14 ก.ค. 2559

ไม่ “รอ” การเลื่อนขั้นเงินเดือน ทั้งที่ถูกจำคุก ... ต้องเพิกถอน !


               
  กฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน พ.ศ. 2544 ข้อ 14 กำหนดว่า ในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนแต่ละครั้ง ถ้าผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเห็นสมควรให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดได้เลื่อนขั้นเงินเดือน แต่ปรากฏว่าผู้นั้นถูกฟ้องคดีอาญาในความผิดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือความผิดที่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน ซึ่งมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดที่พนักงานอัยการรับเป็นทนายแก้ต่างให้ และศาลได้ประทับฟ้องคดีนั้นแล้วก่อนมีคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน ให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนรอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ก่อน และให้กันเงินสำหรับเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ด้วย เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาแล้ว ให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพิจารณาดังนี้ ... (3) ถ้าศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุกหรือโทษหนักกว่าจำคุก ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนทุกครั้ง ที่ได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้บทบัญญัติของกฎ ก.พ. ดังกล่าว


                  มีประเด็นที่น่าสนใจว่า หากข้าราชการถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาและศาลอาญามีคำพิพากษาลงโทษจำคุกในความผิดฐานลักทรัพย์และทำให้เสียทรัพย์ จะถือว่า เป็นความผิดที่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน ที่จะทำให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนรอการพิจารณาและงดการเลื่อนขั้นเงินเดือนตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวหรือไม่ ? และหากหน่วยงานไม่ได้มีคำสั่งรอการเลื่อนขั้นเงินเดือน แต่เลื่อนขั้นเงินเดือนให้ตามปกติ จะเพิกถอนคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนในภายหลังจากที่ศาลมีคำพิพากษาได้หรือไม่

                 คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 343/2555 ได้วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวไว้อย่างน่าสนใจในคดีนี้ผู้ฟ้องคดีถูกฟ้องในคดีอาญาฐานลักทรัพย์และทำให้เสียทรัพย์เมื่อปี พ.ศ. 2544 และในวันที่ 24 ธันวาคม 2545 ศาลอาญามีคำพิพากษาให้ลงโทษจาคุก 8 ปี แต่ปรากฏว่า ในปีงบประมาณ 2545 และปีงบประมาณ 2546 กรมการขนส่งทางน้าและพาณิชยนาวีได้มีคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ตามปกติ โดยไม่ได้สั่งให้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ก่อนตามข้อ 14 (3) ของกฎ ก.พ. ดังกล่าว ต่อมาในปี 2547 ผู้ถูกฟ้องคดี (อธิบดีกรมเจ้าท่า (อธิบดีกรมการขนส่งทางน้าและพาณิชยนาวี เดิม)) ทราบเรื่อง จึงยกเลิกคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน แล้วมีคำสั่งงดการเลื่อนขั้นเงินเดือน และมีคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ตามสิทธิ ผู้ฟ้องคดีจึงฟ้องต่อศาลปกครองขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและขอให้เลื่อนขั้นเงินเดือนตามการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการปฏิบัติงานตามปกติ โดยอ้างว่าคดีอาญาที่ตนถูกฟ้องเป็นความผิดส่วนตัว เนื่องจากมูลเหตุของคดีเกิดจากการทะเลาะกันกับเพื่อนบ้าน คดียังไม่ถึงที่สุดโดยอยู่ระหว่าง การพิจารณาของศาลฎีกา และไม่ได้ถูกจำคุก เนื่องจากในชั้นศาลอุทธรณ์มีคาพิพากษาให้รอการลงโทษ จึงไม่ใช่ความผิดที่ทาให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการ อีกทั้งเป็นคำสั่งที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากไม่ได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ก่อนตามกฎหมายการกระทำผิดอาญา ที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่า มีมูลเหตุจากการทะเลาะกับเพื่อนบ้านและเป็นความผิดส่วนตัวนั้น จะถือเป็นความผิดที่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนตามข้อ 14 (3) ของกฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน พ.ศ. 2544 หรือไม่

                  ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า  การกระทำใดๆ ที่เบี่ยงเบนออกไปจากกรอบความประพฤติอันดีของผู้มีตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือแบบธรรมเนียมของทางราชการหรือเป็นการกระทาที่ฝ่าฝืนข้อห้าม2ความประพฤติตามที่กฎหมายกาหนด ซึ่งถือว่าเป็นความผิดไม่ร้ายแรงหรือเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนข้อห้ามทางศีลธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน ถือเป็นความผิดที่ทาให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตาแหน่งหน้าที่ราชการของตนข้อ 14 ของกฎ ก.พ. ดังกล่าวเป็นมาตรการทางการปกครองและการบังคับบัญชาที่มีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับข้อกำหนดทางวินัย และการกระทำใดเป็นความผิดที่ทาให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนอันเป็นเงื่อนไขให้ผู้มีอานาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนมีอานาจสั่งให้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ก่อนได้ เป็นดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจะเป็นผู้พิจารณาภายใต้หลักเกณฑ์เดียวกันกับการพิจารณาทางวินัย จึงเป็นกรณีที่กฎหมายให้อานาจผู้บังคับบัญชาในการสั่งให้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนจากมูลเหตุของความผิดในการปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือความผิดที่นอกเหนือจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการแต่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนด้วย ดังนั้น การถูกดำเนินคดีอาญาและลงโทษจำคุกในความผิดซึ่งผู้ฟ้องคดีกระทำโดยเจตนาทาลายทรัพย์สินของบุคคลอื่น แม้คดียังไม่ถึงที่สุด ก็เป็นกรณีผิดกฎหมายและศีลธรรมอันเป็นข้อห้ามของสังคม จึงต้องถือว่าเป็นความผิดที่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนที่จะต้องถูกงดเลื่อนขั้นเงินเดือนตามเงื่อนไขข้อ 14 (3) ของกฎ ก.พ. ดังกล่าวผู้ถูกฟ้องคดีสามารถเพิกถอนคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนผู้ฟ้องคดีได้หรือไม่

                   ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ผู้ฟ้องคดีจะต้องถูกงดเลื่อนขั้นเงินเดือนตามเงื่อนไข ข้อ 14 (3) ของกฎ ก.พ. ดังกล่าวนับตั้งแต่วันที่ถูกฟ้องคดีอาญาและศาลได้สั่งรับประทับฟ้องคดีไว้พิจารณาแล้วจนถึงวันที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก คือ ในปีงบประมาณ 2545 แต่ด้วยเหตุที่ผู้ฟ้องคดีไม่ได้รายงานให้ผู้ถูกฟ้องคดีทราบข้อเท็จจริง เป็นผลให้มีคาสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนตามปกติในปีงบประมาณ 2545 และ 2546 ต่อเนื่องกัน คาสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนในปีงบประมาณ 2545 จึงขัดต่อข้อ 14 (3) ของกฎ ก.พ. ดังกล่าว มีผลให้เป็นคาสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและส่งผลให้คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน ในปีงบประมาณ 2546 มีความผิดพลาดในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับขั้นเงินเดือนที่ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิจะได้รับ จึงทำให้เป็นคาสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย ผู้ถูกฟ้องคดีจึงมีอำนาจที่จะเพิกถอนคาสั่งทางปกครองดังกล่าวโดยให้มีผลย้อนหลังได้ตามมาตรา 49 และมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการ ทางปกครอง พ.ศ. 2539 และแม้คาสั่งจะมีลักษณะเป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้ฟ้องคดี แต่เมื่อเป็นคำสั่งที่ทำขึ้นเพราะผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นผู้รับคำสั่งได้ปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ผู้ถูกฟ้องคดีซึ่งเป็นผู้ออกคำสั่ง ผู้ฟ้องคดีจึงไม่อาจอ้างความเชื่อโดยสุจริตในความคงอยู่ของคำสั่งทางปกครองเพื่อให้ได้รับการคุ้มครองประโยชน์ที่ตนได้รับจากคำสั่งนั้นได้ตามมาตรา 49 วรรคสอง ประกอบมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว  คำสั่งเพิกถอนการเลื่อนขั้นเงินเดือนเพราะถูกงดเลื่อนขั้นเงินเดือน คำสั่งแก้ไขการเลื่อนขั้นเงินเดือน จึงเป็นการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและตามสิทธิที่แท้จริงของผู้ฟ้องคดี  

                    คดีนี้ นอกจากศาลปกครองสูงสุดจะได้อธิบายความหมายของการกระทำที่ถือว่าเป็น “ความผิดที่ทาให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน” แล้ว ยังเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องของการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นคำสั่งที่เป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับคำสั่งทางปกครอง กรณีที่ผู้รับคำสั่งทางปกครองไม่อาจอ้างความเชื่อโดยสุจริตในความคงอยู่ของคำสั่งทางปกครองได้


                  เครดิต : นางสาวเบญญาภา ไชยคามี พนักงานคดีปกครองชานาญการ , กลุ่มเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการและวารสาร , สานักวิจัยและวิชาการ สานักงานศาลปกครอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...