27 มิ.ย. 2562

ความเสมอภาค ... “เหตุ” ที่อ้างไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับ “เหตุ” ที่บุคคลไม่อาจกล่าวอ้าง“หลักความเสมอภาค” เพื่อให้ฝ่ายปกครองปฏิบัติต่อตนได้ แม้ว่าหลักกฎหมายดังกล่าวจะเป็นหลักกฎหมายทั่วไปในทางปกครองที่เรียกร้องให้ฝ่ายปกครองใช้อำนาจปฏิบัติต่อบุคคลอย่างเสมอภาค
โดยคดีนี้ ผู้ฟ้องคดีได้ขออนุญาตตั้งเต็นท์หลังคาโครงเหล็กและหลังคาฉนวนไฟฟ้า ความสูงประมาณ3 เมตร เพื่อประกอบกิจการค้าขายรถยนต์และซ่อมบำรุงรถยนต์ แต่ผู้ถูกฟ้ องคดีที่ 1 (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) ไม่อนุญาต โดยให้เหตุผลว่าผิดตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511
แต่ต่อมาผู้ฟ้องคดีได้ปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวโดยมีเพิงจอดรถยนต์และซุ้มทางเดินรุกล้ำแนวเขตเดินสายไฟฟ้าแรงสูงโดยไม่ได้รับอนุญาต ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 (ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) จึงสั่งให้ผู้ฟ้ องคดีรื้อถอนภายใน 30 วัน
หลังจากผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์คำสั่งให้รื้อถอน และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 (คณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) พิจารณาแล้วเห็นว่า การออกคำสั่งชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ผู้ฟ้ งคดีจึงฟ้ องต่อศาลปกครองอ้างว่า คำสั่งของผู้ถูกฟ้ องคดีที่ให้ผู้ฟ้ องคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากบริเวณใกล้เคียงกับที่ตั้งเต็นท์พิพาทมีผู้สร้างเต็นท์ในลักษณะเดียวกันกับของผู้ฟ้องคดีมาเป็นเวลานับสิบปี โดยผู้ถูกฟ้องคดีไม่เคยสั่งให้รื้อถอน อีกทั้งผู้ถูกฟ้องคดีได้สร้างเต็นท์ในลักษณะเดียวกันในที่ทำการของผู้ถูกฟ้องคดีในแนวสายไฟฟ้ าแรงสูงและมีสิ่งปลูกสร้างแบบและชนิดเดียวกันกับผู้ฟ้ องคดีอีกหลายแห่งที่ผู้ถูกฟ้องคดีอนุญาตให้สร้างได้ จึงเป็นการเลือกปฏิบัติต่อผู้ฟ้องคดี จึงขอให้ศาลปกครองเพิกถอนคำสั่งและให้ชดใช้ค่าเสียหายทางธุรกิจ
ผู้ถูกฟ้องคดีมีอำนาจสั่งให้ผู้ฟ้องคดีรื้อถอนเต็นท์พิพาทออกไปให้พ้นจากแนวเขตสายไฟฟ้าหรือไม่ ?
ซึ่งตามมาตรา 32 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 กำหนดว่า ห้ามมิให้ผู้ใดสร้ างโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างในแนวเขตสายไฟฟ้า เว้นแต่ได้รับอนุญาต และกรณีสร้างโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตให้ กฟผ. มีอำนาจรื้อถอนได้
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ผู้ฟ้องคดียื่นคำขออนุญาตก่อสร้างเต็นท์พิพาทต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 แต่ไม่ได้รับอนุญาต หากผู้ฟ้ องคดีเห็นว่าคำสั่งไม่อนุญาตไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ฟ้องคดีต้องอุทธรณ์หรือฟ้องคดีตามที่กฎหมายกำหนด แต่ผู้ฟ้องคดีมิได้ดำเนินการอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว แต่กลับทำการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างลักษณะเต็นท์(โครงเหล็ก) ในแนวเขตสายไฟฟ้าแรงสูงโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 32 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 และข้อ 2 ของประกาศการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เรื่อง ข้อกำหนดเขตเดินสายไฟฟ้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2543 ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จึงมีอำนาจตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
การที่ผู้ถูกฟ้ องคดีที่ 2 มีหนังสือแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองเต็นท์พิพาทรื้อถอนเต็นท์พิพาทออกไปให้พ้นจากแนวเขตสายไฟฟ้าให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวัน หากไม่ดำเนินการผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จะดำเนินการตามกฎหมาย จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ส่วนประเด็นการกระทำของผู้ถูกฟ้ องคดีเป็ นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็ นธรรมต่อผู้ฟ้ องคดีหรือไม่ ?
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า การเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมนั้น ต้องเป็นกรณีที่ผู้กล่าวอ้างมีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะได้รับสิทธินั้นแต่ไม่ได้สิทธินั้น ไม่ใช่กรณีที่ผู้กระทำผิดด้วยกันกล่าวอ้างว่า ผู้กระทำผิดบางคนยังกระทำได้หรือไม่ถูกดำเนินคดี กรณีบุคคลที่กระทำผิดต่อกฎหมายไม่อาจเรียกร้องให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติต่อตนตามหลักความเสมอภาคได้ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 383/2557)
จากอุทาหรณ์คดีปกครองเรื่องนี้ได้ปรากฏหลักการของ “หลักความเสมอภาค” ที่สำคัญประการหนึ่งว่า การที่บุคคลใดจะกล่าวอ้างเพื่อให้ฝ่ายปกครองปฏิบัติต่อตนอย่างเสมอภาคหรือไม่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมได้เมื่อผู้กล่าวอ้างเป็นผู้ที่มีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่ได้รับสิทธินั้นเสมอกับบุคคลอื่น แต่หากตนไม่มีสิทธิตามกฎหมายหรือปฏิบัติฝ่าฝืนกฎหมายอยู่แล้ว ก็มิอาจกล่าวอ้าง “หลักความเสมอภาค” เพื่อคุ้มครองตนได้ ถึงแม้ว่ามีบุคคลอื่นที่ฝ่าฝืนกฎหมายด้วยกันแต่ยังไม่ถูกดำเนินการ ... ครับ !
เครดิต : นายปกครอง , หนังสือพิมพ์บ้านเมือง คอลัมน์คดีปกครอง ฉบับวันเสาร์ที่ 28 มีนาคม 2558

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...