15 ก.ค. 2559

องค์ประกอบคณะกรรมการสอบสวนฯ


           
              1. ในภาคราชการพลเรือน พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 บัญญัติเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยไว้โดยสรุปว่า เมื่อมีการกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่า ข้าราชการผู้ใดกระทำผิดวินัยให้ผู้บังคับบัญชาเบื้องต้น รายงานให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 ทราบ เพื่อพิจารณาว่ากรณีดังกล่าวมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยหรือไม่ ถ้าเห็นว่ากรณีไม่มีมูล ก็ให้ยุติเรื่อง ถ้าเห็นว่ากรณีมีมูล ก็ให้พิจารณาดำเนินการทางวินัยอย่างร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรงตามควรแก่กรณี   

              2. โดยเฉพาะในเรื่องการดำเนินการทางวินัยอย่างร้ายแรงนั้น จะต้องมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ขณะนี้ ก.พ.ยังไม่ได้ออกกฎก.พ.ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณาฉบับใหม่ ก็ยังคงต้องหยิบกฎก.พ.ฉบับที่ 18 (พ.ศ.2540) ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณามาใช้ตามที่มาตรา 132 บัญญัติไว้   

              3. กฎ ก.พ.ฉบับนี้ ข้อ 3 วรรคหนึ่งกำหนดไว้ว่า การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้แต่งตั้งจากข้าราชการฝ่ายพลเรือนจำนวนอย่างน้อย 3 คน ประกอบด้วยประธานกรรมการซึ่งดำรงตำแหน่งระดับไม่ต่ำกว่า หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่าผู้ถูกกล่าวหาและกรรมการอย่างน้อยอีก 2 คนโดยให้กรรมการคนหนึ่งเป็นเลขานุการ   

              4. สำหรับเรื่องที่เป็นประเด็นครั้งนี้ เป็นกรณีของพนักงานขององค์การบริหารส่วนตำบลแห่งหนึ่งถูกตั้งกรรมการสอบสวน วินัยอย่างร้ายแรง จนกรณีถึงที่สุด ผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษปลดออกจากราชการ ผู้ถูกลงโทษอุทธรณ์และฟ้องศาลปกครองก็ถูกยกอุทธรณ์หมด จึงอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดต่อโดยมีประเด็นหนึ่งว่า องค์ประกอบของคณะกรรมการสอบไม่ชอบด้วยกฎหมาย   

             5. ศาลปกครองสูงสุด พิจารณาประเด็นนี้แล้ว มีความเห็นโดยสรุปว่า ประกาศคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดฯ เรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ลงวันที่ 30 มกราคม 2545 ข้อ 33 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้แต่งตั้งคณะกรรมการจากพนักงานส่วนตำบลก่อน หากไม่มีพนักงานส่วนตำบลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมหรือมีเหตุจำเป็นจึงแต่งตั้ง จากข้าราชการฝ่ายพลเรือน หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นโดยได้รับความยินยอมจากต้นสังกัด ปรากฎว่า การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนครั้งนี้มีกรรมการสอบสวนที่ไม่ได้ขอความยินยอมจากต้นสังกัดอยู่ด้วย ทำให้องค์ประกอบคณะกรรมการสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้คำสั่งลงโทษปลดออกจากราชการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษายกฟ้องนั้น ศาลปกครองสูงสุดไม่เห็นด้วยพิพากษากลับเป็นให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษเสีย (คดีหมายเลขดำที่ อ.592/2552 และ คีดหมายเลขแดงที่อ.650/2555)   

             6. คนของบ้านอื่นเขา ต้องขออนุญาติเข้าก่อนอยู่ดีๆ จะไปใช้คนของเขาได้อย่างไรกัน ต้องเสียเวลาย้อยกลับไปดำเนินการใหม่อีก ไม่น่าเสียท่าเลยครับที่มา  


              ราชการแนวหน้า : องค์ประกอบคณะกรรมการสอบสวนฯ วันเสาร์ ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556, 20.08 น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...