27 มิ.ย. 2562

กฎหมายให้ “ความคุ้มครองความเชื่อโดยสุจริต” เมื่อสุจริต ครับ !

“เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ” เป็นสวัสดิการอย่างหนึ่งที่รัฐจัดสรรให้แก่ผู้สูงอายุหรือบุคคลที่มีอายุ ๖๐ ปีบริบูรณ์ขึ้นไปและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสมในแต่ละเดือน
โดยหลักเกณฑ์การเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตามที่กำหนดไว้ในระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๕๒ และระเบียบคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๕๒ สรุปสาระสำคัญได้ว่า จะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุ ๖๐ ปี บริบูรณ์ขึ้นไป (๓) ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือเป็นผู้ได้เงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำ หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดให้เป็นประจำ
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคคล จึงเป็นเงื่อนไขสำคัญในการเป็น “ผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ” โดยผู้ที่ประสงค์จะขอใช้สิทธิจะต้องยื่นแบบคำขอ พร้อมทั้งแนบหลักฐานและกรอกข้อความรับรองตนเองว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์การเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
ปัญหาว่า ถ้ากรอกรายละเอียดไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงและเจ้าหน้าที่ได้อนุมัติให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแล้ว แต่ต่อมา ตรวจสอบพบว่าเป็นผู้ไม่มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกาหนด บุคคลดังกล่าวมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายโดยไม่ต้องคืนเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในจำนวนที่ได้รับไปก่อนนั้นหรือไม่ ?
เรื่องนี้มีกฎหมายที่สาคัญ คือ พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งกำหนดว่า เจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งทางปกครอง (คือ คำสั่งขึ้นทะเบียนให้เป็นผู้ได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ) มีอำนาจเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ โดยจะให้มีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลังหรือมีผลในอนาคตไปถึงขณะใดขณะหนึ่งตามที่กำหนดก็ได้ (มาตรา ๕๐) แต่การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นการให้เงินนั้น จะต้องคำนึงถึง “ความเชื่อโดยสุจริต” ของผู้รับประโยชน์หรือผู้รับคำสั่งทางปกครองนั้นด้วย (คือ ผู้ได้รับคำสั่งขึ้นทะเบียนให้เป็นผู้ได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ) แต่ผู้ได้รับคาสั่งทางปกครองจะไม่ได้รับความคุ้มครองความเชื่อโดยสุจริตเลย ถ้าบุคคลดังกล่าวมีพฤติการณ์ เช่น แสดงข้อความอันเป็นเท็จ ปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง ข่มขู่ ชักจูงใจ โดยการให้ทรัพย์สินหรือให้ประโยชน์อื่นใดโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ฯลฯ (มาตรา ๕๑)
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัย เรื่องหลัก “ความคุ้มครองความเชื่อโดยสุจริต” ว่า เมื่อผู้ขึ้นทะเบียนรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไม่มีคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามในการมีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตามข้อ ๕ (๓) ของระเบียบคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๕๒ และข้อ ๖ (๔) ของระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๕๒
คำสั่งรับขึ้นทะเบียนให้เป็นผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จึงเป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าหน้าที่จึงมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว และการมีคำสั่งถอนรายชื่อ ออกจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ถือเป็นการเพิกถอนคาสั่งรับขึ้นทะเบียนให้เป็นผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุโดยให้มีผลย้อนหลังนับตั้งแต่วันที่ออกคำสั่ง และการที่ผู้ยื่นแบบคำขอขึ้นทะเบียนรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้รับรองในแบบดังกล่าวว่า เป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนในการขึ้นทะเบียนรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ทั้งที่รู้ อยู่แล้วว่าตนเป็นผู้มีลักษณะต้องห้าม เนื่องจากเป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐฯ กรณีถือว่าบุคคลดังกล่าวได้รู้ถึงลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแล้ว จึงเป็นกรณีที่ผู้ยื่นแบบคำขอขึ้นทะเบียนรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ แสดงข้อความอันเป็นเท็จในการยื่นแบบคำขอขึ้นทะเบียนรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อเจ้าหน้าที่
ดังนั้น ผู้ได้รับคำสั่งขึ้นทะเบียนให้เป็นผู้ได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จึงไม่อาจอ้างความเชื่อโดยสุจริตในความคงอยู่ของคำสั่งทางปกครองเพื่อที่จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้ (คาพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๙๙๖/๒๕๖๐)
“การใช้สิทธิโดยสุจริต” ถือเป็นหลักการสาคัญที่ประชาชนทั่วไปไม่ว่าจะอยู่ในสถานะใดจะต้องตระหนักรู้และยึดถือเป็นหลักปฏิบัติ โดยเฉพาะการที่ประชาชนคนใดคนหนึ่งประสงค์ที่จะยื่นขอต่อหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ใช้อำนาจออกคำสั่งทางปกครองอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นประโยชน์ต่อตนเองหรือให้ได้รับสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด จะต้องให้ข้อมูลโดยสุจริต คือ ครบถ้วนในสาระสำคัญและถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่ปกปิดข้อความจริงหรือแสดงข้อมูลอันเป็นเท็จ เพราะหากไม่สุจริต เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็นผู้ใช้อำนาจก็มีอานาจเพิกถอนคำสั่งทางปกครองนั้น และผู้ที่ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตจะไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแต่อย่างใด

เครดิต : นางสาวสุนันทา ศรีเพ็ง , พนักงานคดีปกครองชานาญการ , สานักวิจัยและวิชาการ สานักงานศาลปกครอง , คอลัมน์ระเบียบกฎหมาย วารสารกานันผู้ใหญ่บ้าน ฉบับเดือนมกราคม ๒๕๖๑

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...