14 ก.ค. 2559

ปกปิดข้อมูลการรับราชการที่อื่น


             1. เมื่อบุคคลธรรมดาได้รับการบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ผู้นั้นจะต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่มาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 กำหนดไว้พร้อมกับมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามมาตรา 62 นั้นด้วย

            2. ในกรณีข้าราชการผู้ใดได้รับบรรจุเข้ารับราชกการเป็นข้าราชการและแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งใดแล้วภายหลังปรากฎว่าขาดคุณสมบัติทั่วไปหรือมีลักษณะต้อง ห้ามตามมาตรา 36 หรือขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นโดยไม่ได้รับอนุมัติจากก.พ.ตามมาตรา 62 อยู่ก่อน หรือมีกรณีต้องหาอยู่ก่อนและภายหลังขาดคุณสมบัติเนื่องจากกรณีต้องหานั้น มาตรา 67 บัญญัติให้ผู้บังคับบัญชามีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการโดยพลัน

             3. แต่อย่างไรก็ดี การสั่งให้ออกจากราชการกรณีที่ไม่กระทบกระเทือนต่อการงานที่ผู้นั้นได้กระทำ ไปตลอดจนเงินเดือนและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่ได้รับไปก่อนมีคำสั่งให้ออก นอกจากนั้นหากการเข้ารับราชการเป็นไปโดยสุจริตแล้ว ยังมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้า ราชการด้วย

             4. ประเด็นปัญหาครั้งนี้อยู่ที่มีข้าราชการบางรายเคยรับราชการอยู่ที่หน่วย งานที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนสามัญแล้วถูกลงโทษไล่ออกจากราชการ มาสมัครเข้ารับราชการในส่วนราชการที่เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญโดยปกปิด ข้อมูลดังกล่าวพร้อมกับแจ้งว่าออกจากงานเพราะหมดสัญญาจ้าง เช่นนี้หากความปรากฎหลังจากผู้นี้ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เป็นข้าราชการพลเรือนแล้ว ส่วนราชการจะต้องดำเนินการประการใด และจะเกิดผลประการใดบ้าง

               5. ประเด็นปัญหานี้เกิดจากการตรวจสอบข้อมูลข้าราชการต่างประเภทซึ่งขณะนี้ยัง ดำเนินการได้น้อยเพราะไม่มีศูนย์กลางข้อมูลการเข้า-ออกจากราชการของข้า ราชการและพนักงานทุกประเภท สำหรับปัญหานี้สำนักงานก.พ.ได้พิจารณามีความเห็นโดยสรุปว่า เมื่อส่วนราชการได้บรรจุและแต่งตั้งผู้นั้นให้ดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการแล้ว ภายหลังส่วนราชการได้ทราบข้อเท็จจริงนั้นพร้อมกับสั่งให้ผู้นั้นออก จากราชการตามมาตรา 67 แล้วก็ตาม ไม่มีผลกระทบการงานที่ได้ปฎิบัติไปตามอำนาจหน้าที่และการรับเงินเดือนหรือผล ประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการกก่อนมีคำสั่งให้ ออกจากราชการนั้น ส่วนกรณีที่ผู้นี้เข้ารับราชการโดยปกปิดข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้น แสดงว่าเป็นการเข้ารับราชการโดยไม่สุจริตจึงไม่เข้าข่ายที่จะมีสิทธิได้รับ บำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายบำเหน็จบำนาญข้าราชการแต่อย่างใด (หนังสือสำนักงานก.พ.ที่นร1011/295 ลงวันที่ 26 กันยายน 2555)

                6. กรณีเช่นนี้ ก็เป็นเรื่องที่หน่วยงานราชการต่างๆ จะต้องระมัดระวัง ตรวจสอบข้อมุลให้ถูกต้องเพื่อป้องกันปัญหาในลักษณะนี้ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ใน อนาคตด้วยครับ


             เครดิต : ราชการแนวหน้า , หนังสือพิมพ์แนวหน้า , วันอาทิตย์ ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...