15 ก.ค. 2559

การใช้อำนาจในการย้ายข้าราชการ


           
              1. เมื่อมีการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพล เรือนสามัญ และให้ดำรงตำแหน่งในสายงานที่มีคุณสมบัติเฉพาะตรงตามที่มาตรฐานกำหนด ตำแหน่งกำหนดไว้แล้ว ภายหลังต่อมาผู้บังคับบัญชาประสงค์จะย้ายข้าราชการผู้นั้นให้ไปปฏิบัติงานในสายงานเดิม แต่เปลี่ยนสถานที่ไปเพื่อความเหมาะสมกับการปฏิบัติราชการ


               2. ในปัจจุบันนี้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 มาตรา 63 บัญญัติความโดยสรุปว่า การย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพล เรือนสามัญในหรือต่างกระทรวงหรือกรมแล้วแต่กรณีให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎก.พ. สำหรับการย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใน ระดับที่ต่ำกว่าเดิม จะกระทำมิได้เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากข้าราชการพลเรือนสามัญ ผู้นั้น (มาตรา 63 วรรคหนึ่งและวรรคสาม)


               3. แต่ในขณะนี้ก.พ.ยังอยู่ระหว่างการออกกฎก.พ.ว่าด้วยการย้าย การโอน หรือการเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญ ทำให้ก.พ.ต้องอาศัยอำนาจตามมาตรา 132 และมาตรา 137 กำหนดให้นำกฎก.พ.ข้อบังคับหรือระเบียบตลอดจนหนังสือเวียนเกี่ยวกับการย้ายที่ออกตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 มาตรา 57 มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามหนังสือสำนักงานก.พ.ที่นร1006/ว7 ลงวันที่ 6 มีนาคม 2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติมอีก


               4. ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญนั้น ผู้ถูกย้ายบางรายจะพึงพอใจบ้างแต่บางรายจะมองว่าตนเองถูกลงโทษทางวินัย กลายๆ ทีเดียว ผู้ที่ไม่พอใจก็ร้องทุกข์และฟ้องศาลปกครองกันเลยทีเดียว


               5. ประเด็นนี้ ศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ.414/2553 ได้วินิจฉัยไว้โดยสรุปว่าผู้บังคับบัญชาย่อมมีอำนาจออกคำสั่งย้ายข้าราช การในสังกัดได้โดยคำนึงถึงประโยชน์ของทางราชการและการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ แต่การใช้อำนาจของผู้บังคับบัญชาดังกล่าว ต้องตั้งอยู่บนความเป็นธรรม ตามระบบคุณธรรมโดยต้องเป็นการใช้ดุลพินิจอย่างเหมาะสมหรือเป็นดุลพินิจโดยชอบ โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพและประโยชน์ของทางราชการที่จะได้รับในการดำเนินบริการสาธารณะ และขวัญกำลังใจของข้าราชการประกอบกัน แต่การที่จะพิจารณาว่าการย้ายข้าราชการผู้ใดเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบหรือไม่ ย่อมต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงในแต่ละกรณีว่ามีแหตุผลที่แท้จริงเป็น ประการใดประกอบกับการออกคำสั่งย้ายเป็นการดำเนินการโดยรวบรัดและ ใช้เวลารวดเร็วหรือไม่ประกอบกัน


               6. คราวนี้ ก็ต้องพิจารณาตัวเองให้ดีด้วยนะครับว่าเมื่อถูกย้ายแล้ว ผู้บังคับบัญชาตัดสินใจดีแล้ว มิใช่เพราะเป็นการลงโทษเพราะกระทำผิดฯ



               เครดิต : ราชการแนวหน้า  , นังสือพิมพ์แนวหน้า  อาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม 2556 06:00:00 น. , http://www.ryt9.com/s/nnd/1647894

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...