2 ส.ค. 2554

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีคำสั่งเลิกจ้างพนักงานโดยไม่เป็นธรรม

              สรุปประเด็น ผู้ร้องเรียนเป็นพนักงานจ้างชั่วคราวของเทศบาล ตั้งแต่ วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๐ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๑ ตำแหน่งคนงานทั่วไป ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานที่ศูนย์วัฒนธรรมประจำท้องถิ่น มีหน้าที่ต้อนรับและบรรยายสรุปข้อมูลแก่ผู้มาเที่ยวชม เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ศูนย์วัฒนธรรมให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป และดูแลการเบิกจ่ายค่าสาธารณูปโภคของศูนย์วัฒนธรรม โดยเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๑ เทศบาลทำการประเมินผลการปฏิบัติราชการของพนักงานจ้างจำนวน ๓๐ ราย ปรากฏว่า ผลการประเมินของผู้ร้องเรียนอยู่ในเกณฑ์ดี ผ่านการประเมินจากคณะกรรมการ และเห็นควรต่อสัญญาจ้างในปีต่อไป ต่อมา เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ ผู้ร้องเรียนได้รับแจ้งคำสั่งเลิกจ้างจากสำนักปลัดเทศบาล โดยในคำสั่งของนายกเทศมนตรี ไม่ได้ระบุเหตุผลการเลิกจ้าง ฉะนั้น หลังจากลงนามเพื่อรับทราบคำสั่งผู้ร้องเรียนจึงได้อุทธรณ์คำสั่ง ขอให้นายกเทศมนตรีพิจารณาทบทวนคำสั่งอีกครั้ง และระบุเหตุผลในการเลิกจ้าง ซึ่งผู้ร้องเรียนได้รับทราบผลการอุทธรณ์จากนายกเทศมนตรี เมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๑ คือ หมดสัญญาจ้าง ผู้ร้องเรียนจึงขอความเป็นธรรมมายังผู้ตรวจการแผ่นดิน เนื่องจาก ผลการประเมินการปฏิบัติราชการของผู้ร้องเรียนอยู่ในระดับดี และผ่านเกณฑ์ประเมิน โดยได้คะแนนสูงที่สุดเมื่อเทียบกับลูกจ้างที่ปฏิบัติราชการที่ศูนย์วัฒนธรรม ควรได้รับการต่อสัญญาจ้าง แต่ทุกคนได้รับการต่อสัญญาจ้าง ยกเว้นผู้ร้องเรียน และคณะกรรมการผู้ทำการประเมินผลการปฏิบัติราชการมีความเห็นว่าผู้ร้องเรียน ควรได้รับการต่อสัญญาจ้าง แต่ผู้ร้องเรียนกลับถูกสั่งเลิกจ้าง

                ผลการพิจารณา สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้รับหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงจากทางจังหวัด พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนนี้ สรุปได้ว่า
               ๑. จังหวัดได้รับหนังสือร้องขอความเป็นธรรมจากผู้ร้องเรียนซึ่งมีข้อความเช่น เดียวกันกับที่ร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน จึงได้แจ้งอำเภอดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น จากรายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงของอำเภอ สรุปได้ว่า เทศบาลได้บอกเลิกสัญญาจ้างผู้ร้องเรียนถูกต้องตามประกาศคณะกรรมการพนักงาน เทศบาลจังหวัด เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับพนักงานจ้าง ข้อ ๓๙ และข้อ ๕๔ โดยมีเหตุผลที่เลิกจ้าง กล่าวคือ สิ้นสุดสัญญาจ้าง งานประชาสัมพันธ์ที่ผู้ร้องเรียนปฏิบัติไม่ตรงกับงานที่จ้าง และเทศบาลมีนโยบายขยายกรอบอัตรากำลังและจะเปิดรับสมัครพนักงานจ้างตามภารกิจ ใน ตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เพื่อทำหน้าที่แทนผู้ร้องเรียน อีกทั้งเทศบาลได้ย้ายนาย ป. พนักงานจ้างทั่วไป ตำแหน่งคนงานทั่วไป (คนสวน) กองช่าง ไปประจำกองการศึกษา ในตำแหน่งคนงานทั่วไป แล้ว
                ๒. จังหวัดได้ตรวจสอบจากประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัด เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับพนักงานจ้าง และเอกสารหลักฐานแล้วเห็นว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ เทศบาลได้จ้างพนักงานจ้างทั่วไป เพื่อปฏิบัติงานในส่วนราชการของเทศบาล จำนวน ๓๐ ราย เมื่อสิ้นสุดสัญญาจ้าง เทศบาลได้ประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานจ้างทั้งหมด ๓๐ ราย เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาเพื่อประโยชน์ในการที่เทศบาลจะใช้เป็นเครื่องมือใน การบริหารพนักงานจ้าง และนำผลการประเมินไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเลื่อนค่าตอบแทน หรือการเลิกจ้าง หรือเรื่องอื่นๆ ตามที่เทศบาลจะเห็นสมควร และแจ้งให้ผู้รับการประเมินทราบถึงเป้าหมายของการปฏิบัติงานตามตำแหน่งและ งานที่รับผิดชอบ ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดในสัญญาจ้าง ตามข้อ ๓๖ และข้อ ๓๙ ของประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัด ซึ่งในการประเมินดังกล่าวเป็นการประเมินประจำปี มิได้ระบุเป็นการประเมินเพื่อต่อสัญญาจ้างตามข้อ ๓๖ (๓) และกรณีที่จะมีการต่อสัญญาจ้างให้นำผลการประเมินผลการปฏิบัติงานมาประกอบการ พิจารณาในการต่อสัญญาจ้างตามข้อ ๔๔ ดังนั้น กรณีของผู้ร้องเรียนเป็นการพ้นจากตำแหน่งพนักงานจ้างทั่วไป เนื่องจากสิ้นสุดระยะเวลาการจ้างตามสัญญาจ้างตามข้อ ๕๔ (๑) ซึ่งมีระยะเวลาหนึ่งปี ตามความหมายของ “พนักงานจ้างทั่วไป” ประกอบกับเมื่อเทศบาลมิได้ต่อสัญญาจ้างก็ไม่ต้องนำผลการประเมินผลการปฏิบัติ งานมาประกอบการพิจารณา แม้ผลการประเมินของผู้ร้องเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีก็ตาม ทั้งจากเหตุผลของเทศบาลที่เลิกจ้างเพราะสิ้นสุดสัญญาจ้าง งานที่ปฏิบัติไม่ตรงกับตำแหน่งคนงานทั่วไป และเทศบาลจะมีการดำเนินการตามแผนกรอบอัตรากำลังพนักงานจ้าง ๔ ปี (๒๕๕๒ - ๒๕๕๕) อันเป็นอำนาจในการใช้ดุลพินิจของผู้บริหารท้องถิ่นที่จะดำเนินการได้ จึงเห็นว่า เทศบาลได้ดำเนินการเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัด เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับพนักงานจ้างแล้ว จังหวัดจึงยุติเรื่อง และได้แจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ร้องเรียนทราบ
               ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาข้อเท็จจริงประกอบข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้วมี ความเห็นว่า การที่จังหวัดชี้แจงว่า การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ร้องเรียนเป็นการประเมินประจำปี มิได้เป็นไปเพื่อการต่อสัญญาจ้าง จึงไม่ต้องนำผลการประเมินมาประกอบการพิจารณา แม้ผลประเมินจะอยู่ในเกณฑ์ดีก็ตาม นั้น การชี้แจงดังกล่าวไม่น่าจะสอดคล้องกับข้อกฎหมาย เนื่องจากประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัด เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับพนักงานจ้าง ข้อ ๓๔ ที่กำหนดว่า ในระหว่างสัญญาจ้างให้เทศบาลจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน จ้าง ดังต่อไปนี้ (๓) การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานจ้างทั่วไป ให้กระทำในกรณีการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อต่อสัญญาจ้าง ข้อ ๔๐ กำหนดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานจ้างตามภารกิจและพนักงานจ้าง ทั่วไป ปีละ ๒ ครั้ง ตามปีงบประมาณ คือ ครั้งที่ ๑ ประเมินผลในช่วงการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ ๑ ตุลาคม ถึง ๓๑ มีนาคม ครั้งที่ ๒ ประเมินในช่วงการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ ๑ เมษายน ถึง ๓๐ กันยายน ข้อ ๔๑ กำหนดให้นายกเทศมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยคณะกรรมการกลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงาน มีหน้าที่ในการกลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมจากการใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาหรือผู้ประเมิน ก่อนที่จะเสนอผลการประเมินต่อนายกเทศมนตรี ดังนั้น ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ร้องเรียนซึ่งเป็นพนักงานจ้างทั่วไป จึงกระทำได้แต่ในกรณีเป็นการประเมินเพื่อต่อสัญญาจ้างเท่านั้น มิใช่เป็นการประเมินประจำปี เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ร้องเรียน และผู้บังคับบัญชาได้ประเมินผลในระดับดี ประกอบกับคณะกรรมการกลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงานมีความเห็นว่า ผลการปฏิบัติงานของผู้ร้องเรียนอยู่ในระดับดี จึงผ่านการประเมินและเห็นควรต่อสัญญาจ้าง นายกเทศมนตรีจึงควรจะต่อสัญญาจ้างให้ผู้ร้องเรียน ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อสั่งการของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ตามบันทึกวิทยุกระทรวงมหาดไทย ที่ มท ๐๘๐๙.๒/ว ๐๐๖ ลงวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๔๘ ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด แจ้งว่า มีการร้องเรียนเกี่ยวกับพนักงานจ้างที่จะต่อสัญญาจ้างใหม่ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งมีการเรียกรับเงินและแสวงหาประโยชน์ให้ แก่ตนเองและผู้อื่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นพิจารณาเห็นว่า เพื่อให้การต่อสัญญาจ้างพนักงานเป็นไปอย่างโปร่งใส บริสุทธิ์ และยุติธรรม เมื่อพนักงานจ้างได้ปฏิบัติหน้าที่จนครบกำหนดสัญญาจ้าง กรณีการต่อสัญญาจ้างในปีแรกที่มีการจ้าง ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิจารณาผลการประเมินผลการปฏิบัติงานเฉลี่ยย้อน หลัง ๑ ปี ไม่ต่ำกว่าระดับดี ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประเมิน ผลการปฏิบัติงานในหมวด ๖ ของหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับพนักงานจ้าง จะต้องต่อสัญญาจ้างให้แก่พนักงานจ้างผู้นั้น
               นอกจากนั้น ยังปรากฏว่า เทศบาลสั่งเลิกจ้างผู้ร้องเรียน แล้วย้ายพนักงานจ้างทั่วไป ตำแหน่ง คนงานทั่วไป จากกองช่าง ไปประจำกองการศึกษา ซึ่งหากนายกเทศมนตรี เห็นว่า งานประชาสัมพันธ์ที่ผู้ร้องเรียนปฏิบัติอยู่ ไม่ตรงกับตำแหน่งคนงานทั่วไปของผู้ร้องเรียน และประสงค์จะเปิดรับสมัครพนักงานจ้างเพื่อปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์แทนผู้ ร้องเรียน ก็สมควรย้ายผู้ร้องเรียนให้ไปปฏิบัติหน้าที่พนักงานจ้างทั่วไป ตำแหน่งคนงานทั่วไป ซึ่งเป็นกรอบอัตราที่กองการศึกษามีและยังว่างอยู่แทน ไม่สมควรเลิกจ้างผู้ร้องเรียนแล้วย้ายบุคคลอื่นจากกองหรือสำนักอื่นมา ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งคนงานทั่วไปแทน ซึ่งเป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้ร้องเรียน
                   ดังนั้น การที่นายกเทศมนตรีไม่ต่อสัญญาจ้างให้แก่ผู้ร้องเรียนจึงเป็นการไม่ถือปฏิบัติและดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัด เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับพนักงานจ้าง และเป็นการละเลยไม่ปฏิบัติตามการสั่งการของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ทำให้ผู้ร้องเรียนได้รับความเดือดร้อนเสียหายเนื่องจากไม่ได้รับการต่อสัญญา จ้าง และไม่ได้รับค่าตอบแทนหรือค่าจ้างตลอดจนสิทธิอันพึงมีพึงได้ ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงเห็นควรให้จังหวัดแจ้งนายอำเภอในฐานะผู้ช่วยกำกับดูแล เทศบาลตำบลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๔๖ สั่งการให้เทศบาลพิจารณาดำเนินการแก้ไขเยียวยาความเดือดร้อนของผู้ร้องเรียน โดยเร่งด่วน พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินการให้สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินทราบต่อไป
              ต่อมา สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้รับหนังสือจากจังหวัด แจ้งว่า เทศบาลได้ดำเนินการแก้ไขเยียวยาแก่ผู้ร้องเรียน โดยได้มีหนังสือแจ้งสอบถามความสมัครใจในการกลับเข้ารับราชการเป็นพนักงาน ทั่วไป ในตำแหน่งคนงานทั่วไปของศูนย์วัฒนธรรมแล้ว        

ข้อผิดพลาดและบกพร่องในการดำเนินการวินัยของพนักงานส่วนท้องถิ่น

               1) กรณีประธานคณะกรรมการจังหวัดและประธานอนุกรรมการ
          ตามประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล หรือ พนักงานเทศบาล หรือ ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด ( ต่อไปจะเรียกว่า คณะกรรมการพนักงานส่วนท้องถิ่นจังหวัด ) เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ของแต่ละจังหวัดนั้น สรุปได้ว่า ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนทางวินัยหรือนายกฯ แล้วแต่กรณี เห็นว่าพนักงานส่วนท้องถิ่นผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงสมควรลงโทษปลดออกหรือไล่ออก ให้นายกฯ เสนอคณะกรรมการพนักงานส่วนท้องถิ่นจังหวัด เพื่อส่งเรื่องให้คณะอนุกรรมการพิจารณาการดำเนินการทางวินัยและการให้ออกจากราชการเพื่อพิจารณาทำความเห็น และเมื่อคณะอนุกรรมการพิจารณาการดำเนินการทางวินัยและการให้ออกจากราชการมีความเห็นเป็นประการใด ให้เสนอเรื่องพร้อมความเห็นไปยังคณะกรรมการพนักงานส่วนท้องถิ่นจังหวัดเพื่อพิจารณา และเมื่อคณะกรรมการพนักงานส่วนท้องถิ่นจังหวัด มีมติเป็นประการใด ให้นายกฯ สั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น คณะอนุกรรมการพิจารณาการดำเนินการทางวินัยและการให้ออกจากราชการ ต้องไม่เป็นกรรมการในคณะกรรมการพนักงานส่วนท้องถิ่นจังหวัด หรือคณะอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์ โดยให้คณะกรรมการพนักงานส่วนท้องถิ่นจังหวัด แต่งตั้งบุคคลต่อไปนี้เป็นคณะอนุกรรมการพิจารณาการดำเนินการทางวินัยและการให้ออกจากราชการ               
(๑) รองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดที่เห็นสมควร จำนวนหนึ่งคน 
(๒) .......
          นอกจากนี้ ประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานส่วนท้องถิ่นจังหวัด เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ กได้กำหนดไว้เช่นเดียวกันว่า คณะอนุกรรมการพิจารณาการดำเนินการทางวินัยและการให้ออกจากราชการ ต้องไม่เป็นกรรมการในคณะกรรมการพนักงานส่วนท้องถิ่นจังหวัด หรือคณะอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์ 
         โดยที่ ตามมาตรา ๓ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ บัญญัติว่า วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองตามกฎหมายต่างๆ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายใดกำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเรื่องใดไว้โดยเฉพาะ และมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ 
           และมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในกรณีมีเหตุอื่นใดนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๓ เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่หรือกรรมการในคณะกรรมการที่มีอำนาจพิจารณาทางปกครองซึ่งมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลาง เจ้าหน้าที่หรือกรรมการผู้นั้นจะกระทำการพิจารณาทางปกครองในเรื่องนั้นไม่ได้ นั้น
เจตนารมณ์ที่จะให้การพิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่ดำเนินการโดยคณะกรรมการทั้งสามชุดดังกล่าวซึ่งเป็นการพิจารณาทางปกครองและเป็นขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญในการออกคำสั่งทางปกครองที่มีผลกระทบกระเทือนอย่างมากต่อสิทธิของพนักงานส่วนท้องถิ่นให้มีการดำเนินการอย่างโปร่งใส บริสุทธิ์ยุติธรรม และปราศจากความคลางแคลงใจต่อกรรมการแต่ละคนในเรื่องความเป็นกลาง รวมทั้งเพื่อให้มีการตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกันระหว่างคณะกรรมการทั้งสามชุด ดังนั้น นอกจากเจ้าหน้าที่ของรัฐตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งที่ได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่เป็นกรรมการในคณะกรรมการชุดใดชุดหนึ่งจะต้องไม่ได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่เป็นกรรมการในคณะกรรมการชุดอื่นๆ อีกสองชุดแล้ว ตัวบุคคลที่เคยมีส่วนร่วมในการพิจารณาเรื่องใดในคณะกรรมการชุดหนึ่งแล้ว ย่อมต้องถูกห้ามมิให้มีส่วนร่วมในการพิจารณาเรื่องเดียวกันอีกในคณะกรรมการที่เหลืออีกสองชุด ไม่ว่าบุคคลคนนั้นจะเข้าไปมีส่วนร่วมเป็นกรรมการพิจารณาเรื่องดังกล่าวในฐานะหรือตำแหน่งใดๆ ก็ตาม เพราะมิฉะนั้นแล้วเจตนารมณ์ที่ต้องการให้การพิจารณาทางปกครองโดยคณะกรรมการทั้งสามชุดเป็นไปอย่างโปร่งใส บริสุทธิ์ยุติธรรม ปราศจากความคลางแคลงใจต่อกรรมการแต่ละคน ในเรื่องความเป็นกลาง และเพื่อให้มีการตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกันระหว่างคณะกรรมการทั้งสามชุดย่อมไม่บรรลุผล
ต่ปรากฎว่า ในหลายจังหวัด เมื่อมีการประชุมเพื่อพิจารณาความผิดและโทษพนักงานส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นคณะอนุกรรมการพิจารณาการดำเนินการทางวินัยและการให้ออกจากราชการ หรือคณะกรรมการพนักงานส่วนท้องถิ่นจังหวัด หรือคณะอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์ มีรองผู้ว่าฯ เข้าไปเป็นประธานคณะกรรมการซ้ำซ้อนกัน และยังมีบางกรณีรองผู้ว่าฯ เข้าไปเป็นประธานกรรมการทั้งสามคณะก็มีเกิดขึ้นในหลายจังหวัด การมีส่วนร่วมในการเป็นประธานการประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องของผู้ถูกกล่าวหาทางวินัยทุกขั้นตอน ทั้งในการพิจารณาเสนอความเห็น การพิจารณาเห็นชอบให้สั่งลงโทษ และการวินิจฉัยยกอุทธรณ์ รวมทั้งการให้ข้อมูล ความเห็น หรือการดำเนินการใดๆในที่ประชุมของคณะกรรมการทั้งสามชุดย่อมเป็นการปกป้องความเห็นของคณะอนุกรรมการพิจารณาการดำเนินการทางวินัยและการให้ออกจากราชการที่ตนเองเคยทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมมาก่อน อันทำให้เกิดผลในทางลบต่อผู้ถูกกล่าวหาทางวินัย ถือเป็นการพิจารณาทางปกครองของคณะกรรมการที่มีเจ้าหน้าที่หรือกรรมการในคณะกรรมการ ซึ่งมีสภาพร้ายแรงที่อาจทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลางหรือมีเหตุแห่งความไม่เป็นกลางในทางเนื้อหาหรือโดยสภาพภายในของเจ้าหน้าที่หรือกรรมการที่มีส่วนร่วมในการพิจารณาทางปกครอง อันเป็นการพิจารณาทางปกครองที่ไม่ชอบ ตามมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ 
นอกจากนี้ การทำหน้าที่ของรองผู้ว่าฯ นั้น มิใช่เป็นการมีส่วนร่วมพิจารณาในฐานะกรรมการคนหนึ่งเท่านั้น หากแต่เป็นการทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมซึ่งมีบทบาทสำคัญ
ในการควบคุม กำหนดทิศทางการประชุม และอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้กรรมการที่มีความเห็นสนับสนุนหรือคัดค้านได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นของตนหรือไม่ก็ได้ อีกทั้งยังเป็นการทำหน้าที่ในฐานะผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของกรรมการที่เป็นตัวแทนจากส่วนราชการประจำจังหวัดและเป็นผู้มีอำนาจกำกับดูแลหน่วยงานที่ผู้ถูกกล่าวหาทางวินัยสังกัดอยู่ ย่อมทำให้ความเห็นของรองผู้ว่าฯ มีอิทธิพลเหนือกรรมการที่เป็นตัวแทนจากส่วนราชการประจำจังหวัดและผู้บริหารท้องถิ่น ที่เป็นกรรมการส่วนใหญ่ในคณะกรรมการทั้งสามคณะ เมื่อการทำหน้าที่ของรองผู้ว่าฯ  ในฐานะประธานกรรมการที่อาจมีการชี้นำต่างๆ อันเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายคนหนึ่ง  จึงอาจจะจำนวนกรรมการน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด ทำให้การประชุมมีจำนวนกรรมการไม่ครบองค์ประชุม 
ตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ มติของกรรมการที่เห็นชอบให้ลงโทษปลดผู้ถูกดำเนินการวินัยให้ปลดออกหรือออกจากราชการจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย รวมทั้งคำสั่งของนายกฯ ที่ลงโทษปลดผู้ถูกดำเนินการวินัยหรือไล่ออกตามมติดังกล่าว และมติกรรมการที่ยกอุทธรณ์ของผู้ถูกดำเนินการวินัยย่อมเป็นคำสั่งและมติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย
กรณีข้างต้น ผู้ถูกดำเนินการทางวินัยน่าจะนำไปใช้เป็นแนวทางในการฟ้องขอให้เพิกถอนมติกรรมการซึ่งส่งผลให้คำสั่งปลดออก ไล่ออกเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

1 ส.ค. 2554

ข้อสับสนของการเบิกเงินเพื่อชำระค่าลงทะเบียนอบรมแก่หน่วยงานเอกชนเป็นผู้จัด

                   ผมมักจะพบคำถาม ตอบ ในเฟสบุ๊คเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนอบรมกับหน่วยงานเอกชนที่เป็นผู้จัด  หากเบิกเงินเกิน 600 บาทแล้ว สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินมีอำนาจสั่งให้ท่านใช้เงินคืนบ้าง เรียกเงินคืนบ้าง   บางท่านก็แนะนำให้ฟ้องศาลปกครอง  ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นข้อแนะนำที่หลงทางทั้งนั้น
              ก่อนอื่นใด ผมขอแนะนำให้ท่านมีความรู้และเข้าใจในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานการตรวจเงิน แผ่นดินเป็นอันดับแรกก่อนว่า  สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินนั้นเป็นหน่วยงานธุรการของคณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดินซึ่งเป็นหน่วยงานที่ตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐในเรื่องการใช้เงิน ตามมาตรา 312 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน  มีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 39 (2) (ก) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งได้กำหนดบังคับให้เจ้าหน้าที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินมีหน้าที่ต้อง ทำการตรวจสอบการรับจ่าย การเก็บรักษา และการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินอื่นของหน่วยรับตรวจ หรือที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยรับตรวจ และแสดงความเห็นว่าเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีหรือไม่ และอาจตรวจสอบการใช้จ่ายเงิน การใช้จ่ายทรัพย์สินอื่น หรือการจัดซื้อจัดจ้างตามแผนงาน งานหรือโครงการของหน่วยรับตรวจ และแสดงความเห็นว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ เป็นไปโดยประหยัด ได้ผลตามเป้าหมายและมีผลคุ้มค่าหรือไม่
                 เมื่อพิจารณาปัญหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่สำนักการตรวจเงินแผ่นดิน ได้เข้าตรวจสอบหลักฐานการเบิกจ่ายเงินของหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้รับตรวจแล้ว   เจ้าหน้าที่สำนักการตรวจเงินแผ่นดินจะต้องเอากฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายเงินขององค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่นมายึดถือไว้เป็นหลักในการตรวจสอบ และพิจารณาข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานคือเอกสารเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินของ ผู้บริหารและพนักงานส่วนท้องถิ่นว่า เป็นไปตามข้อ 67 ของระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๗ หรือไม่ อย่างไร เป็นลำดับแรกก่อน และต่อมาต้องพิจารณาว่า หน่วยงานรับตรวจได้ใช้จ่ายเงินเป็นไปตามวัตถุประสงค์ เป็นไปโดยประหยัด ได้ผลตามเป้าหมายและมีผลคุ้มค่าหรือไม่ เป็นลำดับที่สอง
                        ดังนั้น  การที่เจ้าหน้าที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ได้ตรวจสอบหลักฐานการเบิกค่าใช้จ่ายของผู้บริหารและพนักงานส่วนท้องถิ่นแล้ว พบว่า หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผู้รับตรวจได้จ่ายเงินค่าลงทะเบียนอบรม เป็นจำนวนเงินมากกว่าวันละ 600 บาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่เกินกว่าที่กำหนดไว้ในระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่า ด้วย  ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๙  ข้อ ๒๒ (๒) ซึ่งกำหนดให้จ่ายได้เพียงแค่วันละ ๖๐๐ บาทเท่านั้น เจ้าหน้าที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน จึงตั้งข้อสังเกตไว้ว่า  การเบิกเงินตามหลักฐานที่ตรวจพบดังกล่าวนั้น น่าจะไม่เป็นไปตามข้อ 67 ของระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๗  ประกอบกับข้อ ๒๒ (๒) ของระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วย  ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๙  เจ้าหน้าที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน จึงได้สอบถามข้อเท็จจริงจากนายกฯ และหรือหัวหน้าหน่วยงานคลังว่า  ตามที่หน่วยงานได้เบิกเงินตามฎีกาเพื่อชำระเงินค่าลงทะเบียนเข้าอบรมกับ หน่วยงานเอกชนนั้นหน่วยงานได้จ่ายเงินเกินกว่าวันละ 600 บาท อันเป็นการจ่ายเงินที่ขัดต่อระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วย  ค่าใช้จ่ายในการ ฝึกอบรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๙  ข้อ ๒๒ (๒) ซึ่งกำหนดให้จ่ายได้เพียงแค่วันละ ๖๐๐ บาทเท่านั้น เพราะเหตุใดจึงจ่ายเงินมากกว่าที่ระเบียบกำหนด ให้ชี้แจง ในลักษณะบันทึกสองขาบ้าง สอบถามด้วยวาจาบ้าง
                     แต่สิ่งที่ผมมักจะพบอยู่เสมอ ว่า  แท้จริงแล้ว เป็นเรื่องการเข้าใจผิดของนายกฯ และพนักงานส่วนท้องถิ่นในปัญหาดังกล่าว ดังนี้
                    กรณีแรก เจ้าหน้าที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเพียงแต่สอบถามข้อเท็จจริงว่า การเบิกจ่ายเงินนั้นผิดระเบียบ แต่นายกฯ  และหรือหัวหน้าหน่วยงานคลังพากันเข้าใจว่า  สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินสั่งให้คืนเงินเสียแล้ว
                    กรณีที่สอง  นายกฯ และหรือหัวหน้าหน่วยงานคลังไม่สามารถชี้แจงหลักการและเหตุผลในการอนุมัติ จ่ายเงินค่าลงทะเบียนกับหน่วยงานเอกชนให้แก่เจ้าหน้าที่สำนักงานการตรวจเงิน แผ่นดินได้  ครั้นเจ้าหน้าที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินกลับไปแล้ว และทำหนังสือแจ้งข้อทักท้วงกลับมาว่า การเบิกเงินเพื่อชำระค่าลงทะเบียนอบรมกับเอกชนเกิน 600 บาทนั้น เป็นการเบิกเงินไม่เป็นไปตามข้อ 22(2) ของระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2549 ขอให้หน่วยงานเรียกเงินคืนเงินส่วนที่เกินจากผู้ที่เกี่ยวข้องแก่หน่วยงาน แต่กลับปรากฏว่า นายกฯ  และหรือหัวหน้าหน่วยงานคลังพากันเข้าใจว่า  สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเรียกเงินคืนเสียแล้ว
                     ความจริงแล้วตามปัญหาข้างต้น เจ้าหน้าที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเพียงสอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการ เบิกจ่ายเงินตามฎีกาว่า การเบิกเงินเพื่อชำระค่าลงทะเบียนอบรมกับเอกชนเกิน 600 บาทนั้น เป็นการเบิกเงินไม่เป็นไปตามข้อ 22(2) ของระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2549 จึงแจ้งแนะนำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเรียกเงินจากผู้เกี่ยวข้องเท่า นั้น  มิใช่เจ้าหน้าที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินมีคำสั่งให้คืนเงินแต่อย่างใด  แต่อย่างไรก็ตาม หน่วยงานผู้รับตรวจมีหน้าที่ชี้แจงข้อเท็จจริงว่า หน่วยงานของตนมีอำนาจในการใช้จ่ายเงินดังกล่าวเพราะอะไร   ทั้งนี้ตามข้อ 102 แห่งระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้กำหนดให้หัวหน้าหน่วยงานผู้เบิกหรือรับเงิน และหรือหัวหน้าหน่วยงานคลังของหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผู้รับตรวจ มีหน้าที่ชี้แจงและอำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่น ดิน และหากได้รับข้อทักท้วงจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินให้หัวหน้าหน่วยงานผู้ เบิกและหรือหัวหน้าหน่วยงานคลังปฏิบัติตามคำทักท้วงโดยเร็ว อย่างช้าไม่เกินสี่สิบห้าวันนับจากวันที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับการ แจ้งข้อทักท้วงนั้น   แต่หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นท่านไม่เห็นด้วยกับหนังสือแจ้งข้อทักท้วงดัง กล่าว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผู้รับตรวจชอบที่จะชี้แจงข้อทักท้วงไปยังสำนักงาน การตรวจเงินแผ่นดินอีกครั้งหนึ่ง   แต่หากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินยืนยันว่ายังไม่มีเหตุผลที่จะล้างข้อทัก ท้วง ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นชี้แจงเหตุผลและรายงานให้ผู้ว่าราชการจังหวัด วินิจฉัยภายในสิบห้าวันนับจากวันที่ได้รับคำยืนยันจากสำนักงานการตรวจเงิน แผ่นดิน และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งผลการวินิจฉัยภายในสามสิบวันนับจากวันที่ได้ รับรายงานจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของผู้ว่า ราชการจังหวัดให้ปฏิบัติให้เสร็จสิ้นภายในสี่สิบห้าวันนับจากวันที่ได้รับ ทราบผลการวินิจฉัย ทั้งนี้ตามข้อ 103 แห่งระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๗
                  แต่อย่างไรก็ตาม การคืนเงินให้แก่หน่วยงานนั้น ก็ใช่ว่าจะทำได้ง่ายนัก  เพราะการมีคำสั่งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องคืนเงินได้นั้น  จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539  กล่าวคือจะต้องทำเป็นคำสั่งทางปกครอง โดยมีรูปแบ ขั้นตอนและวิธีการตามที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นสำคัญ  นายกฯ ในฐานะหัวหน้าหน่วยงานของของรัฐที่ได้รับความเสียหาย จะต้องออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสิบสวนข้อเท็จจริง แต่งตั้งกรรมการสอบสวนความรับผิดทางละเมิด  เพื่อให้กรรมการสอบสวนนั้นทำการสอบสวนว่า  การเบิกจ่ายเงินเพื่อชำระค่าอบรมกับเอกชนนั้น  ได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ เป็นการกระทำผิดกฎหมาย หรือไม่ ทำให้หน่วยงานได้รับความเสียหาย หรือไม่  และความเสียหายนั้น ต้องเป็นผลโดยตรงจากกระทำของเจ้าหน้าที่ผู้เบิกเงินด้วย  กว่าจะถึงขั้นตอนสุดท้ายเพื่ออกคำสั่งทางปกครอง ก็สามารถสรุปได้ว่า  ไม่เป็นการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ  โดยไม่ต้องไปฟ้องศาลปกครองให้เสียเวลา
ดังนั้น การที่ผู้บริหารและพนักงานส่วนท้องถิ่นไม่อยากให้เจ้าหน้าที่สำนักงานการ ตรวจเงินแผ่นดินทักท้วงเหตุดังกล่าว ก็ควรมีเหตุผลชี้แจงในการเบิกเงิน  ซึ่งนายกฯ มีอำนาจอิสระในการพิจารณาอนุมัติให้เบิกค่าใช้จ่ายในการอบรม ว่า “ได้พิจารณาหลักสูตรการอบรมนั้นอย่างรอบคอบ โดยให้พิจารณาถึงความน่าเชื่อถือ หรือชื่อเสียงของหน่วยงานผู้จัด เนื้อหาหลักสูตร ว่า ตรงกับความต้องการ และมีค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมกับหลักสูตร หรือไม่”[i] เพื่อพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานให้มีทักษะ ความรู้ หรือเพิ่มพูนประสบการณ์ และไปใช้ประโยชน์สามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการอำนาจหน้าที่ ต่อไป
               หากรัฐใช้อำนาจกำกับดูแลห้ามมิให้เบิกค่าลงทะเบียน จึงเป็นการขัดต่อความต้องการของ อปท. ทั้งนี้ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.61/2549  ระหว่าง เทศบาลนครระยอง ผู้ฟ้องคดี กับ กระทรวงมหาดไทย ที่ 1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยที่ 2 ผู้ถูกฟ้องคดี
 

[i] หนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ที่ มท.0807.2/ว 743 ลงวันที่ 8 เมษายน 2551 และหนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ที่ มท.0807.2/ว 477 ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2554

 ภัฏ  พงศ์ธามัน

สตง.มีข้อทักท้วงว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจ่ายเงินไม่เป็นไประเบียบ

                กรณีสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินมีข้อทักท้วงว่า หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นท่านจ่ายเงินไม่เป็นไป ตามกฎหมาย ไม่ชอบด้วยระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วย การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2541 (ข้อ 65 กำหนดว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันได้ แต่เฉพาะที่ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือหนังสือสั่งการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้ หากมีการจ่ายเงินไม่ถูกต้อง ไม่ปลดเปลื้องความรับผิดชอบของเจ้าของงบประมาณ ผู้ตรวจฎีกา ผู้อนุมัติฎีกา และผู้จ่ายเงิน ที่จะต้องชดใช้เงินจนครบถ้วน) นั้น เป็นเพียงแค่ความคิดเห็นและข้อแนะนำหรือข้อเสนอแนะของสำนัก งานตรวจเงินแผ่นดิน ส่วนการที่หน่วยงานท่านจะสั่งให้ผู้ใดรับผิดนั้น ต้องเป็นไปตามหลัก ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐอีกครั้งหนึ่ง กล่าวคือ ต้องตรวจสอบว่า ความจริงแล้วท่านมี อำนาจตามกฎหมายใดอีก
              ความจริงแล้ว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นอกจากจะมีอำนาจหน้าที่ตาม พรบ.สภาและองค์การบริหารส่วนตำบล ,พรบ.เทศบาล , พรบ.องค์การบริหารส่วนจังหวัดแล้ว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังมีอำนาจหน้าที่ตาม พรบ.แผนและการกระจายอำนาจ ซึ่งรวมถึงการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว การรักษาพยาบาล การรักษาความปลอดภัย สนับสนุนส่งเสริมการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และอื่น ๆ อีกเยอะแยะไปหมด หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้จ่ายเงินไปเพื่อการดังกล่าวแล้ว แต่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินมีข้อทักท้วง  ให้ คลิ๊ก
 http://www.thailocalgov2011.com/upload/file/Doc_Local2010/กรณีอบต_บ้านเสด็จ-สุราษฏร์ฯ.pdf

มองต่างมุมกับกฎหมาย ป.ป.ช.

                 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550  กำหนดว่า  รัฐจะต้องให้ความเป็นอิสระและส่งเสริมให้ อปท.เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำบริการสาธารณะและมีความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบาย การจัดบริการสาธารณะ การบริหารงานบุคคล การเงินและการคลัง  แต่ครั้นเมื่อสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้เข้าตรวจสอบการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วได้ชี้มูลความผิดว่า ผู้บริหารและพนักงานส่วนท้องถิ่น ปฏิบัติหน้าที่ราชการไม่เป็นไปตาม ระเบียบข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือของกระทรวงมหาดไทย หรือหนังสือกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นการกระทำผิดวินัย อาญา และให้คืนเงิน
ต่อมา ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด  ผู้บังคับบัญชาต้องพิจารณาโทษทันที  มีสิทธิอุทธรณ์ได้แต่ดุลพินิจในการลงโทษเท่านั้น   ทั้งนี้ตาม มาตรา 93 และ 96 แห่ง พรบ.ป.ป.ช.  
               แต่ครั้นเมื่อนายกฯ ออกคำสั่งลงโทษพนักงานท้องถิ่นโดยความเห็นชอบของผู้กำกับดูแล    กลับอ้างมาตรา 15 แห่ง พรบ.บริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ประกอบกับประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัด เรื่องการดำเนินการทางวินัย มาเป็นเหตุผลในการออกคำสั่ง
                 ดังนั้น พนักงานท้องถิ่นอาจใช้สิทธิฟ้อง นายกฯ ในฐานะผู้บังคับบัญชา และผู้ว่าราชการจังหวัด  คณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัด อนุกรรมการพิจารณาวินัย อนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ในฐานะผู้กำกับดูแล ฟ้องเป็นคดีต่อศาล ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
คดีอาญา     คลิ๊กได้ที่ http://www.mediafire.com/?qepi15rtpjjim
คดีปกครอง คลิ๊กได้ที่ http://www.mediafire.com/?281fibqd1vnwt52

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...