14 ก.ค. 2559

การนับองค์ประชุม กพ. และอ.กพ.


                1.  ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 จะมีคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่เป็นกลไกของการดำเนินการตามที่กฎหมายให้อำนาจหน้าที่ไว้หลายคณะเช่น คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) คณะอนุกรรมการวิสามัญ(อ.ก.พ.วิสามัญ) คณะอนุกรรมการสามัญ (อ.ก.พ.สามัญ)

                2.  ในการประชุมของก.พ.นั้น มาตรา 11 บัญญัติให้นำบทบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้ บังคับแก่การประชุม ก.พ.โดยอนุโลมเว้นแต่กรณีตามมาตรา 36 วรรคสอง (มติก.พ.ในการพิจารณายกเว้นลักษณะต้องห้ามการเข้ารับราชการซึ่งต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของจำนวนกรรมการที่มาประชุม)

                3. ขณะเดียวกันการประชุมของอ.ก.พ.วิสามัญ และอ.ก.พ.สามัญนั้น มาตรา 23 บัญญัติให้นำมาตรา 11 มาใช้บังคับแก่การประชุมของอนุกรรมการทั้งสองประเภทก็เลยต้องหันมาดูว่า กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง บัญญัติเกี่ยวกับการนับองค์ประชุมไว้ประการใดบ้าง ก็ปรากฎว่ามาตรา 79 บัญญัติความโดยสรุปว่า การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมอย่างน้อยกึ่งหนึ่งจึงจะเป็น องค์ประชุมเว้นแต่บทบัญญัติแห่งกฎหมาย หรือกฎหรือคำสั่งที่จัดให้มีคณะกรรมการชุดนั้นจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

                4. เมื่อเป็นเช่นนี้ อ.ก.พ.วิสามัญและอ.ก.พ.สามัญ จึงต้องนับองค์ประชุมเช่นเดียวกับก.พ.โดยถือว่าต้องมีอนุกรรมการมาประชุมอย่างน้อยกึ่งหนึ่งจึงจะเป็นองค์ประชุมพิจารณาเรื่องต่างๆ ตามวาระการประชุมได้

                5. ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น คือการที่กรรมการหรืออนุกรรมการมาลงชื่อประชุมแล้วออกจากที่ประชุมไปก่อนปิดการประชุมโดยมีราชการด่วนออกจากที่ประชุมโดยไม่กลับมาประชุมอีก เช่นนี้จะถือว่าสามารถนับเป็นองค์ประชุมได้หรือไม่

                6. ประเด็นนี้  คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองได้พิจารณาปัญหาดังกล่าว แล้วมีความเห็นโดยสรุปว่า การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมอย่างน้อยกึ่งหนึ่งจึงจะเป็น องค์ประชุมเพื่อที่จะปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและลงมติตามอำนาจ หน้าที่ จึงต้องมีกรรมการอยู่ครบองค์ประชุมในการพิจารณาและลงมติด้วย ดังนั้น แม้ว่าจะมีอนุกรรมการมาลงชื่อมาประชุมครบ 6 คน ก็ตามเมื่อข้อเท้จจริงปรากฎว่ามีอนุกรรมการอยู่ในที่ประชุมเพื่อพิจารณาและ มีมติในแต่ละเรื่องไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนอนุกรรมการทั้งหมด การพิจารณาและลงมติโดยองค์ประชุมไม่ครบ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย (เรื่องเสร็จที่ 175/2553)

                7.  จากความเห็นของคณะกรรมการดังกล่าว คงจะเป็นอุทาหรณ์ให้กรรมการและอนุกรรมการที่
เป็นนักบินลงชื่อแล้วออกจากที่ประชุมเพื่อไปประชุมอีกคณะหนึ่ง ตระหนักได้ว่าอาจก่อให้เกิดความสูญเสียแก่การประชุมในแต่ละครั้งได้นะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...