14 ก.ค. 2559

พนักงานราชการอีกครั้ง


     
  1. นับแต่วันที่ 16 มกราคม 2547 เป็นต้นมา สำนักนายกรัฐมนตรีได้ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ.2547 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 121 ตอนพิเศษ 5ง วันที่ 16 มกราคม 2547 และระเบียบฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 เป็นต้นไป

        2. ระเบียบฉบับนี้ กำหนดเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัยไว้ในหมวด 4 ตั้งแต่ข้อ 22- ข้อ 27 โดยกำหนดหลักเกณฑ์โดยสรุป

          (1) พนักงานราชการมีหน้าที่ต้องปฏิบัติงานตามกำหนดในระเบียบนี้ ตามที่ส่วนราชการกำหนด และตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้าง และมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการ โดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการ (ข้อ 22)

          (2) พนักงานราชการต้องรักษาวินัยโดยเคร่งครัดทั้งที่เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติตามที่ส่วนราชการกำหนด ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ตกเป็นผู้กระทำผิดวินัย ต้องได้รับโทษทางวินัย (ข้อ 23)

          (3) ความผิดวินัยอย่างร้ายแรง จำนวน 8 ประการและความผิดวินัยร้ายแรงอื่นตามที่ส่วนราชการกำหนดเพิ่มเติม (ข้อ 24)

          (4) เมื่อมีกรณีที่พนักงานราชการถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงให้ หัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยเร็ว และต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและแสดงพยานหลักฐานด้วย ในกรณีที่ผลการสอบสวน ปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงให้ส่วนราชการมีคำสั่งไล่ออก หากไม่มีมูลให้สั่งยุติเรื่อง ส่วนหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวน ให้เป็นไปตามที่ส่วนราชการกำหนด (ข้อ 25)

          (5) ในกรณีพนักงานราชการกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงตามที่ส่วนราชการกำหนด ให้ หัวหน้าส่วนราชการสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินค่าตอบแทนหรือลดขั้นเงินค่าตอบแทน ตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด ทั้งนี้ให้หัวหน้าส่วนราชการพิจารณาสอบสวนให้ได้ความจริงและยุติธรรมตามวิธี การที่เห็นสมควร (ข้อ 26)

        (6) ในกรณีที่เห็นสมควร คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการอาจกำหนดแนวทางการดำเนินการทางวินัยแก่ พนักงานราชการเพื่อเป็นมาตรฐานทั่วไปให้ส่วนราชการปฏิบัติก็ได้ (ข้อ 27) แต่ยังไม่มีนะ

       3. เมื่อพิจารณาหลักเกณฑ์โดยสรุปดังกล่าวข้างต้นจะเห็นว่า ระเบียบนี้ได้กำหนดให้ส่วนราชการกำหนดหลักเกณฑ์แลวิธีการและรายละเอียดเพิ่ม เติมอีก 3 ประการคือ (1) ภารกิจที่ให้ปฏิบัติ (2) ข้อกำหนดวินัยไม่ร้ายแรง (3) หลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง แต่ตามข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่าตั้งแต่ประกาศใช้ระเบียบฉบับนี้มาจนถึง ปัจจุบัน ก็ยังมีส่วนราชการอีกหลายแห่งยังมิได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและรายละเอียดดังกล่าวเป็นประการใด

       4. เมื่อเกิดกรณีพนักงานราชการกระทำผิดวินัยขึ้นส่วนราชการนั้นก็จะหาคำตอบ จากสำนักงานก.พ.อยู่เสมอๆ โดยที่ส่วนราชการไม่แก้ไขปัญหาของตนเอง ปล่อยให้ตนเองตกอยู่ในหลุมอากาศโดยไม่สมควร

        5. ประเด็นปัญหาครั้งนี้ ส่วนราชการได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงแก่พนักงานราชการ แล้วสั่งลงโทษไล่ออกจากราชการ แต่ปรากฏว่าการสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงได้มีการสั่งยกเลิกทั้งคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนและคำสั่งลงโทษไล่ ออกดังกล่าวแล้วหรือ ก.พ.จำนวน 4 ประการ

         6. ก.พ.ได้พิจารณาเรื่องนี้แล้วมีความเห็นโดยสรุป ดังนี้
              (1) โดยที่ส่วนราชการได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนไว้เฉพาะกรณีกระทำผิด วินัยอย่างร้ายแรงให้ปฏิบัติตามกฎก.พ. ฉบับที่ 18 (พ.ศ.2540) ว่าด้วยการสอบสวนโดยอนุโลม แต่มิได้กำหนดเกี่ยวกับการสอบข้อเท็จจริงไว้ จึงต้องนำมาตรา 91 แห่งพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ประกอบข้อ 4 ของระเบียบฉบับนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม หากพิจารณาเห็นว่ามีพยานหลักฐานเบื้องต้นเพียงพอโดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะ กรรมการสอบข้อเท็จจริงก่อน ก็สามารถดำเนินการทางวินัยต่อไปได้

              (2) เมื่อได้มีการยกเลิกคำสั่งและเพิกถอนกระบวนการทั้งหมดแล้ว การสอบสวนใหม่ก็ต้องดำเนินการตามกฎก.พ.ฉบับที่ 18 (พ.ศ.2540) ที่กำหนดไว้ หากผลการพิจารณาสอบสวนแล้วเห็นว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ก็สามารถลงโทษไล่ออกจากราชการได้โดยไม่จำต้องรอให้คดีอาญาถึงที่สุด (หนังสือสำนักงานก.พ.ที่สร 0904/ว.4 ลงวันที่ 18 มี.ค. 2509 และ ว.9 ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2509 ประกอบกับข้อ 4 ของระเบียบนี้)

              (3) สำหรับกรณีนี้ เมื่อผลปรากฏว่าผู้นี้กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แล้วจะออกคำสั่งลงโทษประการนั้น ประเด็นนี้ตามสัญญาจ้างพนักงานราชการ ข้อ 8 กำหนดให้พนักงานมีหน้าที่ต้องรักษาวินัยและยอมรับการลงโทษทางวินัยตามที่ กำหนดในระเบียบนี้และหรือตามที่ส่วนราชการกำหนด หากผู้นี้ยังปฏิบัติหน้าที่ภายในกำหนดระยะเวลาจ้างและกระทำผิดวินัยอย่าง ร้ายแรง ผู้มีอำนาจก็ต้องสั่งลงโทษไล่ผู้นี้ออกจากราชการตามข้อ 25 ประกอบ ข้อ 4 ของระเบียบนี้และระเบียบก.พ.ว่าด้วยวิธีการออกคำสั่งการลงโทษข้าราชการ พลเรือนสามัญ พ.ศ.2539

              (4) ส่วนการจะต้องมีคำสั่งให้ผู้นี้กลับเข้ารับราชการ เมื่อมีการยกเลิกคำสั่งเดิมหรือไม่นั้น ระเบียบนี้และส่วนราชการก็มิได้กำหนดให้ต้องดำเนินการประการใดจึงควรนำหลัก การตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ประกอบกับข้อ 4 ของระเบียบนี้มาใช้โดยอนุโลมคือ ส่วนราชการจะต้องมีคำสั่งให้ผู้นี้กลับเข้ารับราชการก่อน หลังจากมีคำสั่งให้กลับเข้ารับราชการดังกล่าวแล้ว หากพิจารณาเห็นว่า กรณีนี้มีเหตุที่จะสั่งพักราชการได้ ก็อาจสั่งให้ผู้นี้พักราชการไว้โดยไม่ต้องเข้าปฏิบัติงานระหว่างสอบสวน พิจารณาใหม่ก็ได้ (หนังสือสำนักงานก.พ.ที่ นร 1011/265 ลงวันที่ 17 ตุลาคม 2556)

        7. ส่วนราชการใดที่มีพนักงานราชการปฏิบัติงานตามระเบียบนี้ หากยังไม่ได้ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและรายละเอียดต่างๆ เพิ่มเติมเป็นของเฉพาะส่วนราชการ ก็ต้องเร่งรีบดำเนินการแม้ว่าจะล่าช้าก็ตาม


        เครดิต  : ราชการแนวหน้า , หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- อาทิตย์ที่ 5 มกราคม 2557 และวันอาทิตย์ ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...