28 มิ.ย. 2562

สิทธิที่จะได้รับการเยียวยาจากรัฐ เมื่อถูกกระทำละเมิด !

ในการใช้ชีวิตประจำวันของเรา ๆ ท่าน ๆ นั้น อาจต้องประสบพบเจออุบัติเหตุหรือเกิดสิ่งที่ไม่คาดคิดได้อยู่เสมอ ทั้งจากเรื่องทั่วไปและจากการปฏิบัติหน้าที่หรือละเลย/ล่าช้าในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เมื่อประชาชนได้รับความเสียหายหรือถูกกระทำละเมิดจากเจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าว ประชาชนมีสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาจากรัฐตามกฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ดังเช่น ในหลาย ๆ กรณี ที่มีการฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อเรียกร้องให้หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ไม่ว่าจะเป็นกรณีเดินพลัดตกท่อระบายน้าที่ชารุด กรณีขับรถตกถนนหรือสะพานที่ชารุดซึ่งไม่มีที่กั้น หรือกรณีพลัดตกตู้รถไฟ เป็นต้น
แต่ก่อนที่จะไปพูดคุยกันในรายละเอียดของคดีดังกล่าว เรามาทาความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิของประชาชนหรือบุคคลภายนอกที่เห็นว่าตนได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย จากการปฏิบัติหน้าที่หรือจากการละเลย/ล่าช้าต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติกันก่อน ซึ่งการใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้ที่ถูกกระทำละเมิดนั้น สามารถทาได้ 2 วิธีด้วยกัน คือ
วิธีแรก ยื่นหนังสือร้องขอไปยังหน่วยงานของรัฐต้นสังกัดโดยตรงเพื่อขอให้พิจารณาชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนแก่ตน ซึ่งวิธีนี้หน่วยงานของรัฐจะออกใบรับคาขอให้แก่ผู้ร้องขอและจะพิจารณาคาขอภายใน 180 วัน หากผู้ร้องขอไม่พอใจในผลการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐ เช่น หน่วยงานของรัฐปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทน หรือสั่งให้ชดใช้แต่เป็นจานวนเงินที่ผู้ร้องขอเห็นว่าไม่เหมาะสมกับความเสียหาย ผู้ร้องขอก็สามารถใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้เพิกถอนผลการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐต้นสังกัดดังกล่าว ซึ่งก็คือการฟ้องขอให้เพิกถอนคาสั่งทางปกครอง ทั้งนี้ เพราะผลการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐมีสถานะเป็นคำสั่งทางปกครอง โดยจะต้องยื่นฟ้องภายใน 90 วัน นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี ทั้งนี้ ตามมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ประกอบมาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
วิธีที่สอง ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองเลยโดยตรง ซึ่งจะต้องเป็นคดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองเท่านั้น โดยฟ้องหน่วยงานของรัฐต้นสังกัด (ไม่ฟ้องตัวเจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิด) เพื่อขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน โดยวิธีนี้จะต้องยื่นฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี ซึ่งก็คือวันที่รู้ตัวผู้กระทำละเมิดและความเสียหายที่เกิดขึ้นนั่นเอง ทั้งนี้ ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ประกอบมาตรา 51 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
จะเห็นได้ว่า... การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนทั้งสองวิธีดังกล่าว มีผลต่อระยะเวลาในการใช้สิทธิฟ้องคดีที่แตกต่างกัน โดยวิธีแรก เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งหรือผลการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐต้นสังกัด อันเป็นคดีปกครองมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ ที่จะต้องใช้สิทธิฟ้องคดีภายใน 90 วัน นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี ส่วนวิธีที่สอง เป็นการยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้หน่วยงานของรัฐต้นสังกัดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในการกระทำละเมิดต่อบุคคลภายนอก ซึ่งเป็นคดีปกครองตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ ที่จะต้องใช้สิทธิฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดีแต่ไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่มีเหตุแห่งการฟ้องคดี
หากเป็นท่าน ท่านจะเลือกวิธีใด ?! หลายท่านคงมีคำตอบอยู่ในใจ และเชื่อว่าอีกหลายท่านก็อาจยังลังเล ตัดสินใจไม่ถูก
เพราะหากเลือกวิธีแรกแล้วท่านพอใจในผลการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐเรื่องก็จะจบและยุติได้โดยเร็ว แต่หากท่านไม่พอใจผลการพิจารณาและประสงค์จะฟ้องคดี ก็จะต้องไปว่ากันต่อในศาล อีกครั้ง หรือจะเลือกวิธีที่สอง คือยื่นฟ้องคดีต่อศาลเลยทีเดียวตั้งแต่แรก แม้อาจต้องใช้เวลาต่อสู้คดีกันในศาลแต่เรื่องก็จะจบหรือได้ผลเป็นที่ยุติในคราวเดียว
มาดูกรณีของลุงตุ๊ (นามสมมติ) ที่ได้พลัดตกจากตู้รถไฟในยามวิกาลระหว่างการเดินทางไปทำธุระที่ภาคอีสาน ซึ่งได้รับบาดเจ็บและต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล โดยหลังจากที่อาการดีขึ้น... ลุงตุ๊ก็ได้มีหนังสือถึงการรถไฟแห่งประเทศไทยเพื่อขอให้พิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือหรือค่าสินไหมทดแทนจากการที่ตนพลัดตกตู้รถไฟดังกล่าว แต่การรถไฟฯ ได้มีหนังสือแจ้งตอบกลับว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น เกิดจากความประมาทเลินเล่อของลุงตุ๊เอง ! จึงปฏิเสธการจ่ายเงินช่วยเหลือเป็นเหตุให้ลุงตุ๊นำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ศาลปกครองพิพากษาให้การรถไฟฯ พิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ลุงตุ๊ด้วย
จะเห็นได้ว่าลุงตุ๊ได้เลือกวิธีแรก คือใช้สิทธิยื่นหนังสือร้องขอต่อหน่วยงานของรัฐต้นสังกัด คือการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อขอให้พิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือหรือค่าสินไหมทดแทนแก่ตน เมื่อการรถไฟฯ ปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเห็นว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของลุงตุ๊ที่พลัดตกตู้รถไฟเอง และลุงตุ๊ได้เคยมีหนังสือร้องขอต่อการรถไฟฯ อีกครั้งหลังจากถูกปฏิเสธดังกล่าวแล้ว แต่การรถไฟฯ ก็มิได้ดำเนินการใด ๆ สุดท้ายลุงตุ๊จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้การรถไฟฯ พิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ตนใหม่อีกครั้ง
คดีดังกล่าวมีประเด็นเกี่ยวกับเงื่อนไขการฟ้องคดีที่ศาลต้องพิจารณาก่อนคือ 1. คดีนี้เป็นคดีปกครองประเภทใด ? เนื่องจากประเภทคดีมีผลต่อระยะเวลาการฟ้องคดี และ 2. ผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องคดีภายในระยะเวลาการฟ้องคดีตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ ?
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า การรถไฟฯ ผู้ถูกฟ้องคดีเป็นวิสาหกิจของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มีวัตถุประสงค์เพื่อรับโอนกิจการของกรมรถไฟ และดำเนินกิจการรถไฟเพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชน ตลอดจนดำเนินธุรกิจอันเกี่ยวกับการขนส่งของรถไฟและธุรกิจอื่นซึ่งเป็นประโยชน์แก่กิจการรถไฟ โดยมีอำนาจที่จะกระทำการต่าง ๆ ภายในขอบวัตถุประสงค์ รวมถึงการรับขนส่งคนโดยสารและการจัดระเบียบเกี่ยวกับความปลอดภัย การใช้รถไฟ บริการ และความสะดวก ต่าง ๆ ของกิจการรถไฟ กรณีจึงต้องแปลความว่า ในการให้บริการขนส่งโดยรถไฟดังกล่าว การรถไฟ มีหน้าที่ต้องดูแลให้ผู้โดยสารได้รับความปลอดภัยตลอดเวลาที่ใช้บริการด้วย
เมื่อพิจารณาคำฟ้องประกอบกับคำขอบังคับแล้ว เห็นว่า ผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนเสียหายเนื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ฟ้องคดี ตามที่ผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือร้องขอ ฉบับลงวันที่ 11 กันยายน 2556 จึงยื่นฟ้องคดีเพื่อขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีพิจารณาความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ ผู้ฟ้องคดีใหม่ ซึ่งแปลความได้ว่า ผู้ฟ้องคดีประสงค์จะให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ปฏิเสธการจ่าย ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ฟ้องคดี อันเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทาการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ
ฉะนั้น ระยะเวลาในการฟ้องคดีกรณีขอให้เพิกถอนคำสั่งปฏิเสธการจ่ายเงินนี้ ผู้ฟ้องคดีจะต้องยื่นฟ้องภายใน 90 วัน นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี ตามมาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ ซึ่งก็คือนับแต่วันที่ผู้ฟ้องคดีได้รับหนังสือแจ้งปฏิเสธการจ่ายเงินจากผู้ถูกฟ้องคดี เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้ฟ้องคดีได้รับหนังสือแจ้งปฏิเสธดังกล่าวเมื่อไร แต่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือลงวันที่ 29 กันยายน 2557 ร้องเรียนเกี่ยวกับการไม่ได้รับความเป็นธรรมต่อผู้ถูกฟ้องคดีในเหตุเดียวกันนี้อีกครั้ง
กรณีจึงต้องถือว่าผู้ฟ้องคดีได้รู้ถึงการที่ผู้ถูกฟ้องคดีมีคำสั่งปฏิเสธการจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนอย่างช้าที่สุดในวันที่ 29 กันยายน 2557 ผู้ฟ้องคดีจึงต้องใช้สิทธิฟ้องคดีภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ 29 กันยายน 2557 ซึ่งก็คือภายในวันที่ 28 ธันวาคม 2557 การที่ผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2558 จึงเป็นการฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายแล้ว ศาลปกครองสูงสุดจึงมีคำสั่งยืนตามศาลปกครองชั้นต้นที่ไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา คดีนี้ศาลจึงยังไม่ได้พิจารณาในเนื้อหาของคดีว่าเป็นการกระทำละเมิดหรือไม่ เพราะผู้ฟ้องคดีไม่ได้นำคดีมาฟ้องภายในเวลาที่กฎหมายกาหนดนั่นเองค่ะ (เทียบเคียงจากคาสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 87/2560)
จากคำวินิจฉัยดังกล่าวจึงได้ข้อสรุปว่า กรณีบุคคลภายนอกที่เห็นว่าตนถูกกระทำละเมิด จากเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย บุคคลภายนอกหรือผู้ซึ่งถูกกระทำละเมิดสามารถใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้ 2 วิธี คือ 1. ยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐต้นสังกัดของเจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิด โดยถ้าผู้ถูกกระทำละเมิดตัดสินใจเลือกวิธีนี้แล้วเกิดไม่พอใจในผลการวินิจฉัยของหน่วยงานของรัฐ ก็สามารถนาคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองได้ภายใน 90 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งผลการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งผลการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐดังกล่าวถือเป็นคำสั่งทางปกครอง ดังนั้น ระยะเวลาการฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครองจึงเป็นไปตามมาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ กับ 2. ยื่นฟ้องหน่วยงานของรัฐนั้นต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการที่เจ้าหน้าที่ในสังกัดตนได้กระทาละเมิด โดยต้องยื่นฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี
ในการฟ้องคดีนั้น ระยะเวลาการฟ้องคดีนับเป็นเรื่องที่สาคัญ เพราะส่งผลต่อคดีของผู้ฟ้องว่าจะได้รับการพิจารณาจากศาลหรือไม่ เพราะหากศาลสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาเพราะเหตุเกินระยะเวลา การฟ้องคดีแล้วเช่นในคดีนี้ ก็ย่อมทำให้ผู้ถูกกระทำละเมิดต้องเสียสิทธิในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนไป บทความนี้จึงช่วยสร้างความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว เพื่อที่จะได้นำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ทันเวลา และศาลจะได้พิจารณาและอานวยความยุติธรรมให้แก่ทั้งสองฝ่ายได้นั่นเองค่ะ
* ท้ายนี้... หากมีข้อสงสัยหรือต้องการปรึกษาเกี่ยวกับการฟ้องคดีปกครองเบื้องต้น สามารถโทรสอบถามได้ที่สายด่วนศาลปกครอง 1355 หรือมาปรึกษาด้วยตนเองที่สานักงานศาลปกครอง (กลุ่มให้คาปรึกษาแนะนา) ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค *
เครดิต : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ คอลัมน์รายงานพิเศษ โดย สมฤดี ธัญญสิริ รองเลขาธิการสานักงานศาลปกครอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...