5 ก.ค. 2562

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเสียหาย แต่ อบต. จ่ายเงินช่วยเหลือไม่เท่ากันและไม่เหมาะสม โดยอ้างเหตุว่าผู้เสียหายบางคนมีฐานะดีและเป็นข้าราชการที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เมื่อผู้เสียหายได้รับความเสียหายจริง และ อบต. ได้อนุมัติเงินเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยพิบัติดังกล่าวแล้ว จะอ้างเหตุผลดังกล่าวได้หรือไม่ ?
ข้อเท็จจริงในคดีนี้ เกิดขึ้นจากการเกิดภัยพิบัติฝนตกหนัก ลมกรรโชกแรง เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2550 ทำให้กระเบื้องหลังคาบ้านของผู้ฟ้องคดีและราษฎรหลายหลังแตกเสียหาย ผู้ใหญ่บ้านได้รายงานความเสียหายต่อผู้ถูกฟ้องคดี (องค์การบริหารส่วนตำบล) เพื่อขอความช่วยเหลือ โดยเฉพาะในส่วนของผู้ฟ้องคดีกระเบื้องมุงหลังคาเสียหาย 80 แผ่น จากนั้นคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ผู้ถูกฟ้องคดีแต่งตั้งก็ได้สำรวจความเสียหาย ซึ่งผลการสำรวจความเสียหาย ไม่มีความแตกต่างกัน ยกเว้นเพียงบางรายการ โดยเฉพาะในส่วนของผู้ฟ้องคดีมีกระเบื้องมุงหลังคาเสียหาย 40 แผ่น และรายงานความเสียหายทั้งหมดคิดเป็นเงิน 74,050 บาท แต่ผู้ถูกฟ้องคดีอนุมัติให้จัดซื้อวัสดุก่อสร้างเป็นเงิน 98,060 บาท ต่อมาผู้ฟ้องคดีได้แจ้งขอความช่วยเหลือและได้รับอนุญาตจากนายก อบต. เพื่อซื้อกระเบื้องมาซ่อมแซมหลังคาบ้านก่อน จำนวน 80 แผ่น เป็นเงิน 6,990 บาท แต่เมื่อนำใบเสร็จไปขอรับเงิน เจ้าหน้าที่กลับให้เงินเพียง 2,000 บาท โดยอ้างว่าผู้ฟ้องคดีมีฐานะที่ดีอยู่แล้วเพราะเป็นข้าราชการและทำการค้าขาย มีบ้านพักอาศัยหลังใหญ่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ไม่จำต้องได้รับการช่วยเหลือทั้งหมด การจัดซื้อกระเบื้องจำนวน 40 แผ่น (โดยคิดราคากระเบื้อง แผ่นละ 50 บาท ) ให้ผู้ฟ้ องคดีจึงมีความเหมาะสมแล้ว ผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองขอให้ศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีจ่ายเงินจำนวนที่เหลือ
การที่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่จ่ายเงินช่วยเหลือค่ากระเบื้องให้ครบจำนวนตามที่ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหายเป็นธรรมแก่ผู้ฟ้องคดีหรือไม่ ?
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า องค์การบริหารส่วนตำบล (ผู้ถูกฟ้องคดี) มีหน้าที่ต้องป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขตพื้นที่ตน ตามมาตรา 67 (4) แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 การที่ผู้ถูกฟ้องคดีอนุมัติงบประมาณเพื่อจัดซื้อวัสดุก่อสร้างสำหรับซ่อมแซมบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหาย ถือเป็นกรณีที่ผู้ถูกฟ้องคดีได้เลือกว่าจะให้ความช่วยเหลือโดยการจัดหาวัสดุสิ่งของให้แก่ผู้ประสบภัยพิบัติมิใช่การให้ความช่วยเหลือเป็นเงิน ผู้ฟ้องคดีจึงต้องได้รับความช่วยเหลือเป็นกระเบื้องมุงหลังคาตามรายงานความเสียหายเช่นกัน แต่การที่ผู้ฟ้องคดีได้ขอความช่วยเหลือและได้รับอนุมัติให้ซื้อกระเบื้องมาซ่อมแซมได้และนำใบเสร็จมาขอรับเงินโดยเจ้าหน้าที่ได้มอบเงินให้ผู้ฟ้องคดี 2,000 บาท และไม่ได้โต้แย้ง แสดงว่าผู้ถูกฟ้องคดีไม่ได้ผูกพันตามหลักเกณฑ์หรือวิธีการให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาสาธารณภัยว่าจะต้องให้ความช่วยเหลือเป็นวัสดุสิ่งของเท่านั้น และเมื่อความเสียหายเกิดจากภัยธรรมชาติที่ผู้ถูกฟ้องคดีมีหน้าที่ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และมีระเบียบที่เกี่ยวข้องในการให้ความช่วยเหลือ จึงผูกพันผู้ถูกฟ้องคดีให้ต้องปฏิบัติต่อผู้ประสบภัยด้วยความเป็นธรรมและอยู่บนหลักความเสมอภาค โดยคำนึงถึงฐานะการคลังของผู้ถูกฟ้องคดีประกอบกัน ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากบัญชีความเสียหายตามที่ผู้ใหญ่บ้านรายงานและความเสียหายจากการรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงไม่แตกต่างกันมาก และไม่แน่ชัดว่าคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงได้สำรวจความเสียหายถูกต้อง ทั้งผู้ถูกฟ้องคดีไม่ได้โต้แย้งรายงานของผู้ใหญ่บ้าน จึงต้องรับฟังว่า กระเบื้องหลังคาของผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหายจริง 80 แผ่น แต่การที่ผู้ถูกฟ้องคดีอ้างว่าผู้ฟ้องคดีมีฐานะดี ช่วยเหลือตัวเองได้ ไม่ต้องช่วยเหลือทั้งหมดทั้งที่ผู้ประสบภัยรายอื่นได้รับการช่วยเหลือเต็มจำนวนความเสียหายตามที่รายงาน และผู้ถูกฟ้องคดีไม่ได้มีปัญหาเรื่องงบประมาณ เนื่องจากได้มีการอนุมัติให้ซื้อวัสดุก่อสร้างที่ได้รับความเสียหาย เป็นจำนวนเงินที่มากกว่าที่คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงได้รายงานความเสียหาย โดยไม่ปรากฏว่าได้นำกระเบื้องส่วนที่เกินนั้นไปใช้ประโยชน์อันใดจึงเป็นการปฏิบัติต่อผู้ฟ้องคดีแตกต่างจากผู้ประสบภัยพิบัติรายอื่น จึงไม่เป็นธรรมและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ถูกฟ้ องคดีต้องให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ฟ้ องคดีตามที่เสียหายจริง คือ กระเบื้องมุงหลังคาเสียหายจำนวน 80 แผ่น (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 394/2556)
คดีนี้จึงเป็นอุทาหรณ์ที่ดีสำหรับฝ่ายปกครองซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจตามกฎหมายว่า เมื่อไม่มีกฎหมายอนุญาตให้ใช้อำนาจในลักษณะที่เป็นการจำกัดการใช้สิทธิของประชาชนหรือให้อำนาจในทางที่จะเลือกปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดต่อบุคคลให้แตกต่างกันได้ ฝ่ายปกครองก็ไม่อาจดำเนินการใดๆ หรือใช้อำนาจในทางที่ไม่เป็นธรรมและขัดต่อหลักความเสมอภาค ครับ !
เครดิต : นายปกครอง , หนังสือพิมพ์บ้านเมือง คอลัมน์คดีปกครอง ฉบับวันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม 2556

“บุตร”เป็นคู่สัญญา “บิดา” เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น สมาชิกภาพต้องสิ้นสุด...เพราะเหตุมีส่วนได้เสียในสัญญาหรือไม่ ?

“สาระดีดีจากคดีปกครอง” ที่ครองธรรมนำมาพูดคุยในวันนี้... เป็นประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และมีจำนวนไม่น้อยที่ได้กลายเป็นข้อพิพาทสู่ศาลปกครองเพื่อขอให้วินิจฉัยในประเด็นเกี่ยวกับความเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญาทางปกครอง เนื่องจากกฎหมายท้องถิ่นได้มีข้อกำหนดห้ามมิให้ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าไปมีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาซึ่งมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นคู่สัญญาอยู่ ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันมิให้มีการใช้ตำแหน่งหน้าที่หาประโยชน์ให้กับตนเองและพวกพ้อง โดยกรณีความสัมพันธ์ระหว่างบิดากับบุตรนี้ ถือเป็นความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและเข้าข่ายที่จะเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกรณีดังกล่าวได้ง่าย เช่น บิดามีตำแหน่งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วบุตรได้เป็นคู่สัญญาในการรับเหมาก่อสร้างกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น จึงมีประเด็นคำถามตามมาว่า กรณีความสัมพันธ์ในลักษณะเช่นนี้จะถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญาทางปกครองทุกกรณีเลยหรือไม่ และมีหลักในการพิจารณาความเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากันอย่างไร คดีที่นำมาฝากนี้จะช่วยไขข้อข้องใจได้ดีทีเดียวครับ...
โดยคดีแรก องค์การบริหารส่วนตำบลช่อมะเดื่อได้ประกาศสอบราคางานจ้างเหมาก่อสร้างถังเก็บน้ำฝนคอนกรีตเสริมเหล็กพร้อมโครงสร้างหลังคา และปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดยินดี โดยนายโยธา หุ้นส่วนผู้จัดการได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้เป็นผู้ชนะการสอบราคา องค์การบริหารส่วนตำบลช่อมะเดื่อจึงตกลงทำสัญญาว่าจ้างหจก.ยินดี ให้เป็นผู้รับจ้างตามสัญญา ต่อมานายกองค์การบริหารส่วนตำบลทราบว่านายโยธาเป็นบุตรของนายแสงเทพ ซึ่งดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและตำแหน่งประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลดังกล่าว จึงได้มีหนังสือขอให้นายอำเภอตรวจสอบเกี่ยวกับการเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญาของนายแสงเทพ ว่าจะส่งผลกระทบต่อตำแหน่งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลที่นายแสงเทพดำรงอยู่หรือไม่
นายอำเภอจึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง โดยคณะกรรมการฯ รายงานผลการสอบสวนว่า นายแสงเทพมีความเกี่ยวพันกับนายโยธาโดยเป็นบิดากับบุตร จึงถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญาโดยทางอ้อม และนายอำเภอเห็นว่าบุคคลทั้งสองมีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในฐานะบิดากับบุตรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แม้นายแสงเทพจะอ้างว่า มีปัญหาขัดแย้งกับบุตรอยู่หลายเรื่องก็ไม่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างบิดากับบุตรนั้นสิ้นสุดลง นายแสงเทพจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยทางอ้อมในสัญญากับองค์การบริหารส่วนตำบลช่อมะเดื่อ เป็นเหตุให้สมาชิกภาพของนายแสงเทพต้องสิ้นสุดลง ตามมาตรา 47 ตรี วรรคหนึ่ง (6)แห่ง พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2546 ซึ่งกำหนดว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสิ้นสุดลงเมื่อ (6) เป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาที่องค์การบริหารส่วนตำบลนั้นเป็นคู่สัญญาหรือในกิจการที่กระทำให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลนั้น หรือที่องค์การบริหารส่วนตำบลนั้นจะกระทำ และในวรรคสองกำหนดว่า เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสมาชิกภาพของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลผู้ใดสิ้นสุดลงตาม (6) ให้นายอำเภอสอบสวนและวินิจฉัยโดยเร็ว คำวินิจฉัยของนายอำเภอให้เป็นที่สุด นายอำเภอจึงมีคำสั่งให้นายแสงเทพพ้นจากตำแหน่งดังกล่าว แต่นายแสงเทพเห็นว่าคำสั่งของนายอำเภอไม่ถูกต้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย จึงนำเรื่องมาขอความเป็นธรรมต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ศาลเพิกถอนเสีย และขอให้ตนกลับมาดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลช่อมะเดื่อตามเดิม
กรณีนี้ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ตำแหน่งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น มิได้มีอำนาจหน้าที่ในการสั่งซื้อหรือสั่งจ้างและลงนามในสัญญา โดยหน้าที่ดังกล่าวเป็นของหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ซึ่งในคดีนี้ก็คือ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลช่อมะเดื่อ ประกอบกับได้ปรากฏในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีของสถานีตำรวจซึ่งจัดทำขึ้นก่อนเวลาที่หจก.ยินดี จะเข้าทำสัญญากับองค์การบริหารส่วนตำบลช่อมะเดื่อว่า นายแสงเทพและนายโยธามิได้มีความสัมพันธ์ฉันบิดากับบุตรที่ดี แต่มีความขัดแย้งกันในเชิงผลประโยชน์อันมีมูลมาจากทรัพย์สินในครอบครัว อีกทั้งผู้ที่เห็นว่า นายแสงเทพมีส่วนได้เสียในสัญญา และเสนอเรื่องให้นายอำเภอสอบสวน ก็คือนายกองค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งเป็นผู้ลงนามในสัญญาจ้างฉบับดังกล่าวในฐานะผู้มีอำนาจทำการแทนองค์การบริหารส่วนตำบล จึงเชื่อได้ว่า นายแสงเทพมิได้ใช้ตำแหน่งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หรือยอมให้นายโยธาบุตรชายใช้ตำแหน่งดังกล่าว ดำเนินการให้ผู้มีอำนาจอนุมัติจ้าง หจก.ยินดี เพื่อก่อสร้างถังเก็บน้ำฝนคอนกรีตเสริมเหล็กแต่อย่างใด และแม้ว่ามาตรา 1563 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะได้บัญญัติให้บุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา แต่การที่บุตรจะอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาเพียงใด หรือไม่นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับสภาพของข้อเท็จจริงในแต่ละกรณีว่าฐานะของบิดามารดาและบุตรเป็นเช่นใด รวมทั้งขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงในกรณีนั้นว่าบุตรอยู่ในสภาพพร้อมที่จะให้การอุปการะบิดามารดาได้ และบิดามารดาจำเป็นที่จะต้องได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจากบุตรหรือไม่ จากข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่านายโยธาได้ให้การอุปการะเลี้ยงดูนายแสงเทพผู้เป็นบิดา และแม้บิดาจะมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรมของบุตรที่มีสิทธิได้รับมรดกก็ตาม แต่สิทธิดังกล่าวจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อบุตรถึงแก่ความตายก่อนบิดา ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน อีกทั้งนายโยธาอาจทำพินัยกรรมยกมรดกให้แก่ผู้อื่นก็ได้ กรณีจึงไม่อาจถือได้ว่านายแสงเทพเป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาจ้างที่ หจก.ยินดี ทำกับองค์การบริหารส่วนตำบลช่อมะเดื่อ การที่นายอำเภอมีคำสั่งให้นายแสงเทพพ้นจากตำแหน่งโดยวินิจฉัยว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยทางอ้อมในสัญญา จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่ง โดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ออกคำสั่ง (อ.300/2553)
คดีที่สอง ผู้ฟ้องคดีทั้งสองรายเป็นสมาชิกสภาเทศบาลตำบลช่อมะกอกได้มีหนังสือร้องขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตรวจสอบข้อเท็จจริงว่านายเมฆาซึ่งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลตำบลแห่งเดียวกัน เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญาจ้างก่อสร้างขยายไหล่ทางที่เทศบาลฯ ได้ทำกับบริษัทซึ่งมีน้องชายของนายเมฆาถือหุ้นร้อยละแปดสิบ และมีบุตรของนายเมฆาถือหุ้นร้อยละสิบของจำนวนหุ้นทั้งหมดของบริษัท หรือไม่ ?
ต่อมาผู้ว่าราชการจังหวัดได้มีหนังสือแจ้งผลการวินิจฉัยว่า จากการตรวจสอบพยานเอกสารและพยานบุคคลแล้วเห็นว่านายเมฆาไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในสัญญาดังกล่าวไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมตามมาตรา 18 ทวิ แห่งพ.ร.บ. เทศบาล พ.ศ.2496 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. เทศบาล (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2542 แต่ผู้ฟ้องคดีเห็นว่านายเมฆาเป็นผู้มีส่วนได้เสียทางอ้อมในสัญญาเนื่องจากมีความสัมพันธ์โดยเป็นบิดากับบุตร ทำให้สมาชิกภาพการเป็นสมาชิกสภาเทศบาลฯ ของนายเมฆาต้องสิ้นสุดลง ตามมาตรา 19 (6) แห่ง พ.ร.บ. เดียวกัน จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการจังหวัด
กรณีนี้ศาลปกครองสูงสุดพิเคราะห์ว่า จากข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า นายเมฆามีความสัมพันธ์ในทางใดๆ กับบริษัทที่ทำสัญญาจ้างกับเทศบาลตำบลช่อมะกอก แม้ว่าบุตรของนายเมฆาจะเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทดังกล่าว แต่ก็เป็นเพียงร้อยละสิบของจำนวนหุ้นทั้งหมด และไม่มีอำนาจบริหารจัดการหรือกระทำการใดๆ ผูกพันบริษัทแต่อย่างใด แม้ว่ามาตรา 1563 แห่ง ป.พ.พ. จะบัญญัติให้บุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา แต่การที่จะอุปการะเพียงใดหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับสภาพของข้อเท็จจริงในแต่ละกรณีว่าฐานะของบิดามารดาและบุตรเป็นเช่นใด โดยนายเมฆานั้นประกอบอาชีพค้าขาย มีสถานภาพโสด ไม่ได้อาศัยอยู่บ้านเดียวกับบุตร ซึ่งแสดงว่าไม่จำต้องได้รับการเลี้ยงดูจากบุตร และจากข้อเท็จจริงบุตรก็ไม่ได้ให้การเลี้ยงดูนายเมฆาแต่อย่างไร และแม้นายเมฆาจะมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรม แต่สิทธิดังกล่าวจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อบุตรถึงแก่ความตายก่อน ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน กรณีจึงยังไม่อาจถือได้ว่า นายเมฆาได้รับประโยชน์ในสัญญาระหว่างบริษัทที่มีบุตรของตนเป็นผู้ถือหุ้นกับเทศบาลตำบลช่อมะกอก อีกทั้งนายเมฆาก็ไม่ได้ดำรงตำแหน่งในคณะเทศมนตรีที่จะมีอำนาจเกี่ยวกับการสั่งจ้างและทำสัญญาดังกล่าว นอกจากนี้การที่ผู้ฟ้องคดียื่นหนังสือขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตรวจสอบกรณีของนายเมฆานั้นก็เนื่องมาจากได้เห็นป้ายแสดงรายละเอียดโครงการของเทศบาลฯ ที่มีคู่สัญญาเป็นบริษัทซึ่งบุตรของนายเมฆาเป็นผู้ถือหุ้นรวมอยู่ด้วยเท่านั้น โดยไม่ได้มีหลักฐานหรือข้อเท็จจริงใดๆ ที่แสดงได้ว่านายเมฆาเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในสัญญาดังกล่าว คำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดที่วินิจฉัยว่านายเมฆาไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญาจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลปกครองสูงสุดพิพากษายกฟ้อง (อ.76/2547)
คำวินิจฉัยของศาลปกครองในคดีดังกล่าว... ถือเป็นการวางหลักในการพิจารณาเกี่ยวกับความเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญาทางปกครอง กรณีความสัมพันธ์ระหว่างบิดากับบุตร ว่ามิได้พิจารณาแต่เพียงสถานะของความสัมพันธ์เท่านั้น หากแต่จะต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ประกอบกันด้วย โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตลอดจนพยานหลักฐานในแต่ละกรณีว่า ผู้ถูกกล่าวหาได้รับผลประโยชน์หรือมีส่วนได้เสียจากการทำสัญญานั้นจริงหรือไม่ รวมทั้งการพิจารณาประเด็นการเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้าง และการใช้ตำแหน่งหรือยอมให้ใช้ตำแหน่งเพื่อดำเนินการให้ผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อหรือสั่งจ้างหรือไม่ด้วย ซึ่งหลักการดังกล่าวยังจะเป็นประโยชน์ในการนำมาใช้เทียงเคียงเพื่อพิจารณาเรื่องการเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากรณีความสัมพันธ์ในลักษณะอื่นๆ เป็นเบื้องต้นได้อีกด้วยครับ...
ครองธรรม ธรรมรัฐ

แผงลอยนี้ ... ผม (ผู้ค้าเดิม) มีสิทธิได้ !

คดีที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในตลาดของเทศบาลภายหลังจากที่เทศบาล ได้มีการปรับปรุงพื้นที่สำหรับการค้าขาย ซึ่งทำให้ผู้ค้าขายรายเดิมไม่ได้รับสิทธิให้ค้าขายอีกต่อไป ผู้ค้าขายรายเดิมจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองขอให้คุ้มครองสิทธิดังกล่าว
โดยฟ้องว่า ตนเป็นผู้ประกอบอาชีพค้าขายเสื้อผ้ามือสองในตลาดริมสันเขื่อนแม่น้ำ มานานกว่า 20 ปี ในปี 2538 - ปี 2540 ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ค้าขายในแผงลำดับที่ 105 และในปี 2539 กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ทำการก่อสร้างสันเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้าทำให้พื้นที่จำหน่ายสินค้าแผงที่ 97 - 113 ถูกยกเลิก ผู้ฟ้องคดีจึงย้ายมาทำการค้าขายในแผงลอยของบิดามารดาแทน ต่อมาในปี 2546 เทศบาล (ผู้ถูกฟ้องคดี) ได้พัฒนา และปรับปรุงพื้นที่บริเวณตลาดและได้สร้างอาคารที่จะใช้เป็นที่จำหน่ายสินค้าแล้วเสร็จ จึงได้คัดเลือกผู้ค้าขายจาก ผู้ค้ารายเดิมและผู้ค้ารายใหม่ด้วยวิธีการจับสลากแยกเป็นคนละวันก่อนหลังตามลาดับ แต่ผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับอนุญาต ให้จับสลากในฐานะเป็นผู้ค้ารายเดิมและจับสลากในกลุ่มผู้ค้ารายใหม่แต่ไม่ได้รับคัดเลือก
หลังจากเทศบาลทำสัญญากับผู้ค้าที่ได้รับคัดเลือกแล้ว ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าผู้ประกอบการค้าห้อง D - 16 ไม่ใช่เจ้าของห้องที่ได้รับสิทธิ จึงขอให้เทศบาลจัดสรรแผงลอยให้และเห็นว่าตนน่าจะมีสิทธิดีกว่าเพราะเป็นผู้ประกอบการรายเดิม แต่เทศบาลไม่ดำเนินการ จึงขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีพิจารณาให้สิทธิประกอบการค้าแก่ผู้ฟ้องคดี
คดีนี้ ผู้ถูกฟ้องคดีอ้างเหตุที่ไม่พิจารณาให้ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ประกอบการรายเดิม เนื่องจากในการพิจารณาคัดเลือกผู้ประกอบการจะพิจารณาจากผู้ค้ารายเดิมก่อน โดยจะต้องเป็นผู้ที่ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตต่อเนื่องทุกปีติดต่อกัน แต่ผู้ฟ้องคดีไม่ได้ชำระค่าธรรมเนียมแผงที่ 105 ตั้งแต่ปี 2541 และไม่ได้ประกอบการค้าตั้งแต่นั้นมา จึงเห็นว่า มีเจตนาที่จะไม่รักษาสิทธิในแผงลอย
นอกจากนี้ ผู้ถูกฟ้องคดียังได้โต้แย้งในชั้นอุทธรณ์เกี่ยวกับเขตอำนาจศาลปกครองโดยเห็นว่า ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นนี้มิใช่การใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครอง แต่เป็นกระบวนการเพื่อให้ได้มา ซึ่งบุคคลที่จะเข้าทำสัญญาที่มีลักษณะเป็นสัญญาทางแพ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงมิใช่คดีพิพาท ที่จะนำมาฟ้องต่อศาลปกครองได้
ข้ออ้างของผู้ถูกฟ้องคดีฟังขึ้นหรือไม่ ? การกระทำของเทศบาลที่ไม่จัดให้ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิเข้าทำสัญญาประเภทผู้ประกอบการรายเดิมเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ? และผู้ฟ้องคดีจะได้รับสิทธิ ในการค้าขายต่อไปหรือไม่ ?
ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยประเด็นต่างๆ ไว้อย่างน่าสนใจว่า เมื่อแผงขายสินค้าของผู้ฟ้องคดีถูกยกเลิกไปตั้งแต่กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ดำเนินการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งทำให้ไม่มีแผงใช้ประกอบการค้า จนต้องไปอาศัยแผงลอยของบิดามารดาทำการค้าขายเรื่อยมา จึงเห็นได้ว่าผู้ฟ้องคดีไม่มีเจตนาที่จะเลิกประกอบการค้าในสถานที่ดังกล่าว และการที่ผู้ฟ้องคดีไม่ได้ชาระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตั้งแต่ปี 2541 เกิดจากสาเหตุจำเป็นที่ไม่ใช่ความผิดของผู้ฟ้องคดี อีกทั้งผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการของกรมโยธาธิการและผังเมืองและผู้ถูกฟ้องคดี ดังนั้น ผู้ฟ้องคดีจึงไม่สมควรที่จะถูกตัดสิทธิในการเป็นผู้ค้าเดิมที่มีสิทธิเช่าพื้นที่อาคารพิพาท และสมควรที่จะได้รับการเยียวยาหรือบรรเทาความเดือดร้อนเสียหาย ผู้ฟ้องคดีจึงเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะได้รับสิทธิเข้าทาสัญญาเช่าประเภทผู้ค้าเดิม
การที่ผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินการคัดเลือกผู้ประกอบการค้าโดยไม่จัดให้ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิเข้าทำสัญญาประเภทผู้ประกอบการค้าเดิม จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี จึงพิพากษา ให้เพิกถอนการคัดเลือกบุคคลให้ไปทาการค้าโดยไม่จัดให้ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิเข้าทาการค้าในฐานะผู้ประกอบการค้าเดิม และให้ผู้ถูกฟ้องคดีจัดให้ผู้ฟ้องคดีเข้าทำการค้าเสื้อผ้าในอาคารพิพาทที่จัดไว้สำหรับผู้ประกอบการค้าเดิม หรือจัดให้ ตามความเหมาะสมเทียบเท่ากันจำนวน 1 ห้อง
สำหรับประเด็นเรื่องเขตอำนาจศาลปกครองนั้น ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยประเด็นนี้ว่า คำโต้แย้งดังกล่าวไม่ใช่เหตุที่นามาฟ้องเป็นคดีนี้ เพราะว่าการที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่า ผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินการคัดเลือกผู้ที่จะเช่าพื้นที่อาคารพิพาทโดยไม่ชอบ เนื่องจากไม่ปรากฏรายชื่อของผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิเข้าทำสัญญา ทั้งที่เคยเป็นผู้ค้าขายอยู่ในบริเวณที่ตั้งอาคารมาก่อน ซึ่งน่าจะมีสิทธิดีกว่าผู้ประกอบการค้าที่ได้รับคัดเลือกบางราย จึงเป็นการโต้แย้งการดำเนินการคัดเลือกบุคคลให้เข้าไปทำสัญญาเช่าอาคารซึ่งเป็นกระบวนการก่อนการทำสัญญาเช่า จึงมิใช่เป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อกำหนดในสัญญาเช่าแต่อย่างใด (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 591/2555)
คดีนี้เป็นอุทาหรณ์ที่ดีสำหรับหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐในการใช้อำนาจกระทำการใดๆ ที่มีผลเป็นการกระทบสิทธิของเอกชน จะต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงในแต่ละกรณีให้ครบถ้วนรอบด้านก่อนที่จะใช้อำนาจให้สิทธิหรือตัดสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง และหากเอกชนได้รับผลกระทบจากการดำเนินการของเจ้าหน้าที่โดยที่เอกชนไม่ได้เป็นผู้ก่อให้เกิดขึ้นและทำให้ต้องเสียสิทธิแล้ว ดังเช่น ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในคดีนี้ ซึ่งเหตุที่ผู้ฟ้องคดีไม่ได้ค้าขายและไม่ได้จ่ายค่าธรรมเนียมก็เพราะสาเหตุของการปรับปรุงพื้นที่ของหน่วยงานของรัฐเอง ดังนั้น จึงต้องเยียวยา หรือบรรเทาความเดือดร้อนนั้น จะตัดสิทธิโดยอ้างว่าไม่จ่ายค่าธรรมเนียม จึงฟังไม่ขึ้นครับ !!
เครดิต : นายปกครอง ,หนังสือพิมพ์บ้านเมือง คอลัมน์คดีปกครอง ฉบับวันเสาร์ที่ 30 มีนาคม 2556

กรรมการตรวจการจ้าง ... พ้นจากตาแหน่งเพราะไม่เคร่งครัดต่อระเบียบ

การเป็นผู้มีพฤติกรรมในทางทุจริต เป็นลักษณะต้องห้ามของสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น และมีผลทำให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลและรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลพ้นจากตำแหน่ง ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๖๔/๑ (๕) และมาตรา ๕๘/๔ ประกอบมาตรา ๕๘/๑ โดยหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับพฤติกรรมที่อาจส่งผลทำให้ความเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลและรองนายก องค์การบริหารส่วนตำบลสิ้นสุดลง ให้นายอำเภอสอบสวนและวินิจฉัยโดยเร็วและคำวินิจฉัยของนายอำเภอถือเป็นที่สุดตามมาตรา ๖๔/๑ วรรคสาม ประกอบกับมาตรา ๖๔ วรรคสอง
ดังเช่นคดีปกครองที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นกรณีที่รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล มีพฤติกรรมในทางทุจริตจากการเป็นคณะกรรมการตรวจรับงานจ้างก่อสร้างรั้วรอบที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีผู้ร้องเรียนว่า การก่อสร้างดังกล่าวไม่เป็นไปตามแบบที่กำหนดในสัญญาจ้าง โดยระยะความยาวของรั้วขาดหายไป ๘๕.๖๐ เมตร แต่มีการเบิกจ่ายเงินให้ผู้รับจ้างครบตามสัญญาจ้างแล้ว นายอำเภอ (ผู้ถูกฟ้องคดี) จึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อพิจารณาว่าในการตรวจรับงานจ้างดังกล่าว รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล มีพฤติกรรมในทางทุจริตอันมีผลทำให้มีลักษณะต้องห้ามในการดารงตำแหน่งหรือไม่
ต่อมา นายอำเภอได้วินิจฉัยและมีคำสั่งให้รองนายกองค์การบริหารส่วนตาบลพ้นจากตำแหน่ง รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (ผู้ฟ้องคดี) จึงนาคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองขอให้เพิกถอนคำสั่ง โดยยอมรับว่าได้ตรวจสอบการจ้างจากรายงานของผู้ควบคุมงาน ไม่ได้ทำการตรวจวัดหรือตรวจสอบงานตามสัญญา และจากการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนก็ไม่พบว่ามีพยานหลักฐานใดระบุว่ามีผู้ใดได้รับผลประโยชน์หรือผลตอบแทนอื่นในการดำเนินการ ประกอบกับองค์การบริหารส่วนตำบลได้รับชดใช้ค่าเสียหายแล้ว นอกจากนี้ คณะทำงานวิเคราะห์เอกสารไม่ได้ให้โอกาสทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและโต้แย้งและแสดงพยานหลักฐาน ดังนั้น กระบวนการสอบสวนและคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่งจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คดีนี้จึงมีประเด็นที่น่าสนใจ ๒ เรื่อง คือ
ประเด็นแรก การที่คณะกรรมการสอบสวนมีความเห็นว่า แม้ผู้ฟ้องคดีจะปล่อยปละละเลย ไม่ปฏิบัติหรืองดเว้นไม่กระทำการตามอำนาจหน้าที่ในการตรวจรับงานจ้างก่อสร้างทาให้ราชการเสียหายก็ตาม แต่เมื่อไม่มีพยานหลักฐานใดระบุว่า มีผู้ใดได้รับผลประโยชน์หรือผลตอบแทนอื่นในการดำเนินการ ประกอบกับองค์การบริหารส่วนตำบลได้รับชดใช้ค่าเสียหายแล้ว จึงไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนเพียงพอว่า ผู้ฟ้องคดีมีเจตนาหรือจงใจหรือมีพฤติกรรมในทางทุจริต แต่ผู้ถูกฟ้องคดีเห็นว่า การชดใช้เงินคืนไม่ถือว่าความผิดสิ้นสุด เพราะความบกพร่องเสียหายและพฤติกรรมทุจริตนั้นยังคงอยู่ ประกอบกับผู้ฟ้องคดียอมรับในชั้นสอบสวนว่า เหตุที่เกิดเป็นเพราะไม่ได้ ไปตรวจรับงาน แต่เชื่อผู้ควบคุมงาน การสอบสวนจึงยังมีข้อบกพร่อง ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย จึงได้มีคาสั่งแต่งตั้งคณะทางานเพื่อวิเคราะห์เอกสารที่คณะกรรมการสอบสวนรวบรวมไว้ ซึ่งคณะทางานฯ เห็นว่า การที่ผู้ฟ้องคดีปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย ทำให้เกิดความเสียหาย ถือได้ว่ากระทำการทุจริต
ดังนั้น กระบวนการในการสอบสวนโดยเฉพาะการทำหน้าที่ของคณะทำงานวิเคราะห์เอกสาร ที่ทำหน้าที่วิเคราะห์เอกสารหลักฐานต่างๆ ที่คณะกรรมการสอบสวนได้รวบรวมไว้ จะต้องให้โอกาสผู้ฟ้องคดี ได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและโต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานหรือไม่ ? ซึ่งตามมาตรา ๓๐ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ วางหลักการสาคัญว่า ในกรณีที่คำสั่งทางปกครอง อาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ต้องให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาส ได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน บทบัญญัติดังกล่าวมีนัยสาคัญว่า ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะออกคาสั่งทางปกครองใดๆ ที่มีผลหรืออาจมีผลกระทบสิทธิ เสรีภาพ หรือประโยชน์อันชอบธรรมของคู่กรณีมาใช้บังคับ เจ้าหน้าที่จะต้อง ให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้รับทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานเพื่อป้องกันสิทธิของตน โดยข้อเท็จจริงที่คู่กรณีมีสิทธิรับทราบจะต้องเป็นข้อเท็จจริงสาคัญที่เจ้าหน้าที่จะใช้เป็นเหตุผลในการตัดสินใจออกคำสั่งทางปกครองที่กระทบสิทธิของคู่กรณีนั้น และจะต้องเพียงพอที่คู่กรณีจะสามารถโต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตนได้โดยเหมาะสมและครบถ้วนในสาระสาคัญ
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยประเด็นนี้ว่า เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้มีหนังสือแจ้งข้อกล่าวหาและสิทธิต่างๆ ในการสอบสวนให้แก่ผู้ฟ้องคดี และในวันที่ไปพบคณะกรรมการสอบสวนก็ได้มีการแจ้งข้อเท็จจริงและเปิดโอกาสให้ผู้ฟ้องคดีได้ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาอย่างเต็มที่แล้ว จึงถือได้ว่าผู้ฟ้องคดีได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสโต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานตามมาตรา ๓๐ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการ ทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ สาหรับการตรวจสอบของคณะทางานวิเคราะห์เอกสารนั้น เมื่อคำสั่งแต่งตั้งคณะทางานดังกล่าวได้กำหนดให้มีอานาจหน้าที่เพียงวิเคราะห์ข้อมูลการสอบสวนและพยานหลักฐานต่างๆ ในสำนวนคดีที่คณะกรรมการสอบสวนได้สอบสวนและรวบรวมไว้เท่านั้น การทำหน้าที่ของคณะทางานจึงเป็นเพียงการตรวจสอบและทบทวนการทาหน้าที่ของคณะกรรมการสอบสวน โดยไม่ทำให้ผู้ฟ้องคดีเสียเปรียบหรือได้รับความไม่เป็นธรรมในการสอบสวนแต่อย่างใด ดังนั้น การดาเนินการสอบสวนผู้ฟ้องคดีจึงชอบด้วยกฎหมาย
ประเด็นที่สอง การที่รองนายกองค์การบริหารส่วนตาบลในฐานะเป็นกรรมการตรวจรับงานจ้างไม่ได้ทาการตรวจวัดหรือตรวจสอบงานจ้างตามสภาพความเป็นจริง แต่ก็ไม่ได้รับประโยชน์ตอบแทนใดๆ อีกทั้ง องค์การบริหารส่วนตาบลได้รับการชดใช้ความเสียหายแล้ว ถือเป็นผู้มีพฤติกรรมในทางทุจริตหรือไม่ ?
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุขององค์การบริหารส่วนตาบล พ.ศ. ๒๕๓๘ ข้อ ๔๘ วรรคหนึ่ง กำหนดหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจการจ้างงานก่อสร้างโดยสรุปได้ว่า ให้ตรวจสอบรายงานการปฏิบัติงาน ของผู้รับจ้างและเหตุการณ์แวดล้อมที่ผู้ควบคุมงานรายงาน โดยตรวจสอบกับแบบรูปรายการละเอียดและข้อกาหนด ในสัญญา ในกรณีมีข้อสงสัยหรือมีกรณีที่เห็นว่าตามหลักวิชาการช่างไม่น่าจะเป็นไปได้ ให้ออกตรวจงานจ้าง ณ สถานที่ที่กาหนด และกรณีที่เห็นว่าผลงานที่ส่งมอบทั้งหมดหรืองวดใดก็ตามไม่เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกาหนดในสัญญา ให้รายงานประธานกรรมการบริหารผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุเพื่อทราบหรือสั่งการ แล้วแต่กรณี
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยในประเด็นนี้ว่า แม้ความบกพร่องส่วนหนึ่งของการก่อสร้างอาจเป็นผลมาจากการคำนวณความยาวของรั้วผิดพลาดมาตั้งแต่การออกแบบและประมาณการการก่อสร้างของหัวหน้าส่วนโยธา และในขณะสำรวจสภาพพื้นที่จะพบว่าเป็นป่าและเป็นเนินสูงต่ำส่งผลให้การวัดระยะความยาวไม่แน่นอนก็ตาม แต่เมื่อผู้ฟ้องคดียอมรับในชั้นสอบสวนว่า ตรวจสอบงานจ้างจากรายงานของช่างผู้ควบคุมงานเท่านั้น โดยมิได้ทำการวัดหรือตรวจสอบงานจ้างตามสภาพความเป็นจริง ประกอบกับผู้ฟ้องคดีเป็นผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตาบลย่อมต้องมีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง และต้องมีความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งหากได้ตระหนักในบทบาทหน้าที่ในฐานะคณะกรรมการตรวจรับงานจ้างและผู้บริหารซึ่งเป็นผู้แทนของประชาชนในพื้นที่ที่อาสาเข้ามาทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ส่วนรวม โดยการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุขององค์การบริหารส่วนตาบล พ.ศ. ๒๕๓๘ อย่างเคร่งครัดแล้ว ย่อมตรวจพบความบกพร่องในงานจ้างที่ตนมีหน้าที่ตรวจรับตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏได้ไม่ยากนัก และแม้ว่านายกองค์การบริหารส่วนตาบลจะนำเงินส่วนตัวมาชดใช้คืนให้แก่องค์การบริหารส่วนตาบลแทนความเสียหายที่คำนวณได้แล้วก็ตาม ก็มิอาจลบล้างความผิดหรือเป็นผลให้ผู้ฟ้องคดีไม่ต้องรับโทษจากความผิดที่ได้กระทำสาเร็จแล้วแต่อย่างใด พฤติการณ์ของผู้ฟ้องคดีจึงเป็นการละเลยต่อหน้าที่และจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบ ทั้งยังเป็นการไม่รักษาประโยชน์ขององค์การบริหารส่วนตาบลที่ตนมีหน้าที่พึงกระทำ เป็นผลให้ผู้รับจ้างได้รับประโยชน์ที่มิควรได้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีจึงมีเหตุน่าเชื่อว่า ผู้ฟ้องคดีมีพฤติกรรมในทางทุจริต ดังนั้น คำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งรองนายกองค์การบริหารส่วนตาบลจึงชอบด้วยกฎหมาย (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๓๔๕/๒๕๕๕)
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในคดีนี้ นอกจากจะยืนยันหลักกฎหมายสาคัญเกี่ยวกับขั้นตอน และวิธีการอันเป็นสาระสาคัญในการออกคาสั่งทางปกครองว่า ข้อเท็จจริงที่เจ้าหน้าที่จะใช้เป็นเหตุผลในการตัดสินใจออกคาสั่งทางปกครองที่กระทบสิทธิของคู่กรณีนั้น เจ้าหน้าที่จะต้องให้คู่กรณีได้มีโอกาสทราบข้อเท็จจริงนั้น อย่างเพียงพอและต้องให้มีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตนตามที่พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการ ทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ กาหนดไว้แล้ว ยังมีบรรทัดฐานการปฏิบัติราชการที่ดีในเรื่องการทำหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจการจ้างซึ่งไม่ว่าเจ้าหน้าที่นั้นจะดำรงตาแหน่งใด หากได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ดังกล่าวก็จำเป็นต้องปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบอย่างเคร่งครัด และตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมหรือของราชการเป็นสาคัญ ไม่แสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองหรือเปิดโอกาสให้บุคคลใดแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมายได้
เครดิต : นางสาวฐิติพร ป่านไหม , พนักงานคดีปกครองชานาญการ , สานักวิจัยและวิชาการ สานักงานศาลปกครอง , คอลัมน์ระเบียบกฎหมาย วารสารกานันผู้ใหญ่บ้าน ฉบับเดือนมกราคม ๒๕๕๖)กรกฎาคม ๒๕๕๕

สะใภ้สมาชิกสภาเทศบาลกับการเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการทาสัญญา

มาตรา ๑๘ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้กำหนดให้การเป็นผู้มีส่วนได้เสียของสมาชิกสภาเทศบาล ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม ถือเป็นลักษณะต้องห้ามในการทำสัญญาที่เทศบาลเป็นคู่สัญญา หรือในกิจการที่กระทำให้แก่เทศบาล หรือ ที่เทศบาลนั้นจะกระทำ ซึ่งหากสมาชิกสภาเทศบาลได้กระทำการอันเป็นการต้องห้ามดังกล่าวแล้ว มาตรา ๑๙ (๖) พระราชบัญญัติเดียวกันได้บัญญัติให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาเทศบาลสิ้นสุดลง
การที่สมาชิกสภาเทศบาลมีพฤติการณ์ในลักษณะเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาที่เทศบาลเป็นคู่สัญญาอันเป็นผลให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาเทศบาลต้องสิ้นสุดลงนั้น มีให้เห็นเป็นคดีพิพาทหลายคดี โดยเฉพาะการเป็นผู้มีส่วนได้เสียเพราะเหตุมีความสัมพันธ์ในทางครอบครัวกับคู่สัญญาที่ทำกับเทศบาล เช่น คู่สัญญาเป็นบุตร บิดาหรือมารดา สามีหรือภรรยา เป็นต้น ซึ่งหากไม่ปรากฏข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ ที่แสดงให้เห็นว่า สมาชิกสภาเทศบาลได้ใช้โอกาสที่ตนดารงตำแหน่งสร้างประโยชน์แก่ตน โดยเบียดเบียนหรือคุกคามประโยชน์ส่วนรวมหรือประโยชน์ของรัฐแล้ว ย่อมถือว่าไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยทางตรงหรือทางอ้อมแต่อย่างใด ทั้งนี้ เนื่องจากพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๔๖ มีเจตนารมณ์เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โดยห้ามมิให้ใช้หรืออาศัยฐานะที่ตนเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐสร้างหรือแสวงหาประโยชน์ส่วนตน โดยการเบียดเบียนหรือคุกคามประโยชน์ของส่วนรวมหรือประโยชน์ของรัฐ และที่สาคัญก็เพื่อเป็นหลักประกันความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนทั่วไป
อย่างไรก็ดี ในการวินิจฉัยว่าสมาชิกสภาเทศบาลหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือไม่นั้น พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๔๖ มิได้กำหนดความหมายหรือพฤติการณ์ที่มีผลทำให้สมาชิกสภาเทศบาลเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม ไว้อย่างชัดเจน ดังเช่นบทบัญญัติมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งห้าม มิให้เจ้าหน้าที่ที่มีลักษณะเป็นผู้มีส่วนได้เสียทำการพิจารณาทางปกครอง เช่น การเป็นคู่กรณี คู่หมั้น คู่สมรส หรือเป็นญาติของคู่กรณี เป็นต้น ทาให้เกิดเป็นคดีพิพาทในศาลปกครองตามที่กล่าวมาแล้ว
ดังนั้น การพิจารณาว่าสมาชิกสภาเทศบาลคนใดจะเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเรื่องใดหรือไม่นั้น จะต้องใช้หลักเกณฑ์ใดบ้าง จะพิจารณาเพียงสถานภาพหรือฐานะของสมาชิกสภาเทศบาลเพียงอย่างเดียวได้หรือไม่ หรือจะต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์และข้อเท็จจริงอื่นที่ปรากฏประกอบด้วย
คดีปกครองที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลอยู่ในฐานะพ่อสามีของคู่สัญญา (หรือบุตรสะใภ้) กับเทศบาล ถูกร้องเรียนว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญาที่เทศบาลได้ว่าจ้างให้ร้าน ก. ซึ่งมีนาง ข. สะใภ้ของผู้ฟ้องคดีเป็นเจ้าของร้านและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกับผู้ฟ้องคดี เป็นคู่สัญญา ในการจ้างทำปฏิทินแสดงผลงานของเทศบาล ซึ่งในชั้นคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง เห็นว่า นาง ข. และครอบครัวอาศัยอยู่ในบ้านเช่า มิใช่บ้านของผู้ฟ้องคดี และแม้นาง ข. จะมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกับผู้ฟ้องคดี และที่ตั้ง โรงพิมพ์จะเป็นบ้านของผู้ฟ้องคดีก็ตาม แต่การให้ตั้งโรงพิมพ์ในบ้านของผู้ฟ้องคดีก็เป็นการช่วยเหลือตามที่ บิดามารดาพึงปฏิบัติต่อบุตร จึงฟังไม่ได้ว่าผู้ฟ้องคดีมีส่วนได้เสียในสัญญาดังกล่าว
ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ให้สมาชิกภาพของผู้ฟ้องคดีต้องสิ้นสุดลงเป็นคำสั่ง ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงขอให้ศาลมีคาพิพากษาเพิกถอนคาสั่งดังกล่าว
การที่บุตรสะใภ้เป็นคู่สัญญากับเทศบาลที่พ่อสามีเป็นสมาชิกสภาเทศบาล ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยทางตรงหรือทางอ้อมอันเป็นผลให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาเทศบาลสิ้นสุดลงหรือไม่ ?
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า การที่เทศบาลได้ทาสัญญาจ้างร้าน ก. ให้จัดทำปฏิทินแสดงผลงานของเทศบาล แม้จะมีนาง ข. ซึ่งเป็นคู่สมรสของบุตรชายของผู้ฟ้องคดี เป็นผู้ลงชื่อในสัญญาจ้างก็ตาม แต่ผู้ฟ้องคดีไม่ได้มีอำนาจหน้าที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการทำสัญญาในฐานะผู้ว่าจ้างหรือผู้รับจ้างด้วย ประกอบกับผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฏว่า ผู้ฟ้องคดีได้เข้าไปเกี่ยวข้องในการบริหารจัดการร้านหรือ มีความสัมพันธ์ในเชิงการลงทุนร่วมกับบุตรหรือสะใภ้ในกิจการของร้านแต่อย่างใด และแม้ที่ตั้งโรงพิมพ์ของร้าน ก. จะตั้งอยู่ที่บ้านซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดี โดยเช่าจากผู้ฟ้องคดีหรือผู้ฟ้องคดีให้ประโยชน์โดยไม่คิดค่าเช่า เพื่อช่วยเหลือบุตรก็ตาม แต่ก็ไม่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ได้เสียตามสัญญาจ้างให้จัดทำปฏิทินผลงาน เพราะเป็น คนละเหตุกัน อีกทั้งการที่สะใภ้ของผู้ฟ้องคดีมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของผู้ฟ้องคดี ก็ไม่ใช่เหตุผลสาคัญที่แสดงว่าจะต้องมีผลประโยชน์ร่วมกัน และในทางข้อเท็จจริง นาง ข. สะใภ้และบุตรชายของผู้ฟ้องคดีก็ไม่ได้พักอาศัยอยู่ที่บ้านของผู้ฟ้องคดี แต่อาศัยอยู่ที่บ้านเช่ามาโดยตลอด มีเพียงการไปมาหาสู่กับผู้ฟ้องคดีในฐานะญาติบ้างในบางครั้ง
นอกจากนั้น ในการสอบราคาเพื่อทำสัญญาจ้างดังกล่าวก็กระทำโดยเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจในการจัดซื้อจัดจ้าง ส่วนการสอบสวนข้อเท็จจริงก็ดำเนินการโดยคณะกรรมการที่ใช้ดุลพินิจพิจารณาตามความเหมาะสม โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นผู้พิจารณาตัดสินใจอีกชั้นหนึ่ง หาได้เกี่ยวข้องกับผู้ฟ้องคดีไม่ กรณีจึงไม่ปรากฏข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ส่วนใดที่แสดงให้เห็นว่า ผู้ฟ้องคดีใช้โอกาสในฐานะที่ตนดำรงตำแหน่งสร้างประโยชน์แก่ตน โดยเบียดเบียนหรือคุกคามประโยชน์ส่วนรวมหรือประโยชน์ของรัฐ หรือจูงใจ ข่มขู่ หรือโน้มน้าวให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการจัดจ้าง เพื่อให้ว่าจ้างนาง ข. สะใภ้ของผู้ฟ้องคดี อันมีลักษณะเป็นการกระทำที่จะทำให้เป็นผู้มีส่วนได้เสีย ตามนัยมาตรา ๑๘ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
ดังนั้น การที่ผู้ถูกฟ้องคดีวินิจฉัยให้สมาชิกภาพของผู้ฟ้องคดีสิ้นสุดลง จึงเป็นการใช้ดุลพินิจและออกคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (คาพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๑๖๔/๒๕๕๕)
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในคดีนี้ นอกจากจะยืนยันแนวทางการวินิจฉัยที่ผ่านมาแล้วว่า ในการพิจารณาความเป็นผู้มีส่วนได้เสียของสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐในสัญญาที่เทศบาลเป็นคู่สัญญา มิใช่จะพิจารณาแต่เพียงสถานภาพหรือฐานะในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกสภาเทศบาลกับคู่สัญญาที่ทำกับเทศบาลเท่านั้น แต่ต้องพิจารณาพฤติการณ์และข้อเท็จจริงอื่นๆ ประกอบด้วย โดยเฉพาะพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่า สมาชิกสภาเทศบาลได้ใช้โอกาสหรือตาแหน่งหน้าที่ของตนเอื้อประโยชน์แก่ตนหรือครอบครัว โดยเบียดเบียนหรือคุกคามประโยชน์ส่วนรวม หรือข่มขู่ จูงใจให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าทำสัญญานั้น ซึ่งหากไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวและวินิจฉัยให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาเทศบาลสิ้นสุดลง นอกจากจะส่งผลต่อการดำเนินกิจการของหน่วยงานและบุคคลอื่น ที่เกี่ยวข้องแล้ว เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนรวมอาจต้องพ้นจากตำแหน่งหน้าที่หรือสิ้นสุดสมาชิกภาพไปโดยไม่ได้รับความเป็นธรรมอีกด้วย
เครดิต : นางสาวฐิติพร ป่านไหม , พนักงานคดีปกครองชานาญการ , สานักวิจัยและวิชาการ สานักงานศาลปกครอง , คอลัมน์มุมกฎหมาย วารสารกานันผู้ใหญ่บ้าน ฉบับเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๕กรกฎาคม ๒๕๕๕

อุทธรณ์ฟังขึ้น … แต่ยัง “ฝืน” ไม่อนุญาต !

คดีปกครองที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังในวันนี้ เป็นเรื่องของเจ้าพนักงานท้องถิ่นละเลยต่อหน้าที่ไม่อนุญาตให้เจ้าของที่ดินก่อสร้างที่พักอาศัยบนที่ดินของตนเอง ทั้งที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มีความเห็นว่าการมีคำสั่งไม่อนุญาตไม่เป็นไปตามกฎหมาย
เรื่องมีอยู่ว่า ... ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นคำขอก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด 5 ชั้น จำนวน 1 หลัง บนที่ดินของผู้ฟ้องคดี แต่ผู้ถูกฟ้องคดี (นายกเทศมนตรี) มีคำสั่งไม่อนุญาตโดยให้เหตุผลว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวมีการต่อต้านจากประชาชนไม่ให้ก่อสร้างอาคาร เนื่องจากเป็นการบดบังทัศนียภาพ มีปัญหาสาธารณูปโภคด้านกระแสไฟฟ้า ปริมาณและแรงดันน้าประปาไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ และปัญหาน้าเน่าเสีย
ผู้ฟ้องคดีได้อุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตดังกล่าวและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยว่า เหตุผลในการออกคาสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
ผู้ฟ้องคดีจึงมีหนังสือถึงผู้ถูกฟ้องคดีพร้อมแนบเอกสารแบบแปลนชุดเดิมเพื่อขอรับใบอนุญาตก่อสร้างอาคารตามคาวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว แต่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่ดำเนินการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารให้แก่ผู้ฟ้องคดี โดยเห็นว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 66 ที่กำหนดให้ชุมชนท้องถิ่นมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน ซึ่งพื้นที่เทศบาลเป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม มีวัดและโบราณสถานที่สาคัญหลายแห่ง และอยู่ระหว่างการเสนอร่างเทศบัญญัติ เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร บางประเภทในพื้นที่เทศบาล เพื่อกำหนดประเภทอาคารที่ก่อสร้างในพื้นที่เทศบาล
ผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารให้แก่ผู้ฟ้องคดี
ประเด็นสาคัญในคดีนี้ก็คือ ผู้ถูกฟ้องคดีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือไม่ และต้องออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารให้แก่ผู้ฟ้องคดีหรือไม่ ? โดยมีข้อกฎหมายสาคัญ คือ มาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 บัญญัติว่า “ผู้ใดจะก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและดาเนินการตามมาตรา 39 ทวิ” และมาตรา 52 วรรคห้า บัญญัติว่า “ในกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือศาลได้มีคำวินิจฉัยหรือคำพิพากษาเป็นประการใด ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นปฏิบัติตามนั้น”
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า การที่ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นอุทธรณ์คาสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ไม่อนุญาตให้ ผู้ฟ้องคดีก่อสร้างอาคารและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำวินิจฉัยว่า เหตุผลในการออกคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จึงถือว่าคำสั่งที่ไม่อนุญาตให้ผู้ฟ้องคดีก่อสร้างอาคารถูกเพิกถอนโดยคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว และเมื่อผู้ฟ้องคดีขอรับใบอนุญาตก่อสร้างอาคารตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวและเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีได้ตรวจสอบหลักฐานต่างๆ ตามคำขอแล้วเห็นว่าถูกต้องครบถ้วนตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และเสนอผู้ถูกฟ้องคดีซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายควบคุมอาคารเพื่อพิจารณา ทั้งยังไม่ปรากฏว่าคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารของผู้ฟ้องคดีต้องห้ามตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ผู้ถูกฟ้องคดีจึงต้องปฏิบัติตามคาวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 52 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
ดังนั้น การที่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จึงเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกาหนดให้ต้องปฏิบัติ และแม้พื้นที่เทศบาลจะเป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและแหล่งเรียนรู้ทางจิตวิญญาณ และกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและโบราณวัตถุแล้ว ซึ่งเป็นเหตุผลความจำเป็นหรือเหตุผลพิเศษเฉพาะท้องถิ่นที่จะออกเทศบัญญัติกาหนดความสูงของอาคารแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 แต่การออกเทศบัญญัติจะมีผลใช้บังคับได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการควบคุมอาคารและได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง (2) และวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน ดังนั้น เมื่อร่างเทศบัญญัติของเทศบาลยังไม่มีผลใช้บังคับ การอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารในเขตพื้นที่เทศบาลจึงต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายควบคุมอาคาร ในขณะนั้นกาหนดพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารให้แก่ผู้ฟ้องคดี (คาพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 406/2555)
คดีนี้ถือเป็นอุทาหรณ์ที่ดีสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวกับการนำหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่ปรากฏตามร่างกฎหมายที่อยู่ระหว่างการดำเนินการมาใช้บังคับกับประชาชน โดยเจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจ ที่จะนำร่างกฎหมายมาใช้บังคับได้จนกว่ากฎหมายดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับ และในกรณีที่กฎหมายกาหนดอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ไว้ให้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด เจ้าหน้าที่มีหน้าที่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด และหากไม่ปฏิบัติหน้าที่หรือยังฝืนไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของผู้มีอำนาจเหนือชั้นขึ้นไป ย่อมถือเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติที่ศาลปกครองมีอานาจพิพากษาให้ปฏิบัติหน้าที่นั้นได้นะครับ ...
เครดิต : นายปกครอง , หนังสือพิมพ์บ้านเมือง คอลัมน์คดีปกครอง ฉบับวันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2555

เทศบาลตำบล ... ทำถนน ไม่สน ! ชาวบ้าน

คดีปกครองที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังในวันนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของเทศบาลโดยปรับปรุงถนน เพื่อให้บริการแก่ประชาชนในท้องถิ่น แต่ทำให้เอกชนบางคนได้รับความเดือดร้อนเสียหาย จนกระทั่งได้นำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง
เรื่องมีอยู่ว่า ในปี 2526 ผู้ฟ้องคดีและญาติๆ ขุดที่ดินของตนเชื่อมกับคลองและใช้เรือเป็นพาหนะสัญจรและการขนส่งพืชผลทางการเกษตรจากที่พักอาศัยของตนและญาติออกสู่คลองมหาสวัสดิ์ ต่อมา ในปี 2546 ผู้ถูกฟ้องคดี (เทศบาลตาบล) ได้ก่อสร้างถนนแอสฟัลต์ติกคอนกรีตเลียบคลองมหาสวัสดิ์พร้อมวางท่อลอดคู่ และฝังกลบคลองซอย จานวน 15 ซอย ผู้ฟ้องคดีได้คัดค้านการก่อสร้างวางท่อลอดคู่ เนื่องจากสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้ฟ้องคดีและบริวาร ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้เรือในการสัญจรและขนส่งสินค้าเพียงทางเดียว ไม่มีทางสัญจรอื่น จึงขอให้ศาลปกครองมีคาพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทาการแก้ไขท่อน้ำลอด โดยทำสะพานหรือบล็อกคอนเวิร์ส ให้เรือสัญจรผ่านเข้า - ออกได้
ผู้ถูกฟ้องคดี (เทศบาลตำบล) โต้แย้งว่าผู้ฟ้องคดีสามารถนำเรือสัญจรไป - มา และใช้ประโยชน์ เข้า - ออกในพื้นที่ได้ตามปกติโดยใช้วิธีเดินทางมาที่ถนนสาธารณะแล้วนำสัมภาระลงเรือเดินทางเข้าไปในที่ดินของตนและการก่อสร้างสะพานเป็นความประสงค์ของชุมชนในเขตพื้นที่และเป็นการจัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชน ในท้องถิ่นตามภารกิจและหน้าที่ของเทศบาล
การทำหน้าที่ของเทศบาลถือว่าได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ ? และเป็นกรณีที่ถือว่าเทศบาลได้ปฏิบัติหน้าที่จนก่อให้เกิดภาระกับผู้ฟ้องคดีเกินสมควรหรือไม่ ?
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า การดำเนินการสร้างถนนของผู้ถูกฟ้องคดี เป็นการดำเนินการ ตามอำนาจหน้าที่ที่มาตรา 50 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 กำหนดไว้ (... เทศบาลตำบล มีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาลดังต่อไปนี้ (2) ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ วรรคสอง บัญญัติว่า การปฏิบัติงาน ตามอานาจหน้าที่ของเทศบาลต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบการประเมินผล การปฏิบัติงานและการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ...) และการสร้างถนนทดแทนสะพานไม้ ที่มีอยู่เดิมก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนที่อาศัยสัญจรไปมาในเส้นทางดังกล่าวสามารถใช้เส้นทางได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น
แต่อย่างไรก็ดี แม้เทศบาลมีอานาจในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด แต่การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวก็ต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย และเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเป็นหลัก ซึ่งการที่จะปฏิบัติราชการภายใต้การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีได้นั้น จะต้องพิจารณาว่ามาตรการหรือวิธีการที่เลือกใช้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ในการใช้อำนาจให้สาเร็จลุล่วงได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ มาตรการหรือวิธีการดังกล่าวก่อให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายหรือก่อให้เกิดภาระแก่ราษฎรน้อยที่สุดหรือไม่ และหากดำเนินการตามมาตรการ หรือวิธีการดังกล่าวไปแล้วจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมมากน้อยเพียงใด เมื่อเทียบกับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ราษฎรและสังคมโดยส่วนรวม
การที่ผู้ถูกฟ้องคดีวางท่อลอดคู่และฝังกลบซอยเพื่อทาเป็นถนนมีผลทำให้ปิดทางเข้า - ออกคลองซอยในบริเวณที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีอยู่อาศัยและประกอบสัมมาอาชีพ ทำให้การสัญจรเข้า - ออกจากที่ดินของผู้ฟ้องคดีไปยังคลองมหาสวัสดิ์เพื่อดาเนินชีวิตและประกอบสัมมาอาชีพไม่สามารถกระทำได้ตามปกติ อีกทั้ง ในเส้นทางเดียวกันกับถนนพิพาทบริเวณคลอง ซึ่งอยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนตาบลใกล้เคียง ได้ใช้บล็อกคอนเวิร์สแทนท่อคอนกรีตทรงกลมทำให้ถนนในบริเวณดังกล่าวอยู่ในสภาพที่เรือสามารถสัญจรเข้า - ออกสู่คลองมหาสวัสดิ์ได้ ซึ่งการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ เพื่อจัดให้มีหรือบำรุงทางบกและทางน้ำตามมาตรา 50 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ผู้ถูกฟ้องคดีสามารถใช้ดุลพินิจในการพิจารณาหาแนวทางที่เหมาะสมว่า หากไม่ดำเนินการฝังท่อลอดคู่และฝังกลบคลองซอยทำเป็นถนน ยังมีวิธีการจัดทาทางหรือถนนวิธีอื่นที่จะยังผลให้เกิดประโยชน์แก่ราษฎรที่มีความจาเป็นต้องสัญจรทางบกและทางน้าอย่างเท่าเทียมกันหรือไม่
แต่ในกรณีนี้ไม่ปรากฏว่าผู้ถูกฟ้องคดีได้ใช้ดุลพินิจเพื่อพิจารณาหาแนวทางที่เหมาะสม แก่การจัดทาบริการสาธารณะให้บรรลุวัตถุประสงค์และก่อให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายหรือภาระแก่ราษฎรน้อยที่สุด แต่อย่างใด จึงถือได้ว่าการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีก่อให้เกิดภาระแก่ผู้ฟ้องคดีเกินสมควร เพราะเป็นการปิดกั้นเส้นทางสัญจรโดยปกติของผู้ฟ้องคดีและบริวาร
ดังนั้น แม้การสร้างทางจะก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนโดยรวม และเป็นการดำเนินการ ตามอานาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในมาตรา 50 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แต่เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีได้ก่อให้เกิดผลกระทบแก่ผู้ฟ้องคดีอย่างไม่เป็นธรรม จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่เหมาะสม และไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายอันเป็นการกระทาละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี จึงพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินการให้ผู้ฟ้องคดีสามารถใช้เรือสัญจรเข้า - ออกจากที่ดินของตนผ่านคลองซอยออกสู่คลองมหาสวัสดิ์ได้ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่คาพิพากษาถึงที่สุด (คาพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 162/2555)
คดีนี้เป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติราชการที่ดีของเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่แม้กฎหมายจะให้มีอำนาจดาเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดได้ก็มิใช่ว่าจะใช้อำนาจตัดสินใจดำเนินการได้ตามอำเภอใจ แต่จะต้องเลือกดาเนินการในแนวทางที่เหมาะสมทั้งประโยชน์สาธารณะและความเดือดร้อนเสียหาย แก่เอกชน โดยต้องเกิดประโยชน์กับสาธารณะมากและก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรือเสียหายหรือภาระกับราษฎร น้อยที่สุดเท่านั้น ครับ !
เครดิต : นายปกครอง , หนังสือพิมพ์บ้านเมือง คอลัมน์คดีปกครอง ฉบับวันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม 2555

Thailand only ! อุบัติเหตุครั้งนี้... ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ !

เป็นที่ทราบกันว่า...ในต่างประเทศนั้นให้ความสำคัญกับการปกป้องรักษาสิทธิของตนเองอย่างมาก โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีการฟ้องคดีกันบ่อยจนถือเป็นเรื่องปกติ... ซึ่งแตกต่างจากบ้านเราอย่างสิ้นเชิง ที่หากไม่จำเป็นจริงๆ ก็จะไม่ยอมขึ้นโรงขึ้นศาลอย่างเด็ดขาด เพราะถือคติที่ว่า “กินขี้หมาดีกว่าค้าความ”
แต่ปัจจุบัน...คนไทยได้หันมาให้ความสำคัญกับการปกป้องรักษาสิทธิของตนเองมากขึน้ รวมทั้งภาครัฐก็ได้พยายามให้ความรู้และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ง่ายขึ้น ดังเช่น การฟ้องคดีปกครองที่เน้นความเรียบง่ายและไม่จำเป็นต้องมีทนายความ ส่งผลให้การฟ้องคดีในบ้านเรามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
การฟ้องคดีในต่างประเทศบางคดีนั้นในบ้านเราอาจถือเป็นเรื่องแปลก แต่ก็เป็นเรื่องแปลกแต่จริงครับ ! เพราะเรื่องที่เรามองว่าเล็กน้อยนั้นเขาฟ้องเรียกค่าเสียหายกันเป็นหลักล้าน แถมชนะคดีอีกต่างหาก คดีแปลกที่ว่านี้ เช่น คดีที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา กรณีลูกค้าซื้อกาแฟจากร้านแมคโดนัลด์ แล้วทำกาแฟที่ยังร้อนอยู่หกใส่ตัวเอง จึงฟ้องร้องร้านแมคโดนัลด์ ในข้อหา ...ไม่เขียนคำเตือนไว้ที่ถ้วยกาแฟ… ซึ่งเธอก็เป็นฝ่ ายชนะคดีและได้รับชดใช้ค่าเสียหาย หรือคดีที่เกิดขึ้นในประเทศเยอรมัน กรณีที่ลูกค้าซึ่งไปซื้อของในห้างสรรพสินค้าแล้วเหยียบเปลือกกล้วยที่ลูกค้าอีกรายหนึ่งทิ้งลงพื้น โดยที่พนักงานของห้างฯ เห็นแล้วแต่ไม่เก็บ เป็นเหตุให้ลูกค้าคนดังกล่าวลื่นล้มได้รับบาดเจ็บที่ขา จึงฟ้องเรียกค่าเสียหายจากเจ้าของห้าง และชนะคดีเช่นกัน…
สำหรับข้อพิพาทเกี่ยวกับคดีปกครองในวันนี้ ผมมีเรื่องน่าสนใจทัง้ จากต่างแดนและบ้านเรามาฝาก ต้องขอออกตัวก่อนนะครับว่าคดีนี ้ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะศาลอิตาลีท่านบอกว่าเป็นเรื่องบังเอิญ ซึ่ง “เรื่องบังเอิญ” ที่ว่านี้จะมีผลอย่างไรต่อการตัดสินคดี มาดูกัน...
เรื่องก็คือ... นางเอมมี่ซึ่งได้ขับรถยนต์ส่วนตัวด้วยความเร็วปกติไปตามถนนในเมืองอากรีเจนโต้ ประเทศอิตาลี แต่พอขับไปถึงจุดที่เป็นทางโค้ง รถก็เกิดเสียหลักไถลไปชนกับกำแพงริมถนน เนื่องจากมีคราบน้ำมันที่ไหลจากรถคันอื่นอยู่บนถนนดังกล่าว เธอจึงรีบไปฟ้องคดีต่อศาลแพ่งเมืองอากรีเจนโต้เพื่อขอให้บริษัทเอ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการบำรุงรักษาถนนและเทศบาลเมืองอากรีเจนโต้ซึ่งเป็นผู้ควบคุมกำกับบริษัทเอ ให้ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่เธอ อันเนื่องมาจากการละเลยไม่บำรุงรักษาทรัพย์สินซึ่งอยู่ในความดูแลให้อยู่ในสภาพที่ไม่ก่ออันตรายแก่ผู้อื่น
คดีนี้ศาลได้พิพากษายกฟ้อง เนื่องจากประมวลกฎหมายแพ่งได้บัญญัติยกเว้นมิให้บุคคลต้องรับผิดชอบในความเสียหายอันเกิดจากสิ่งของที่อยู่ในความดูแลของตน หากความเสียหายนั้นเกิดจาก “เหตุบังเอิญ” โดยศาลได้ให้คำนิยามของคำว่า “เหตุบังเอิญ” ว่าหมายถึง เหตุการณ์ซึ่งเกิดขึน้ โดยไม่อาจคาดหมายล่วงหน้าได้ หรือไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เลย อันอยู่นอกเหนือจากการควบคุมของผู้ดูแล รวมทั้งเป็นเหตุการณ์ซึ่งโดยลำพังย่อมก่อความเสียหายได้เองหรืออาจเรียกได้ว่าเป็นอุบัติเหตุโดยแท้ นอกจากนี้ศาลยังเห็นว่า นอกจากการมีคราบน้ำมันรถบนถนนกับอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เกิดขึ้นแล้ว ยังมีปัจจัยในเรื่องของ “ช่วงเวลาประจวบเหมาะ” ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สั้นมากจนฝ่ายปกครองไม่มีเวลาแม้แต่จะเข้าไปบำรุงดูแลทรัพย์สินได้ทันการณ์อีกด้วย
นางเอมมี่ไม่ยอมแพ้และได้ต่อสู้คดีจนถึงชั้นศาลฎีกา แต่ผลของคดีก็ยังคงเหมือนเดิม และศาลฎีกายังได้ให้เหตุผลที่น่าสนใจในคำพิพากษาอีกว่า หากความเสียหายเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่เกิดจากตัวทรัพย์สินของรัฐหรือจากสาเหตุที่ไม่อาจแยกออกจากตัวทรัพย์สินของรัฐ เช่น ไม่ได้เกิดจากความบกพร่องในการก่อสร้างหรือในการบำรุงรักษาตัวทรัพย์สินของรัฐนั้น แต่เกิดจากปัจจัยภายนอกและเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน โดยบุคคลที่สาม เช่น การที่มีบุคคลอื่นทำสิ่งของตกหล่นหรือทิ้งสิ่งของอันตรายบนถนนของหลวง เช่นนี้ฝ่ายปกครองย่อมไม่อาจจะรับรู้หรือขจัดอันตรายนั้นได้ทัน แม้จะใช้ความระมัดระวังสูงสุดในการบำรุงรักษาทรัพย์นั้นแล้วก็ตาม ฝ่ายปกครองไม่จำต้องรับผิดชอบในฐานะผู้ดูแลทรัพย์สินเมื่อเกิดเหตุในลักษณะดังกล่าว
คดีนี้ถือว่าศาลอิตาลีได้วางหลักในเรื่องอุบัติเหตุที่เกิดจากเหตุบังเอิญไว้อย่างชัดเจนว่าฝ่ายปกครองไม่ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นครับ...
คราวนี้มาดูคดีปกครองในบ้านเรากันบ้าง...ซึ่งเป็นเรื่องอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนท้องถนนเช่นกัน แต่ต่างกันตรงที่ อุบัติเหตุครั้งนี้...ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ !
คดีนี้ เทศบาลต้นอ้อได้ทำสัญญาว่าจ้ างบริษัทกอไผ่ ให้ดำเนินการวางท่อร้อยสายไฟฟ้าและสาธารณูปโภคใต้ดิน รวมทั้งปรับปรุงผิวจราจรและพื้นทางเท้า ตลอดจนไฟฟ้าแสงสว่างภายในเขตเทศบาล อันเป็นอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเทศบาล
ต่อมาในเที่ยงวันหนึ่ง... นางเอมอรซึ่งได้ขับรถยนต์กระบะมาตามถนน พอขับมาถึงทางแยกที่จะเลี้ยวเข้าสู่ถนนอีกสายหนึ่ง ปรากฏว่ามีตอม่อเสาไฟฟ้าซึ่งทำด้วยปูนซีเมนต์สูงประมาณ 30 เซนติเมตร ตัง้ อยู่ในพื้นผิวจราจร นางเอมอรไม่ทันเห็นเนื่องจากไม่มีป้ายเตือนใดๆ จึงได้เลี้ยวรถยนต์ครูดไปกับตอม่อเสาไฟฟ้า เป็นเหตุให้รถยนต์ของนางเอมอรได้รับความเสียหาย โดยชาวบ้านที่อยู่ในละแวกนั้นได้บอกกับนางเอมอรว่า...มีรถยนต์ที่เกิดอุบัติเหตุแบบนี้มาหลายครั้งแล้ว...
นางเอมอรเห็นว่าเทศบาลต้นอ้อซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการก่อสร้างเสาไฟฟ้าดังกล่าว ได้ประมาทเลินเล่อไม่ดำเนินการติดตั้งเครื่องหมายหรือสัญญาณเตือนใดๆ เพื่อแสดงให้ผู้ใช้รถใช้ถนนรู้ว่ามีตอม่อกีดขวางรุกล้ำเข้ามาในพื้น ผิวจราจร จึงมีหนังสือขอให้เทศบาลชดใช้ค่าเสียหาย เทศบาลต้นอ้อจึงได้มีหนังสือให้บริษัทกอไผ่จ่ายเงินค่าเสียหายให้แก่นางเอมอร ตามข้อ 10 ของสัญญาที่ได้กำหนดให้ผู้รับจ้างต้องรับผิดต่ออุบัติเหตุความเสียหายหรือภยันตรายใดๆ อันเกิดจากการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง แต่ก็มิได้มีการชดใช้แต่อย่างใด โดยนางเอมอรได้มีหนังสือทวงถามแล้วหลายครั้งแต่ก็ไม่เป็นผล จึงได้ยื่นฟ้องเทศบาลต้นอ้อต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ชดใช้ค่าซ่อมรถแก่ตนพร้อมดอกเบีย้ ตามกฎหมาย
กรณีนีจึ้งเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองอันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ โดยคดีมีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า การที่เทศบาลต้นอ้อไม่ดำเนินการติดตั้งเครื่องหมายหรือสัญญาณใดๆ เพื่อแสดงให้ผู้ใช้รถใช้ถนนทราบว่ามีตอม่ออยู่ในพื้นผิวจราจรจนเป็นเหตุให้รถยนต์ของนางเอมอรเฉี่ยวชนตอม่อได้รับความเสียหายเป็นการกระทำละเมิดต่อนางเอมอร หรือไม่ ?
โดยที่ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะที่บัญญัติถึงความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ มิได้บัญญัติถึงลักษณะของการกระทำของเจ้าหน้าที่ไว้ว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่ในลักษณะใดที่จะถือว่าเป็นการกระทำละเมิด ดังนั้น การพิจารณาว่าการกระทำใดจะเป็นละเมิดหรือไม่นั้น จึงต้องพิจารณาตามมาตรา 420 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งบัญญัติว่า ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นัน้ ทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น เมื่อเทศบาลต้นอ้อซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมายในการดูแลรับผิดชอบการก่อสร้างเสาไฟฟ้าและป้องกันมิให้เกิดอันตรายจากการดำเนินการดังกล่าว ได้ละเลยต่อหน้าที่ไม่ทำเครื่องหมายหรือสัญญาณเตือนให้ประชาชนที่ขับรถไปในเส้นทางดังกล่าวทราบว่ามีตอม่อเสาไฟฟ้าอยู่ในพื้นผิวจราจร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุขึน้ ดังนั้นการที่นางเอมอรขับรถเฉี่ยวชนตอม่อจนรถยนต์ได้รับความเสียหาย จึงถือว่าเทศบาลต้นอ้อได้ประมาทเลินเล่อทำให้นางเอมอรได้รับความเสียหายแก่ทรัพย์สิน อันเป็นการกระทำละเมิดตามมาตรา 420 และต้องรับผิดชดใช้ค่าซ่อมรถให้แก่นางเอมอรพร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย (เทียบเคียงจากคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.197/2552)
จะเห็นได้ว่า... อุบัติเหตุที่เกิดขึน้ นีเ้ป็นกรณีที่เทศบาลสามารถป้องกันได้เพราะไม่ใช่เหตุบังเอิญ และแม้ว่าการกระทำละเมิดดังกล่าวจะเกิดจากการดำเนินงานของบริษัทกอไผ่ก็ตาม แต่เมื่อเทศบาลต้นอ้อเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโครงการรวมทั้งควบคุมดูแลการทำงานของบริษัทกอไผ่ เทศบาลต้นอ้อจึงต้องเป็นผู้รับผิดแห่งการละเมิดที่เกิดขึ้นกับบุคคลภายนอก สำหรับในส่วนที่เทศบาลจะใช้สิทธิเรียกร้องกับบริษัทกอไผ่ ตามข้อ 10 ของสัญญานั้นเป็นเรื่องระหว่างเทศบาลกับบริษัทกอไผ่ที่ต้องว่ากันต่อไปครับ...
ช่วงนี้ฝนตกบ่อยและมีน้ำท่วมขัง...ไปไหนมาไหน... โปรดใช้ความระมัดระวัง มิเช่นนั้นอาจเกิดอุบัติเหตุได้ทัง้ จากเหตุบังเอิญและไม่บังเอิญนะครับ เพราะ Thailand only ! เมืองที่ฝาท่อหายและพบถุงทรายในท่อระบายนํ้า !!! ด้วยความห่วงใย...
เครดิต : ครองธรรม ธรรมรัฐ

จ้างลูกเขยเข้าเป็นคู่สัญญา...พ่อตาจึงต้องพ้นจากตาแหน่งนายกฯ !

ในการออกคาสั่งทางปกครอง หากผู้มีอำนาจออกคำสั่งทางปกครองมีสภาพร้ายแรงอันอาจทาให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลาง (มาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539) เช่น มีเหตุโกรธเคืองกับคู่กรณีจะมีผลทำให้คำสั่งทางปกครองที่ออกไปนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่ผู้บริหารท้องถิ่นหรือนายกเทศมนตรีได้ใช้อำนาจอนุมัติให้จ้างห้างหุ้นส่วนจากัดซึ่งมีลูกเขย เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการซ่อมแซมถนนในเขตเทศบาล จะถือว่าผู้มีอำนาจมีสภาพร้ายแรงอันอาจทาให้การอนุมัติจ้างซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครองไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และจะถือว่านายกเทศมนตรีนั้นเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยทางอ้อมในสัญญา ที่เทศบาลเป็นคู่สัญญา อันเป็นพฤติการณ์ที่จะมีผลทาให้นายกเทศมนตรีต้องพ้นจากตาแหน่งหรือไม่
คดีปกครองที่จะนามาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องของนายกเทศมนตรีได้อนุมัติให้จ้าง ห้างหุ้นส่วนจากัดที่มีบุตรเขยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการซ่อมแซมถนนในเขตเทศบาล ต่อมามีผู้ร้องเรียนว่า ผู้ฟ้องคดีมีส่วนได้เสียในสัญญาจ้างห้างหุ้นส่วนจากัด ช. ตามโครงการจ้างเหมาซ่อมแซมถนนลูกรังและหินคลุกในเขตเทศบาล และภายหลังจาก ที่คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงให้ทำการสอบสวนพยานหลักฐานและเสนอความเห็นแล้ว ผู้ถูกฟ้องคดี (ผู้ว่าราชการจังหวัด) มีคำวินิจฉัยว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีส่วนได้เสียทางอ้อมในสัญญาที่เทศบาลเป็นคู่สัญญากับห้างหุ้นส่วนจากัด ช. โดยให้เหตุผลว่า ผู้ฟ้องคดีอนุมัติให้ซ่อมแซมถนนในวันที่ 22 กันยายน 2548 อนุมัติให้จ้างวันที่ 21 กันยายน 2548 นอกจากนี้ เงินที่ได้จากการรับจ้างส่วนหนึ่งจะกลายเป็นสินสมรสซึ่งบุตรสาวของผู้ฟ้องคดีมีสิทธิได้รับ ทั้งเป็นผู้มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดู จึงถือว่าผู้ฟ้องคดีได้ใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายแสวงหาผลประโยชน์จากเทศบาลให้แก่ตนเอง โดยทางอ้อม จึงทำให้ผู้ฟ้องคดีสิ้นสุดความเป็นนายกเทศมนตรี
ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำวินิจฉัยดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากบุตรสาวไม่ได้เป็นหุ้นส่วน ในห้างหุ้นส่วนจากัด ไม่มีอำนาจบริหาร และแม้จะมีสิทธิได้รับมรดกของบุตรสาวแต่ก็เป็นเรื่องไม่แน่นอน เพราะสิทธิ จะเกิดขึ้นเมื่อบุตรสาวตายก่อนเท่านั้น อีกทั้ง ไม่ได้รับการอุปการะจากบุตรสาว จึงขอให้ศาลปกครองมีคำพิพากษาเพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าว
พฤติการณ์ของผู้ฟ้องคดีถือเป็นเหตุอันมีสภาพร้ายแรงตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และเป็นผู้มีส่วนได้เสียทางอ้อมในสัญญาที่เทศบาลเป็นคู่สัญญาอันมีผลทาให้ผู้ฟ้องคดีต้องพ้นจากตำแหน่งนายกเทศมนตรีหรือไม่ ซึ่งตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 กำหนดให้นายกเทศมนตรีมีอำนาจหน้าที่ในการสั่ง อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการของเทศบาล และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ และตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กาหนดให้ผู้ฟ้องคดีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นโดยมีอำนาจในการสั่งซื้อหรือ สั่งจ้างทุกวิธีที่ใช้จ่ายจากเงินรายได้ และมีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างโดยไม่จำกัดวงเงิน รวมทั้งมีอานาจลงนามในสัญญา ตามระเบียบนี้
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า การที่ผู้ฟ้องคดีได้อนุมัติจ้างห้างหุ้นส่วนจากัด ช. โดยมีนาย ส. ซึ่งสมรส กับบุตรสาวของผู้ฟ้องคดีที่ทางานอยู่ที่สำนักงานปลัดเทศบาลและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 1077 ประกอบกับมาตรา 1087 ต้องรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่มีจากัดจานวน และผู้ฟ้องคดีก็ได้รู้ถึงความข้อนี้ดีอยู่แล้วในเวลาที่อนุมัติให้ทำสัญญาตามบันทึกขออนุมัติซ่อมแซม ลงวันที่ 22 กันยายน 2548 และบันทึก ขออนุมัติจ้าง ลงวันที่ 21 กันยายน 2548 ประกอบกับการอนุมัติสั่งซื้อหรือสั่งจ้างเป็นคำสั่งทางปกครอง กรณีจึงถือได้ว่าผู้ฟ้องคดีมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลาง และผู้ฟ้องคดีชอบที่จะดำเนินการ ตามวรรคสอง ของมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ดังนั้น การที่ผู้ฟ้องคดีอนุมัติจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.ให้ดำเนินโครงการกับเทศบาลโดยไม่ปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีได้ดำเนินการตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นกรณี ที่ถือได้ว่าผู้ฟ้องคดีได้เข้าไปมีส่วนได้เสียทางอ้อมในสัญญาที่เทศบาลเป็นคู่สัญญาหรือในกิจการที่กระทำให้แก่เทศบาลหรือ ที่เทศบาลจะกระทำตามมาตรา 48 จตุทศ วรรคหนึ่ง (3) แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2546 แล้ว และผู้ฟ้องคดีต้องพ้นจากตำแหน่งนายกเทศมนตรีตามมาตรา 48 ปัญจทศ (5) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
สำหรับกรณีที่ห้างหุ้นส่วนจากัด ช. เคยเป็นคู่สัญญากับเทศบาลมาแล้วก่อนที่ผู้ฟ้องคดีจะเข้าดารงตำแหน่งนายกเทศมนตรี หรือผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจากบุตรสาว และจะมีสิทธิรับมรดกของบุตรสาวหรือไม่ เป็นเรื่องไม่แน่นอน รวมทั้งการที่ผู้ฟ้องคดีไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ กับห้างหุ้นส่วนจากัด ช. ก็ตาม เหตุดังกล่าวไม่ใช่ลักษณะต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรี และไม่ใช่ลักษณะต้องห้ามมิให้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีตามที่กฎหมายกาหนด
ดังนั้น การที่ผู้ถูกฟ้องคดีวินิจฉัยว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีส่วนได้เสียทางอ้อมในสัญญาที่เทศบาล เป็นคู่สัญญาทาให้ผู้ฟ้องคดีต้องพ้นจากตาแหน่งนายกเทศมนตรี จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย (คาพิพากษา ศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 68/2555)
คดีนี้นอกจากจะเป็นอุทาหรณ์ที่ดีสาหรับผู้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกเทศมนตรีหรือเทศมนตรี ในคณะเทศมนตรีของเทศบาลแล้ว ยังเป็นอุทาหรณ์ที่ดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐอื่นๆ ว่า จะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและรักษาผลประโยชน์ของราชการโดยไม่ใช้โอกาสจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าวสร้างประโยชน์แก่ตนหรือผู้อื่น และเหตุอันมีสภาพร้ายแรงตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 หมายความถึง พฤติการณ์ที่ชวนให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยว่าจะใช้อานาจที่ไม่เป็นกลาง ดังนั้น หากผู้ใช้อำนาจเห็นว่าตนมีพฤติการณ์ที่ชวนให้ผู้อื่นเคลือบแคลงสงสัยในการใช้อำนาจว่าจะไม่เป็นกลาง ก็จะต้องหยุดการพิจารณาเรื่องนั้นก่อนและแจ้งผู้บังคับบัญชาทราบ แต่หากไม่ดาเนินการเช่นว่านั้นแล้ว การใช้อำนาจ ก็จะไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งศาลปกครองมีอานาจเพิกถอนได้ ครับ!
Credit : นายปกครอง . หนังสือพิมพ์บ้านเมือง คอลัมน์คดีปกครอง ฉบับวันเสาร์ที่ 8 กันยายน 2555

ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ : หลักกฏหมายและแนววินิจฉัย

การกำหนดนโยบายและการบริหารประเทศของรัฐบาล และการปฏิบัติงานของข้าราชการและเจ้าพนักงานของรัฐในปัจจุบัน เสี่ยงต่อการตกเป็นผู้ต้องหาและจำเลยในคดีอาญา และยังเสี่ยงต่อการที่จะต้องรับผิดชดใช้ความเสียหายทางแพ่งจากการกำหนดนโยบาย การบริหารงานหรือการปฏิบัติที่บกพร่องหรือผิดพลาด ดังปรากฏเป็นข่าวแทบจะทุกวัน เช่น การทุจริตโครงการทางด่วน ทุจริตโครงการบ่อบัดน้ำเสียคลองด่าน ทุจริตโครงการรับจำนำข้าว เป็นต้น จึงทำให้ไม่มีใครที่จะกล้าทุ่มเททำงานเพื่อให้เกิดความผาสุกแก่พี่น้องประชาชนอย่างเต็มที่ ดังนั้น เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องจึงขอนำเสนอประเด็นสำคัญทางกฏหมาย เกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ดังนี้
พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ได้กำหนดความรับผิดไว้ในสองกรณี ได้แก่ กรณีกระทำละเมิดต่อบุคคลภายนอก(มาตรา 8) และ กรณีกระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ (มาตรา 10) ซึ่งทั้งสองกรณีดังกล่าวกำหนดให้ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อเป็นการกระทำด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง แต่หากเป็นประมาทเลินเล่อธรรมดาก็ไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว
แต่ในระบบกฏหมายไม่มีการให้นิยามความหมายของคำว่า “ประมาทเลินเล่อ” และ “ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง” ไว้ จึงทำให้เกิดปัญหาในการวินิจฉัยว่า การกระทำในลักษณะใดเข้าข่ายเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ จึงต้องยึดตามแนววินิจฉัยที่ผ่านมาตามคำพิพากษาศาลฎีกา คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกาและคำวินิจฉัยของกระทรวงการคลัง ซึ่งสรุปคำวินิจฉัยที่ "ถือเป็นการกระทำด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง” ได้ 13 กรณี ได้แก่
  1. การตรวจรับงานจ้าง การที่กรรมการตรวจการจ้างทำรายงานเสนอผู้มีอำนาจเกี่ยวกับการเพิ่มและลดงานตามสัญญาก่อสร้างอาคารโดยไม่เป็นไปตามระเบียบและไม่ตรวจสอบราคาที่แท้จริง จนเป็นเหตุให้ราชการได้รับความเสียหายเนื่องจากงานส่วนที่ลดมีราคาสูงกว่างานส่วนที่ผู้รับจ้างต้องทำเพิ่ม(คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ13/2548) การที่กรรมการตรวจรับสินค้าลงชื่อตรวจรับสินค้าโดยไม่ได้ตรวจสินค้าจริง(คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ338-339/2549 และคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2288/2534 วินิจฉัยคล้ายกัน)
  2. การควบคุมดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชา การที่เลขานุการไม่ตรวจสอบใบเบิกเงินที่ผู้ช่วยเลขานุการเสนอ จนเป็นเหตุให้เกิดการทุจริตยักยอกเงินของทางราชการ(คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ214/2549)
  3. การอนุมัติให้จ่ายเงินของทางราชการ การที่ผู้มีอำนาจอนุมัติจ่ายเงินของทางราชการโดยไม่ได้ตรวจสอบเอกสารหลักฐานทั้งที่ปรากฏพิรุธโดยชัดแจ้ง(คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ338-339/2549)
  4. การเก็บรักษารถยนต์ของทางราชการ การนำรถยนต์ของทางราชการไปเก็บรักษาที่บ้านพักของตนเป็นประจำทุกวัน โดยสถานที่ดังกล่าวไม่มีรั้วรอบขอบชิด เป็นเส้นทางสาธารณะที่คนทั่วไปใช้ร่วมกันและไม่ได้มีการจัดเวรยามจนเป็นเหตุให้รถยนต์ดังกล่าวถูกขโมยไป (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ362/2549)
  5. การควบคุมการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง ผู้ควบคุมงานก่อสร้างมีหน้าที่จดบันทึกการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างและเหตุการณ์แวดล้อมเป็นรายวันพร้อมทั้งผลการปฏิบัติงานเพื่อรายงานคณะกรรมการตรวจการจ้างทราบทุกสัปดาห์ การที่ผู้ควบคุมงานก่อสร้างไปดูแลงานบางวันและมิได้จดบันทึกการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างและเหตุการณ์แวดล้อมเป็นรายวันและบันทึกรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงานและวัสดุที่ใช้เพื่อรายงานให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบทุกสัปดาห์ถือว่าผู้ควบคุมงานไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบ(คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ267/2550)
  6. การดูแลรักษาทรัพย์สินของทางราชการ กรณีเจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่รักษาความปลอดภัยและทรัพย์สินของทางราชการได้นอนหลับในขณะปฏิบัติหน้าที่เป็นการบกพร่องต่อหน้าที่ในการดูแลรักษาความเรียบร้อยและความปลอดภัยตามที่ได้รับมอบหมายเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของทางราชการสูญหาย(คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ254/2550)
  7. การควบคุมดูแลวัสดุครุภัณฑ์ การที่เจ้าหน้าที่พัสดุไม่ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อควบคุมดูแลวัสดุครุภัณฑ์ที่อยู่ในความรับผิดชอบของตน โดยได้ส่งมอบกุญแจให้กับผู้ที่ไม่มีอำนาจหน้าที่ทั้งไม่ทำเป็นหนังสือส่งมอบให้ถูกต้องเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของทางราชการสูญหาย(คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ104/2551)
  8. การส่งคืนของกลาง การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิเสธไม่ส่งคืนของกลางที่ยึดไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (คำพิพากษาศาลปกครองกลางที่ 1567/2549)
  9. การดำเนินคดีกับผู้รับจ้าง กรณีที่เจ้าหน้าที่พัสดุไม่ดำเนินคดีกับผู้รับจ้างที่ก่อสร้างถนนชำรุดบกพร่องให้ชำระค่าซ่อมแซมถนนจนคดีขาดอายุความ การที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีหน้าที่ควบคุมดูแลการทำงานของเจ้าหน้าที่พัสดุปล่อยปละละเลยไม่ตรวจสอบการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชาและสั่งการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาดำเนินการโดยไม่ตรวจสอบว่าเป็นหน้าที่ของหน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบ(คำพิพากษาศาลปกครองกลางที่ 1785/2550)
  10. การลงลายมือชื่อเพื่อสั่งจ่ายเช็คของทางราชการ กรณีที่ผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อในเช็คโดยไม่ตรวจสอบว่ามีการขีดฆ่าคำว่า”หรือผู้ถือ”ออกและขีดคร่อมเช็คแล้วหรือไม่ เป็นเหตุให้มีผู้ทุจริตนำเช็คไปเบิกเงินสดจากธนาคารและนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัวหลายครั้ง(คำพิพากษาศาลปกครองกลางที่ 549/2550และคำพิพากษาศาลปกครองสงขลาที่ 72/2550)
  11. การตรวจสอบและควบคุมการบรรจุสินค้าในท่าเทียบเรือ กรณีที่เจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมการบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ไม่ได้ไปตรวจและควบคุมการบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ด้วยตนเอง แต่กลับลงนามรับรองการตรวจในเอกสารการส่งออกเป็นเหตุให้ผู้ส่งออกทำการทุจริต โดยนำใบขนสินค้าขาออกมาขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากร(คำพิพากษาศาลปกครองกลางที่ 935/2550)
  12. การมอบฉันทะหรือมอบอำนาจเกี่ยวกับการเบิกถอนเงิน กรณีที่มีการมอบฉันทะหรือมอบอำนาจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไปเบิกถอนเงิน จะต้องควบคุมดูแลและใช้วิธีการที่รัดกุมรอบคอบเพื่อป้องกันมิให้เกิดการทุจริตขึ้นได้ เมื่อผู้บังคับบัญชาไม่ควบคุมดูแลและใช้วิธีการที่รัดกุมในการป้องกันจึงไม่พ้นความรับผิด(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4293/2530)
  13. การรับจ่ายและการเก็บรักษาเงินต้องปฏิบัติตามระเบียบ เมื่อไม่ปฏิบัติตามระเบียบและไม่รายงานผู้บังคับบัญชาให้ทราบถึงเหตุขัดข้องจนเกิดความเสียหายในเวลาต่อมา(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2158/2531)
จากแนวคำวินิจฉัยดังกล่าวข้างต้น จึงต้องมีการตีความว่า เจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดมีอำนาจหน้าที่และแหล่งที่มาของอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายไม่ว่าพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎ หรือคำสั่งมอบหมายงานของผู้บังคับบัญชา และเจ้าหน้าที่ได้กระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่จากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือไม่ จากนั้น จึงจะพิจารณาการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หากประมาทเลินเล่อธรรมดา ให้ค่าเสียหายตกเป็นพับแก่หน่วยงานรัฐ เจ้าหน้าที่ไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ แต่หากประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เจ้าหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในผลแห่งการกระทำละเมิดของตนให้แก่หน่วยงานของรัฐที่ได้รับความเสียหาย ตามที่คณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางแพ่งจะเป็นผู้พิจารณา
ดังนั้น หากเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตเพื่อประชาชนและใช้ความระมัดระวังตามสมควรแห่งลักษณะงานหรือลักษณะวิชาชีพที่พึงมีแล้ว ก็ไม่ต้องกลัวว่าจะต้องรับผิดใดๆจากการปฏิบัติหน้าที่ของตน
-----------------
เครดิต : อุดมศักดิ์ โหมดม่วง, อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฏหมายและการบังคับคดี จังหวัดสุราษฏร์ธานี , กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 02 ธันวาคม 2559

การตรวจการจ้างและการควบคุมงานก่อสร้าง

ด้วยการตรวจการจ้างและการควบคุมงานก่อสร้าง เป็นกระบวนการหนึ่งที่สำคัญ ที่จะบริหารสัญญาจ้างก่อสร้างให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญาอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ “กรรมการตรวจการจ้าง” และ “ผู้ควบคุมงาน” จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในอำนาจหน้าที่ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดไว้และเข้าใจในเงื่อนไขข้อกำหนดที่ระบุไว้ในสัญญาเป็นอย่างดี เพราะหากไม่เข้าใจหรือเข้าใจคลาดเคลื่อนในหน้าที่ความรับผิดชอบตามอำนาจหน้าที่ที่ตนเองได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่แล้ว อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการหรือบุคคลอื่น นอกจากนี้ อาจจะต้องรับผิดในทางแพ่ง อาญา วินัยฯ หรืออาจถูกฟ้องร้องต่อศาลปกครองได้
ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ “กรรมการตรวจการจ้าง” และ/หรือ“ผู้ควบคุมงาน” มีความรู้มีความเข้าใจ ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายได้อย่างถูกต้อง จึงขอนำระเบียบและสาระสำคัญที่ควรทราบมากล่าวไว้เพื่อนำไปใช้ประกอบในการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
1. คณะกรรมการตรวจการจ้าง
1.1 การแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจการจ้าง
ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุฯ กำหนดไว้ใน ข้อ 35 ข้อ 36 สรุปได้ดังนี้.-
(1) องค์ประกอบของคณะกรรมการอย่างน้อยมี 3 คน ประกอบด้วย
- ประธานกรรมการ 1 คน และ
- กรรมการอย่างน้อย 2 คน
การแต่งตั้งคำนึงถึงลักษณะงานหน้าที่และความรับผิดชอบเป็นสำคัญ
(2) กรณีจำเป็นจะแต่งตั้งคนที่มิใช่ข้าราชการร่วมเป็นกรรมการด้วยก็ได้
(3) ถ้าประธานฯ ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้หัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้งประธานฯ แทน
(4) ควรแต่งตั้งผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับงานจ้างร่วมเป็นกรรมการด้วย
(5) มติของคณะกรรมการตรวจการจ้าง ให้ใช้มติเอกฉันท์ กรณีกรรมการคนใดไม่เห็นด้วยกับมติคณะกรรมการให้ทำบันทึกความเห็นแย้งไว้ หากหัวหน้าส่วนราชการสั่งการอย่างไรก็ให้ตรวจรับตามนั้น
(6) เป็นกรรมการเปิดซองสอบราคาจ้าง หรือกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาจ้างหรือกรรมการจัดร่างขอบเขตของงาน (TOR) หรือกรรมการประกวดราคาจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์แล้วแต่งตั้งให้เป็นกรรมการตรวจการจ้างได้
1.2 หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจการจ้าง
1.2.1 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุฯ ข้อ 72 ได้กำหนดหน้าที่คณะกรรมการตรวจการจ้างไว้ดังนี้.
“ข้อ 72 คณะกรรมการตรวจการจ้างมีหน้าที่ดังนี้
(1) ตรวจสอบรายงานการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง และเหตุการณ์แวดล้อมที่ผู้ควบคุมงานรายงานโดยตรวจสอบกับแบบรูปรายการละเอียด และข้อกำหนดในสัญญาทุกสัปดาห์รวมทั้งรับทราบหรือพิจารณาการ สั่งหยุดงาน หรือพักงานของผู้ควบคุมงาน แล้วรายงานหัวหน้าส่วนราชการเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป
(2) การดำเนินการตาม (1) ในกรณีมีข้อสงสัยหรือมีกรณีที่เห็นว่าตามหลักวิชาการช่างไม่น่าจะเป็นไปได้ ให้ออกตรวจงานจ้าง ณ สถานที่ที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือที่ตกลงให้ทำงานจ้างนั้นๆ โดยให้มีอำนาจสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติม หรือตัดทอนงานจ้างได้ตามที่เห็นสมควร และตามหลักวิชาการช่างเพื่อให้เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญา
(3) โดยปกติให้ตรวจผลงานที่ผู้รับจ้างส่งมอบภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่ประธานกรรมการได้รับทราบการส่งมอบงาน และให้ทำการตรวจรับให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด
(4) เมื่อตรวจเห็นว่าเป็นการถูกต้องครบถ้วนเป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาแล้ว ให้ถือว่าผู้รับจ้างส่งมอบงานครบถ้วนตั้งแต่วันที่ผู้รับจ้างส่งงานจ้างนั้นและให้ทำใบรับรองผลการปฏิบัติงานทั้งหมดหรือเฉพาะงวด แล้แต่กรณี โดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อย 2 ฉบับ มอบให้แก่ผู้รับจ้าง 1 ฉบับ และเจ้าหน้าที่พัสดุ 1 ฉบับ เพื่อทำการเบิกจ่ายเงินตามระเบียบว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินจากคลัง และรายงานให้หัวหน้าส่วนราชการทราบ
(5)ในกรณีที่เห็นว่าผลงานที่ส่งมอบทั้งหมดหรืองวดใดก็ตามไม่เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดใน สัญญา ให้รายงานหัวหน้าส่วนราชการผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุเพื่อทราบหรือสั่งการแล้วแต่กรณี
(6) ในกรณีที่กรรมการตรวจการจ้างบางคนไม่ยอมรับงานโดยทำความเห็นแย้งไว้ให้เสนอหัวหน้าส่วนราชการเพื่อพิจารณาสั่งการ ถ้าหัวหน้าส่วนราชการสั่งการให้ตรวจรับงานจ้างนั้นไว้ จึงจะดำเนินการตาม (4)”
กล่าวโดยสรุป คือจะต้องทำการตรวจการปฏิบัติงานของผู้ควบคุมงาน ผู้รับจ้างและตรวจการจ้างให้เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด หากมีปัญหาหรือข้อขัดข้องในการปฏิบัติรายงานให้หัวหน้าส่วนราชการทราบหรือสั่งการแล้วแต่กรณี
1.2.2 ข้อกำหนดเงื่อนไขในสัญญา
คณะกรรมการตรวจการจ้าง ได้รับแต่งตั้งจากผู้ว่าจ้างให้ทำหน้าที่นอกจากจะต้องปฏิบัติตามข้อ 1.2.1 แล้ว ยังมีหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการตามเงื่อนไขข้อกำหนดในสัญญาด้วย ซึ่งสรุปเฉพาะประเด็นสำคัญมี ดังนี้.-
(1) พิจารณาวินิจฉัย กรณีข้อความเอกสารแนบท้ายสัญญาขัดแย้งกันเอง จะต้องวินิจฉัยว่าจะให้ปฏิบัติตามข้อความใด (สัญญา ข้อ 2)
(2) การตรวจการจ้างตามสัญญา ข้อ 13 ได้กำหนดไว้ว่า
“ข้อ 13. การตรวจงานจ้าง
ถ้าผู้ว่าจ้างแต่งตั้งกรรมการตรวจการจ้าง ผู้ควบคุมงานหรือบริษัทที่ปรึกษา เพื่อควบคุมการทำงานของผู้รับจ้าง กรรมการตรวจการจ้างหรือผู้ควบคุมหรือบริษัทที่ปรึกษานั้นมีอำนาจเข้าไปตรวจการงานในโรงงานและสถานที่ที่กำลังก่อสร้างได้ทุกเวลา และผู้รับจ้างจะต้องอำนวยความสะดวกและให้ความช่วยเหลือในการนั้นตามสมควร
การที่มีกรรมการตรวจการจ้าง ผู้ควบคุมงานหรือบริษัทที่ปรึกษาหาทำให้ผู้รับจ้างพ้นความรับผิดชอบตามสัญญานี้ข้อหนึ่งข้อใดไม่”
กล่าวโดยสรุป คือ กรรมการตรวจการจ้างมีอำนาจเข้าไปตรวจในโรงงานสถานที่ก่อสร้างได้ทุกเวลา โดยผู้รับจ้างจะต้องให้ความร่วมมือ กรณีที่การตรวจการจ้างหรือมีการรับงานจ้างตามที่ผู้รับจ้างส่งงานแล้วไม่ได้ทำให้ผู้รับจ้างพ้นความรับผิดชอบตามเงื่อนไขในสัญญาแต่อย่างใด
(3) แบบรูปและรายการละเอียดคลาดเคลื่อน ตามสัญญาข้อ 14 ได้กำหนดไว้ว่า
“ข้อ 14. แบบรูปและรายการละเอียดคลาดเคลื่อน
ผู้รับจ้างจะต้องรับรองว่าได้ตรวจสอบและทำความเข้าใจในแบบรูปรายการละเอียดโดยถี่ถ้วนแล้ว หากปรากฏว่าแบบรูปและรายการละเอียดนั้นผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนไปจากหลักการทางวิศวกรรมหรือทางเทคนิค ผู้รับจ้างตกลงที่จะปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของกรรมการตรวจการจ้างหรือผู้ควบคุมงานหรือบริษัทที่ปรึกษาที่ผู้ว่าจ้างแต่งตั้งเพื่อให้งานแล้วเสร็จบริบูรณ์โดยจะคิดค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่มขึ้นจากผู้ว่าจ้างไม่ได้ ”
กล่าวโดยสรุป คือ เป็นหน้าที่ของผู้รับจ้างต้องตรวจสอบทำความเข้าใจแบบรูปและรายการละเอียดกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับแบบรูปและรายการละเอียดผู้รับจ้างต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของกรรมการตรวจการจ้างโดยจะคิดค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่มขึ้นอีกไม่ได้
(4) การควบคุมงานโดยผู้ว่าจ้าง ตามสัญญา ข้อ 15. ได้กำหนดไว้ว่า
“ข้อ 15. การควบคุมงานโดยผู้ว่าจ้าง
ผู้รับจ้างตกลงว่า กรรมการตรวจการจ้าง ผู้ควบคุมงานหรือบริษัทที่ปรึกษาที่ผู้ว่าจ้างแต่งตั้ง มีอำนาจที่จะตรวจสอบและควบคุมงานเพื่อให้เป็นไปตามเอกสารสัญญา และมีอำนาจที่จะสั่งให้แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม หรือตัดทอนซึ่งงานตามสัญญานี้ หากผู้รับจ้างขัดขืนไม่ปฏิบัติตาม กรรมการตรวจการจ้าง ผู้ควบคุมงาน หรือบริษัทที่ปรึกษามีอำนาจที่จะสั่งให้หยุดกิจการนั้นชั่วคราวได้ ความล่าช้าในกรณีเช่นนี้ผู้รับจ้างจะถือเป็นเหตุขอขยายวันทำการออกไปมิได้ ”
กล่าวโดยสรุป คือ กรรมการตรวจการจ้างมีอำนาจตรวจสอบเอกสารต่างๆ แก้ไขเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม หรือตัดทอนงานตามความเหมาะสม ผู้รับจ้างต้องปฏิบัติตาม หากขัดขืน กรรมการตรวจการจ้างมีอำนาจสั่งหยุดงานชั่วคราวได้ และผู้รับจ้างจะนำเหตุนี้มาขอขยายอายุสัญญาไม่ได้
1.3 ขั้นตอนในการตรวจการจ้าง
ขั้นตอนในการตรวจการจ้างกล่าวโดยสรุปมีขั้นตอนในการดำเนินการ ดังนี้.-
(1) ผู้รับจ้างมีหนังสือส่งงานถึงหน่วยงานเจ้าของสัญญา (ผู้ว่าจ้าง) หรือผู้ควบคุมงาน
(2) ผู้ควบคุมงาน ตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้อง ก่อนบันทึกเสนอถึงประธานกรรมการตรวจการจ้าง
(3) ประธานกรรมการตรวจการจ้าง นัดวันเวลาสถานที่ทำการตรวจการจ้างแจ้งให้กรรมการตรวจการจ้างทุกท่านทราบ
(4) กรรมการตรวจการจ้างทุกท่าน ลงนามรับทราบวัน เวลา สถานที่ ทำการตรวจรับ และไปทำการตรวจรับตามกำหนด
(5) เห็นว่าการส่งงานถูกต้องครบถ้วนเป็นไปตามรูปแบบ และข้อกำหนดสัญญา ลงนามในใบรับรองผลการปฏิบัติงาน โดยทำอย่างน้อย 2 ฉบับ ให้ผู้รับจ้าง 1 ฉบับ และเจ้าหน้าที่พัสดุ 1 ฉบับ
(หากจะให้สะดวกไม่มีปัญหาทางปฏิบัติ ผู้ควบคุมงานควรเก็บไว้ 1 ฉบับ ให้เจ้าหน้าที่พัสดุ 2 ฉบับ เพื่อเก็บแนบเรื่อง 1 ฉบับ และส่งไปเบิกจ่ายเงินอีก 1 ฉบับ)
(6) กรณี ผลงานที่ส่งมอบไม่เป็นไปตามรูปแบบและข้อกำหนดสัญญา แจ้งให้ผู้รับจ้างแก้ไข รายงานให้หน่วยงานผู้จัดทำสัญญาทราบหรือสั่งการแล้วแต่กรณี
(7) มติของคณะกรรมการตรวจการจ้างให้ถือมติเอกฉันท์ (ไม่ใช่เสียงข้างมาก) กรณีกรรมการตรวจการจ้างบางคนทำความเห็นแย้งไว้ ให้เสนอหัวหน้าส่วนราชการพิจารณาสั่งการ ถ้าสั่งการให้รับก็ให้คณะกรรมการฯ ดำเนินการตรวจรับ และลงนามในใบรับรองผลการปฏิบัติงานต่อไป
(8) การตรวจการจ้างโดยปกติต้องตรวจสอบทั้งปริมาณและคุณภาพกล่าวคือ
- ปริมาณ ตรวจสอบว่าทำงานได้ปริมาณครบถ้วนถูกต้อง ปริมาณงานจริงกับที่ขอส่งงานตรงกันหรือไม่
- คุณภาพ ตรวจสอบว่าวัสดุที่นำมาใช้ได้มาตรฐานตามที่กำหนดหรือไม่ หากต้องทดลองผลทดลองต้องใช้ได้ การตรวจการจ้างจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อการส่งมอบงานได้ทั้งปริมาณและคุณภาพ จึงจะรับงานและส่งเบิกจ่ายเงินค่างานต่อไปได้
1.4 ระยะเวลาในการตรวจการจ้าง
ระยะเวลาตรวจการจ้าง นอกจากจะบุไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุฯ ข้อ 72 แล้ว ยังมีหนังสือของสำนักนายกรัฐมนตรีซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับระยะเวลาในการตรวจการจ้างงานก่อสร้าง ตามหนังสือที่ นร 1305/ว 5855 ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2544 สรุปได้ ดังนี้.-
1.4.1 แบบราคาเหมารวม (Lump Sum) ทุกราคาค่างาน
- แต่ละงวดงาน 3 วันทำการ
- งวดสุดท้าย 5 วันทำการ
1.4.2 แบบราคาต่อหน่วย (Unit Cost) ทุกราคาค่างาน
- แต่ละงวดงาน 3 วันทำการ
- งวดสุดท้าย 5 วันทำการ
โดยมีหลักเกณฑ์ประกอบด้วยว่า
(1) ต้องเร่งรัดดำเนินการตรวจการจ้างให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด ไม่ควรเกินระยะเวลาตามที่กำหนดข้างต้น
(2) การนับวันดำเนินการของคณะกรรมการตรวจการจ้าง ให้นับวันถัดจากวันที่ผู้ควบคุมงานได้ ดำเนินการแล้วเสร็จและรายงานให้ประธานฯ ทราบ
(3) กรณีดำเนินการไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาให้รายงานหัวหน้าหน่วยงานเจ้าของสัญญา พร้อมเหตุผลความจำเป็นและแจ้งให้ผู้รับจ้างทราบด้วย
กล่าวโดยสรุปคือ คณะกรรมการตรวจการจ้าง จะต้องทำการตรวจการจ้างให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด และจะต้องไม่เกินระยะเวลาตามที่กล่าวมาข้างต้น หากเกินระยะเวลาต้องรายงานหัวหน้าหน่วยงานเจ้าของสัญญา พร้อมเหตุผลความจำเป็น และสำเนาแจ้งให้ผู้รับจ้างทราบด้วย และมติของคณะกรรมการตรวจการจ้างให้ถือมติเอกฉันท์ (ไม่ใช่เสียงข้างมาก)
1.5 หากท่านเป็นกรรมการตรวจการจ้างควรทำอย่างไร
ถ้าท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการตรวจการจ้าง ท่านควรดำเนินการ ดังนี้.-
(1) ศึกษาเงื่อนไข ข้อกำหนดในสัญญา แบบรูปรายละเอียดการก่อสร้าง เอกสารแนบท้ายสัญญา ให้เข้าใจก่อนกำการตรวจการจ้าง เช่น
- มีเอกสารแนบท้ายสัญญาอะไรบ้าง เพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา หากข้อความในเอกสารแนบท้ายสัญญาขัดกับในสัญญาให้ใช้ข้อความตามสัญญา กรณีข้อความเอกสารแนบท้ายสัญญาขัดกันเอง ผู้รับจ้างต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของผู้ว่าจ้าง
- เงื่อนไขการจ่ายเงิน การจ่ายเงินล่วงหน้า การหักเงินประกันผลงาน การปรับ ฯลฯ ในสัญญากำหนดไว้อย่างไร
(2) ทำการตรวจการจ้างตามหน้าที่ที่กำหนด ตามระเบียบพัสดุฯ ข้อ 72 (ตามข้อ 1.2 – ข้อ 1.3)
(3) ทำการตรวจการจ้างให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด ไม่เกินระยะเวลาตามที่ระเบียบฯ กำหนด (ตามข้อ 1.4)
(4) ลงนามในใบรับรองผลการปฏิบัติงาน (Payment) และใบแจ้งสงวนสิทธิ์การปรับ ตามสัญญาจ้าง ข้อ 17 (กรณีมีการปรับ)
(5) จะต้องเป็นผู้ให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของหัวหน้าส่วนราชการ กรณีมีการแก้ไขสัญญา หรือ ขยายระยะเวลาทำการ หรือการงด หรือลดค่าปรับ ตามนัยหนังสือสำนักนายกรัฐมนตรีที่ นร(กวพ) 1305/ว 11948 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2543
(6) การตรวจการจ้างคณะกรรมการฯ ต้องมาไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง มติของคณะกรรมการฯ ต้องเป็นเอกฉันท์ กรณีมีกรรมการบางคนมีความเห็นแย้งให้บันทึกความเห็นเสนอหัวหน้าหน่วยงานเจ้าของสัญญา (หัวหน้าส่วนราชการ) พิจารณาสั่งการ เมื่อมีการสั่งการมาอย่างไรให้ดำเนินการตามนั้น
2. ผู้ควบคุมงาน
2.1 การแต่งตั้งผู้ควบคุมงาน
ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุฯ ข้อ 37 ได้กำหนดการแต่งตั้งผู้ควบคุมงานไว้ สรุปได้ ดังนี้.-
(1) หัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้แต่งตั้ง
(2) เป็นผู้มีความรู้ ความชำนาญทางด้านช่างตามลักษณะของงานที่จ้าง
(3) จะแต่งตั้งเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานอื่น ต้องได้รับความยินยอมจากหัวหน้าส่วนราชการผู้นั้น
(4) กรณีต้องใช้ความรู้ความชำนาญหลายด้าน จะแต่งตั้งเป็นเฉพาะด้าน หรือกลุ่มบุคคลก็ได้
(5) ผู้ควบคุมงานควรมีวุฒิตามที่ผู้ออกแบบเสนอแนะ โดยปกติต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่า ปวช.
(6) จะจ้างที่ปรึกษาเป็นผู้ควบคุมงานแทนข้าราชการหรือลูกจ้างประจำก็ได้
2.2 หน้าที่ของผู้ควบคุมงาน
2.2.1 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุฯ ข้อ 73 ได้กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมงานไว้ ดังนี้.-
“ข้อ 73 ผู้ควบคุมงานมีหน้าที่ ดังนี้
(1) ตรวจและควบคุมงาน ณ สถานที่ที่กำหนดไว้ในสัญญา หรือที่ตกลงให้ทำงานจ้างนั้นๆ ทุกวัน ให้เป็นไปตามแบบรูป รายการละเอียด และข้อกำหนดในสัญญาทุกประการ โดยสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมหรือตัดทอนงานจ้างได้ตามที่เห็นสมควร และตามหลักวิชาช่างเพื่อให้เป็นไปตามแบบรูป รายการละเอียด และข้อกำหนดในสัญญา ถ้าผู้รับจ้างขัดขืนไม่ปฏิบัติตามก็สั่งให้หยุดงานนั้นเฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดแล้วแต่กรณีไว้ก่อนจนกว่าผู้รับจ้างจะยอมปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำสั่ง และให้รายงานคณะกรรมการตรวจการจ้างทันที
(2) ในกรณีที่ปรากฏว่าแบบรูปรายการละเอียด หรือข้อกำหนดในสัญญา มีข้อความขัดกันหรือเป็นที่คาดหมายได้ว่าถึงแม้ว่างานนั้นจะได้เป็นไปตามแบบรูป รายการละเอียด และข้อกำหนดในสัญญา แต่เมื่อสำเร็จแล้วจะไม่มั่นคงแข็งแรง หรือไม่เป็นไปตามหลักวิชาช่างที่ดี หรือไม่ปลอดภัย ให้สั่งพักงานนั้นไว้ก่อน แล้วรายงานคณะกรรมการตรวจการจ้างโดยเร็ว
(3) จดบันทึกสภาพการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างและเหตุการณ์แวดล้อมเป็นรายวันพร้อมทั้งผลการปฏิบัติงาน หรือการหยุดงานและสาเหตุที่มีการหยุดงานอย่างน้อย 2 ฉบับ เพื่อรายงานให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบทุกสัปดาห์ และเก็บรักษาไว้เพื่อมอบให้แก่เจ้าหน้าที่พัสดุเมื่อเสร็จงานแต่และงวด โดยถือว่าเป็นเอกสารสำคัญของทางราชการเพื่อประกอบการตรวจสอบของผู้มีหน้าที่
การบันทึกการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างให้ระบุรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงานและวัสดุที่ใช้ด้วย
(4) ในวันกำหนดลงมือทำการของผู้รับจ้างตามสัญญา และในวันถึงกำหนดส่งมอบงานแต่ละงวดให้รายงานผลการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างว่าเป็นไปตามสัญญาหรือไม่ ให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันถึงกำหนดนั้นๆ ”
กล่าวโดยสรุป คือ ผู้ควบคุมงานจะต้องศึกษาสัญญา รูปแบบรายละเอียดหรือข้อกำหนดในสัญญา ควบคุมการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างตลอดเวลาอายุสัญญา มีอำนาจสั่งเปลี่ยนแปลง แก้ไขเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมบันทึกการปฏิบัติงานตลอดสัญญาเป็นรายวัน และทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อระหว่างผู้รับจ้าง และคณะกรรมการตรวจการจ้าง ขณะปฏิบัติงานและในการตรวจรับงานแต่ละครั้ง
2.2.2 ข้อกำหนดเงื่อนไขในสัญญา
ผู้ควบคุมงาน นอกจากจะมีหน้าที่ตาม ข้อ 2.2.1 แล้ว ยังต้องมีหน้าที่ดำเนินการตามเงื่อนไขข้อกำหนดที่ระบุไว้ในสัญญา สรุปประเด็นสำคัญมีดังนี้
(1) กรณีรูปแบบรายการละเอียด ข้อกำหนดในสัญญา มีข้อความหรือรายการละเอียดขัดแย้งกัน เสนอข้อคิดเห็นเสนอคณะกรรมการตรวจการจ้าง เพื่อพิจารณาวินิจฉัยหรือดำเนินการในขั้นตอนต่อไปเพื่อให้ได้ข้อปฏิบัติที่ชัดเจน (สัญญา ข้อ 2)
(2) มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบงานในโรงงานและสถานที่ที่กำลังก่อสร้างได้ตลอดเวลา (สัญญาข้อ 13)
(3) มีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยสั่งการหรือเสนอต่อคณะกรรมการตรวจการจ้าง เพื่อพิจารณาวินิจฉัยสั่งการ กรณีแบบรูปและรายการละเอียดคลาดเคลื่อน จากหลักวิศวกรรม หรือทางเทคนิค (สัญญา ข้อ 14)
(4) มีอำนาจตรวจสอบและควบคุมงานให้เป็นไปตามเอกสารสัญญา และมีอำนาจสั่งแก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม หรือตัดทอน หากผู้รับจ้างขัดขืนไม่ปฏิบัติตามมีอำนาจสั่งให้หยุดงานชั่วคราว ซึ่งผู้รับจ้างจะถือเป็นเหตุขอขยายวันทำการออกไปมิได้ (สัญญาข้อ 15)
กล่าวโดยสรุป คือ ผู้ควบคุมงานมีอำนาจวินิจฉัยสั่งการ หรือเสนอข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการตรวจการจ้าง สามารเข้าไปตรวจสอบโรงงานหรือสถานที่ก่อสร้างได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมหรือตัดทอนงานบางส่วนตามความเหมาะสม แล้วรายงานให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบโดยเร็ว
2.3 ระยะเวลาในการตรวจการจ้าง
เมื่อผู้รับจ้างส่งมอบงานจ้าง ผู้ควบคุมงานจะต้องตรวจสอบงานจ้างทั้งหมดว่าเป็นไปตามเนื้องานที่ปฏิบัติงานจริง และ/หรือสอดคล้องกับรูปแบบข้อกำหนดในสัญญาหรือไม่ ก่อนเสนอความเห็นต่อประธานคณะกรรมการตรวจการจ้าง นัดทำการตรวจรับงานจ้างต่อไป ซึ่งตามหนังสือ ที่ นร 1305/ ว 5855 ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2544 ได้กำหนดระยะเวลาของผู้ควบคุมงาน สรุปได้ ดังนี้.-
2.3.1 แบบราคาเหมารวม (Lump Sum)
- ทุกราคาค่างาน และทุกงวดงาน 3 วันทำการ
2.3.2 แบบราคาต่อหน่วย (Unit cost) ราคาค่างาน
- ไม่เกิน 30 ลบ.
รายงวด 4 วันทำการ
งวดสุดท้าย 8 วันทำการ
- ไม่เกิน 60 ลบ.
รายงวด 8 วันทำการ
งวดสุดท้าย 12 วันทำการ
- ไม่เกิน 100 ลบ.
รายงวด 12 วันทำการ
งวดสุดท้าย 16 วันทำการ
- เกิน 100 ลบ.
รายงวด 16 วันทำการ
งวดสุดท้าย 20 วันทำการ
โดยมีหลักเกณฑ์ประกอบด้วยว่า
(1) ผู้ควบคุมงานต้องตรวจสอบงานจ้างให้เสร็จโดยเร็วที่สุด ไม่เกินระยะเวลาตามที่กำหนดข้างต้น แล้วรายงานประธานคณะกรรมการตรวจการจ้าง
(2) ผู้รับจ้างต้องมีหนังสือส่งมอบงาน (กับสารบรรณ เจ้าหน้าที่พัสดุ หรือผู้ควบคุมงาน) แล้วลงรับทันทีอย่างช้าในวันทำการถัดไป
(3) การนับวันของผู้ควบคุมงาน นับถัดจากวันที่ได้รับมอบหนังสือส่งมอบงาน กรณีดำเนินการไม่เสร็จภายในกำหนด ให้รายงานประธานคณะกรรมการตรวจการจ้าง พร้อมด้วยเหตุผลความจำเป็น
กล่าวโดยสรุป คือ ผู้ควบคุมงานเมื่อรับหนังสือส่งมอบงานต้องรีบตรวจสอบงานจ้างให้เสร็จโดยเร็ว ไม่เกินระยะเวลาที่กำหนด หากเสร็จไม่ทันกำหนดต้องรายงานประธานคณะกรรมการตรวจการจ้างทราบพร้อมเหตุผล
2.4 หากท่านเป็นผู้ควบคุมงานควรทำอย่างไร
ถ้าท่านได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ควบคุมงาน หรือเป็นผู้ควบคุมงานและเป็นกรรมการตรวจการจ้างด้วย ควรปฏิบัติ ดังนี้.-
(1) ศึกษาเงื่อนไขข้อกำหนดในสัญญา แบบรูปรายการละเอียดเอกสารแนบท้ายสัญญา ที่กำหนดให้เข้าใจ และควบคุมผู้ว่าจ้างให้ดำเนินการให้เป็นไปตามสัญญา
(2) ถึงกำหนดวันเข้าทำงานตามสัญญาผู้รับจ้างเข้าทำงานหรือไม่ และครบกำหนดตามสัญญาผู้รับจ้างทำงานแล้วเสร็จหรือไม่ ต้องรายงานให้หน่วยงานเจ้าของสัญญาทราบ
(3) ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้รับจ้างเข้าพื้นที่ หรือทำงานโดยไม่มีอุปสรรคการกีดขวางการก่อสร้าง
(4) จดบันทึกผลการปฏิบัติงานเป็นรายวัน รายงานประธานคณะกรรมการตรวจการจ้างทราบทุกสัปดาห์มีอำนาจสั่งเปลี่ยนแปลง แก้ไขได้ตามสมควร
(5) รับหนังสือส่งมอบงานพร้อมตรวจผลงานที่ทำได้ว่าถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่ เสนอประธานคณะกรรมการตรวจการจ้างภายในเวลาที่กำหนด (ตาม ข้อ 2.3)
(6) ร่วมทำการตรวจรับงานจ้างกับคณะกรรมการตรวจการจ้าง
(7) ลงนามในใบรับรองผลการปฏิบัติงาน (Payment)
(8) กรณีแก้ไขงานและแก้ไขสัญญาหรือขยายเวลาทำการหรืองด หรือลดการปรับ จะต้องเสนอให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของผู้มีอำนาจด้วย
(9) กรณีผู้รับจ้างส่งมอบหนังสือส่งมอบงานให้กับผู้ควบคุมงานโดยตรง ให้รีบลงรับหนังสือทันที หรืออย่างช้าวันรุ่งขึ้น และถือว่ารับหนังสือแทนผู้ว่าจ้าง
(10) เมื่องานแล้วเสร็จส่งมอบหลักฐานเอกสารทั้งหมดที่ดำเนินการตามสัญญาให้กับเจ้าหน้าที่พัสดุเก็บไว้เป็นหลักฐานเอกสารสำคัญ
เครดิต : คุณศักดิ์ชัย ขำเจริญ, เกร็ดความรู้การตรวจรับพัสดุหรืองาน และการควบคุมงาน , อธิวัฒน์ ดอทคอม

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...