15 ก.ค. 2559

เทศบาลตำบล ... ทำถนน ไม่สน ! ชาวบ้าน


                 
 
ผู้ฟ้องคดีและญาติๆ ขุดที่ดินของตนเชื่อมกับคลองและใช้เรือเป็นพาหนะสัญจรและการขนส่งพืชผลทางการเกษตรจากที่พักอาศัยของตนและญาติออกสู่คลองมหาสวัสดิ์ ต่อมา ในปี 2546 ผู้ถูกฟ้องคดี (เทศบาลตาบล) ได้ก่อสร้างถนนแอสฟัลต์ติกคอนกรีตเลียบคลองมหาสวัสดิ์พร้อมวางท่อลอดคู่ และฝังกลบคลองซอย จานวน 15 ซอย ผู้ฟ้องคดีได้คัดค้านการก่อสร้างวางท่อลอดคู่ เนื่องจากสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้ฟ้องคดีและบริวาร ซึ่งมีความจาเป็นต้องใช้เรือในการสัญจรและขนส่งสินค้าเพียงทางเดียว ไม่มีทางสัญจรอื่น จึงขอให้ศาลปกครองมีคาพิพากษาหรือคาสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทาการแก้ไขท่อน้าลอด โดยทาสะพานหรือบล็อกคอนเวิร์ส ให้เรือสัญจรผ่านเข้า - ออกได้

                   ผู้ถูกฟ้องคดี (เทศบาลตาบล) โต้แย้งว่าผู้ฟ้องคดีสามารถนาเรือสัญจรไป - มา และใช้ประโยชน์ เข้า - ออกในพื้นที่ได้ตามปกติโดยใช้วิธีเดินทางมาที่ถนนสาธารณะแล้วนาสัมภาระลงเรือเดินทางเข้าไปในที่ดินของตนและการก่อสร้างสะพานเป็นความประสงค์ของชุมชนในเขตพื้นที่และเป็นการจัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชน ในท้องถิ่นตามภารกิจและหน้าที่ของเทศบาล

                       การทำหน้าที่ของเทศบาลถือว่าได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกาหนดไว้หรือไม่ ? และเป็นกรณีที่ถือว่าเทศบาลได้ปฏิบัติหน้าที่จนก่อให้เกิดภาระกับผู้ฟ้องคดีเกินสมควรหรือไม่ ?

                      ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า การดำเนินการสร้างถนนของผู้ถูกฟ้องคดี เป็นการดำเนินการตามอานาจหน้าที่ที่มาตรา 50 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 กาหนดไว้ (... เทศบาลตาบล มีหน้าที่ต้องทาในเขตเทศบาลดังต่อไปนี้ (2) ให้มีและบารุงทางบกและทางน้า วรรคสอง บัญญัติว่า การปฏิบัติงาน ตามอานาจหน้าที่ของเทศบาลต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และให้คานึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทาแผนพัฒนาเทศบาล การจัดทางบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบการประเมินผล การปฏิบัติงานและการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ...) และการสร้างถนนทดแทนสะพานไม้ ที่มีอยู่เดิมก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนที่อาศัยสัญจรไปมาในเส้นทางดังกล่าวสามารถใช้เส้นทางได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น

                  แต่อย่างไรก็ดี แม้เทศบาลมีอานาจในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกาหนด แต่การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวก็ต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย และเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเป็นหลัก ซึ่งการที่จะ ปฏิบัติราชการภายใต้การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีได้นั้น จะต้องพิจารณาว่ามาตรการหรือวิธีการที่เลือกใช้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ในการใช้อานาจให้สาเร็จลุล่วงได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ มาตรการหรือวิธีการดังกล่าวก่อให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายหรือก่อให้เกิดภาระแก่ราษฎรน้อยที่สุดหรือไม่ และหากดาเนินการตามมาตรการ หรือวิธีการดังกล่าวไปแล้วจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมมากน้อยเพียงใด เมื่อเทียบกับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ราษฎรและสังคมโดยส่วนรวม    การที่ผู้ถูกฟ้องคดีวางท่อลอดคู่และฝังกลบซอยเพื่อทาเป็นถนนมีผลทาให้ปิดทางเข้า - ออกคลองซอยในบริเวณที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีอยู่อาศัยและประกอบสัมมาอาชีพ ทาให้การสัญจรเข้า - ออกจากที่ดินของผู้ฟ้องคดีไปยังคลองมหาสวัสดิ์เพื่อดาเนินชีวิตและประกอบสัมมาอาชีพไม่สามารถกระทาได้ตามปกติ อีกทั้ง ในเส้นทางเดียวกันกับถนนพิพาทบริเวณคลอง ซึ่งอยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนตาบลใกล้เคียง ได้ใช้บล็อกคอนเวิร์สแทน    ท่อคอนกรีตทรงกลมทาให้ถนนในบริเวณดังกล่าวอยู่ในสภาพที่เรือสามารถสัญจรเข้า - ออกสู่คลองมหาสวัสดิ์ได้ ซึ่งการปฏิบัติงานตามอานาจหน้าที่ เพื่อจัดให้มีหรือบำรุงทางบกและทางน้าตามมาตรา 50 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ผู้ถูกฟ้องคดีสามารถใช้ดุลพินิจในการพิจารณาหาแนวทางที่เหมาะสมว่า หากไม่ดำเนินการฝังท่อลอดคู่และฝังกลบคลองซอยทาเป็นถนน ยังมีวิธีการจัดทาทางหรือถนนวิธีอื่นที่จะยังผลให้เกิดประโยชน์แก่ราษฎรที่มีความจาเป็นต้องสัญจรทางบกและทางน้าอย่างเท่าเทียมกันหรือไม่    แต่ในกรณีนี้ไม่ปรากฏว่าผู้ถูกฟ้องคดีได้ใช้ดุลพินิจเพื่อพิจารณาหาแนวทางที่เหมาะสม แก่การจัดทาบริการสาธารณะให้บรรลุวัตถุประสงค์และก่อให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายหรือภาระแก่ราษฎรน้อยที่สุด แต่อย่างใด จึงถือได้ว่าการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีก่อให้เกิดภาระแก่ผู้ฟ้องคดีเกินสมควร เพราะเป็นการปิดกั้นเส้นทางสัญจรโดยปกติของผู้ฟ้องคดีและบริวาร    ดังนั้น แม้การสร้างทางจะก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนโดยรวม และเป็นการดาเนินการ ตามอานาจหน้าที่ที่กาหนดไว้ในมาตรา 50 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แต่เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีได้ก่อให้เกิดผลกระทบแก่ผู้ฟ้องคดีอย่างไม่เป็นธรรม จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่เหมาะสม และไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายอันเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี
จึงพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินการให้ผู้ฟ้องคดีสามารถใช้เรือสัญจรเข้า - ออกจากที่ดินของตนผ่านคลองซอยออกสู่คลองมหาสวัสดิ์ได้ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่คาพิพากษาถึงที่สุด (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 162/2555)

                คดีนี้เป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติราชการที่ดีของเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่แม้กฎหมายจะให้มีอำนาจดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดได้ก็มิใช่ว่าจะใช้อำนาจตัดสินใจดำเนินการได้ตามอำเภอใจ แต่จะต้องเลือกดำเนินการในแนวทางที่เหมาะสมทั้งประโยชน์สาธารณะและความเดือดร้อนเสียหาย แก่เอกชน โดยต้องเกิดประโยชน์กับสาธารณะมากและก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรือเสียหายหรือภาระกับราษฎร น้อยที่สุดเท่านั้น ครับ !


                  ที่มา : นายปกครอง หนังสือพิมพ์บ้านเมือง คอลัมน์คดีปกครอง ฉบับวันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...