27 มิ.ย. 2562

กลิ่นเหม็นไม่หมดสิ้น...หน้าที่ยังต้องปฏิบัติครับผม!!

ส่วนที่ 1 กลิ่นเหม็นจากมูลสุกร...เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องระงับเหตุ
เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น นม ไข่ ถือเป็นแหล่งโปรตีนสาคัญของมนุษย์ยุคปัจจุบัน ดังนั้น การเลี้ยงสัตว์จำพวกโค สุกร ไก่ และเป็ด เพื่อบริโภคและจำหน่ายจึงมีให้เห็นแพร่หลายทั้งเลี้ยงแบบรายย่อยและรายใหญ่
แต่ไม่ว่าจะเลี้ยงแบบใด การดูแลสุขอนามัยของสถานที่เลี้ยงถือเป็นสิ่งสาคัญที่ผู้เลี้ยงหรือผู้ประกอบการจะต้องระมัดระวังให้มากครับ!! เพราะมิฉะนั้นอาจสร้างเหตุเดือดร้อนรำคาญจากกลิ่นเหม็นแก่เพื่อนบ้านหรือชุมชนใกล้เคียงจนกลายเป็นเรื่องราวฟ้องร้องขึ้นโรงขึ้นศาล เช่นเดียวกับอุทาหรณ์ที่นำมาเล่าวันนี้ครับ !
อันที่จริง ในกรณีที่มีเหตุเดือดร้อนราคาญจากการเลี้ยงสัตว์หรือการกระทำใดๆ ที่ทำให้เกิดกลิ่น รังสี เสียง สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่น ละออง เขม่า เถ้า จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ...เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ที่จะต้องระงับเหตุนั้นครับ
มูลคดีนี้ เกิดจากผู้อาศัยใกล้เคียงกับสถานที่เลี้ยงสุกร ร้องเรียนต่อนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ให้แก้ไขความเดือดร้อนจากกลิ่นเหม็นของมูลสุกรและน้ำเสียจากการเลี้ยงสุกรไว้บริเวณบ้านของนายมารวย รวม 2 ครั้ง และทุกครั้งที่ได้รับข้อร้องเรียน เจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลไม่ได้นิ่งดูดายครับ.. ได้ตรวจสอบสถานประกอบการและสั่งให้นายมารวยผู้เลี้ยงสุกรแก้ไขปรับปรุงสถานที่
นายมารวยเองก็ไม่ได้เพิกเฉยครับ...ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงสถานที่เลี้ยงตามคำแนะนาทุกครั้ง
แต่ทว่า...กลิ่นเหม็นก็ยังคงมีอยู่บ้าง..โดยเฉพาะตอนเช้าก่อนที่นายมารวยจะล้างทำความสะอาดคอกสุกร
ผู้อาศัยใกล้เคียงที่ได้รับกลิ่นเหม็น (ผู้ฟ้องคดีทั้งห้า) จึงฟ้องนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (ผู้ถูกฟ้องคดี) ขอให้ศาลปกครองมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ในการระงับเหตุราคาญ
คดีนี้...เป็นการฟ้องว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ ซึ่ง ศาลปกครองท่านมีอำนาจสั่งให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ให้เสร็จสิ้นภายในเวลาที่กาหนดครับ!
เมื่อเป็นดังนี้ จึงมีปัญหาว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ปฏิบัติหรือไม่ครับ ทั้งที่เจ้าหน้าที่ได้ติดตามตรวจสอบสถานประกอบการเลี้ยงสุกรและผู้ประกอบการก็ได้แก้ไขปรับปรุงตามคำแนะนาของเจ้าหน้าที่มาโดยตลอด
ส่วนที่ 2 กลิ่นเหม็นไม่หมดสิ้น...หน้าที่ยังต้องปฏิบัติครับผม!!
คดีนี้ ศาลท่านได้เรียกนายมารวยผู้เลี้ยงสุกรเข้ามาในคดีด้วยครับในฐานะ “ผู้ร้องสอด” เพราะถือว่าเป็น ผู้มีส่วนได้เสียในเรื่องนี้ด้วยครับ และจากข้อเท็จจริงจะเห็นได้ว่า เจ้าหน้าที่ได้เข้าไปตรวจสอบสถานประกอบการและแนะนำ นายมารวยและนายมารวยก็ได้แก้ไขตามคำแนะนำทุกครั้งครับ
แต่ผู้ถูกฟ้องคดียอมรับว่า กลิ่นเหม็นในตอนเช้ายังมีบ้าง แต่จะหมดไปเมื่อนายมารวยทำความสะอาด ครับ
ดังนั้น จึงอยู่ที่วิธีการที่เจ้าหน้าที่แนะนำให้นายมารวยปฏิบัติล่ะครับว่า..เป็นวิธีการที่สามารถป้องกันระงับเหตุราคาญให้หมดไปหรือไม่
ศาลท่านได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง ทั้งจากบันทึกการตรวจสอบของผู้เข้าร่วมตรวจสอบเรื่องร้องเรียน วิธีการ ที่เจ้าหน้าที่แนะนำ บันทึกผลการตรวจสอบของคณะกรรมการ และพิจารณาจากภาพถ่ายโรงเรือนเลี้ยงสุกรภายหลังการปรับปรุงตามวิธีการที่ได้แนะนำตามที่ผู้ถูกฟ้องคดียื่นต่อศาล สรุปได้ว่า เดิมเลี้ยงสุกรในโรงเรือนที่ทาด้วยไม้ยกสูงจากพื้นดิน 1.5 เมตร มีคอกสุกร 5 คอก สุกรทั้งหมด 24 ตัว แบ่งเป็นลูกสุกร 18 ตัว และสุกรโต 6 ตัว คอกสุกรอยู่ห่างจากบ้านของเจ้าของ 15 เมตร ด้านล่างคอกสุกรเป็นพื้นดิน มีมูลสุกรไม่มาก และมีกลิ่นเหม็นบ้าง
ส่วนการแนะนำแก้ไข ให้นายมารวยขยายโรงเรือนเลี้ยงสุกรเดิมให้ห่างจากบ้านพัก ย้ายคอกสุกรคอกที่ 1 และที่ 2 ไปยังโรงเรือนที่สร้างใหม่ และปรับปรุงพื้นดินใต้โรงเรือนเป็นพื้นซีเมนต์ พร้อมเก็บกวาดมูลสุกรและทำความสะอาดคอกสุกรทุกวัน ลดจำนวนสุกรให้เหลือ 4-5 ตัวต่อคอก นำกระเบื้องแผ่นเรียบหรือสังกะสีมาติดตั้งไว้ใต้พื้นโรงเรือนเพื่อสิ่งปฏิกูลไหลลงสู่บ่อเกรอะได้สะดวกขึ้น ทำฝาปิดบ่อเกรอะป้องกันแมลงวันและกลิ่นเหม็น
แต่จากภาพถ่าย พบว่า พื้นโรงเรือนยังคงเป็นพื้นไม้ใต้พื้นคอกรองด้วยสังกะสีรูปตัวยูซึ่งทำให้มีมูลสุกรตกค้างสะสมอยู่ พื้นซีเมนต์ใต้โรงเรือนยังมีมูลสุกรและน้ำตกค้าง ร่องระบายน้ำมีน้ำตกค้าง และฝาปิดบ่อเกรอะซึ่งทำจากไม้หลายแผ่นตีติดกันปิดทับไว้ไม่สนิท จึงไม่สามารถป้องกันกลิ่นเหม็นจากสิ่งปฏิกูลมิให้ฟุ้งกระจายออกไปสู่ภายนอกได้ ดังนั้น สภาพโรงเรือนจึงยังมีลักษณะไม่เหมาะสม
และเมื่อกลิ่นเหม็นยังมีอยู่บ้าง จึงเชื่อได้ว่า วิธีการเพื่อระงับเหตุราคาญจากกลิ่นเหม็นของมูลสุกร เป็นวิธีการที่ไม่สามารถระงับเหตุรำคาญที่เกิดขึ้นให้หมดสิ้นไปได้ตลอดเวลา และการระงับเหตุราคาญก็เป็นการดำเนินการเพียงบางส่วน จึงถือว่าผู้ถูกฟ้องคดีมิได้ดำเนินการให้มีการระงับเหตุราคาญตามมาตรา 28 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 โดยถูกต้อง ครบถ้วน ถือได้ว่าเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร (คาพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.1624/2559)
การที่กฎหมายกำหนดอำนาจหน้าที่ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐดำเนินการอย่างหนึ่ง อย่างใด ย่อมมีวัตถุประสงค์เพื่อการคุ้มครองดูแลและรักษาประโยชน์สาธารณะ ดังนั้น การที่พระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันระงับเหตุราคาญในพื้นที่ความรับผิดชอบไม่ให้เกิดความเดือดร้อนราคาญ “การระงับเหตุราคาญ” จึงมีความหมายว่าเหตุรำคาญนั้นต้องหมดสิ้นไปตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้ แม้เจ้าหน้าที่จะได้มีการดำเนินการแล้ว แต่หากเหตุรำคาญยังคงมีอยู่แม้จะลดลงจากที่เคยเป็นอยู่เดิม ในสายตาของกฎหมายยังคงถือว่า “ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ปฏิบัติ” และวิธีการหรือมาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญเกิดขึ้น ถือเป็นเรื่องสาคัญที่จะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม ครับ!
ส่วนที่ 3 รู้ทัน...กฎหมายพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535
“เหตุรำคาญ” ตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 หมายถึง เหตุหนึ่ง เหตุใดอันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนของประชาชนผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง...
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 เป็นกฎหมายที่มุ่งคุ้มครองสุขลักษณะและการอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยครอบคลุมการกระทำทุกอย่างที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยของประชาชนในทุกระดับ ทั้งกิจการขนาดเล็กขนาดใหญ่ อาทิ หาบเร่ แผงลอย ตลาดต่าง ๆ รวมทั้งกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตลอดจนการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ โดยให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการควบคุมดูแล โดยออกคำสั่งให้ปรับปรุง แก้ไขการอนุญาตหรือ ไม่อนุญาต การสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต เพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ มาตรา 28 วรรคหนึ่ง มีหลักการอยู่ว่า ในกรณีที่มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นในสถานที่เอกชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้นระงับเหตุรำคาญภายในเวลาอันสมควรตามที่ระบุไว้ในคำสั่ง และถ้าเห็นว่าสมควรจะให้กระทำโดยวิธีใดเพื่อระงับเหตุรำคาญนั้น หรือ สมควรกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นในอนาคต ให้ระบุไว้ในคำสั่งได้
โดย... ลุงเป็นธรรม สายด่วนศาลปกครอง 1355

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...