัญชาได้ชี้แจงข้อเท็จจริงและโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานก่อน
เหตุพิพาทเกิดจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 (กรุงเทพมหานคร) มีคำสั่งให้นางสาว ส. เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี 4 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนกรณีไม่นำเงินรายได้ฝากเข้าบัญชีหรือนำฝากไม่ครบตามจำนวน แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 (กระทรวงการคลัง) เห็นว่าผู้ฟ้องคดีในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชาของนางสาว ส. ได้ปล่อยปละละเลยในการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาอันเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบโดยตรง เป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนด้วย
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จึงมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่ผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์คำสั่ง และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย) มีคำสั่งยกอุทธรณ์ ผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้องเพื่อขอให้ศาลปกครองมีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว
การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ออกคำสั่งโดยไม่ให้โอกาสผู้ฟ้องคดีได้ทราบข้อเท็จจริงและโต้แย้งแสดงพยานหลักฐาน เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ?
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า แม้ผู้ฟ้องคดีจะมิได้อุทธรณ์ว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มิได้ให้โอกาสทราบข้อเท็จจริงและโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานอย่างเพียงพอและเป็นธรรม แต่เมื่อผู้ฟ้องคดีได้แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องในประเด็นดังกล่าวแล้ว ศาลปกครองจึงชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยได้
และเมื่อคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ซึ่งจะต้องให้โอกาสแก่เจ้าหน้าที่ตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน ประกอบกับข้อ 15 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ตามหลักการรับฟังผู้ถูกกระทบสิทธิหรือหลักการรับฟังคู่กรณีทุกฝ่าย อันเป็นหลักการพื้นฐานในการคุ้มครองสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้มีอำนาจออกคำสั่งให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตลอดจนกระทรวงการคลังได้รับฟังข้อต่อสู้หรือพยานหลักฐานของเจ้าหน้าที่อย่างครบถ้วนก่อนที่จะพิจารณาว่าจะต้องรับผิดหรือไม่ เพียงใด
การให้โอกาสแก่เจ้าหน้าที่ได้ทราบข้อเท็จจริงและโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานของตนอย่างเพียงพอและเป็นธรรม จึงเป็นขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เมื่อผู้ฟ้องคดีไม่ได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและไม่มีโอกาสโต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน และกรมบัญชีกลางก็ไม่ได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีส่งพยานหลักฐานหรือให้ถ้อยคำเพื่อประกอบการพิจารณาเพิ่มเติมตามข้อ 17 วรรคสาม ของระเบียบเดียวกัน ผู้ฟ้องคดีจึงไม่ได้โต้แย้งแสดงพยานหลักฐานของตนก่อนที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 จะมีความเห็นให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในฐานะผู้บังคับบัญชาของนางสาว ส. ซึ่งขัดต่อหลักการรับฟังคู่กรณีทุกฝ่าย
ดังนั้น คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ที่ให้ผู้ฟ้องคดีรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจึงเป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย พิพากษาเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว
คดีนี้ถือเป็นบรรทัดฐานที่ดีสำหรับหน่วยงานของรัฐซึ่งมีอำนาจในการออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ว่า หน่วยงานจำต้องให้โอกาสแก่เจ้าหน้าที่ในการได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสโต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตนก่อน เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าหน้าที่ที่จะถูกกระทบจากผลของคำสั่งดังกล่าว และถือว่าเป็นรูปแบบ ขั้นตอน และวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่มีผลทำให้คำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยศาลปกครองมีอำนาจตรวจสอบการกระทำดังกล่าวได้ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และคดีนี้ปรากฏข้อเท็จจริงว่าในชั้นอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองนั้น ผู้ฟ้องคดีไม่ได้โต้แย้งเกี่ยวกับการที่ไม่ได้รับทราบข้อเท็จจริงและโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 30 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ข้อ 15 แต่ในชั้นการฟ้องคดีต่อศาลปกครองชั้นต้นผู้ฟ้ องคดีได้แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้ องในประเด็นดังกล่าว และศาลปกครองได้ยกขึ้นพิจารณาด้วย จะถือว่าการให้โอกาสคู่กรณีได้ทราบข้อเท็จจริงและโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานเป็นประเด็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนที่ศาลปกครองจะยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 ข้อ 92 ประกอบข้อ 116 หรือไม่ ? สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ในคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 626/2557 ครับ !
เครดิต : นายปกครอง , หนังสือพิมพ์บ้านเมือง คอลัมน์คดีปกครอง ฉบับวันเสาร์ที่ 4 เมษายน 2558

อ้างบทกฎหมายไม่ถูกต้อง ... มีผลให้คำสั่ง (ไม่) ชอบด้วยกฎหมาย

คดีปกครองที่จะนามาฝากวันนี้ เป็นเรื่องการนำหลักกฎหมายระหว่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งใช้ในขณะที่มีการกระทำละเมิดมาปรับกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น กับการนำ บทกฎหมายที่บัญญัติขึ้นมาใหม่ คือ พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ มาอ้างในคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
แต่ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหาของข้อพิพาทและเพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้น ผู้เขียนก็ขอทบทวนหลักการสาคัญของกฎหมายทั้งสองฉบับสักเล็กน้อย ซึ่งต่างก็รู้กันดีอยู่แล้วว่า ก่อนที่พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ จะมีผลใช้บังคับ เมื่อเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อบุคคลภายนอก หรือต่อหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะมีสาเหตุมาจากการปฏิบัติงานในหน้าที่หรือส่วนตัวก็ตาม จะต้องนำบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาบังคับแก่ทุกกรณี ซึ่งจะมีผลทาให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่ว่าการกระทำละเมิดนั้นจะเกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรงก็ตาม ต่อมา เมื่อพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ ความรับผิดของเจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิด ก็เปลี่ยนไปโดยเจ้าหน้าที่มีความรับผิดเฉพาะกรณีที่ได้กระทำละเมิดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น และไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวนโดยให้คำนึงถึงระดับความร้ายแรงแห่งการกระทำและความเป็นธรรมในแต่ละกรณี รวมทั้งต้องหักส่วนความรับผิดอันเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐหรือระบบการดำเนินงานส่วนรวมด้วย หรือในกรณีที่ การกระทำละเมิดเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่หลายคน เจ้าหน้าที่แต่ละคนต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะส่วนของตนโดยมิให้นาหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมมาใช้บังคับ
ดังนั้น หลักเกณฑ์ในส่วนที่เป็น “สารบัญญัติ” ของกฎหมายทั้งสองฉบับจึงมีความแตกต่างกัน ซึ่งหากการกระทำละเมิดเกิดขึ้นก่อนที่พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ มีผลใช้บังคับ เมื่อหน่วยงานของรัฐได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายไปแล้วและใช้สิทธิไล่เบี้ยกับเจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิด เจ้าหน้าที่ก็ต้องรับผิดเต็มจานวนความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรงก็ตาม
ในช่วงเวลาที่ผ่านมา คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่หลายคดี อาทิ คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๕๒๓/๒๕๕๔ หรือคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๕๓๔/๒๕๕๕ รวมทั้งคดีพิพาทในคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๖๐๙/๒๕๕๕ ที่ยกมาเป็นอุทาหรณ์ฉบับนี้ ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยในแนวทางเดียวกันว่า การกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งเกิดขึ้นก่อนพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ประกาศใช้บังคับ แต่โดยที่พระราชบัญญัติดังกล่าวไม่มีบทเฉพาะกาลกำหนดหลักเกณฑ์ที่ใช้บังคับแก่การกระทำละเมิด ของเจ้าหน้าที่ จึงต้องพิจารณาความรับผิดตามหลักกฎหมายทั่วไป ซึ่งอาจแยกพิจารณาหลักเกณฑ์ ของกฎหมายในส่วนที่เป็นสารบัญญัติและวิธีสบัญญัติออกจากกัน โดยส่วนที่เป็น “สารบัญญัติ” ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่มี การกระทำละเมิดเกิดขึ้น แต่ในส่วนที่เป็น “วิธีสบัญญัติ” ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ และระเบียบสานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์ การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจยังไม่ชัดเจนว่าหลักเกณฑ์ใดเป็นส่วนที่เรียกว่า “สารบัญญัติ” หรือ “วิธีสบัญญัติ” และหากหน่วยงานของรัฐที่ได้รับความเสียหายได้ดำเนินการถูกต้องตามหลักเกณฑ์ ทั้งในส่วน “สารบัญญัติ” หรือ “วิธีสบัญญัติ” แต่ในการออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนกลับอ้างบทกฎหมายไม่ถูกต้อง โดยอ้างบทบัญญัติในพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ มิได้อ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นกฎหมายที่นามาใช้ปรับกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น กรณีนี้จะถือว่าเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ?
เรื่องราวของคดีนี้สืบเนื่องจากผู้ฟ้องคดีขณะดำรงตำแหน่งผู้บังคับหมวด สังกัด กองกำกับการตารวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓ ได้ขับรถยนต์ของทางราชการไปเฉี่ยวชนกับรถจักรยานยนต์ของนาย ส. เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๓๘ จากการสอบสวนข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีความเห็นว่า มิใช่เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้ฟ้องคดี แต่กระทรวงการคลังเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีต้องรับผิดตามมาตรา ๔๒๐ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ถูกฟ้องคดี (ผู้กำกับการ กองกำกับการตารวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓) ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากสำนักงานตารวจแห่งชาติจึงใช้สิทธิไล่เบี้ยโดยมีคำสั่งลงวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๔๗ ให้ผู้ฟ้องคดีชดใช้ค่าสินไหมทดแทนคืนแก่สำนักงานตารวจแห่งชาติ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๘ มาตรา ๙ และมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำสั่งเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยตนจะต้องรับผิดเฉพาะกรณีที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น จึงนำคดีมาฟ้องขอให้ศาลปกครองเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า เมื่อการกระทำละเมิดเกิดขึ้นก่อนที่พระราชบัญญัติ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ มีผลใช้บังคับ ในส่วนของวิธีสบัญญัติ อันได้แก่ ขั้นตอนการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด การรายงานความเห็นต่อกระทรวงการคลัง และการเรียกให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงต้องนำหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ และระเบียบสานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ มาใช้บังคับ แต่ในส่วนของสารบัญญัติ อันได้แก่ ความรับผิดในทางละเมิด สิทธิไล่เบี้ย และความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ดังนั้น แม้การกระทำละเมิดมิใช่เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ผู้ฟ้องคดี ก็ยังต้องรับผิดและผู้ถูกฟ้องคดีย่อมใช้สิทธิไล่เบี้ยได้ตามมาตรา ๔๒๕ มาตรา ๔๒๖ และมาตรา ๔๒๗ ประกอบมาตรา ๗๖ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การที่คำสั่งลงวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๔๗ อาศัยอำนาจตามมาตรา ๘ มาตรา ๙ และมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ อันเป็นบทบัญญัติที่ใช้ในกรณีหน่วยงานของรัฐออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เนื่องจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง และยังได้อาศัยอำนาจตามมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ อันเป็นเรื่องการบังคับทางปกครองซึ่งมิอาจใช้บังคับได้กับกรณีนี้ จึงเป็นการออกคำสั่งที่อ้างบทกฎหมายไม่ถูกต้องเท่านั้น หาทำให้คาสั่งดังกล่าวเสียไปทั้งหมดหรือเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อีกทั้งผู้ถูกฟ้องคดีสามารถแก้ไขคำสั่งนี้โดยอ้างอิงบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ พิพากษายกฟ้องและให้ผู้ถูกฟ้องคดีแก้ไขคำสั่งในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้อานาจในการออกคำสั่งให้ถูกต้องต่อไป
คำพิพากษานี้ไม่เพียงแต่จะทำให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐได้รู้เกี่ยวกับ การใช้บทบัญญัติของกฎหมายกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะกรณีการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ที่เกิดขึ้นก่อนที่พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ จะมีผลใช้บังคับเท่านั้น หากแต่ยังเป็นบรรทัดฐานการปฏิบัติราชการที่ดีสาหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจออกคำสั่งทางปกครองให้มีความระมัดระวังและรอบคอบในการตรวจสอบบทบัญญัติของกฎหมายและการนำบทบัญญัติของกฎหมายมาใช้เป็นฐานในการออกคำสั่ง เพราะแม้ว่าการอ้างบทบัญญัติของกฎหมาย ไม่ถูกต้องจะไม่กระทบต่อความชอบด้วยกฎหมายของเนื้อหาสาระในคำสั่งก็ตาม แต่ก็อาจสะท้อนให้เห็นถึงความไม่รู้และไม่เข้าใจในหลักกฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งย่อมมีผลต่อความไว้วางใจของคู่กรณี ในการทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐได้
เครดิต : นางสาวจารุณี กิจตระกูล พนักงานคดีปกครองชานาญการ , กลุ่มเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการและวารสาร , สานักวิจัยและวิชาการ สานักงานศาลปกครอง , วารสารกรมประชาสัมพันธ์ คอลัมน์กฎหมายใกล้ตัว ฉบับเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๖

ฟ้องละเลยต่อหน้าที่ ... ต้อง “ร้องเรียน” ก่อนฟ้องคดีปกครอง ?

ประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการที่ฝ่ายปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรนั้น สามารถยื่นฟ้องเป็นคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เพื่อเยียวยาแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเสียหายที่เกิดขึ้นได้
แต่การฟ้องคดีดังกล่าวมีประเด็นที่น่าสนใจว่า ผู้ฟ้องคดีต้องยื่นคำขอหรือมีหนังสือร้องเรียนต่อฝ่ายปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อให้มีการดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนหรือเสียหายที่เกิดขึ้นก่อนฟ้องคดี หรือไม่
คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในวันนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการที่ฝ่ายปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ไม่ดำเนินการควบคุมการประกอบกิจการค้าของเก่า ส่งผลให้เกิดผลกระทบด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ประชาชนในชุมชน
ผู้ฟ้องคดีเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนเดียวกันกับที่ตั้งสถานประกอบกิจการค้าของเก่าเห็นว่า ตนได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการละเลยต่อหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ (กรุงเทพมหานคร ที่ 1 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ 2 กระทรวงสาธารณสุข ที่ 3 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่ 4) ที่ไม่ดำเนินการควบคุม ตรวจสอบการประกอบกิจการค้าของเก่า รวมทั้งไม่แก้ไขปัญหาทางด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ของประชาชนในชุมชนตามที่กฎหมายฉบับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้กำหนดไว้ จนก่อให้เกิดผลกระทบด้านต่าง ๆ เช่น ปัญหาการส่งเสียงรบกวน การเผาพลาสติกและสายไฟจนเกิดกลิ่นเหม็น และการตัดโลหะโดยใช้แก๊สทำให้เกิดเหตุระเบิดจนมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
จึงฟ้องคดีต่อศาลปกครองขอให้มีการจัดทำแผนหรือมาตรการการป้องกันสาธารณภัยและแผนฟื้นฟูเยียวยาผู้ประสบภัยพิบัติภายหลังเกิดเหตุ และให้จัดระเบียบการขายทอดตลาดหรือรับซื้อของเก่าเป็นโซนตามที่กฎหมายกำหนดพร้อมทั้งตรวจสอบสถานที่รับซื้อของเก่าให้ถูกสุขลักษณะตามมาตรฐานทุกปี
โดยที่ผู้ฟ้องคดีไม่ได้มีหนังสือร้องเรียนต่อผู้ถูกฟ้ องคดีทั้งสี่ให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นก่อนการฟ้องคดีแต่อย่างใด
คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดได้พิจารณาประเด็นการเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีโดยได้วินิจฉัยว่า ผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนและเสียหายจากการละเลยต่อหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ที่ไม่ดำเนินการควบคุมและตรวจสอบการประกอบกิจการค้าของเก่า รวมทั้งไม่แก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการประกอบกิจการดังกล่าวตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ
ผู้ฟ้องคดีซึ่งได้รับความเดือดร้อนเสียหาย จึงชอบที่จะยื่นคำขอแสดงความประสงค์หรือมีหนังสือร้องเรียนต่อผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่เพื่อให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ แต่ก็ไม่ปรากฏว่า ผู้ฟ้องคดีได้ดำเนินการดังกล่าวแต่อย่างใด
นอกจากนี้ การจะดำเนินการตามคำขอโดยกำหนดมาตรการหรือดำเนินการจัดระเบียบสำหรับผู้ประกอบกิจการค้าของเก่าอย่างไรนั้น เป็นอำนาจดุลพินิจของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ ศาลปกครองไม่อาจก้าวล่วงเข้าไปสั่งให้ดำเนินการในเรื่องดังกล่าวได้ คำขอของผู้ฟ้องคดีจึงเป็นคำขอที่ศาลไม่อาจกำหนดคำบังคับตามมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
ดังนั้น การที่ผู้ฟ้องคดีไม่ได้ยื่นคำขอหรือทำหนังสือร้องเรียนก่อนการฟ้องคดี และการมีคำขอประกอบคำฟ้องในลักษณะที่เป็นอำนาจดุลพินิจที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ต้องดำเนินการ จึงเป็นกรณีที่ทำให้ผู้ฟ้องคดีไม่ใช่ผู้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 602/2558)
คดีนี้เป็นตัวอย่างที่ดีเกี่ยวกับเงื่อนไขการฟ้องคดีปกครอง สำหรับผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้จากการละเลยต่อหน้าที่ของฝ่ายปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐว่า
(1) หากการฟ้องคดีเพื่อให้ฝ่ายปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ เป็นกรณีที่เกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ดังเช่นข้อเท็จจริงในคดีนี้แล้ว ก่อนการยื่นฟ้องคดีต้องมีการยื่นคำขอหรือมีหนังสือร้องเรียนต่อฝ่ายปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนหรือเสียหายที่เกิดขึ้นก่อน เพื่อให้ฝ่ ายปกครองหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้มีโอกาสดำเนินการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นตามอำนาจหน้าที่ อันเป็นการดำเนินการที่เป็นสาระสำคัญก่อนฟ้ องคดีต่อศาลปกครอง
(2) การมีคำขอประกอบคำฟ้องนั้นจะต้องเป็นคำขอที่ศาลปกครองสามารถกำหนดคำบังคับได้ตามมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 หากคำขอใดเป็นคำขอที่ศาลปกครองไม่อาจกำหนดคำบังคับได้ เช่น การขอให้ศาลปกครองมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ฝ่ายปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นอำนาจดุลพินิจของฝ่ายปกครองแล้ว กรณีจะส่งผลให้บุคคลดังกล่าวไม่ใช่ผู้มีสิทธิฟ้ องคดีต่อศาลปกครอง และศาลปกครองมีอำนาจไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา ... ครับ !
เครดิต : นายปกครอง , หนังสือพิมพ์บ้านเมือง คอลัมน์คดีปกครอง ฉบับวันเสาร์ที่ 23 เมษายน 2559

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...