14 ก.ค. 2559

การมอบอำนาจของคณะกรรมการ


         
  1. ในการดำเนินกิจกรรมใดๆ หากเป็นเรื่องของบุคคล หรือห้างหุ้นส่วน บริษัท ก็จะมีการมอบอำนาจให้ทำนิติกรรมแทนได้ ทั้งนี้ให้ดูประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ประกอบ ส่วนในกรณีที่เป็นรูปแบบคณะกรรมการในรูปแบบต่างๆ ซึ่งไม่ได้เป็นนิติบุคคลในรูปแบบต่างๆ ซึ่งไม่ได้เป็นนิติบุคคลจะสามารถมอบอำนาจหรือแต่งตั้งคณะบุคคล บุคคล หรืออนุกรรมการดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย หรือทำการแทนได้หรือไม่นั้น ก็ยังมีปัญหาอยู่


            2. ประเด็นปัญหานี้ คณะกรรมการกฤษฎีกา (เรื่องเสร็จที่ 559/2550) เคยพิจารณาไว้สรุปเป็นหลักเกณฑ์โดยกว้างๆ ได้ว่า อำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้อาจแยกออกได้ 2 แบบคือ กฎหมายบัญญัติให้คณะอนุกรรมการมีอำนาจตามที่คณะกรรมการมอบหมาย เพื่อให้ทำหน้าที่ช่วยเหลือปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการแล้วเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการ ส่วนอีกแบบหนึ่ง กฎหมายบัญญัติไว้อย่างชัดเจนให้คณะอนุกรรมการมีอำนาจทำการแทนคณะกรรมได้ เช่น การตั้งอ.ก.พ.วิสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 มาตรา 11 (พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 มาตรา 12)

            3. ประเด็นปัญหาครั้งนี้ เป็นกรณีคณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ก.จ.)ออกประกาศแต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านต่างๆ จำนวน 6 คณะเพื่อดำเนินการใดๆ ตามที่ก.จ.มอบหมายโดยจะมีผลกระทบต่อสิทธิและประโยชน์ของบุคคลอื่นได้หรือไม่

             4. คณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงมหาดไทยคณะที่ 2 พิจารณาแล้วมีความเห็นโดยสรุปว่า เพื่อพิจารณาตามมาตรา 11 มาตรา 16 และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 แล้วจะเห็นว่า    ไม่มีบทบัญญัติให้ก.จ.แต่งตั้งคณะอนุกรรมการทำการแทนได้ คงทำได้เพียงมอบหมายให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วเสนอให้ก.จ.พิจารณา ต่อไปเท่านั้น


            (รายงานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงมหาดไทย คณะที่ 2 ครั้งที่ 24/2556 วาระที่ 3)
เครดิต :  ราชการแนวหน้า,  หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- อาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม 2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...