28 มิ.ย. 2562

ห้ามลงโทษมากกว่าหนึ่งครั้ง...สำหรับความผิดที่ได้กระทำเพียงครั้งเดียว...

ครบเครื่องคดีปกครองวันนี้... มาว่ากันด้วยหลักกฎหมายทั่วไปที่ว่า... “บุคคลไม่อาจถูกลงโทษหลายครั้งสำหรับการกระทำความผิดครั้งเดียวได้” ไม่ว่าบุคคลนั้นจะได้กระทำความผิดในทางอาญา ทางปกครอง หรือทางวินัย ซึ่งหมายความว่า ไม่สามารถลงโทษประเภทเดียวกันซํ้ากันในความผิดเดียวกันได้นั่นเอง
เพื่อให้เห็นภาพที่เป็นรูปธรรมขึ้น มาดูคดีอุทาหรณ์ซึ่งศาลปกครองสูงสุดได้วางบรรทัดฐานเกี่ยวกับหลักการดังกล่าวไว้อย่างชัดเจน อันจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อผู้มีอำนาจในการดำเนินการลงโทษประเภทต่างๆ ตลอดจนตัวเจ้าหน้าที่ผู้ถูกลงโทษด้วย
โดยคดีนี้ผู้ฟ้องคดี คือนายชาคร ซึ่งในขณะรับราชการเป็นพนักงานส่วนตำบล ตำแหน่งปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการตรวจการจ้างและกรรมการตรวจรับพัสดุในโครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กทางเข้าหมู่บ้าน ซึ่งหลังจากการก่อสร้างดำเนินการแล้วเสร็จและผ่านการตรวจรับแล้ว ก็ได้มีผู้ร้องเรียนว่าการก่อสร้างถนนดังกล่าวไม่เป็นไปตามแบบที่กำหนด อำเภอจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงขึ้น
ผลการสอบข้อเท็จจริงปรากฏว่ามีผู้อยู่ในข่ายกระทำความผิดรวม 7 คน และหนึ่งในนั้นมีนายชาครปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลรวมอยู่ด้วย นายชาครจึงถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย กรณีมีพฤติกรรมส่อไปในทางทุจริตในโครงการก่อสร้างถนนดังกล่าว โดยผลการสอบสวนเห็นว่านายชาคร มีความผิดฐานไม่ระมัดระวังรักษาประโยชน์ของทางราชการ ละเลยไม่ออกไปตรวจสอบความถูกต้องตามแบบแปลนของโครงการก่อสร้าง อันเป็นความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง สมควรลงโทษตัดเงินเดือนร้อยละ 5 เป็นเวลา 3 เดือน จึงได้มีคำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบลลงโทษตัดเงินเดือนนายชาคร
แต่... เรื่องมิได้ยุติเพียงเท่านี้ครับ เมื่อต่อมาคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีหนังสือแจ้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลให้พิจารณาโทษทางวินัยนายชาคร ตามมาตรา 92 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 เนื่องจาก ป.ป.ช.ได้รับเรื่องร้องเรียนกรณีดังกล่าว โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้ทำการไต่สวนแล้วมีมติว่า การกระทำของนายชาครมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ และฐานปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง รวมทั้งยังมีมูลความผิดทางอาญาฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จัดทำและรับรองเอกสารอันเป็นเท็จ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพิจารณาเห็นว่าการกระทำของนายชาครเป็นความผิดวินัยร้ายแรงตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูล โดยคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลฯ ได้พิจารณาเห็นชอบให้องค์การบริหารส่วนตำบลลงโทษไล่นายชาครออกจากราชการ จึงได้มีคำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบลไล่นายชาครออกจากราชการในที่สุด นายชาครได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่ง แต่ก็ถูกยกอุทธรณ์ในส่วนของการดำเนินคดีอาญานั้น ศาลจังหวัดได้ตัดสินว่านายชาครมีความผิดจริง จึงได้มีการลงโทษจำคุก แต่เนื่องจากได้รับสารภาพและไม่เคยทำความผิดมาก่อนโทษจำคุกจึงให้รอลงอาญาไว้ 1 ปี
งานนี้...นายชาครได้ดับอนาคตทางราชการของตัวเองโดยแท้ แต่นายชาครยังคงมีความหวังที่จะได้กลับเข้ารับราชการ เมื่อเห็นว่าตนได้ถูกลงโทษทางวินัยด้วยการตัดเงินเดือนไปแล้ว การถูกลงโทษไล่ออกจากราชการอีก ถือเป็นการลงโทษทางวินัยซํ้ากัน ในมูลความผิดอันเดียวกัน อันขัดต่อหลักกฎหมายทั่วไป จึงนำเรื่องมาฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งไล่ออกจากราชการดังกล่าว
ประเด็นนี้ ศาลปกครองสูงสุดท่านได้วินิจฉัยวางหลักว่า... การลงโทษบุคคลไม่ว่าโทษนั้นจะเป็นโทษทางอาญา ทางปกครอง หรือ ทางวินัย ถือได้ว่า เป็นการจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพในชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของบุคคลผู้ถูกลงโทษ การลงโทษบุคคลมากกว่าหนึ่งครั้งสำหรับการกระทำความผิดที่บุคคลนั้นได้กระทำเพียงครั้งเดียว จึงเท่ากับเป็นการจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้โดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายเกินความจำเป็นแก่การรักษาไว้ซึ่งประโยชน์สาธารณะที่กฎหมายฉบับที่ให้อำนาจจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพนั้นๆ มุ่งหมายจะให้ความคุ้มครอง อันเป็นการขัดกับหลักกฎหมายทั่วไป และต้องห้ามตามมาตรา 29 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ด้วย
แม้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 จะบัญญัติไว้ในมาตรา 91 ความว่า เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.ไต่สวนข้อเท็จจริงแล้วมีมติว่าข้อกล่าวหาใดไม่มีมูลให้ข้อกล่าวหานั้นตกไป ข้อกล่าวหาใดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติว่ามีมูลความผิดให้ดำเนินการ ตามมาตรา 92
(2) คือเมื่อมีมติว่าผู้ถูกกล่าวหาใดกระทำผิดวินัย ให้ประธานกรรมการส่งรายงานพร้อมความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนผู้นั้น เพื่อพิจารณาโทษทางวินัย ตามฐานความผิดที่ ป.ป.ช. มีมติ โดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอีก โดยให้ถือว่าเอกสาร รายงานความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช.เป็นสำนวนการสอบสวนทางวินัยของคณะกรรมการสอบสวนวินัย และให้ผู้มีอำนาจสั่งพิจารณาลงโทษภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับเรื่อง ซึ่งคำสั่งลงโทษไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการถือเป็นการดำเนินการภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายนี้
โดยศาลท่านเห็นว่า บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว หาได้มีผลเป็นการยกเลิกหรือยกเว้นผลบังคับของหลักกฎหมายทั่วไปที่ห้ามมิให้ลงโทษบุคคลใดบุคคลหนึ่งมากกว่าหนึ่งครั้ง สำหรับความผิดที่บุคคลนั้นได้กระทำเพียงครั้งเดียว และมาตรา 29 แห่งรัฐธรรมนูญฯ แต่อย่างใดไม่
ดังนั้น การกระทำที่จะไม่ให้เป็นการขัดกับหลักกฎหมายทั่วไปและรัฐธรรมนูญดังกล่าว นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจะต้องดำเนินการเพิกถอนคำสั่งเดิมที่สั่งลงโทษตัดเงินเดือนร้อยละ 5 เป็นเวลา 3 เดือน โดยให้การเพิกถอนมีผลย้อนไปถึงวันออกคำสั่งตามกระบวนการขั้นตอนของกฎหมายเสียก่อน เมื่อเพิกถอนแล้วก็จะถือได้ว่าผู้ฟ้องคดีไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยสำหรับการกระทำผิดในเรื่องนี้ มาก่อน แล้วจึงมีคำสั่งไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการตามมติของ ป.ป.ช.ได้
การที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (ผู้ถูกฟ้องคดี) มีคำสั่งลงโทษไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการโดยไม่เพิกถอนคำสั่งลงโทษเดิม จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยหลักกฎหมายทั่วไปและมาตรา 29 ของรัฐธรรมนูญฯ ศาลปกครองสูงสุดจึงยืนตามศาลปกครองชั้นต้นที่ให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษไล่ออกจากราชการตามที่พิพาท (คดีหมายเลขแดงที่ อ.7/2557)
กรณีนี้ แม้ผู้ฟ้องคดีจะเป็นฝ่ายชนะคดี แต่ก็หาใช่ว่าจะได้กลับไปรับราชการเช่นเดิม เพราะจาก คำวินิจฉัยของศาล แสดงให้เห็นว่าผู้ถูกฟ้องคดีเพียงดำเนินการไม่ถูกต้อง เนื่องจากไม่เพิกถอนคำสั่งเดิมเสียก่อน จึงถือเป็นการลงโทษซํ้าซ้อนในความผิดเดียวกัน ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีก็สามารถที่จะเพิกถอนคำสั่งเดิมและดำเนินการลงโทษใหม่ให้ถูกต้องตามขั้นตอนได้นั่นเอง โดยหลักกฎหมายทั่วไปที่ห้ามมิให้มีการลงโทษซํ้าซ้อนนี้ เป็นหลักการที่ใช้กับการลงโทษทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นวินัย ปกครอง และอาญา
จะเห็นได้ว่า...หลักกฎหมายทั่วไปนั้น นับว่ามีบทบาทสำคัญที่ศาลจะนำมาใช้ในการรักษาและประกันสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน โดยถือเป็นหลักความเป็นธรรมตามธรรมชาติซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป อันเป็นที่มาหรือเป็นรากฐานของทุกระบบกฎหมาย โดยศาลจะเป็นผู้รับรองและใช้หลักกฎหมายทั่วไปดังกล่าว
สำหรับอุทาหรณ์คดีที่เกิดขึ้นนี้ ยังคงยืนยันสุภาษิตอมตะโบราณที่ว่า “ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน” ได้ดีทีเดียวอีกด้วยครับ !!
เครดิต : ครองธรรม ธรรมรัฐ

คณะกรรมการประเมินมีมติให้แก้ผลงาน...หลายครั้ง ! เกินจำเป็นหรือไม่ ?

การประเมินผลงานเพื่อเลื่อนขึ้นดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น เป็นวิธีการหนึ่งในการบริหารงานบุคคลภาครัฐที่ส่วนราชการต่าง ๆ ได้นำมาใช้เพื่อคัดเลือกข้าราชการที่มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ ที่เหมาะสมให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น ซึ่งการมีมติให้ผลงานผ่านการประเมินหรือไม่ หรือสมควรให้ข้าราชการ ผู้ขอรับการประเมินปรับปรุงแก้ไขผลงานใหม่ให้สมบูรณ์อย่างไร ?
ถือเป็นอำนาจหน้าที่และเป็น “ดุลพินิจ” ของคณะกรรมการประเมินที่หน่วยงานของรัฐได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ดังกล่าว แต่การใช้อำนาจจะต้องไม่เป็นไปตามอาเภอใจ ต้องอยู่ภายใต้ หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครองที่ศาลปกครองมีอานาจตรวจสอบได้ ดังเช่น...
คดีปกครองที่จะนามาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้
คณะกรรมการประเมินผลงานทางวิชาการ ได้ตรวจประเมินผลงานทางวิชาการของ ผู้ขอรับการประเมินและมีมติให้ผู้ขอรับการประเมินปรับปรุงแก้ไขผลงานทางวิชาการสองครั้ง โดยแต่ละครั้ง มีข้อสังเกตให้ปรับปรุงแก้ไขผลงานในประเด็นที่แตกต่างกัน แต่ในที่สุดก็มีมติไม่ผ่านผลงานทางวิชาการของผู้ขอรับการประเมิน
กรณีดังกล่าวมีปัญหาที่น่าสนใจ คือ คณะกรรมการประเมินผลงานทางวิชาการมีอำนาจ กระทำได้หรือไม่ เพียงใด และศาลปกครองมีอำนาจตรวจสอบเนื้อหาสาระของผลงานทางวิชาการ แทนคณะกรรมการประเมินผลงานทางวิชาการหรือไม่
มูลเหตุของคดีนี้เกิดจาก ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นขอรับการประเมินผลงานทางวิชาการ เพื่อเลื่อน วิทยฐานะเป็นครูชำนาญการพิเศษ คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัด เดิม) (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2) จึงแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจและประเมินรายงานผลการปฏิบัติงานและผลงานทางวิชาการ (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3) จานวน 9 คน โดยมีกรรมการจำนวน 3 คน เป็นผู้ตรวจผลงานทางวิชาการของผู้ฟ้องคดี
หลังจากนั้น คณะกรรมการตรวจและประเมินฯ ได้ประชุมพิจารณาผลงานทางวิชาการของผู้ฟ้องคดีครั้งที่ 1 และมีมติไม่ให้ผ่านเกณฑ์ โดยผู้ตรวจผลงานทางวิชาการจำนวน 2 คน มีความเห็นให้ผ่าน และอีก 1 คน ไม่ให้ผ่าน โดยให้ปรับปรุงแก้ไขผลงานทางวิชาการตามข้อสังเกตให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน
ผู้ฟ้องคดีได้ปรับปรุงแก้ไขผลงานตามข้อสังเกตและเสนอผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ตามเวลาที่กาหนด
ต่อมา คณะกรรมการตรวจและประเมินฯ ได้ประชุมพิจารณาผลงานทางวิชาการของผู้ฟ้องคดีครั้งที่ 2 และมีมติไม่ให้ผ่านเกณฑ์ โดยผู้ตรวจผลงานทางวิชาการจานวน 2 คน มีความเห็นให้ผ่าน และ อีก 1 คน (คนเดิม) ไม่ให้ผ่าน โดยมีข้อสังเกตให้ปรับปรุงผลงานทางวิชาการเพิ่มเติมจากข้อสังเกตที่ได้ตรวจประเมินครั้งที่ 1 และให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 (ศึกษาธิการจังหวัด (ผู้อานวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เดิม)) ได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีปรับปรุงผลงาน
เมื่อปรับปรุงผลงานตามข้อสังเกตแล้วจึงได้เสนอคณะกรรมการตรวจและประเมินฯ
แต่ต่อมาคณะกรรมการตรวจและประเมินฯ ได้มีมติไม่อนุมัติให้ผู้ฟ้องคดีผ่านการประเมิน ผลงานและผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ไม่อนุมัติให้ผู้ฟ้องคดีเลื่อนเป็นวิทยฐานะครูชานาญการพิเศษ
ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า การไม่อนุมัติให้ผู้ฟ้องคดีผ่านการประเมินและไม่อนุมัติให้เลื่อนเป็น วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คดีนี้ ผู้ฟ้องคดีมีคำขอหลายประการและศาลปกครองชั้นต้นไม่รับคำฟ้องของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 (คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา) และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 และไม่รับคาขอหลายประการโดยศาลปกครองสูงสุดยืนตามคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นดังกล่าว
ประเด็นที่ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยในคดีนี้ คือ มติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ที่ไม่อนุมัติให้ผู้ฟ้องคดีเลื่อนเป็นวิทยฐานะครูชานาญการพิเศษชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ?
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 มีอำนาจให้ผู้รับการตรวจและประเมินปรับปรุงแก้ไขผลงานทางวิชาการโดยเป็นดุลพินิจของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 และเมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ประเมินผลงานทางวิชาการโดยทาการตรวจประเมินครั้งที่ 1 และมีมติให้ปรับปรุงแก้ไขผลงานทางวิชาการใหม่ตามข้อสังเกต โดยผู้ฟ้องคดีได้ปรับปรุงแก้ไขผลงานแล้วเสร็จ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 มีมติให้ปรับปรุงผลงานทางวิชาการใหม่ครั้งที่ 2 ตามข้อสังเกตเพิ่มเติม แม้การประเมินผลงานเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 และศาลไม่อาจก้าวล่วงดุลพินิจโดยแท้ในทางวิชาการของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ได้ แต่ในขั้นตอนของการตรวจและประเมินผลงานดังกล่าว หากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ได้อ่านผลงานของผู้ฟ้องคดีแล้วเห็นว่าต้องปรับปรุงแก้ไขผลงานในส่วนใด ควรแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีทราบตั้งแต่การแจ้งให้ปรับปรุงแก้ไขในครั้งที่ 1 เพื่อให้ผู้ฟ้องคดีสามารถดำเนินการตามคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ได้ถูกต้อง ซึ่งเมื่อผู้ฟ้องคดีได้ปรับปรุงแก้ไขและเสนอผลงานที่ปรับปรุงแก้ไขแล้ว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ก็ควรพิจารณาว่าผลงานที่เสนอดังกล่าวได้ปรับปรุงแก้ไขตามข้อสังเกตหรือไม่ การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 มีมติให้ผู้ฟ้องคดีปรับปรุงผลงานทางวิชาการใหม่ในครั้งที่ 2 ในเรื่องอื่นอีกที่แตกต่างจากเรื่องเดิมทั้งที่ได้พิจารณาเรื่องนั้นเสร็จแล้ว จึงเป็นการกระทำที่มีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 นำผลการประเมินของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 มาพิจารณาประกอบการวินิจฉัยมีมติไม่อนุมัติให้ผู้ฟ้องคดีเลื่อนเป็นวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน
พิพากษาให้เพิกถอนมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ในส่วนที่ไม่อนุมัติให้ผู้ฟ้องคดีเลื่อนเป็นวิทยฐานะครูชานาญการพิเศษโดยให้มีผลย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่มีมติ โดยมีข้อสังเกตให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ดำเนินการประเมินผลงานทางวิชาการของผู้ฟ้องคดีใหม่ให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด (คำพิพำกษำศำลปกครองสูงสุดที่ อ. 982/2559)
คดีนี้ถือเป็นบรรทัดฐานการปฏิบัติราชการที่ดีให้กับคณะกรรมการประเมินผลงานทางวิชาการว่าจะต้องไม่กระทำการในลักษณะที่เป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นแก่ผู้เสนอผลงานเพื่อขอรับการประเมิน หากคณะกรรมการฯ ได้ตรวจสอบและประเมินผลงานทางวิชาการแล้วเห็นว่ามีเนื้อหาส่วนใดส่วนหนึ่งหรือประเด็นใดที่ต้องปรับปรุงแก้ไขก็สมควรที่จะมีมติให้ปรับปรุงแก้ไขในประเด็นต่าง ๆ อย่างครบถ้วนในคราวเดียว และหากผู้ขอรับการประเมินได้ปรับปรุงแก้ไขตามข้อสังเกตนั้นแล้ว การตรวจสอบในครั้งถัดไปจะต้องตรวจสอบในประเด็นตามที่เคยได้ให้ข้อสังเกตไว้ นอกจากนี้ ศาลปกครองสูงสุดได้วางหลักการสาคัญของการตรวจสอบการใช้อำนาจดุลพินิจของคณะกรรมการประเมินผลงานทางวิชาการว่าถือเป็นดุลพินิจโดยแท้ในทางวิชาการที่ศาลปกครองไม่อาจก้าวล่วงการใช้ดุลพินิจ โดยเข้าไปตรวจสอบเนื้อหาสาระของผลงานทางวิชาการของผู้ขอรับการประเมินว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ควรผ่านการประเมินผลงานหรือไม่ แต่อย่างใด...แต่มีอำนาจตรวจสอบการใช้ดุลพินิจว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และหากการใช้อำนาจไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลปกครองจะเพิกถอนการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น !!
เครดิต : นางสาวนิตา บุณยรัตน์ พนักงานคดีปกครองชานาญการ , กลุ่มเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการและวารสาร , สานักงานศาลปกครอง

การจัดซื้อจัดจ้างให้เป็นไปตามระเบียบพัสดุ

การบริหารงบประมาณให้เป็นไปอย่างเปิดเผย โปร่งใส เป็นธรรมและตรวจสอบได้ตามหลัก ธรรมาภิบาลเป็นเรื่องสาคัญ เนื่องจากงบประมาณเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของรัฐบาลที่เป็นเอกสารแสดงถึงความต้องการของรัฐบาลหรือหน่วยงานต่างๆ ซึ่งแสดงออกมาในลักษณะแผนทางการเงินและโครงการที่จะดำเนินการในปีงบประมาณหนึ่งๆ โดยที่รัฐบาลได้สัญญาต่อรัฐสภาและประชาชนที่จะใช้เงินภายใต้เงื่อนไขที่ตกลงกัน รัฐบาลสามารถใช้งบประมาณในด้านเศรษฐกิจ ด้านการบริหารและด้านการเมือง ปัจจัยที่ทำให้งบประมาณมีความสาคัญมากขึ้นได้แก่ การเพิ่มขึ้นของรายจ่ายของรัฐบาล ซึ่งมีแนวโน้มสูงมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับรายได้ประชาชาติ และการขยายขอบเขตหน้าที่ของรัฐบาล การใช้จ่ายของรัฐบาลจะมีปริมาณมากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับขอบเขตอานาจหน้าที่ของรัฐบาล เมื่อหน้าที่ของรัฐบาลได้ขยายออกไป ปริมาณการใช้จ่ายของรัฐบาลย่อมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย          "เงินแผ่นดิน" หมายรวมตั้งแต่เงินคงคลัง เงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณในความหมายอย่างกว้าง เงินกู้และเงินช่วยเหลือ ซึ่งนาไปสู่การตรวจสอบและวินัยทางงบประมาณและการคลัง          คำว่า "เงินแผ่นดิน" มีที่มาอย่างยาวนาน เริ่มตั้งแต่พระราชบัญญัติสำหรับกรมพระคลังมหาสมบัติแลว่าด้วยกรมต่างๆ ซึ่งจะเบิกส่งเงินที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ทรงตราขึ้นเมื่อศุภมัศดุ ๑๒๓๗ ในหมวดมาตราที่ ๑ ว่าด้วยผู้จะรักษาการในพระคลังมหาสมบัติ อันเป็นรากเหง้าที่เป็นแก่นของกฎหมายการคลังมหาชนทุกฉบับที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนี้ รวมถึงกรอบวินัยการเงิน การคลัง และงบประมาณในรัฐธรรมนูญด้วย โดยได้บัญญัติไว้ ดังนี้        “....ดูแลกากับตรวจตรา รักษาเงินสาหรับใช้จ่าย ในราชการแผ่นดินทั่วทั้งพระราชอาณาจักร.....”        และตามพระราชบัญญัติพระธรรมนูญหน้าที่ราชการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ จุลศักราช ๑๒๓๗        มาตรา ๑ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีหน้าที่สาหรับจ่ายรักษาเงินแผ่นดิน ทั้งสรรพราชสมบัติพัสดุทั้งปวง กับถือบาญชีพระราชทรัพย์สาหรับแผ่นดินทั้งสิ้น แลเก็บภาษีอากร เงินขึ้นแผ่นดินตลอดพระราชอาณาจักรนั้น.....ปั้นเปนกรมเจ้ากระทรวง...ดังนี้         ๑. กรมพระคลังกลาง สาหรับประมาณการรับจ่ายเงินแผ่นดินว่าภาษีอากร         ๒. กรมสารบาญชี สาหรับจ่ายเงินแผ่นดิน แลถือทาสรรพบาญชีพระราชทรัพย์ทั้งสิ้น        ๓. กรมตรวจสาหรับตรวจบาญชี ตรวจราคาตรวจรายงาน การรับจ่ายเงินแผ่นดิน แลสรรพราชสมบัติการภาษีอากรทั้งสิ้น....”         ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒(หน้า๒๘๒) ได้ให้ความหมาย คำว่า “เงินหลวง” หมายถึง “เงินที่เป็นของแผ่นดินหรือรัฐ”         รวมทั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาพระราชทานพระบรมราโชวาทแก่สำนักงานผู้ตรวจเงินแผ่นดิน ที่ทุกฝ่ายจะต้องน้อมนำมาเป็นหลักคิดในการปฏิบัติที่สาคัญที่เกี่ยวกับเงินแผ่นดิน ดังนี้         “การควบคุมและตรวจสอบเงินแผ่นดินเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น เพราะเงินแผ่นดินนั้นคือ เงินของประชาชนทั้งชาติ ผู้ทำงานนี้จึงต้องกำหนดแน่แก่ใจอยู่เป็นนิตย์ที่จะปฏิบัติหน้าที่ในความรับผิดชอบของตนด้วยความอุตสาห์พยายามด้วยความสื่อสัตย์ สุจริต และด้วยความละเอียดถี่ถ้วนระมัดระวังอย่างเต็มที่ เพื่อมิให้เกิดความพลั้งพลาดเสียหาย และให้เกิดความมั่นใจว่า การใช้จ่ายเงินของแผ่นดินได้เป็นไปโดยบริสุทธิ์และบังเกิดผลประโยชน์เต็มเม็ดเต็มหน่วย”        ทรงให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒        ส่วนวินัยทางการเงิน การคลัง และการงบประมาณ “กฎข้อบังคับ (มาตรการทางกฎหมาย) ซึ่งกำหนดเป็นข้อห้ามหรือข้อปฏิบัติ ที่กำหนดขึ้นเพื่อให้การบริหารจัดการเกี่ยวกับการเงินการคลังของรัฐและองค์กรของรัฐเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมายและจะต้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตามวัตถุประสงค์ของการรับ – จ่ายเงินแผ่นดิน” ซึ่งการกาหนดมาตรการเกี่ยวกับเรื่อง วินัยทางการเงิน การคลัง และการงบประมาณนี้ เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายการคลังมหาชนนั้น ก็จะต้องเป็นไปตามหลักกฎหมายมหาชนที่ได้พัฒนาขึ้นมาพร้อม ๆ กับการปกครองระบอบประชาธิปไตย        ตั้งแต่ประเทศไทยมีการปฏิรูปการปกครอง การพัฒนาเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมเป็นไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งสวนทางกับเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม และการเข้าถึงแก่นพุทธศาสนาของประชาชน เนื่องจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วทางสังคมส่งผลกระทบต่อความสงบสุขและสภาพจิตใจ ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมระหว่างผู้ได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากกับผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจน้อย ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งในสังคมหลายประการ เช่น การบริการด้านการศึกษา การบริการด้านการรักษาพยาบาล การขาดแคลนที่อยู่อาศัย ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหาเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น เป็นต้น         ดังนั้น ถ้าศึกษาถึงพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พุทธศักราช ๒๕๑๒ ที่ทรงตรัสว่า         “ในบ้านเมืองนั้นมีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปรกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี แต่หากอยู่ที่การส่งเสริมคนดีให้คนดีได้ปกครองบ้านเมืองและควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้”         พระบรมราโชวาทดังกล่าวนับเป็นภาพสะท้อนของปัญหาการทุจริตในบ้านเมืองเราได้เป็นอย่างดี ดังนั้น การตัดสินใจปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขบางอย่างขาดวิธีการและองค์กรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญที่จะมาทำหน้าที่ในการให้คำแนะนาอย่างถูกต้องตามหลักวิธีการเฉพาะด้าน ซึ่งมีความสามารถถึงขั้นที่จะเข้าถึงไปเผชิญแก่นแท้ของปัญหาได้และสามารถแก้ไขหรือพยายามหาทางแก้ไขปัญหานั้นได้ในที่สุด จึงต้องมีการพัฒนาองค์กรที่จะมาทำหน้าที่ช่วยเสริมการทำงานของรัฐสภาในการควบคุมการบริหารเงินแผ่นดินของรัฐบาล รวมทั้งช่วยเสนอแนะรัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ ให้บริหารงานในหน้าที่อย่างถูกต้องตามกฎหมายและมีประสิทธิภาพคุ้มค่ากับเงินภาษีของประชาชน โดยองค์กรนั้นจะต้องมีความเป็นอิสระและเป็นกลางอย่างแท้จริง เพื่อให้คาวินิจฉัยชี้ขาดความผิดเป็นกลางและถูกต้องแท้จริง        ระบบการตรวจสอบการปฏิบัติราชการที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบจากภายนอก เช่น คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือการตรวจสอบภายในที่มีผู้ตรวจราชการกระทรวง รวมทั้งผู้ตรวจสอบภายใน เป็นต้น จะมีการปฏิบัติหน้าที่ในลักษณะการตรวจสอบภายหลังที่หน่วยงานผู้รับการตรวจสอบได้ปฏิบัติงานเรื่องหนึ่งเรื่องใดไปแล้ว มีการตรวจสอบแบบสุ่มตรวจ ซึ่งในส่วนของผู้ตรวจสอบภายใน มักจะมีปัญหาในการปฏิบัติงาน เนื่องจากมีอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในที่น้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนหน่วยรับตรวจที่มีอยู่ทั่วประเทศ ทำให้ระบบการตรวจสอบภายในที่เป็นอยู่ในปัจจุบันไม่สัมฤทธิผลเท่าที่ควร จะเห็นได้ว่าประเทศต่างๆ มักจะมีระบบการควบคุมและตรวจสอบการบริหารงบประมาณ โดยจัดให้มีหน่วยงานตรวจสอบภายในตรวจสอบก่อนที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินจะตรวจสอบ การตรวจสอบภายในเป็นงานที่มีคุณประโยชน์และเป็นเครื่องมือของนักบริหารที่จะนาไปใช้ในการจัดการให้กิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานเป็นไปอย่างรัดกุม ประหยัด บรรลุจุดมุ่งหมายและมีประสิทธิภาพสูง การตรวจสอบภายในช่วยงานผู้บริหารได้ทั้งในด้านการวางแผนด้านการจัดองค์การ ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ด้านการสั่งการ และด้านการควบคุม เนื่องจากงานลักษณะนี้จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถสอดส่องดูแลการนำทรัพยากรทั้งมวลในหน่วยงานมาใช้อย่างระมัดระวังและรอบคอบให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งจะช่วยป้องกันและบรรเทาการรั่วไหล การทุจริตหรือความเสียหายอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อกิจการได้ทางหนึ่ง หรือหากเกิดการทุจริตรั่วไหลขึ้นก็สามารถทราบได้โดยเร็ว 
        องค์กรการตรวจเงินแผ่นดิน 
        องค์กรการตรวจเงินแผ่นดิน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบด้วย         ๑. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.)         ๒. ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน         ๓. สานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)         ซึ่งเป็นการจัดองค์กรตามหลักกฎหมายปกครอง ในลักษณะการแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ให้เป็นอิสระอย่างแท้จริง เพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน โดยให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้กำหนดนโยบายและมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัย และให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้กำหนดแผนการตรวจสอบและสั่งการให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้รวบรวมข้อเท็จจริงได้โดยอิสระ เพื่อจัดทำรายงานผลการตรวจสอบเสนอคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินพิจารณาวินิจฉัยต่อไป การตรวจสอบของสานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน แบ่งออกเป็น ๕ กิจกรรม        ๑. การตรวจสอบการเงิน        ๒. การตรวจสอบการจัดเก็บรายได้        ๓. การตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ        ๔. การตรวจสอบดำเนินงาน        ๕. การตรวจสอบสืบสวน
        การแจ้งผลการตรวจสอบของ สตง. 
        (๑) กรณีผลการตรวจสอบปรากฏว่า มีข้อบกพร่องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติคณะรัฐมนตรี คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินจะแจ้งให้หน่วยรับตรวจชี้แจงหรือแก้ไขข้อบกพร่องหรือปฏิบัติให้ถูกต้องหรือให้ดำเนินการตามกฎหมาย หรือระเบียบแบบแผนที่ทางราชการ หรือหน่วยรับตรวจกำหนดไว้แก่เจ้าหน้าที่หน่วยรับตรวจ ซึ่งเป็นผู้ที่รับผิดชอบตามควรแก่กรณีและให้หน่วยรับตรวจแจ้งผลการดำเนินการให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินทราบภายในหกสิบวัน เว้นแต่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินจะกำหนดเป็นอย่างอื่น         ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเห็นว่า มีข้อบกพร่องเกิดขึ้น เนื่องจากกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติคณะรัฐมนตรีไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน หรือไม่อาจปฏิบัติได้ หรือหากปฏิบัติแล้วจะเสียประโยชน์ต่อราชการ จะแจ้งต่อผู้มีอำนาจหน้าที่ในเรื่องนั้นๆ เพื่อพิจารณาดำเนินการปรับปรุงแก้ไขต่อไป          หากหน่วยรับตรวจไม่ดำเนินการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินจะแจ้งต่อกระทรวงเจ้าสังกัดหรือผู้ควบคุมกำกับหรือรับผิดชอบของหน่วยรับตรวจดำเนินการกฎหมาย หรือระเบียบแบบแผนที่ทางราชการ หรือหน่วยรับตรวจกำหนดแก่ผู้รับตรวจและเจ้าหน้าที่หน่วยรับตรวจผู้รับผิดชอบตามควรแก่กรณี          ในกรณีที่มีข้อโต้แย้งหรือไม่อาจดำเนินการตามที่กล่าวมาข้างต้นได้ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินจะรายงานต่อสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรี         (๒) กรณีผลการตรวจสอบปรากฏว่า มีข้อบกพร่อง เนื่องจากไม่มีข้อกำหนดให้หน่วยรับตรวจต้องปฏิบัติ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินจะแจ้งให้กระทรวงเจ้าสังกัด หรือผู้บังคับบัญชา หรือผู้ควบคุมกำกับ หรือผู้รับผิดชอบของหน่วยรับตรวจแล้วแต่กรณีทราบ เพื่อกำหนดมาตรการที่จำเป็นให้หน่วยรับตรวจปฏิบัติและเมื่อกระทรวงเจ้าสังกัด หรือผู้บังคับบัญชา หรือผู้ควบคุมกำกับ หรือผู้รับผิดชอบของหน่วยรับตรวจ ดำเนินการไปประการใดแล้ว ให้แจ้งให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินทราบ ภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินกำหนด         (๓) กรณีผลการตรวจสอบปรากฏว่า มีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นการทุจริตหรือมีการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เงินหรือทรัพย์สินของทางราชการ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินจะแจ้งต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดี และแจ้งผลการตรวจสอบดังกล่าวให้ผู้รับตรวจ หรือกระทรวงเจ้าสังกัด หรือผู้บังคับบัญชา หรือผู้ควบคุมกำกับหรือรับผิดชอบของหน่วยรับตรวจแล้วแต่กรณีดำเนินการตามกฎหมาย หรือตามระเบียบแบบแผนที่ทางราชการหรือที่หน่วยรับตรวจกำหนดไว้แก่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบด้วย          เมื่อพนักงานสอบสวน ผู้รับตรวจ กระทรวงเจ้าสังกัด ผู้บังคับบัญชา หรือผู้ควบคุมกำกับหรือรับผิดชอบของหน่วยรับตรวจ ดำเนินการไปประการใดแล้ว ต้องแจ้งคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินทราบภายในทุกเก้าสิบวัน ในกรณีที่พนักงานสอบสวน ผู้รับตรวจ กระทรวงเจ้าสังกัด ผู้บังคับบัญชาหรือผู้ควบคุมกำกับหรือรับผิดชอบของหน่วยรับตรวจ ไม่ดำเนินการตามที่กล่าวข้างต้นภายในระยะเวลาอันสมควร คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินจะรายงานต่อสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรี 
         การเสนอรายงานผลการปฏิบัติงานของ สตง. 
         เสนอรายงานดังต่อไปนี้ ต่อสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรี         (๑) รายงานผลการปฏิบัติงานประจาปีที่สาคัญในทุกด้าน เว้นแต่เรื่องหรือข้อที่ตรวจพบนั้น ควรรักษาไว้เป็นความลับ หรือมีกฎหมายห้ามมิให้เปิดเผย         (๒) รายงานผลการปฏิบัติงานระหว่างปี เมื่อสิ้นสุดงานตรวจสอบเฉพาะกรณีที่มีความจำเป็นหรือเหมาะสม เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือคณะรัฐมนตรี ทราบผลการตรวจสอบได้ทันเหตุการณ์ 
         ระบบการควบคุมและตรวจสอบฝ่ายบริหารขององค์กรการตรวจเงินแผ่นดิน                 การปรับปรุงโครงสร้างขององค์กรการตรวจเงินแผ่นดินของรัฐให้เป็นอิสระและเป็นกลางเพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอที่จะทำให้การตรวจเงินแผ่นดินของรัฐบรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการและมีประสิทธิภาพได้ เพราะไม่ว่ารัฐจะเพิ่มอัตรากำลังคนหรือเงินงบประมาณให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินมากเพียงใดก็ตาม หากหน่วยงานต่างๆ ของรัฐไม่จัดให้มีระบบการควบคุมและการตรวจสอบการบริหารการตรวจสอบภายในหน่วยงานของตนเองควบคู่กันไปด้วย ก็ยากที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินซึ่งเป็นองค์กรภายนอกเพียงองค์กรเดียวจะสามารถควบคุมและตรวจสอบการใช้จ่ายเงินแผ่นดินได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ เป็นที่เชื่อถือแก่ภาครัฐและเอกชนได้         ดังนั้น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงกำหนดให้องค์กรการตรวจเงินแผ่นดินมีอำนาจเกี่ยวกับการจัดวางระบบการควบคุมตรวจสอบการใช้จ่ายเงินของแผ่นดิน ดังนี้ 
        ๑. การตรวจสอบสืบสวนกรณีทุจริตหรือข่าวจากสื่อมวลชนหรือหนังสือร้องเรียน 
        การตรวจสอบสืบสวนกรณีที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจพบเองหรือได้เบาะแสจากหนังสือร้องเรียนหรือบัตรสนเท่ห์หรือข่าวจากสื่อมวลชนทั้งหลายให้กระทำโดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินจะกำหนดระเบียบว่าด้วยการตรวจสอบสืบสวนกรณีทุจริตหรือเรื่องที่ส่อไปในทางไม่สุจริต โดยจะต้องมีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบคนหนึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสอบผู้รับผิดชอบ มีหน้าที่รวบรวมเอกสารหลักฐานข้อเท็จจริงต่างๆ พร้อมทั้งเสนอความเห็นแก่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน วิธีการดังกล่าวเป็นกลไกการถ่วงดุลอำนาจของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่เป็นอิสระ เป็นหลักเกณฑ์ของวิธีพิจารณาตามหลักกฎหมายปกครอง ในทางปฏิบัติความเห็นของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบผู้รับผิดชอบจะนำมาวิเคราะห์รวมกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อให้บุคคลภายนอกสามารถตรวจสอบความถูกต้องและความโปร่งใสในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบผู้รับผิดชอบและคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้ ตามหลักการแบ่งแยกอานาจของกฎหมายปกครอง
        งานชี้ขาดข้อพิพาทของคณะกรรมการหรือองค์กรชี้ขาดในรูปองค์คณะตามหลักกฎหมาย ปกครองจะต้องกำหนดให้มีการถ่วงดุลโดยวิธีพิจารณาความ คือต้องตัดตอนช่วงงานชี้ขาดออกจากช่วงงานแสวงหาข้อเท็จจริงหรือการรับฟังข้อเท็จจริงเพื่อให้มีการถ่วงดุลและแยกเป็น ๒ ส่วน เพราะถ้าหากไม่มีการตัดตอนออกจากกันผู้ชี้ขาดอาจบิดเบือนการใช้อำนาจหรือ abuse of power ได้ กล่าวคือ ถ้าคณะกรรมการผู้ทำการชี้ขาดทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงเอง รับฟังพยานเอง ชั่งน้าหนักเอง วินิจฉัยเอง เขียนคำตัดสินเอง ผู้ใช้อำนาจชี้ขาดจะบิดเบือนการใช้อำนาจและคอรัปชั่นได้โดยไม่ต้องรับผิดชอบ และไม่มีวิธีที่จะตรวจสอบได้ 
        ๒. วินัยทางงบประมาณและการคลัง 
        วินัยทางงบประมาณและการคลังตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน หมายถึง มาตรการเกี่ยวกับการควบคุมการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินของแผ่นดินตามที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ประกาศกำหนด เพื่อใช้บังคับกับผู้สั่งจ่ายและผู้จ่ายเงินและทรัพย์สินของแผ่นดิน หากมีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามย่อมมีความผิดต้องรับโทษปรับทางปกครอง ซึ่งเห็นได้ว่า หากเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือฝ่ายปกครองรักษาวินัยทางงบประมาณและการคลังย่อมจะทำให้การใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินของแผ่นดินเป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสม เกิดประสิทธิภาพในการบริการสาธารณะ ตรงตามเจตจำนงของประชาชน เอื้อต่อการบริหารราชการแผ่นดินและการพัฒนาประเทศชาติ ผู้ที่ไม่รักษาวินัยทางงบประมาณและการคลังจึงสมควรถูกลงโทษ ซึ่งโทษนั้นคือโทษปรับทางปกครองที่มีลักษณะเป็นการชำระค่าปรับทางปกครอง และมีผลทางกฎหมายเช่นเดียวกับคาสั่งลงโทษตัดเงินเดือน ซึ่งนับต่อนี้ไป หากเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดกระทำการที่ไม่ถูกต้องอันเกี่ยวด้วยเงินและทรัพย์สินของแผ่นดิน อาจต้องถูกดำเนินการทั้งทางอาญา ทางแพ่ง ทางวินัย และทางวินัยทางงบประมาณและการคลังหรือต้องโทษปรับทางปกครองด้วยอีกทางหนึ่ง กรณีมิใช้เป็นเรื่องการลงโทษซ้าซ้อนในการกระทำเดียวกัน แต่หากเป็นกรณีเฉพาะในการตรวจเงินแผ่นดินที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่มุ่งประสงค์จะคุ้มครองเท่านั้น และมิอาจถือได้ว่าโทษปรับทางปกครองเป็นการลงโทษทางอาญา ซึ่งวินัยทางงบประมาณและการคลังนี้ถือเป็นหัวใจสาคัญประการหนึ่งขององค์กรการตรวจเงินแผ่นดิน         เมื่อโทษปรับทางปกครองจัดว่ามีผลกระทบต่อสิทธิและหน้าที่ของปัจเจกบุคคล กระบวนการพิจารณาวินิจฉัยความผิดจึงต้องเป็นไปโดยความรอบคอบ ถูกต้องและเป็นธรรม ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้จึงสร้างกลไกของกระบวนการพิจารณาวินิจฉัยความผิดวินัยทางงบประมาณและการคลังให้มีลักษณะทำนององค์กรตุลาการหรือกึ่งศาล กล่าวคือ ให้มีคณะกรรมการวินัยทางงบประมาณและการคลังซึ่ง คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้แต่งตั้ง โดยมอบหมายให้ผู้ทรงคุณวุฒิทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยความผิดเบื้องต้น และให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินคงทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยความผิดในฐานะเป็นองค์กรชั้นสูงสุดตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่          การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายและระเบียบการเงินการคลัง เช่น การจ่ายเงินงบประมาณผิดหมวดรายจ่าย การจ่ายเงินเกินวงเงินประจำงวด การจัดทำบัญชีและรายงานไม่เป็นปัจจุบันหรือไม่ครบถ้วน การจ่ายเงินยืมโดยผู้ยืมยังไม่ส่งใช้เงินยืมรายเก่า เป็นต้น สิ่งเหล่านี้แม้ไม่เกิดความเสียหายแก่การเงินของรัฐโดยทันทีทันใดหรือยังไม่สามารถเห็นความเสียหายที่จะเกิดขึ้น แต่ถือว่าเป็นความบกพร่องต่อหน้าที่ ที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ระบบการควบคุมการใช้จ่ายเงินของรัฐแล้ว เมื่อไม่มีมาตรการใดๆ ลงโทษแก่ผู้กระทำผิดวินัยทางงบประมาณและการคลัง ย่อมไม่เกิดประโยชน์แก่ระบบการควบคุม ความผิดพลาดหรือความบกพร่องมักจะเกิดขึ้นซ้าแล้วซ้าอีก ผู้บังคับบัญชามักจะไม่เอาโทษทางวินัยแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาเหล่านี้ เพราะอาจจะเห็นว่าเป็นความผิดเล็กน้อย และการกระทำของผู้ใต้บังคับบัญชาบางครั้งกระทำไปเพื่อประโยชน์ของหน่วยงาน หรือประโยชน์ของผู้บังคับบัญชานั่นเอง          ดังนั้นเพื่อให้กฎหมายและระเบียบการเงินการคลังที่รัฐกำหนดขึ้นสามารถมีผลบังคับใช้ได้อย่างจริงจัง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดินจึงกำหนดให้มีคณะกรรมการวินัยทางงบประมาณและการคลัง ทำหน้าที่พิจารณาและกำหนดโทษปรับทางปกครองเบื้องต้นแก่เจ้าหน้าที่ที่ฝ่าฝืนมาตรการเกี่ยวกับการควบคุมการเงินของรัฐ โดยมีข้อกำหนดที่เป็นมาตรการควบคุมการเงินของรัฐ และเรื่องที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องรับผิดชอบโดยตรงนั้นจะต้องกำหนดไว้ล่วงหน้าอย่างชัดเจน           วิธีพิจารณาความผิดวินัยทางงบประมาณและการคลังนั้น จะต้องให้โอกาสแก่ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิชี้แจงและแสดงเหตุผลแก้ข้อกล่าวหานั้น และต้องมีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสำนวนคนหนึ่งทำสานวน รวบรวมข้อเท็จจริงและเสนอความเห็นโดยอิสระ การเขียนความเห็นของผู้รับผิดชอบสานวนจะถูกตรวจสอบอีกครั้งโดยคณะกรรมการ ผู้รับผิดชอบสำนวนจะต้องระมัดระวังการแสดงความเห็นเพื่อมิให้เป็นการบิดเบือนการใช้อำนาจ 
          ปัญหาที่พบจากการตรวจสอบของสานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน 
          การบริหารงานคลังมีกระบวนการเกี่ยวข้องหลายประการ เริ่มตั้งแต่การจัดหารายได้ การกำหนดโครงการดำเนินการ และการจัดทางบประมาณการใช้จ่ายเงิน ตลอดจนการบริหารพัสดุและการดูแลทรัพย์สิน           จากการตรวจสอบการปฏิบัติงานคลังของหน่วยงานของรัฐมีข้อบกพร่องหลายประการซึ่งสามารถแยกได้เป็น ๒ ประเภท คือ           (๑) ข้อบกพร่องจากการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามระเบียบ กรณีนี้ยังไม่ถือว่าเป็นการทุจริต คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินจะแจ้งให้ปฏิบัติให้ถูกต้อง และอาจแจ้งให้ดำเนินการทางวินัยกับผู้ที่เกี่ยวข้อง หากพบว่า จงใจหรือประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ และในบางกรณีอาจเป็นเรื่องที่ต้องมีผู้รับผิดชอบทางแพ่งชดใช้เงินให้แก่หน่วยงานของรัฐ           (๒) กรณีมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่า เป็นการทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑ ได้ให้นิยามของคาว่า “โดยทุจริต” หมายถึง “เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสาหรับตนเองหรือผู้อื่น” คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินจะแจ้งให้ดาเนินการทางกฎหมาย ทางแพ่ง และทางวินัยกับผู้ที่เกี่ยวข้อง
          มูลเหตุการทุจริต 
          มูลเหตุแห่งการทุจริต อาจแยกเป็นหัวข้อใหญ่ๆ ได้ดังนี้           (๑) เกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ           (๒) วิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ถ้าหากมิได้มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ของแต่ละบุคคลไว้ให้เป็นที่แน่นอนและรัดกุม หรือให้บุคคลคนเดียวกันทำงานหลายหน้าที่ก็เป็นช่องทางที่จะก่อให้เกิดการทุจริตได้ง่าย           (๓) ผู้ปฏิบัติขาดสมรรถภาพในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเงินและบัญชีหรือไม่มีความซื่อสัตย์สุจริต ตลอดจนความประพฤติและอุปนิสัยส่วนตัวไม่เรียบร้อย หรือเป็นบุคคลที่มีสิ่งแวดล้อมบีบบังคับ เช่น รายได้ไม่เพียงพอ หากเกิดกรณีจำเป็นก็อาจทำการทุจริตได้ 
        การตรวจสอบที่สาคัญเกี่ยวกับการจัดการพัสดุ 
        การขออนุมัติยกเว้นหรือผ่อนผันการไม่ปฏิบัติตามระเบียบ         กรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นไม่สามารถปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการพัสดุ จะต้องขออนุมัติยกเว้นหรือผ่อนผันการไม่ปฏิบัติตามระเบียบต่อคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุก่อนดำเนินการ มิใช่ดำเนินการโดยฝ่าฝืนไปก่อนแล้วจึงขออนุมัติภายหลัง เพราะคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุไม่มีอำนาจหน้าที่ในการอนุมัติยกเว้นหรือผ่อนผันโทษทางวินัยแก่ผู้กระทำผิดระเบียบ        ต้องมีการวางแผนและดำเนินการจัดหาไปตามแผน        หลังจากได้ทราบยอดเงินที่จะใช้ในการจัดหาแล้ว ต้องรีบดำเนินการให้เป็นไปตามแผนและตามขั้นตอน ให้พร้อมที่จะทำสัญญาได้ทันทีเมื่อได้รับอนุมัติทางการเงินแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดหาโดยวิธีสอบราคาและการประกวดราคา ต้องมีการวางแผนและดำเนินการจัดหาให้เป็นไปตามแผนด้วย        การควบคุมการจัดทำเอง        โดยทั่วไปกรณีที่มีการจัดทาเอง ต้องแต่งตั้งผู้ควบคุมรับผิดชอบ และคณะกรรมการตรวจการปฏิบัติงาน โดยต้องมีคุณสมบัติและหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการตรวจการจ้าง เว้นแต่ส่วนราชการที่กำหนดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบอยู่แล้ว        หลักฐานและเหตุผลการดำเนินการที่แสดงให้เห็นความโปร่งใส        การจัดหาในแต่ละขั้นตอน ต้องดำเนินการโดยเปิดเผย โปร่งใส และเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม ต้องมีการบันทึกหลักฐานการดำเนินการและเหตุผลในการพิจารณาสั่งการในขั้นตอนที่สำคัญไว้ประกอบการพิจารณาด้วย พร้อมทั้งต้องระมัดระวังในการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานตามมาตรการป้องกันการสมยอมกันในการเสนอราคา และปฏิบัติมิให้ขัดกับพระราชบัญญัติว่าด้วยความรับผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๔๒ ด้วย        อุดหนุนพัสดุที่ผลิตในประเทศและกิจการของคนไทย        ต้องพึงระมัดระวังในการกำหนดรายละเอียดหรือคุณลักษณะเฉพาะ ที่อาจมีผลเป็นการกีดกันไม่ให้ผู้ผลิตหรือผู้ขายพัสดุที่ผลิตในประเทศ หรือเป็นกิจการของคนไทยสามารถเข้าแข่งขันกันอย่างเป็นธรรมในการเสนอราคากับทางราชการ        การแบ่งซื้อแบ่งจ้าง        การดำเนินการจัดหาโดยลดวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างในครั้งเดียวกัน เพื่อให้วงเงินต่ำกว่าที่กำหนดโดยวิธีหนึ่งวิธีใด หรือเพื่อให้อำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างเปลี่ยนไป เป็นเรื่องที่มีการตรวจพบบ่อย ผู้รับผิดชอบมักอ้างเหตุผลว่าเพื่อความคล่องตัว ซึ่งเป็นเหตุผลที่ไม่น่ารับฟัง        อ้างเหตุเร่งด่วนเพื่อจัดหาโดยวิธีพิเศษ       ารอ้างเหตุผลว่า จำเป็นต้องซื้อหรือจ้างโดยเร่งด่วน หากล่าช้าอาจเสียหายแก่ราชการเนื่องจากใกล้สิ้นปีงบประมาณบ้าง หรือไม่อาจดำเนินการจัดหาตามขั้นตอนบ้าง แต่มักปรากฏข้อเท็จจริงว่า การจัดหาไม่มีการวางแผนบ้าง หรือไม่ปฏิบัติตามแผนที่วางไว้บ้าง หรือไม่มีการเตรียมการเพื่อให้พร้อมที่จะทำสัญญาในเวลาอันควรบ้าง เป็นเรื่องที่ถูกเพ่งเล็งตรวจสอบ        รายงานขอซื้อหรือขอจ้างขาดรายละเอียด        ก่อนดำเนินการจัดซื้อหรือจ้างทุกวิธี ต้องจัดทำรายงานเสนอ ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องจัดหา รายละเอียดของพัสดุที่จะจัดหา ราคามาตรฐานหรือราคากลางของทางราชการหรือราคาที่เคยจัดหาหลังสุดในระยะเวลา ๒ ปีงบประมาณ วงเงินที่จะจัดหาถ้าไม่มีให้ระบุวงเงินที่จะประมาณว่าจะจัดหา วิธีการที่จะจัดหา และเหตุผลที่ต้องจัดหาโดยวิธีนั้น ควรเขียนให้ละเอียด อย่ามองข้ามความสาคัญของรายงานนี้         การจัดซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง         รายงานที่เสนอหัวหน้าส่วนราชการ นอกจากต้องมีรายละเอียดตามที่ระเบียบกำหนดและที่ขาดไม่ได้ คือ ราคาประเมินของทางราชการในท้องที่นั้น และราคาซื้อขายที่ดินและหรือสิ่งปลูกสร้างใกล้เคียงบริเวณที่จะซื้อครั้งหลังสุดประมาณ ๓ ราย และข้อสาคัญที่สุดคือ ต้องติดต่อกับเจ้าของโดยตรงต้องระวังอย่าให้ผิดไปจากที่ระเบียบกาหนด         การตกลงราคาซื้อไปก่อน         ต้องเป็นกรณีจำเป็นและเร่งด่วนที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดหมายไว้ก่อน และไม่อาจดำเนินการตามปกติได้ทัน ไม่ใช่อยู่ดีๆก็ยืมเงินทางราชการไปจัดหามาก่อน ผู้ที่จะไปตกลงราคาต้องเป็นเจ้าหน้าที่พัสดุหรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการนั้น แล้วต้องรีบรายงานขอความเห็นชอบต่อหัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ และหัวหน้าส่วนราชการต้องเป็นผู้รับผิดชอบด้วย         การสอบราคา         มักมีปัญหาเรื่องการส่งประกาศเผยแพร่การสอบราคาและเอกสารการสอบราคาต้องส่งไปยังผู้มีอาชีพขายหรือรับจ้างทางานนั้นโดยตรง หรือโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ กับให้ปิดประกาศเผยแพร่ไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการของส่วนราชการ และการรับซองสอบราคาต้องมีการลงรับ พร้อมระบุวันเวลาที่รับซองไว้เป็นหลักฐานกรณีที่ผู้เสนอราคามายื่นซองโดยตรง ต้องออกใบรับให้กับผู้ยื่นซอง         การประกวดราคา         หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ มีหน้าที่รับผิดชอบ ควบคุมดูแล จัดทำหลักฐานการเผยแพร่การปิดประกาศประกวดราคาภายในระยะเวลาที่กาหนด ดูแลให้เจ้าหน้าที่พัสดุดำเนินการเกี่ยวกับการปิดประกาศ และต้องส่งประกาศไปเผยแพร่ให้ครบถ้วนตามที่ระเบียบกาหนด รวมถึงต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการสมยอมกันในการเสนอราคาด้วย ซึ่งมีเรื่องร้องเรียนกันมากที่สุด การขายหรือให้เอกสารประกวดราคา รวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะให้กระทำ ณ สถานที่ที่สามารถติดต่อได้โดยสะดวกและไม่อยู่ในเขตหวงห้าม และต้องจัดเตรียมเอกสารให้มากพอสาหรับความต้องการของผู้มาขอรับหรือซื้อที่มีอาชีพขายหรือรับจ้างทำงานนั้น รายละหนึ่งชุดโดยไม่มีเงื่อนไขอื่นใดในการให้หรือการขาย จะอ้างว่าหมดก่อนกำหนดเวลาไม่ได้ ก่อนวันปิดการรับซองประกวดราคา หากส่วนราชการเห็นว่า มีความจำเป็นต้องกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติม หรือมีการชี้สถานที่อันเป็นการแก้ไขคุณลักษณะเฉพาะที่เป็นสาระสาคัญต้องจัดทำเป็นเอกสารประกวดราคาเพิ่มเติม          ข้อพึงระวังการรับและเปิดซองประกวดราคา         การลงชื่อกำกับซองและบันทึกไว้ที่หน้าซองว่าเป็นของผู้ใด และการตรวจสอบหลักประกันซองร่วมกับเจ้าหน้าที่การเงิน และให้เจ้าหน้าที่การเงินออกใบรับแก่ผู้ยื่นซอง กรณีหลักประกันซองเป็นหนังสือค้ำประกันต้องส่งสำเนาให้สถาบันการเงินผู้ออกหนังสือค้ำประกันทราบทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับเป็นหลักฐานประกอบการตรวจสอบไว้ด้วย         การปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา         ประการสาคัญคือ การตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา ใบเสนอราคา เอกสารหลักฐานต่างๆ พัสดุตัวอย่าง แคตตาล็อก หรือแบบรูปรายการละเอียด แล้วคัดเลือกผู้เสนอราคาที่ถูกต้องตามเงื่อนไขในเอกสารประกวดราคา (ในการพิจารณาอาจสอบถามข้อเท็จจริงจากผู้เสนอราคารายใดก็ได้แต่จะให้ผู้เสนอราคารายใดเปลี่ยนแปลงสาระสาคัญที่เสนอไว้ไม่ได้) และพิจารณาคัดเลือกสิ่งของหรืองานจ้าง หรือคุณสมบัติของผู้เสนอราคาที่เสนอถูกต้องตามเงื่อนไข ซึ่งมีคุณภาพและคุณสมบัติเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ แล้วเสนอให้ซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคาที่คัดเลือกไว้แล้วซึ่งเสนอราคาต่าสุดไม่ควรเลี่ยงปฏิบัตินอกเหนือระเบียบ          การตรวจรับพัสดุ          มีปัญหามากคือ ต้องตรวจรับ ณ ที่ทำการของผู้ใช้พัสดุนั้น หรือสถานที่ซึ่งกำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลง ในทางปฏิบัติมักมีการตรวจรับ ณ สถานที่อื่น โดยไม่ได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุต้องรับผิดชอบตรวจรับให้ถูกต้องและครบถ้วนตามหลักฐานที่ตกลงกันไว้ และโดยปกติต้องตรวจรับพัสดุในวันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนาพัสดุมาส่งมอบ และต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด ในกรณีเห็นว่าพัสดุที่ส่งมอบมีรายละเอียดไม่เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญาและข้อตกลงต้องรีบรายงานหัวหน้าส่วนราชการผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ และกรณีเห็นว่าไม่ครบถ้วน ก็ต้องรีบรายงานหัวหน้าส่วนราชการเพื่อแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างทราบภายใน ๓ วันทำการ นับแต่วันตรวจพบ           การควบคุมงาน           ผู้ควบคุมงานมีหน้าที่ตรวจและควบคุมงาน ณ สถานที่กำหนดไว้ในสัญญา หรือที่ได้ตกลงให้ทำงานจ้างนั้นทุกวัน และต้องดูแลให้เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดไว้ในสัญญาทุกประการ และต้องมีหน้าที่จดบันทึกสภาพการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างและเหตุการณ์แวดล้อมเป็นรายวัน พร้อมทั้งผลการปฏิบัติงานหรือการหยุดงานและสาเหตุที่มีการหยุดงาน โดยต้องบันทึกให้ได้รายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงานและวัสดุที่ใช้ไว้ด้วย เพื่อรายงานคณะกรรมการตรวจงานจ้างทุกสัปดาห์และต้องเก็บรักษาไว้เพื่อส่งมอบแก่เจ้าหน้าที่พัสดุเมื่องานเสร็จแต่ละงวดโดยถือเป็นเอกสารสำคัญของทางราชการด้วย ในวันลงมือทำการและในวันถึงกาหนดส่งมอบงานแต่ละงวด ต้องรายงานผลการปฏิบัติว่าเป็นไปตามสัญญาหรือไม่ ให้กรรมการตรวจการจ้างทราบภายใน ๓ วันทำการนับแต่วันที่ถึงกำหนดนั้น แต่มักไม่ปฏิบัติตามนี้          การตรวจการจ้าง           นอกจากตรวจรายงานการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างและเหตุการณ์แวดล้อมที่ผู้ควบคุมงานรายงาน โดยต้องตรวจสอบกับแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาทุกสัปดาห์ กรณีรับทราบหรือพิจารณาการสั่งหยุดงานหรือพักงานของผู้ควบคุมงาน ต้องรีบรายงานหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป แม้จะมีผู้ควบคุมงาน แต่กรณีมีข้อสงสัยหรือมีกรณีที่เห็นว่า ตามหลักวิชาช่างไม่น่าเป็นไปได้ ต้องออกตรวจงาน ณ สถานที่ทำการที่กำหนดไว้ อย่าประมาท การตรวจผลงานที่ผู้รับจ้างส่งมอบ โดยปกติต้องทำภายใน ๕ วันทำการนับแต่วันที่ประธานกรรมการได้ทราบการส่งมอบงานและต้องตรวจรับงานให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด กรณีเห็นว่า ผลงานที่ส่งมอบทั้งหมดหรืองวดใดก็ตาม ไม่เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดหรือข้อกาหนดในสัญญา ต้องรีบรายงานหัวหน้าส่วนราชการผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ เพื่อทราบหรือสั่งการ ที่สาคัญคือ กรณีที่กรรมการบางคนไม่ยอมรับงาน ต้องทำความเห็นแย้งไว้เป็นหลักฐานเสนอหัวหน้าส่วนราชการเพื่อสั่งการ          ข้อสังเกตและแนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการตรวจสอบเรื่องพัสดุ          • ขั้นตอนก่อนการจัดทำสัญญา            ปัญหาที่เกิดขึ้นในการกำหนดความต้องการ การกำหนดแบบรูปรายการ/คุณลักษณะเฉพาะ การกำหนดงบประมาณ/ประมาณการ และการกำหนดราคากลางเป็นความรับผิดชอบของฝ่ายที่ต้องการใช้พัสดุหากขาดการประสานงานที่ดีในองค์กร โอกาสที่จะทราบปัญหาก่อนที่จะมีการนาพัสดุที่จัดหาไปใช้ประโยชน์จะมีน้อยมาก            ปัญหาดังกล่าวจึงมักถูกตรวจพบเมื่อมีการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินการโครงการในรูปแบบของปัญหาอุปสรรคของการดำเนินโครงการที่เกิดจากการได้รับพัสดุที่เป็นอุปกรณ์ เครื่องมือไม่ตรงตามจานวน คุณภาพ และเวลาที่ต้องการ ซึ่งแม้จะทราบก็ไม่สามารถแก้ไขเยียวยาได้แล้ว แต่หากถูกตรวจพบในระหว่างการดำเนินโครงการก็อาจมีการจัดหาเพิ่มเติมหรือทดแทนโดยวิธีพิเศษได้ กรณีถูกตรวจพบในระหว่างดำเนินการจัดหา ต้องยกเลิกการประกวดราคา แก้ไขให้ถูกต้องแล้วดำเนินการประกวดราคาใหม่หรือโดยวิธีอื่นที่เหมาะสมต่อไป             ปัญหาที่เกิดขึ้นในการกำหนดเงื่อนไขในการประกวดราคา/การกำหนด TOR ซึ่งแต่ละวิธีการจัดหาจะมีการกำหนดเงื่อนไข หลักเกณฑ์ แนวทาง และวิธีปฏิบัติไว้ไม่เท่ากัน บางส่วนจะคล้ายกันแต่จะใช้แทนกันไม่ได้ ต้องใช้เฉพาะเท่าที่กำหนดไว้สาหรับแต่ละวิธีเท่านั้น กรณีจัดหาโดยวิธีที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ เช่น วิธีตกลงราคา วิธีสอบราคา วิธีประกวดราคา วิธีพิเศษ วิธีกรณีพิเศษ ก็ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข หลักเกณฑ์ แนวทาง และวิธีปฏิบัติ เท่าที่กำหนดไว้สาหรับแต่ละวิธีเท่านั้น ส่วนกรณีจัดหาโดยวิธีประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๙ เช่นเดียวกัน รวมทั้งหนังสือสั่งการหรือซักซ้อมความเข้าใจของ กวพ. หรือ กวพ.อ. แล้วแต่กรณี ที่แจ้งเวียนให้ถือปฏิบัติ ซึ่งต้องถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด จะใช้โดยอนุโลมได้ก็ต่อเมื่อมีข้อกำหนดให้ใช้โดยอนุโลมได้ เช่น “แต่ถ้ามีผู้มีสิทธิเสนอราคาเพียงรายเดียวเมื่อถึงเวลาเริ่มการเสนอราคาให้นำความในข้อ ๙ (๔) มาใช้โดยอนุโลม” “โดยนำความในวรรคก่อนมาใช้โดยอนุโลม” เป็นต้น และจะใช้อำนาจดุลพินิจได้เฉพาะที่มีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรี ให้อำนาจไว้เท่านั้น จะใช้ดุลพินิจโดยปราศจากอำนาจหรือนอกเหนืออานาจหน้าที่ไม่ได้ และใช้ได้เฉพาะภายใต้เงื่อนไขหรือขอบเขตที่กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีกำหนดเท่านั้น จะใช้เกินขอบเขตไม่ได้ เช่น กรณีที่ระเบียบกาหนดให้ใช้ตามตัวอย่างที่ กวพ. หรือ กวพ.อ. กำหนดก็ต้องใช้ตามตัวอย่างที่ กวพ. หรือ กวพ.อ. กำหนด จะเลือกได้เฉพาะกรณีตัวอย่างที่ กวพ. หรือ กวพ.อ. กำหนดให้เครื่องหมาย * ** หรือ *** ไว้ ซึ่งสามารถเลือกที่จะตัดออกหรือใส่ไว้ตามความเหมาะสม แต่จะไปเปลี่ยนแปลงเนื้อความไม่ได้ กรณีตัวอย่างที่ กวพ. กำหนดให้จุดไข่ปลาเป็นช่องว่าง “..................” ไว้ เป็นส่วนที่ระเบียบพัสดุกำหนดเป็นช่วงค่าให้เลือกใช้ภายในขอบเขตที่กำหนดได้ตามความเหมาะสม ดังนั้นเมื่อตรวจพบหรือถูกตรวจพบในระหว่างดำเนินการ ยังไม่มีการลงนามในสัญญา ต้องรีบแก้ไขให้ถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไข หลักเกณฑ์ แนวทาง และวิธีปฏิบัติเฉพาะนั้นโดยเร็ว กรณีมีการออกประกาศไปแล้วประกาศแก้ไข หรือยกเลิกแล้วประกาศใหม่ให้ถูกต้อง            ปัญหาที่เกิดขึ้นในการกำหนดวิธีการจัดหา กรณีเป็นพัสดุที่ต้องการคุณลักษณะเฉพาะ (specification) เป็นมาตรฐานทั่วไป แต่มีผู้ผลิตผู้จำหน่ายมากราย กลุ่มนี้เน้นให้มีการแข่งขันราคา ซึ่งหากกาหนดคุณลักษณะเฉพาะ(specification)เป็นพิเศษ หรือต้องการคุณลักษณะเฉพาะ(specification) เป็นพิเศษ แต่กำหนดคุณลักษณะเฉพาะ (specification) เป็นมาตรฐานทั่วไป ก็ต้องรีบแก้ไขให้ถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไข หลักเกณฑ์ แนวทาง และวิธีปฏิบัติเฉพาะนั้นโดยการออกประกาศแก้ไข หรือยกเลิกแล้วประกาศใหม่ เช่นเดียวกัน            • ขั้นตอนการจัดทาสัญญา              - ในกรณีที่คุณลักษณะเฉพาะ แบบรูปรายการ หรือเงื่อนไขในสัญญาไม่ถูกต้องตรงตาม คุณลักษณะเฉพาะ แบบรูปรายการ หรือเงื่อนไขในเอกสารประกวดราคา ต้องรีบเจรจากับคู่สัญญาเพื่อแก้ไขให้ถูกต้องโดยเร็ว หากล่าช้าคู่สัญญาอาจมีค่าใช้จ่ายในการเตรียมการหรือเตรียมวัสดุอุปกรณ์ ซึ่งจะทาให้การแก้ไขสัญญายุ่งยากขึ้นได้             • ขั้นตอนในการบริหารสัญญา               กรณีการจัดซื้อ               - กรณีคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ รับพัสดุที่ไม่ถูกต้องครบถ้วนทุกข้อกำหนดตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา ต้องรีบแจ้งผู้ขายแก้ไขให้ถูกต้องโดยเร็ว               - กรณีที่ไม่มีการทดลอง หรือตรวจสอบในทางเทคนิคหรือทางวิทยาศาสตร์ ต้องเชิญผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับพัสดุนั้นมาให้คำปรึกษา หรือนำพัสดุนั้นไปทดลองหรือตรวจสอบ ณ สถานที่ของผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒินั้น เพื่อให้มีการทดสอบอย่างครบถ้วนทุกข้อกำหนดในสัญญาโดยเร็ว               - ในกรณีที่เอกสารแนบท้ายสัญญาขัดแย้งกันเอง ต้องจัดทำคำวินิจฉัยของผู้ซื้อ แจ้งผู้ขายทันที โดยเฉพาะกรณีที่ผู้ขายส่งมอบพัสดุไม่ทันตามกำหนดในสัญญา               กรณีการจัดจ้าง             - กรณีผู้ควบคุมงานหรือคณะกรรมการตรวจการจ้างปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในระเบียบ ต้องรีบแก้ไขเยียวยาให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่กาหนดไว้ในระเบียบโดยเร็ว             - กรณีเป็นสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) ซึ่งไม่มีการตรวจสอบค่า K ทุกครั้งที่มีการส่งมอบงานหรือทุกงวดงาน ต้องรีบตรวจสอบค่า K ทุกงวดงานว่า งานที่ส่งมอบมีดัชนีราคา ซึ่งจัดทำขึ้นโดยกระทรวงพาณิชย์ว่ามีการเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือลดลงจากเดิมขณะเมื่อวันเปิดซองประกวดราคาหรือวันเปิดซองราคา จนทำค่า K สูงขึ้นหรือลดลงเกินร้อยละ ๔ หรือไม่ ในกรณีที่ผู้ว่าจ้างจะต้องเรียกเงินคืนจากผู้รับจ้าง ต้องเรียกเงินคืนจากผู้รับจ้างโดยเร็ว หรือให้หักค่างานของงวดต่อไป หรือให้หักเงินจากหลักประกันสัญญา แล้วแต่กรณี             - ในกรณีที่เอกสารแนบท้ายสัญญาขัดแย้งกันเอง ต้องรีบจัดทาคำวินิจฉัยของผู้ว่าจ้าง และแจ้งผู้รับจ้างทันที โดยเฉพาะกรณีที่ผู้รับจ้างส่งมอบงานไม่ทันตามกาหนดในสัญญา             - กรณีที่มีความจำเป็นต้องเพิ่ม ลด หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา ต้องรีบทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลง เพื่อที่จะได้แก้ไขได้ทันท่วงที             - กรณีที่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา เกี่ยวข้องกับความมั่นคงแข็งแรง หรืองานเทคนิคเฉพาะอย่าง ต้องดำเนินการให้มีการรับรองจากวิศวกร สถาปนิกและวิศวกรผู้ชำนาญการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรับผิดชอบหรือสามารถรับรองคุณลักษณะเฉพาะ แบบและรายการของงานก่อสร้าง หรืองานเทคนิคเฉพาะอย่างนั้นโดยเร็ว             - เมื่อครบกำหนดส่งมอบพัสดุตามสัญญา ต้องรีบแจ้งการเรียกค่าปรับตามสัญญาหรือข้อตกลงจากคู่สัญญา             - เมื่อคู่สัญญาได้ส่งมอบพัสดุ ต้องบอกสงวนสิทธิ์การเรียกค่าปรับทันที             - กรณีที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างไม่สามารถส่งมอบพัสดุหรืองานจ้างได้ตามกำหนดในสัญญาที่มีเหตุเกิดจากความผิด หรือความบกพร่องของส่วนราชการ เหตุสุดวิสัย หรือ เหตุเกิดจากพฤติการณ์อันหนึ่งอันใดที่คู่สัญญาไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย ซึ่งมีหลักฐานชัดแจ้ง หรือส่วนราชการทราบดีอยู่แล้วตั้งแต่ต้น และยังไม่ครบกำหนดส่งมอบพัสดุหรืองานจ้างตามสัญญา ต้องดำเนินการให้มีการขยายเวลาทำการตามสัญญา ตามจำนวนวันที่มีเหตุเกิดขึ้นจริงเฉพาะกรณีทันที             - ในกรณีที่มีเหตุอันเชื่อได้ว่า ผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด และเป็นกรณีที่เป็นประโยชน์แก่ทางราชการโดยตรง หรือเพื่อแก้ไขข้อเสียเปรียบของทางราชการในการที่จะปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้นต้องพิจารณาใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาทันที            - กรณีที่ค่าปรับใกล้จะถึงร้อยละสิบของวงเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้าง และผู้ขายหรือผู้รับจ้างไม่ได้แสดงเจตจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ว่าจะยินยอมเสียค่าปรับให้แก่ทางราชการโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น ต้องบอกเลิกสัญญา หรือดำเนินการให้คู่สัญญาทำหลักฐานยินยอมเสียค่าปรับให้แก่ทางราชการโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น              แนวทางการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดในจากการบริหารสัญญา               • ขั้นตอนก่อนการจัดทาสัญญา                 ปัญหาที่เกิดขึ้นในการกำหนดความต้องการ การกำหนดแบบรูปรายการ/คุณลักษณะเฉพาะ การกำหนดงบประมาณ/ประมาณการ และการกำหนดราคากลางเป็นความรับผิดชอบของฝ่ายที่ต้องการใช้พัสดุ ในการกำหนดรายละเอียดว่าต้องการพัสดุที่มีคุณลักษณะเฉพาะหรือสิ่งก่อสร้างที่มีแบบรูปรายการอย่างไร มีประมาณการราคาหรือราคากลางเท่าใด หรืองบประมาณที่ต้องใช้ในการจัดซื้อหรือจัดจ้างจำนวนเท่าใด ส่วนการกำหนดวิธีการจัดหา การวางแผนการจัดหา และการดำเนินการจัดหา ฝ่ายจัดหาหรือฝ่ายพัสดุเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งในการจัดซื้อมักเกิดปัญหาในความไม่สอดคล้องต้องกันระหว่างคุณภาพหรือคุณลักษณะเฉพาะที่ต้องการ กับคุณภาพหรือคุณลักษณะเฉพาะที่จัดหาอยู่เสมอ โดยอาจเกิดจาก                - ฝ่ายที่ต้องการใช้พัสดุแสดงความต้องการประกอบการของบประมาณไว้เป็นรายการพัสดุที่ต้องการโดยไม่ได้แสดงรายละเอียดคุณภาพหรือคุณลักษณะเฉพาะพิเศษที่ต้องการไว้ ทำให้ฝ่ายพัสดุจัดหาพัสดุที่มีคุณภาพหรือคุณลักษณะเฉพาะทั่วไปให้                - ฝ่ายที่ต้องการใช้พัสดุได้แสดงรายละเอียดคุณภาพหรือคุณลักษณะเฉพาะพิเศษที่ต้องการไว้แล้ว แต่ฝ่ายพัสดุเกรงว่าจะเป็นการกำหนดเงื่อนไขในลักษณะกีดกันหรือเอื้อประโยชน์ให้รายใดรายหนึ่งหรือ Lock spec จึงจัดหาพัสดุที่มีคุณภาพหรือคุณลักษณะเฉพาะทั่วไปให้                การกำหนดวิธีการจัดหาที่เหมาะสมจะช่วยให้ฝ่ายที่ต้องการใช้พัสดุได้พัสดุที่มีคุณภาพหรือคุณลักษณะเฉพาะพิเศษที่ต้องการ โดยที่ฝ่ายพัสดุก็ไม่ผิดกฎระเบียบด้วย เช่น วิธีพิเศษ วิธีกรณีพิเศษ วิธีสอบราคา วิธีประกวดราคาที่มีการยื่นซองข้อเสนอทางเทคนิคและข้อเสนออื่น ๆ แยกจากซองข้อเสนอด้านราคา วิธีประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ซึ่งเป็นวิธีที่เปิดโอกาสให้สามารถกำหนดคุณภาพหรือคุณลักษณะเฉพาะพิเศษของพัสดุตามที่ต้องการได้                 - ส่วนในการจัดจ้างก่อสร้าง ปัญหาความไม่สอดคล้องต้องกันระหว่างแบบรูปรายการและคุณภาพงานก่อสร้างหรือคุณภาพของวัสดุก่อสร้างที่ต้องการกับแบบรูปรายการและคุณภาพงานก่อสร้างหรือคุณภาพของวัสดุก่อสร้างที่จัดหา มีโอกาสเกิดขึ้นบ้าง แม้จะไม่มากนัก แต่หากเกิดปัญหามักส่งผลกระทบที่รุนแรงกว่าปัญหาในการจัดซื้อ แม้จะไม่ใช่ปัญหาของการบริหารสัญญาโดยตรง แต่ส่งผลกระทบต่อการบริหารสัญญาให้เกิดความยุ่งยากได้เสมอ เพราะเมื่อมีการลงนามในสัญญาแล้วจะแก้ไขได้ยาก หากไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สัญญา และหากไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ จะเกิดความเสียหายแก่ทางราชการโดยตรง ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบต้องถูกลงโทษ และขาดขวัญกาลังใจในการทำงาน ซึ่งเป็นความเสียหายแก่ทางราชการอีกทางหนึ่ง                  กรณีการจัดทำสัญญามีปัญหาในระดับข้อผิดพลาด ข้อบกพร่อง หรือข้อไม่สมบูรณ์ เช่น อัตราค่าปรับ เงินค่าจ้างล่วงหน้า เงินหักประกันผลงาน ระยะเวลาการประกันความชารุดบกพร่อง ไม่ตรงกับที่กำหนดไว้ในเอกสารประกวดราคา ไม่นำมาตรฐานงานก่อสร้าง มาตรฐานวัสดุก่อสร้าง มาตรฐานการทดสอบ มาตรฐานการทดลองที่กำหนดไว้ในเอกสารประกวดราคา มาเป็นเงื่อนไขของสัญญา เป็นต้น ซึ่งอาจส่งผลให้ได้พัสดุไม่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์ หรืออาจไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ตามความต้องการ หรืออาจเกิดข้อเสียเปรียบในด้านราคา หรือมีปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพหรือความมั่นคงแข็งแรง การบารุงรักษา และอายุการใช้งาน ในขั้นตอนการจัดทำ TOR /ขอบเขตของงาน จึงควรให้โอกาสฝ่ายที่ต้องการใช้พัสดุได้มีส่วนร่วมกับฝ่ายจัดหาพัสดุในการกำหนดรายละเอียดคุณภาพหรือคุณลักษณะเฉพาะพิเศษที่ต้องการ ในขณะเดียวกันต้องไม่เป็นการกำหนดเงื่อนไขในลักษณะกีดกันหรือเอื้อประโยชน์ให้รายใดรายหนึ่ง และควรมีขั้นตอนการตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อลดความเสี่ยง โดยอาจมีรายการตรวจสอบ (Check list) ไว้เป็นหลักฐาน กรณีที่จำเป็นต้องใช้บริการจากผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับพัสดุหรืองานจ้างนั้น ๆ เข้าร่วมเป็นกรรมการด้วย ควรให้ผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับพัสดุหรืองานจ้างนั้น ๆ ได้มีส่วนร่วมในการกำหนดรายละเอียดคุณภาพหรือคุณลักษณะเฉพาะพิเศษที่ต้องการ รวมทั้งกำหนดวิธีการทดสอบหรือทดลองไว้ให้ชัดเจนด้วย             การบริหารความเสี่ยงในขั้นตอนการจัดทำเอกสารประกวดราคา ควรจัดทำเอกสารประกวดราคาให้ถูกต้องตามตัวอย่างที่ กวพ. หรือ กวพ.อ. กำหนดเท่านั้น หากมีความจำเป็นต้องกำหนดให้แตกต่างไปจากตัวอย่างที่ กวพ. หรือ กวพ.อ. กาหนด ต้องขออนุมัติยกเว้นผ่อนผันจาก กวพ. หรือ กวพ.อ. ก่อน และควรมีขั้นตอนการตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อลดความเสี่ยง โดยอาจมีรายการตรวจสอบ (Check list) ทั้งรูปแบบและเนื้อหา ไว้เป็นหลักฐาน           • ขั้นตอนการจัดทำสัญญา           - ควรเลือกรูปแบบและเนื้อหาของสัญญาให้เหมาะสม เช่น กรณีจัดซื้อพัสดุที่ประกอบกันเป็นชุด ถ้าขาดส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งไปแล้วจะไม่สามารถใช้การได้โดยสมบูรณ์ ก็ควรกำหนดจำนวนไว้เป็นชุด เพราะถ้ากำหนดแยกเป็นรายการไว้จะมีปัญหาในการคิดค่าปรับกรณีที่ผู้ขายยังส่งไม่ครบทุกรายการภายในกำหนดตามสัญญา ตามระเบียบจะต้องคิดค่าปรับเต็มมูลค่าของทั้งชุดที่ยังไม่สามารถใช้การได้โดยสมบูรณ์           - กรณีจัดจ้างก่อสร้างที่มิอาจกาหนดปริมาณงานได้แน่ชัด ควรใช้สัญญาแบบราคาต่อหน่วย ส่วนการจัดจ้างก่อสร้างที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ต่อเมื่องานแล้วเสร็จสมบูรณ์ควรใช้สัญญาแบบราคาเหมารวม           - กรณีเป็นสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) ควรจัดทำรายละเอียดประเภทงานและค่างานที่ต้องใช้สูตรค่า K แต่ละสูตรไว้เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาด้วย เพื่อลดความเสี่ยงจากการคำนวณค่างานเพิ่ม/ลด ผิดพลาด การใช้ค่างานรายการที่ไม่ตรงสูตรค่า K การใช้ค่างานรายการที่ไม่อยู่ในข่ายที่จะปรับราคาได้มาได้มาคำนวณค่างานที่จะปรับเพิ่ม/ลด อันอาจส่งผลให้มีการเรียกหรือหักค่างานขาด หรือจ่ายชดเชยค่างานเกิน          - กรณีกำหนดเงื่อนไข รายละเอียด หลักเกณฑ์ แนวทาง วิธีปฏิบัติ และเอกสารอันเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา ควรตรวจสอบให้ถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไข หลักเกณฑ์ แนวทาง วิธีปฏิบัติ และเอกสารประกวดราคาในการประกวดราคา ซึ่งอาจทำเป็นรายการสอบทานความครบถ้วน (Check list) ตามเงื่อนไข หลักเกณฑ์ แนวทาง วิธีปฏิบัติในการประกวดราคา และเอกสารประกวดราคา          - ในกรณีที่แบบรูปรายการหรือเงื่อนไขในสัญญากำหนดให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างเลือกปฏิบัติได้หลายทางเลือก และแต่ละทางเลือกมีค่าพัสดุหรือค่างานไม่เท่ากัน ควรกำหนดค่างานหรือการหักเงินค่างานสาหรับแต่ละทางเลือก แล้วแต่กรณี ไว้เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาด้วย เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากกรณีพิพาทเกี่ยวกับการคิดค่างานไม่ตรงกัน กรณีที่มีการเลือกทางเลือกที่ไม่ตรงกับที่คานวณไว้ในการประเมินราคา          - ในการประเมินราคาเพื่อใช้เป็นเอกสารอันเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา ควรเปรียบเทียบรายการตามบัญชีแสดงปริมาณและราคาที่ผู้ที่ทางราชการเห็นสมควรจ้างกับราคากลางของโครงการ โดยใช้สัดส่วนของยอดรวมราคาที่ประกวดได้กับยอดรวมราคากลาง คูณราคาต่อหน่วยของราคากลาง (รวมค่า Factor F แล้ว) จะได้ราคาต่อหน่วยของราคาประเมิน จะลดความเสี่ยงในการเกิดข้อเสียเปรียบในด้านราคา กรณีมีการเพิ่ม ลด หรือเปลี่ยนแปลงรายการ และกรณีเป็นสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) ควรจัดทำรายการค่างานของรายการที่ต้องใช้สูตรค่า K แต่ละสูตรไว้ด้วย เพื่อช่วยลดขั้นตอนการทำงานซ้าซ้อน ช่วยประหยัดเวลาในการตรวจสอบค่า K ซึ่งต้องทำทุกครั้งที่มีการส่งมอบงานหรือทุกงวดงาน รวมทั้งช่วยลดความเสี่ยงจากการเรียกหรือหักค่างานขาด หรือจ่ายชดเชยค่างานเกิน
          • ขั้นตอนในการบริหารสัญญา             กรณีการจัดซื้อ            - คณะกรรมการตรวจรับพัสดุควรไปตรวจสอบการส่งมอบพัสดุของผู้ขาย ณ สถานที่ และในวันที่ระบุไว้ในสัญญา ไม่ว่าผู้ขายจะแจ้งการส่งมอบหรือไม่ก็ตาม            - คณะกรรมการตรวจรับพัสดุต้องตรวจสอบว่าผู้ขายปฏิบัติหน้าที่ถูกต้องครบถ้วนตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาหรือไม่            - คณะกรรมการตรวจรับพัสดุต้องตรวจสอบรายละเอียดของพัสดุที่ส่งมอบว่าเป็นไปตามข้อกาหนดในสัญญาหรือไม่ และตรวจสอบรายละเอียดของพัสดุที่ส่งมอบให้ครบถ้วนทุกข้อกาหนดในสัญญา กรณีที่ไม่สามารถตรวจสอบตามข้อกำหนดข้อใดได้ ต้องรายงานหัวหน้า           - กรณีที่ต้องมีการทดลอง หรือตรวจสอบในทางเทคนิคหรือทางวิทยาศาสตร์ ควรเชิญผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับพัสดุนั้นมาให้คาปรึกษา หรือนำพัสดุนั้นไปทดลองหรือตรวจสอบ ณ สถานที่ของผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒินั้น เพื่อให้มีการทดสอบอย่างครบถ้วนทุกข้อกำหนดในสัญญา            - กรณีที่เห็นว่าพัสดุที่ส่งมอบ มีรายละเอียดไม่เป็นไปตามข้อกาหนดในสัญญาต้องรายงานหัวหน้าส่วนราชการผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ เพื่อสั่งการตามควรแก่กรณี            - กรณีที่ความในเอกสารแนบท้ายสัญญาขัดแย้งกับข้อความในสัญญาต้องใช้ข้อความในสัญญา            - ในกรณีที่เอกสารแนบท้ายสัญญาขัดแย้งกันเอง ต้องจัดทำคำวินิจฉัยของผู้ซื้อ แจ้งผู้ขายทันที โดยเฉพาะกรณีที่ผู้ขายส่งมอบพัสดุไม่ทันตามกาหนดในสัญญา 
             กรณีการจัดจ้าง             - ผู้ควบคุมงานต้องไปตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง ณ สถานที่และในวันกำหนดลงมือทำการที่ระบุไว้ในสัญญา ไม่ว่าผู้รับจ้างจะลงมือก่อสร้างหรือไม่ก็ตาม             - ผู้ควบคุมงานต้องไปตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง ในวันถึงกำหนดส่งมอบงานแต่ละงวด ว่าเป็นไปตามสัญญาหรือไม่             - ผู้ควบคุมงานต้องจดบันทึกสภาพการปฏิบัติงาน รายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และวัสดุที่ใช้ ของผู้รับจ้างและเหตุการณ์แวดล้อมเป็นรายวัน             - ผู้ควบคุมงานต้องรายงานสภาพการปฏิบัติงาน รายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และวัสดุที่ใช้ ของผู้รับจ้าง และเหตุการณ์แวดล้อมเป็นรายวัน ให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบทุกสัปดาห์             - ผู้ควบคุมงานต้องมอบรายงานสภาพการปฏิบัติงาน รายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และวัสดุที่ใช้ ของผู้รับจ้างและเหตุการณ์แวดล้อมเป็นรายวัน ให้แก่เจ้าหน้าที่พัสดุเมื่อเสร็จงานแต่ละงวด             - ผู้ควบคุมงานต้องรายงานการสั่งให้หยุดงานและสาเหตุที่มีการสั่งให้หยุดงานต่อคณะกรรมการตรวจการจ้างโดยเร็ว             - รายงานของผู้ควบคุมงานต้องมีรายละเอียดเพียงพอให้คณะกรรมการตรวจการจ้างตรวจสอบกับแบบรูปรายการละเอียด และข้อกาหนดในสัญญา             - คณะกรรมการตรวจการจ้างต้องตรวจสอบรายงานของผู้ควบคุมงานกับแบบรูปรายการละเอียด และข้อกาหนดในสัญญา             - คณะกรรมการตรวจการจ้างต้องตรวจสอบความครบถ้วน ถูกต้อง และความเหมาะสมของแผนการทำงานของผู้รับจ้างจัดทาก่อนการดำเนินการก่อสร้าง กรณีเป็นสัญญาจ้างก่อสร้างที่เป็นราคาต่อหน่วย กรณีเป็นโครงสร้างหรือส่วนประกอบที่เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วไม่สามารถเห็น นับ วัดหรือตรวจสอบได้ ควรถ่ายภาพการนับ วัด หรือตรวจสอบไว้เพื่อเป็นหลักฐานให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องตรวจสอบได้ด้วย จะช่วยลดความเสี่ยงในการถูกร้องเรียนหรือถูกตรวจสอบได้ โดยภาพถ่ายควรแสดงข้อมูลที่สามารถตรวจสอบกับแบบรูปรายการตามสัญญา เช่น รูปร่าง ขนาด ตาแหน่ง จานวน ระยะ ความกว้าง ความยาว ความสูง ความลึก เป็นต้น             - กรณีเป็นสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) เจ้าหน้าที่พัสดุ หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ต้องตรวจสอบค่า K ทุกครั้งที่มีการส่งมอบงานหรือทุกงวดงานว่า งานที่ส่งมอบมีดัชนีราคา ซึ่งจัดทาขึ้นโดยกระทรวงพาณิชย์ว่ามีการเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือลดลงจากเดิมขณะเมื่อวันเปิดซองประกวดราคาหรือวันเปิดซองราคา จนทาค่า K สูงขึ้นหรือลดลงเกินร้อยละ ๔ หรือไม่              - ในกรณีที่ผู้ว่าจ้างจะต้องเรียกเงินคืนจากผู้รับจ้าง ต้องเรียกเงินคืนจากผู้รับจ้างโดยเร็ว หรือให้หักค่างานของงวดต่อไป หรือให้หักเงินจากหลักประกันสัญญา แล้วแต่กรณี              - ในกรณีที่ข้อความในเอกสารแนบท้ายสัญญาที่ขัดแย้งกับข้อความในสัญญา ต้องใช้ข้อความในสัญญา              - ในกรณีที่เอกสารแนบท้ายสัญญาขัดแย้งกันเอง ต้องจัดทำคำวินิจฉัยของผู้ว่าจ้าง และแจ้งผู้รับจ้างทันที โดยเฉพาะกรณีที่ผู้รับจ้างส่งมอบงานไม่ทันตามกาหนดในสัญญา              - กรณีที่มีความจำเป็นต้องเพิ่ม ลด หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา ต้องรีบทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพื่อลดความเสี่ยงของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรือคณะกรรมการตรวจการจ้างและผู้ควบคุมงานในการตรวจสอบไม่ถูกต้องครบถ้วน                ซึ่งในทางปฏิบัติ กรณีการจัดซื้อ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุควรร่วมสังเกตการณ์การตรวจสอบแค็ตตาล็อก ตัวอย่าง หรือข้อเสนอด้านเทคนิคของคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาหรือคณะกรรมการประกวดราคาด้วย                ส่วนการจัดจ้าง คณะกรรมการตรวจการจ้างและผู้ควบคุมงานควรตรวจสอบแบบแปลนแผนผังกับสถานที่ก่อสร้างจริงว่า สามารถก่อสร้างได้ตามแบบแปลนแผนผังหรือไม่ รวมทั้งตรวจสอบแบบแปลน แบบรูปด้าน แบบรูปตัดตามยาว แบบรูปตัดตามขวาง แบบรายละเอียดของโครงสร้างต่าง ๆ ว่าครบถ้วนเพียงพอที่จะใช้ในการก่อสร้างแต่ละส่วน หรือมีการขัดแย้งกันเองหรือไม่ ตั้งแต่ได้รับคำสั่งแต่งตั้งและแบบรูปรายการ เพื่อที่จะได้แก้ไขได้ทันท่วงทีกรณีที่มีปัญหา ไม่เสียเวลาในการก่อสร้าง              - กรณีที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา ไม่มีการพิจารณาว่ากระทบถึงวงเงิน หรือระยะเวลาส่งมอบของหรือระยะเวลาในการทางาน หรือกระทบต่อความมั่นคงแข็งแรง หรืองานเทคนิคเฉพาะอย่าง หรือไม่              - กรณีที่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญามีการเพิ่มวงเงิน ต้องทำข้อตกลงไปพร้อมกัน              - กรณีที่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา มีการเพิ่ม/ลดระยะเวลาในการทำงาน ไม่ทำข้อตกลงไปพร้อมกัน              - กรณีที่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา เกี่ยวข้องกับความมั่นคงแข็งแรง หรืองานเทคนิคเฉพาะอย่าง ต้องมีการรับรองจากวิศวกร สถาปนิกและวิศวกรผู้ชานาญการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรับผิดชอบหรือสามารถรับรองคุณลักษณะเฉพาะ แบบและรายการของงานก่อสร้าง หรืองานเทคนิคเฉพาะอย่างนั้น แล้วแต่กรณีด้วย              - เมื่อครบกำหนดส่งมอบพัสดุตามสัญญา ต้องรีบแจ้งการเรียกค่าปรับตามสัญญาหรือข้อตกลงจากคู่สัญญา และเมื่อคู่สัญญาได้ส่งมอบพัสดุ ต้องบอกสงวนสิทธิ์การเรียกค่าปรับในขณะที่รับมอบพัสดุนั้นด้วย              - กรณีที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างไม่สามารถส่งมอบพัสดุหรืองานจ้างได้ตามกาหนดในสัญญาที่มีเหตุเกิดจากความผิด หรือความบกพร่องของส่วนราชการ เหตุสุดวิสัย หรือ เหตุเกิดจากพฤติการณ์อันหนึ่งอันใดที่คู่สัญญาไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย ซึ่งมีหลักฐานชัดแจ้ง หรือส่วนราชการทราบดีอยู่แล้วตั้งแต่ต้น และยังไม่ครบกาหนดส่งมอบพัสดุหรืองานจ้างตามสัญญา ควรดาเนินการให้มีการขยายเวลาทำการตามสัญญา ตามจำนวนวันที่มีเหตุเกิดขึ้นจริงเฉพาะกรณีทันที เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดกรณีพิพาทเกี่ยวกับการพิสูจน์ข้อเท็จจริง และการนับจานวนวันที่จะขยาย หรืองด หรือลดค่าปรับให้คู่สัญญา รวมทั้งความเสี่ยงในกรณีที่มีเหตุเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของส่วนราชการ เหตุสุดวิสัย หรือเหตุเกิดจากพฤติการณ์อันหนึ่งอันใดที่คู่สัญญาไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย ซึ่งมีหลักฐานชัดแจ้ง และส่วนราชการทราบก็ดีอยู่แล้วตั้งแต่ต้น และครบกำหนดส่งมอบพัสดุหรืองานจ้างตามสัญญาแล้ว ซึ่งจะขยายเวลาทำการตามสัญญาไม่ได้ ต้องงดหรือลดค่าปรับให้แก่คู่สัญญา แต่มีการขยายเวลาทาการตามสัญญา ซึ่งอาจเป็นปัญหาทางข้อกฎหมายตามมาได้               - ในกรณีที่มีเหตุอันเชื่อได้ว่า ผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด และเป็นกรณีที่เป็นประโยชน์แก่ทางราชการโดยตรง หรือเพื่อแก้ไขข้อเสียเปรียบของทางราชการในการที่จะปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้นต่อไป หัวหน้าส่วนราชการต้องพิจารณาใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา                 - กรณีที่ค่าปรับใกล้จะถึงร้อยละสิบของวงเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้าง และผู้ขายหรือผู้รับจ้างไม่ได้แสดงเจตจานงเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ว่าจะยินยอมเสียค่าปรับให้แก่ทางราชการโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น หัวหน้าส่วนราชการต้องบอกเลิกสัญญา เว้นแต่คู่สัญญาจะยินยอมเสียค่าปรับให้แก่ทางราชการโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น หัวหน้าส่วนราชการจึงจะพิจารณาผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาได้เท่าที่จาเป็น ซึ่งในทางปฏิบัติจะต้องจัดทาหลักฐานไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อลดความเสี่ยงจากการฟ้องร้องดาเนินคดีขอคืนค่าปรับภายหลัง ในกรณีที่หัวหน้าส่วนราชการผ่อนปรนไม่บอกเลิกสัญญาโดยที่ไม่มีหลักฐานว่าคู่สัญญาไม่ยินยอมเสียค่าปรับให้แก่ทางราชการโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ 
            ตัวอย่างตรวจพบที่สาคัญ 
            ๑.จัดซื้อเครื่องวิทยุรับ–ส่งของ            หน่วยงานแห่งหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี คณะกรรมการเปิดซองสอบราคาและคณะกรรมการตรวจรับไม่ได้ตรวจสอบคุณสมบัติของเครื่องวิทยุรับ–ส่งว่าถูกต้องตามเงื่อนไขในสัญญาหรือไม่ ทำให้ผู้ขายส่งมอบเครื่องวิทยุรับ–ส่งที่ยังไม่ผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ และไม่ได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาใช้งานในราชอาณาจักร อีกทั้งไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติอนุญาต กรณีดังกล่าวเป็นผลให้ราชการได้รับความเสียหาย ๑๒๔,๐๐๐ บาท              ๒.หน่วยงานแห่งหนึ่งจัดซื้อสื่อการเรียนรู้ให้กับศูนย์การเรียนชุมชนและห้องสมุดประชาชนสังกัด กศน. วงเงิน ๑๙,๙๗๐,๐๐๐ บาท โดย กศน. มิได้คัดเลือกหนังสือและสื่อตามความต้องการของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนและห้องสมุดประชาชน แต่คัดเลือกจากเอกสารใบเสนอรายการและราคาที่ผู้ขายรายหนึ่งส่งมาให้เป็นประจำทุกปี และในการจัดซื้อได้มีการแก้ไขรายละเอียดของรายการจำนวนและราคาให้เท่ากับราคาที่ผู้ขายกำหนดไว้รวมทั้งมีการเพิ่มหรือลดปริมาณจนได้ราคารวม ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ตามที่มีการเตรียมงบประมาณไว้ นอกจากนั้นยังมีการจัดทำรายการตามโครงการแยกเป็นแต่ละอำเภอแต่บันทึกด้านหน้าเขียนว่า แบบสารวจความต้องการและส่งให้ กศน. เพื่อแจ้งให้ กศน.อำเภอแต่ละอำเภอลงชื่อเสมือนหนึ่งว่า เป็นการสำรวจความต้องการแล้ว และมีการแก้ไขรายการในโครงการฉบับเดิมโดยตัดเลขรหัสหนังสือและชื่อผู้แต่งออก แต่กลับกำหนดจานวนหน้าของหนังสือของแต่ละรายการและปรากฏลายมือชื่อ ผอ.กศน. ทุกแผ่นเอกสาร เจตนา มิให้ทราบว่ารายการและราคาดังกล่าวตรงกับรายการและราคาของผู้ขายรายหนึ่ง หลังจากนั้นได้ส่งโครงการดังกล่าวเพื่อขออนุมัติผู้บริหารเพื่อส่งให้ฝ่ายพัสดุดำเนินการจัดซื้อตามโครงการและราคาที่มีการตบแต่งไว้ มีผลให้จัดซื้อรายการหนังสือเรียนและสื่อการเรียนรู้ในราคาที่สูงกว่าความเป็นจริง เกิดความเสียหายเป็นเงิน ๓,๒๓๓,๕๐๐ บาท             ๓. หน่วยงานแห่งหนึ่ง ก่อสร้างบูรณะเขื่อนหินคอนกรีตสาเร็จรูปริมคลอง มีรายละเอียดดังนี้ การกำหนดราคากลางเพื่อใช้ในการขออนุมัติโครงการตามราคาประมาณการของผู้รับจ้าง หลังจากได้รับอนุมัติโครงการ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคากลางและคณะกรรมการได้ประมาณการราคากลางขึ้นใหม่ซึ่งใกล้เคียงกับประมาณการราคาเดิมที่ใช้ในการขออนุมัติโครงการ โดยในการประมาณการราคาได้เพิ่มปริมาณเนื้องานส่วนอื่นให้สูงขึ้นแต่จะลดปริมาณจำนวนเสาเข็มลงเพื่อให้ราคาต่อหน่วยตลอดโครงการ ๑,๑๐๐ เมตรยังคงเดิม และผู้ประมาณการราคาไม่ได้ลงลายมือชื่อในเอกสารประมาณราคากลาง และการคานวณราคากลางไม่ได้ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๔๔ การทำสัญญาจ้างโดยวิธีพิเศษในวงเงิน ๑๙,๐๐๐,๐๐๐ บาท เมื่อเทียบกับบันทึกการคำนวณมูลค่างานก่อสร้างตามแบบรูปรายการจานวน ๑๗,๐๗๓,๗๒๕ บาท การทำสัญญาจึงสูงกว่าความเป็นจริงเป็นเงิน ๑,๙๒๖,๒๗๕ บาท และ การยื่นเสนอราคา องค์การบริหารส่วนตำบล ได้ส่งหนังสือเชิญชวนให้ผู้ขายมาเสนอราคาจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ ๕ บริษัท แต่ตามเอกสารทะเบียนรับซองจัดจ้างโดยวิธีพิเศษระบุว่ามีผู้มายื่นซองเสนอราคาเพียง ๑ ราย และได้มีการต่อรองราคากันในวันเดียวกัน แต่ได้มีการทำเอกสารหลักฐานย้อนหลังเพื่อแสดงให้เห็นว่าผู้รับจ้างมายื่นซองตามวันที่ประกาศเชิญชวนเพียงรายเดียวในวันดังกล่าว ทั้งที่ความจริงไม่มีผู้รับจ้างรายใดมายื่นราคา หรือหากมีแต่น่าจะถูกปฏิเสธเพื่อให้ผู้รับจ้างได้รับการคัดเลือกก็ได้ ทั้งนี้เนื่องจากเอกสารบันทึกหลักฐานการต่อรองราคาลายมือชื่อของผู้รับจ้างแตกต่างจากเอกสารฉบับอื่นๆ และใบแสดงปริมาณงานที่ยื่นให้เป็นหลักฐานระบุความยาวโครงการเพียง ๙๙๐ เมตร และข้อสำคัญวันที่ซึ่งกำหนดในการยื่นเสนอราคาทำขึ้นหลังจากทราบผลการลดปริมาณงานจากต้นสังกัดแล้ว รายนามผู้ถือหุ้นของผู้รับจ้างมีนามสกุลเดียวกับผู้บริหารจำนวน ๕ ราย และมีที่ตั้งอยู่ที่ที่อยู่ของหลานของผู้บริหาร จากพฤติการณ์ดังกล่าวข้างต้นเห็นว่า ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งมีอำนาจมีการดำเนินการเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับผู้รับจ้าง เพื่อให้ได้เข้ามาเป็นคู่สัญญาจัดจ้างโดยวิธีพิเศษโครงการก่อสร้างบูรณะเขื่อนหินคอนกรีตสาเร็จรูป                 ๕. หน่วยงานแห่งหนึ่งแห่งหนึ่ง ดำเนินการจ้างขุดลอกท่อระบายน้า ด้วยวิธีตกลงราคา จานวน ๒๖ สัญญา ได้ผู้รับจ้างชุดเดียวกัน เข้าข่ายเป็นการแบ่งซื้อแบ่งจ้างและเอื้อประโยชน์ให้กับผู้รับจ้าง โดยผู้รับจ้างอ้างเป็นตัวแทนของผู้บริหาร ทำให้ทางราชการได้รับความเสียหายในการจัดจ้างสูงกว่าความเป็นจริง นอกจากนั้นเจ้าหน้าที่พัสดุได้จัดทำใบแจ้งหนี้และลงลายมือชื่อแทนผู้รับจ้างในใบแจ้งหนี้เพื่อนำไปประกอบฎีกาเบิกจ่ายเงิน และเจ้าหน้าที่การเงินได้จ่ายเช็คจานวน ๘ ฉบับ โดยระบุชื่อผู้รับจ้างขีดฆ่าผู้ถือออกแต่ไม่ได้ขีดคร่อมเช็ค                ๖. เรื่องการประกวดราคาจ้างก่อสร้างทางไม่เป็นไปตามระเบียบพัสดุ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ได้ตรวจสอบเอกสารและสังเกตการณ์ประกวดราคาฯ การก่อสร้างทาง ราคากลาง ๕๓๖,๖๘๐,๗๕๑.- บาท มีข้อสังเกต คือ บริษัทผู้รับเหมามีหนังสือลดราคาแยกไว้ต่างหาก มีประเด็นตรวจสอบว่า คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา ปฏิบัติตามระเบียบ มีพฤติการณ์ทุจริตและผิด พรบ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๔๒ หรือไม่ คณะกรรมการรับและเปิดซองฯ ไม่ได้ทำการตรวจสอบอย่างละเอียดว่ามีเอกสารในซอง ใบเสนอราคาอะไรบ้างตรงตามบัญชีรายการเอกสารหรือไม่ทำให้ไม่ทราบว่ามีหนังสือลดราคา และไม่ได้อ่านแจ้งราคาพร้อมบัญชีรายการเอกสารหลักฐานต่างๆ ของผู้เสนอราคาทุกรายโดยเปิดเผยเพียงแต่ เขียนแจ้งราคาไว้บนกระดานเท่านั้น และได้รับการทักท้วงจากบริษัทฯ จึงเขียนแจ้งราคาที่ลดลงของบริษัทฯ ไว้บนกระดานอีกครั้งหนึ่ง เป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกฯ ว่าด้วยพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ ข้อ ๔๙ เห็นควรดำเนินการทางวินัยกับคณะกรรมการฯ และจากการที่คณะกรรมการฯ เมื่อทราบว่ามีหนังสือ ลดราคาอยู่ในซองใบเสนอราคา ได้แสดงความเห็นต่อคณะกรรมการพิจารณาผลฯ ว่าหากจะลดราคา ต้องแสดงเจตนาไว้ในใบเสนอราคาเท่านั้น ตามหนังสือสำนักนายกฯ ที่ นร (กวพ) ๑๒๐๔/๘๘๘๙ วันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๕ ให้คณะกรรมการพิจารณาผลประกอบการพิจารณาด้วย พฤติการณ์ดังกล่าว คตง. มีมติให้พิจารณาดาเนินการทางวินัยกับคณะกรรมการฯ             ๗. เรื่องการทุจริตการจัดซื้อที่ดินเพื่อทิ้งขยะ             ประเด็นที่ ๑ การจัดซื้อที่ดินในราคาแพงผ่านตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์             หน่วยงานแห่งหนึ่งซื้อที่ดินโดยวิธีพิเศษจากนางดีฯ ๔ แปลง เนื้อที่รวม ๒๑๗ –๓ – ๓๖.๕ ไร่ เป็นเงิน ๒๒,๕๘๖,๐๐๐.- บาท โดยก่อนหน้านี้นางดีฯ ได้ขอจดทะเบียนสิทธิกับนายนิทัศน์และ ร.ต.ต.เคล้า ในราคา ๓,๐๐๐,๐๐๐.- บาท ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่หน่วยงานประกาศซื้อที่ดินและหน่วยงานซื้อที่ดินของนางดี ๔ แปลง ซึ่ง ๓ ใน ๔ แปลงนั้นคือที่ดินที่นางดีฯ ขอจดทะเบียนสิทธิ ต่อมาในวันที่หน่วยงานแห่งนั้นจ่ายเงินซื้อที่ดิน มีการยกเลิกการขายระหว่างกัน เพื่อโอนสิทธิการขายให้กับหน่วยงานที่จัดซื้อในที่ดิน ๓ แปลงดังกล่าว เทศบาลจ่ายเงินให้ผู้ขาย ๒๒,๕๘๖,๐๐๐.- บาท ราคาที่ดิน ๓ แปลง ที่นางดีฯ ยกเลิกการขายให้นายนิทัศน์ฯ และพวกราคา ๑๔,๔๗๗,๐๐๐.- บาท สูงกว่าที่ตกลงขายกัน ๑๑,๔๗๗,๐๐๐.- บาท และในวันเดียวกัน นางดีฯ สั่งจ่ายเงินที่ได้รับให้นายนิทัศน์ฯ ๑๖,๖๘๖,๐๐๐.- บาท นางดีฯ เหลือยอดเงินจากการขายที่ดินเพียง ๕,๙๐๐,๐๐๐.- บาท ซึ่งคิดเป็นราคาเฉลี่ยต่อไร่ใกล้เคียงกับราคาที่บุคคลทั่วไปซื้อขายกัน            ประเด็นที่ ๒ การซื้อที่ดินโดยไม่มีเส้นทางเข้า – ออก (ที่ตาบอด) เส้นทางเข้า – ออกสู่ที่ดินที่จัดซื้อ ไม่มีถนนที่เชื่อมต่อกับแนวเขตที่ดินที่เทศบาลจัดซื้อแปลงใดเลย ซึ่งต้องผ่านที่ดินราชพัสดุ ซึ่งยังไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้เป็นทางเข้า – ออก จึงเป็นการจัดซื้อที่ดินโดยไม่มีทางสาธารณะหรือทางเข้า – ออก ตามกฎหมาย            ประเด็นที่ ๓ จัดซื้อที่ดิน ตั้งอยู่ในเขตผังเมืองรวม ที่ดินที่จัดซื้อ มีพื้นดินตั้งอยู่ในแนวเขตผังเมืองรวม ซึ่งห้ามใช้ทำกิจการกำจัดมูลฝอย ๓๑.๒๓ ไร่ อยู่นอกเขตฯ ๖๒.๕๑ ไร่ เป็นพื้นที่มุมเมือง ๓๑.๙๘ ไร่             ๑. ดำเนินการทางแพ่งกับเจ้าหน้าที่และให้นาเงิน ๑๖,๖๘๖,๐๐๐.- บาท ส่งคืนคลัง             ๒. ดำเนินการทางอาญากับคณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ เพราะไม่นำราคาที่ดินใกล้เคียงมาเปรียบเทียบ และรู้ว่ามีการจะขายที่ดินให้นายนิทัศน์ฯ และเคยเข้าไปดูสถานที่จริง หากนำข้อมูลดังกล่าวมาพิจารณาก็จะสามารถต่อรองราคาที่เหมาะสมกว่านี้ได้ แต่ก็ไม่ปฏิบัติเช่นนั้น การกระทำจึงน่าเชื่อว่าเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและดำเนินการทางอาญากับผู้บริหารหน่วยงานซึ่งเป็นผู้รับโอนเปลี่ยนผู้รับสัญญาจึงย่อมรู้ว่ามีการซื้อขายกันในราคาที่น่าจะต่ำกว่านี้ แต่กลับลงนามอนุมัติในราคาแพงกว่าสมควร จานวน ๑๖,๖๘๖,๐๐๐.- บาท นางดีฯ ฐานเป็นผู้สนับสนุนให้เจ้าพนักงานกระทำความผิด และเจ้าพนักงานที่ดินเป็นเจ้าพนักงานนาเอกสารเท็จ โดยมีเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดิน ๖ และเจ้าหน้าที่ที่ดิน ๔ เป็นตัวการร่วมกระทำผิด            ๓. ดำเนินการทางวินัยกับคณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ และข้าราชการกรมที่ดิน            ๔. แจ้งสำนักงานผังเมือง กำกับดูแล การใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตาม พรบ. ผังเมืองต่อไป           ๘. เรื่อง การตรวจสอบการจัดซื้อต้นไม้           สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ได้ตรวจสอบการจัดซื้อต้นไม้ในวงเงิน ๑๑๘.๐๖ ล้านบาท พบข้อเท็จจริงว่า การจัดซื้อต้นไม้ดำเนินการโดยส่วนกลาง มีการจัดซื้อต้นไม้ตามรายการและปริมาณเดียวกันมากกว่าหนึ่งครั้งในระยะเวลาสองปี มีการแบ่งซื้อโดยลดวงเงินที่จะดำเนินการในครั้งเดียวกัน เพื่อหลีกเลี่ยงจากการประกวดราคาเป็นสอบราคา ไม่กำหนดคุณลักษณะเฉพาะของต้นไม้ที่จัดซื้อ ไม่มีหลักฐานการเผยแพร่เอกสารการสอบราคา การแต่งตั้งกรรมการตรวจรับไม่มีเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานแต่ละแห่งร่วมเป็นกรรมการ มีกรรมการตรวจรับเพียงคนเดียวทำการตรวจรับในวันเดียวกันจำนวนหลายสัญญาโดยสถานที่ที่ดำเนินการอย่างห่างกันมาก มีการจัดซื้อจากผู้ขายเพียงไม่กี่รายและผู้ขายทั้งหมดใช้หมายเลขโทรศัพท์เดียวกัน จากการเปรียบเทียบรายได้จากการขายในงบการเงินของผู้ขายบางรายปรากฏว่า ยอดรายได้ในงบการเงินต่ำกว่ายอดที่จำหน่ายมาก เบิกจ่ายเงินจากหมวดครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้างและไม่ส่งสำเนาสัญญา ซึ่งมีมูลค่าตั้งแต่หนึ่งล้านบาทขึ้นไปให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินและกรมสรรพากร นอกจากนี้ยังได้ตรวจสอบหลักฐานการเบิกจ่าย ขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างและตรวจสังเกตการณ์ ปรากฏว่า การจัดซื้อจัดจ้างหน่วยงานแห่งนั้นยังไม่รับมอบพัสดุตามหลักฐานการเบิกเงินจากคลัง ภายหลังการตรวจสอบได้นำเงินส่งคืนคลังเป็นรายได้แผ่นดิน รวม ๓ ครั้ง เป็นเงิน ๑๘,๓๘๒,๔๕๐.-บาท           ๙. เรื่องการจัดซื้อที่ดินเพื่อก่อสร้างระบบรวบรวมและบาบัดน้าเสีย             สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ได้ตรวจสอบสืบสวนเรื่องร้องเรียนกล่าวหาการจัดซื้อที่ดินเพื่อก่อสร้างระบบรวบรวมและบำบัดน้าเสียของหน่วยงานแห่งหนึ่งส่อไปในทางไม่สุจริต เป็นเงิน ๒๖,๒๕๐,๐๐๐.-บาท เป็นค่าจัดซื้อที่ดินเพื่อก่อสร้างระบบรวบรวมและบำบัดน้าเสีย จากการประกวดราคามีผู้ยื่นซองเสนอราคาเพียงรายเดียวคือ นางตา ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของที่ดินรวม ๒๔ ราย จานวนเนื้อที่ดิน ๑๒๓ ไร่ ๕ ตารางวา เป็นเงิน ๒๖,๐๐๘,๕๐๐.-บาท คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาได้ต่อรองราคากับนางตาฯ ซึ่งได้ยินยอมลดราคา คงเหลือเป็นเงิน ๒๔,๑๑๐,๔๕๐.-บาท นายกเทศมนตรีได้ทำสัญญาซื้อขายกับนางตาฯ จานวนที่ดิน ๑๒๓ ไร่ ๕ ตารางวา รวมเป็นเงิน ๒๔,๑๑๐,๔๕๐.-บาท จากการตรวจรับพัสดุปรากฏว่า ที่ดินมีเสาและสายไฟฟ้าแรงสูงพาดผ่านคิดเป็นเนื้อที่ประมาณ ๑๐ ไร่เศษ ซึ่งบริเวณดังกล่าวมีประกาศข้อบังคับของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยห้ามปลูกสร้างสิ่งก่อสร้าง ต่อมาได้มีการเบิกจ่ายเงินค่าซื้อที่ดินดังกล่าว จานวน ๒๔,๑๑๐,๔๕๐.-บาท จากการตรวจสอบราคาประเมินที่ดินของทางราชการ เป็นเงิน ๒,๕๘๓,๐๐๐.-บาท จึงมีการซื้อที่ดินแพงกว่าราคาประเมินของสานักงานที่ดินเป็นเงิน ๒๑,๕๒๖,๙๕๐.- บาท  สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน จึงแจ้งให้มีการดำเนินการทางกฎหมาย ทางแพ่ง และทางวินัยแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง           ๑๐. เรื่อง ผู้อานวยการโรงเรียน             การดำเนินการจัดจ้าง งานจ้างเหมาปรับปรุงอาคารเรียน โดยวิธีสอบราคา จานวนเงิน ๕๐๐,๐๐๐.-บาท การดาเนินการจัดจ้างไม่ชอบ ดังนี้               ๑.๑ ผู้อำนวยการวิทยาลัย ไม่ได้แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคากลาง เพื่อจัดทำราคากลางไว้สาหรับใช้ในการเปรียบเทียบราคาของผู้เสนอราคา รวมทั้งใช้เป็นเกณฑ์ในการต่อรองราคา และสั่งการให้หัวหน้างานพัสดุ ปิดประกาศสอบราคาเฉพาะที่วิทยาลัยฯ เท่านั้น ไม่ให้ส่งไปยังผู้มีอาชีพรับจ้าง               ๑.๒ หัวหน้างานพัสดุไม่เรียกหลักประกันสัญญาจากผู้รับจ้าง ไม่จัดส่งสำเนาสัญญาจ้างและเอกสารประกอบสัญญาให้แก่ผู้ควบคุมงานและคณะกรรมการตรวจการจ้าง และเมื่อผู้รับจ้างส่งมอบวัสดุคงเหลือจากการก่อสร้าง ให้แก่วิทยาลัยฯ ไม่ได้บันทึกรายการดังกล่าวไว้ในทะเบียนคุม               ๑.๓ ผู้ควบคุมงานก่อสร้างปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้อง กล่าวคือ ไม่ได้ควบคุมงานและตรวจสอบงานให้เป็นไปตามรายการสัญญา แต่ได้สั่งการให้ผู้รับจ้างทางานตามขอบข่ายของงานที่ตน ได้รับทราบจากผู้อำนวยการวิทยาลัย ในคราวประชุมประจำเดือน รวมทั้งงานที่เห็นสมควรตามสภาพของงาน ซึ่งเป็นงานที่นอกเหนือจากรายการที่สัญญากำหนด เมื่อไม่ได้รับสำเนาสัญญาและเอกสารประกอบเพื่อใช้ในการควบคุมงาน ก็ไม่ได้ติดตามทวงถามจากงานพัสดุ เมื่อไม่ได้รับสาเนาสัญญาและเอกสารประกอบเพื่อใช้ในการควบคุมงาน ก็ไม่ได้ติดตามทวงถามจากงานพัสดุ และมิได้เสนอความเห็นหรือรายงานให้ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในสัญญาให้ถูกต้องตามความเป็นจริง นอกจากนี้ยังได้สั่งการให้ผู้รับจ้างจดบันทึกผลการปฏิบัติงานประจำวันให้ โดยผู้ควบคุมงานจะตรวจสอบเฉพาะรายการ พร้อมลงชื่อในฐานะผู้ควบคุมงาน ซึ่งในรายงานดังกล่าวไม่ได้บันทึกไว้ว่าในแต่ละวันทำงานได้ปริมาณเท่าใด และเมื่อผู้รับจ้างส่งมอบงานยังได้รับรองว่าผู้รับจ้างทางานถูกต้องตามสัญญา               ๑.๔ คณะกรรมการตรวจการจ้าง ได้ตรวจรับงานโดยตรวจสอบเฉพาะความเรียบร้อยของงานเท่านั้น เพราะเห็นว่าผู้ควบคุมงานได้บันทึกรับรองว่างานถูกต้องตามสัญญาแล้ว โดยมิได้ตรวจสอบรายการและปริมาณงานที่ผู้รับจ้างส่งมอบ ว่าถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาหรือไม่ แต่กลับรับรองว่างานเสร็จถูกต้องตามสัญญา สานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ได้แจ้งให้พิจารณาดาเนินการดังนี้              ๑. ดำเนินคดีตามกฎหมาย กับคณะกรรมการเปิดซองสอบราคา ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง และคณะกรรมการตรวจการจ้าง              ๒. พิจารณาโทษทางวินัยแก่หัวหน้างานพัสดุ คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา ผู้ควบคุมงาน และคณะกรรมการตรวจการจ้าง ตามระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๑๐ ตามควรแก่กรณี             ๓. ดำเนินการตามระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ กับผู้อำนวยการวิทยาลัย คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง และคณะกรรมการตรวจการจ้าง เพื่อหาตัวผู้รับผิดชอบชดใช้เงินคืนให้แก่ทางราชการ สานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
            เครดิต : นายมณเฑียร เจริญผล , รองผู้ว่าการสานักงานกฎหมาย สานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน , รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ นิติศาสตรบัณฑิต และนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคาแหง บริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ประกาศนียบัตรบัณฑิตทางกฎหมายมหาชน รุ่นที่ ๖ และอบรมหลักสูตรกฎหมายมหาชน รุ่นที่ ๙ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...