14 ก.ค. 2559

คำสั่งของผู้บังคับบัญชาเป็นที่สุดจริงหรือไม่


           
   1. ในกฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลหรือการให้บริการประชาชนก็ตาม เมื่อมีการวินิจฉัยหรือสั่งการประการใดแล้ว มักจะบัญญัติความไว้ในทำนองเดียวกันอยู่บ่อยๆ ว่า “คำวินิจฉัยให้เป็นที่สุด” นั้น ตกเป็นปัญหาแก่ผู้ที่ต้องรับผลของการวินิจฉัยสั่งการว่า จะสามารถโต้แย้งคัดค้านหรือนำกรณีไปฟ้องศาลหรือใช้สิทธิอุทธรณ์ร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปหรือศาลอีกได้หรือไม่

               2. ประเด็น “คำวินิจฉัยเป็นที่สุด” นี้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2510 เป็นต้นมา ศาลฎีกาที่ประชุมวินิจฉัยโดยสรุปว่า กรณีที่กฎหมายบัญญัติใช้ให้อุทธรณ์คำสั่งของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารและกฎหมาย บัญญัติให้คำวินิจฉัยเป็นที่สุดนั้น หมายความว่า “คำวินิจฉัยนั้นเป็นที่สุด” ก็ต่อเมื่อเป็นคำวินิจฉัยที่ถูกต้องตามกฎหมายที่ให้อำนาจมีคำสั่งและมีคำ วินิจฉัยเช่นนั้น มิได้หมายความว่าแม้คำวินิจฉัยนั้นจะไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็จะถึงที่สุด และนำมาฟ้องร้องต่อศาลไม่ได้ไปด้วย ศาลย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ว่า คำสั่งวินิจฉัยนั้นถูกต้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 646-648/2510 ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา) เท่ากับว่าไม่จริงตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ยังสามารถโต้แย้งได้อีก ตรงนี้เป็นการวินิจฉัยของศาลยุติธรรม

               3. สำหรับในทางการปกครองแล้วเราจะเห็นได้ชัดเจนตามพระราชบัญญัติวินัยข้าราชการกรมราชทัณฑ์พุทธศักราช 2482 มาตรา 11 บัญญัติความโดยสรุปไว้ว่า  การลงโทษตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน สถานไล่ออกหรือปลดออกนั้น ถ้าผู้กระทำผิดเป็นข้าราชการชั้นจัตวา หรือเทียบเท่าชั้นจัตวา ให้อธิบดีกรมราชทัณฑ์มีอำนาจไล่ออกหรือปลดออกได้ ส่วนการลงโทษสถานอื่นให้รายงานไปยังผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปตามลำดับจนถึง อธิบดีกรมราชทัณฑ์ คำสั่งของอธิบดีกรมราชทัณฑ์ให้เป็นที่สุดนั้น คณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมายกองที่ 5) มีความเห็นโดยสรุปว่า คำสั่งของอธิบดีกรมราชทัณฑ์ให้เป็นที่สุดไม่ครอบคลุมถึงกรณีถูกลงโทษไล่ออก หรือปลดออก ส่วนการลงโทษสถานอื่นๆ เมื่อมาตรา 11 บัญญัติให้มีการรายงานไปจนถึงอธิบดีก็เป็นหลักประกันแล้วคำสั่งของอธิบดีจึง เป็นที่สุดสำหรับกรณีลงโทษสถานอื่นๆ ข้าราชการผู้ถูกลงโทษจึงไม่อาจร้องทุกข์ต่อไปได้ (เรื่องเสร็จที่ 192/2499)

               4. ต่อมาปี 2546 คณะกรรมการกฤษฎีกาวินิจฉัยกลับความเห็นข้างต้นโดยสรุปว่า สามารถชี้สิทธิอุทธรณ์ได้ (เรื่องเสร็จที่ 656/2546)

               5. จะเห็นได้ว่าสิทธิในการโต้แย้งคำสั่ง ไม่ว่าจะเป็นในทางปกครองหรือบริหารงานบุคคลก็ตามย่อมเป็นหลักประกันความเป็น ธรรมในการปฏิบัติงานของข้าราชการ/พนักงาน/เจ้าหน้าที่ของรัฐอื่นและเป็นการ ถ่วงดุลอำนาจของผู้บังคับบัญชาในการใช้อำนาจของตนให้ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป


               เครดิต :  ราชการแนวหน้า ,หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- อาทิตย์ที่ 22 กันยายน 2556 06:00:00 น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...