27 มิ.ย. 2562

การเวนคืนที่ดิน ... ประโยชน์สาธารณะกับความเสียหายของเอกชน !!!

ส่วนที่ 1 รัฐเวนคืนที่ดิน ... ประชาชนผู้เดือดร้อนเสียหายฟ้องเพิกถอน “กฎ”
ข่าวสารบ้านเมืองที่ประชาชนให้ความสนใจอย่างมากเรื่องหนึ่งก็คือ
การที่รัฐบาลมีแผนการลงทุนในโครงการก่อสร้างระบบรถไฟความเร็วสูง โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หรือโครงการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสาธารณูปโภคอันเป็นการจัดทำบริการสาธารณะ เพื่ออำนวยความสะดวกและยกระดับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
แนะนอนล่ะครับ!! ดำเนินการบางโครงการจะบรรลุผลสำเร็จได้ อาจจำเป็นต้อง “เวนคืนที่ดิน” ซึ่งนั่น ก็หมายความว่า เจ้าของที่ดินย่อมได้รับผลกระทบ เพราะเหตุว่าเป็นที่ทำกินหรือเป็นที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะได้มาจากน้ำพักน้าแรง หรือตกทอดต่อมาจากบรรพบุรุษก็ดี ผู้เจ้าของต่างก็ต้องรู้สึกหวงแหนผูกพัน ไม่อยากที่จะต้องสูญเสียทรัพย์สินของตนไป สถานเบาก็ทำให้อาณาเขตของที่ดินลดลง แต่ถ้าสถานหนักก็อาจจะต้องถึงขนาด พลัดที่นาคาที่อยู่ คือ พลัดพรากจากที่อยู่เดิมกันเลยทีเดียวนะครับ
ดังเช่น อุทาหรณ์จากคดีปกครองที่ลุงเป็นธรรมจะนำมาเสนอในวันนี้ ครับ ประชาชนกว่าหนึ่งร้อยคนซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินทำกินอยู่ในบริเวณที่จะต้องถูกเวนคืน ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนที่รัฐจะนำไปใช้ในโครงการพัฒนาลุ่มน้าตาปี – พุมดวง เพื่อประโยชน์แก่การชลประทาน การส่งน้ำสำหรับพื้นที่การเกษตร การอุปโภค และบริโภค ตลอดจนป้องกันและบรรเทาอุทกภัย ครับ
ประชาชนกลุ่มนี้เห็นว่าตนได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการเวนคืนที่ดิน ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดขอให้เพิกถอนพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนครับ!! ... แต่ก่อนที่จะศึกษาว่าในที่สุดแล้วศาลปกครองท่าน มีคำพิพากษาอย่างไร? ลุงเป็นธรรมอยากจะให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ สักเล็กน้อยนะครับ
เรื่องแรก ประชาชนกลุ่มนี้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุด ปัญหาคือเพราะเหตุไร? จึงไม่ยื่นฟ้องที่ ศาลปกครองชั้นต้นล่ะครับ เหตุผลคือ โดยทั่วไปการฟ้องคดีปกครองจะต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นที่มีเขตอำนาจ ได้แก่ ศาลปกครองกลาง หรือศาลปกครองภูมิภาค เว้นแต่ (1) คดีพิพาทเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัย ข้อพิพาทตามที่ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดประกาศกำหนด (2) คดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกาหรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี หรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี และ (3) คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจศาลปกครองสูงสุด จะต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดได้โดยตรง ตามมาตรา 11 (1) (2) และ (3) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
เรื่องที่สอง การฟ้องคดีพิพาทเกี่ยวกับการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ส่วนมากจะมีฟ้องกันอยู่ 2 ประเภท คือ (1) ฟ้องขอให้เพิกถอนกฎ ซึ่งก็หมายถึงพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ซึ่งถ้าศาลปกครองท่านเห็นว่า พระราชกฤษฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมาย ท่านจะพิพากษาเพิกถอนครับ และ/หรือ (2) ฟ้องขอเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืน ซึ่งถ้าศาลปกครองปกครองจะพิจารณาความเป็นธรรมและกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนต่อไป
คดีพิพาทนี้เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนครับ !!
โดยคดีนี้ศาลปกครองสูงสุดท่านวินิจฉัยในเบื้องต้นครับว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฉบับพิพาท มีสถานะเป็น “กฎ” ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาทางปกครอง พ.ศ. 2542 โดยท่านตั้งประเด็นพิจารณา คือ การตราพระราชกฤษฎีกาฉบับพิพาทนี้ เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่?
นั่นคือ การพิจารณา “ความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกา” ฉบับพิพาท นั่นเองครับ!!
ส่วนที่ 2 การเวนคืนที่ดิน ... ประโยชน์สาธารณะกับความเสียหายของเอกชน !!!
ประเด็นที่จะต้องทาความเข้าใจมี 2 ประเด็นย่อย ครับ..คือ (1) กระบวนการตราพระราชกฤษฎีกา ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอนและวิธีการตรากฎขึ้นบังคับใช้หรือไม่ และ (2) เนื้อหาสาระของพระราชกฤษฎีกาเกินขอบเขตหรือเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธสักราช 2485 หรือไม่ ??? (“พุทธสักราช” เป็นการสะกดคำตามอักขรวิธี ในช่วงปี พ.ศ. 2485 – 2487)
ประเด็นแรก ครับ กระบวนการตราพระราชกฤษฎีกา ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน และวิธีการตรากฎ ขึ้นบังคับใช้หรือไม่
โดยผู้ฟ้องคดีโต้แย้งว่า กระบวนการตราพระราชกฤษฎีกานี้ก็ไม่ได้จัดให้มีการเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องของโครงการพัฒนาลุ่มน้าตาปี - พุมดวง และมิได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย ตลอดจนมิได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งเป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และยังมีผลกระทบต่อโบราณสถาน เขาศรีวิชัย (อาณาจักรศรีวิชัย) วัดน้ารอบ
ศาลปกครองสูงสุดท่านได้แสวงหาข้อเท็จจริงต่าง ๆ พบว่า ก่อนการตราพระราชกฤษฎีกา กรมชลประทานซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบโครงการได้จัดให้มีการประชุมชี้แจงเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และรับฟังความคิดเห็นของราษฎรที่ได้รับผลกระทบ เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบสานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 จำนวนทั้งสิ้น 41 ครั้ง ก่อนดำเนินการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา 57 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้นครับ ...จากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาพร้อมแผนที่แสดงแนวเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนท้ายพระราชกฤษฎีกาต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลใช้บังคับในทางกฎหมายในเวลาต่อมาแล้ว
ดังนั้น กระบวนการตราพระราชกฤษฎีกาพิพาทได้ดำเนินการไปตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการ ที่กฎหมายแม่บทกำหนดไว้ และถือว่ากรมชลประทานได้จัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงถูกต้องตามบทกฎหมายมาตรา 11 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธสักราช 2485 มาตรา 5 วรรคสาม และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และมาตรา 4 วรรคหนึ่ง (4) และมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548..ครับ
มาดูในประเด็นที่สองครับ...คือ เนื้อหาสาระของพระราชกฤษฎีกาพิพาทเกินขอบเขตหรือเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธสักราช 2485 หรือไม่ ?
เรื่องแรก ความจำเป็นของการเวนคืนที่ดินครับ..ศาลปกครองสูงสุดท่านวินิจฉัยว่าพระราชกฤษฎีกาพิพาทจำเป็นต้องตราขึ้นเพื่อการก่อสร้างระบบส่งน้ำและระบบระบายน้ำตามโครงการพัฒนาลุ่มน้าตาปี - พุมดวง ซึ่งเป็นประโยชน์แก่การชลประทาน การส่งน้ำสาหรับพื้นที่การเกษตร การอุปโภคและบริโภค ตลอดจนป้องกันและบรรเทาอุทกภัย อันเป็นการดำเนินการเพื่อการพัฒนาการเกษตรและเพื่อประโยชน์สาธารณะ
การตราพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเพื่อการเวนคืนที่ดินพิพาท จึงกระทำได้ตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และไม่ขัดกับมาตรา 41 ของรัฐธรรมนูญดังกล่าวที่บัญญัติคุ้มครองสิทธิของบุคคลในทรัพย์สิน (ขณะเกิดข้อพิพาท) เช่นกันครับ
เมื่อเป็นดังนี้ผู้ฟ้องคดีอาจโต้แย้งล่ะครับว่า... การใช้อำนาจของฝ่ายรัฐควรต้องพิจารณาประโยชน์ได้เสียของผู้ได้รับผลกระทบด้วย มิใช่พิจารณาด้านประโยชน์สาธารณะเพียงประการเดียว
ครับ..ในการใช้อานาจขอหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อดำเนินการเรื่องหนึ่งเรื่องใด เพื่อประโยชน์สาธารณะ กฎหมายหลายฉบับอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ดุลพินิจได้และการใช้ดุลพินิจต้องชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งตามหลักการใช้ดุลพินิจ จะต้องคำนึงถึงความจำเป็น ความสัมฤทธิ์ผลตามกฎหมายที่ให้อำนาจ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ต้องพิจารณาชั่งน้าหนักระหว่างประโยชน์สาธารณะกับความเสียหายของเอกชนครับ
เรื่องนี้ ศาลปกครองสูงสุดท่านได้อธิบายถึงการใช้ดุลพินิจในการตราพระราชกฤษฎีการในกรณีนี้ไว้ว่า เป็นกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่การชลประทาน การส่งน้ำสาหรับพื้นที่การเกษตร การอุปโภคและบริโภค ตลอดจนป้องกันและบรรเทาอุทกภัย อันเป็นประโยชน์สาธารณะและ เมื่อเปรียบเทียบความเสียหายที่มีผลกระทบต่อ ผู้ฟ้องคดีแล้วจะเห็นได้ว่า หากต้องดำเนินการเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ฟ้องคดีก็จะเสียหายต่อผลประโยชน์สาธารณะ ประกอบกับผู้ฟ้องคดีมีสิทธิได้รับการเยียวยาความเสียหายจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวได้ตามเงื่อนไข ของกฎหมาย ดังนั้น การตราพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบและไม่ขัดกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธสักราช 2485 แต่อย่างใด ครับ !!!
คดีนี้มีรายละเอียดเยอะครับ..ผู้สนใจศึกษารายละเอียดได้จากคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ ฟ. 36/2560 และสามารถสืบค้นบทความย้อนหลังได้ที่ www.admincourt.go.th เมนูวิชาการ เมนูย่อยอุทาหรณ์จากคดีปกครอง ..ครับ!!
ส่วนที่ 3 รู้ทัน...การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยไม่ว่าฉบับใดก็ตาม ได้ให้ความสาคัญกับการคุ้มครองสิทธิ และเสรีภาพของประชาชน ไม่ให้ถูกละเมิดโดยบุคลอื่น แม้กระทั่งโดยหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ดังเช่น สิทธิในทรัพย์สิน ซึ่งมาตรา 37 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 บัญญัติไว้เป็นสาระสาคัญว่า รัฐธรรมนูญได้กำหนดห้ามมิให้รัฐเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของบุคคล เว้นแต่ โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ที่ตราขึ้นเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภค การป้องกันประเทศ หรือการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น และเมื่อมีการเวนคืนจะต้องชดใช้ค่าทดแทนที่เป็นธรรม ภายในเวลาอันควรแก่เจ้าของทรัพย์สิน ตลอดจนผู้ทรงสิทธิบรรดาที่ได้รับความเสียหายจากการเวนคืน โดยคานึงถึงประโยชน์สาธารณะผลกระทบต่อผู้ถูกเวนคืน รวมทั้งประโยชน์ที่ผู้ถูกเวนคืนอาจได้รับจากการเวนคืนนั้น
โดย... ลุงเป็นธรรม
สายด่วนศาลปกครอง 1355
บทความเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ทุกวันจันทร์ หน้า 2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...