27 มิ.ย. 2562

กองวัสดุบนพื้นถนนทาให้คนตาย...เป็นละเมิดนะครับ !!!

ส่วนที่ 1 องค์การบริหารส่วนตาบลละเลยต่อหน้าที่
การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐแม้จะได้กระทำไปภายในขอบอำนาจตามที่กฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับกำหนดไว้อย่างครบถ้วนแล้ว แต่ถึงกระนั้นเจ้าหน้าที่ของรัฐก็ยังคงต้องใช้ความระแวดระวังไม่ให้การปฏิบัติหน้าที่ของตนไปกระทบกระทั่ง หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนหรือบุคคลอื่นด้วย ไม่เช่นนั้นก็อาจจะเกิดการกระทำละเมิดจากการละเลยต่อหน้าที่ได้ครับ
ดังเช่นอุทาหรณ์ที่ลุงเป็นธรรมจะนำมาเล่าให้ฟังในวันนี้...ครับ
เรื่องก็มีอยู่ว่า องค์การบริหารส่วนตำบลแห่งหนึ่งได้ซื้อวัสดุก่อสร้างเพื่อนำมาก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมไม้ไผ่ภายในหมู่บ้าน ต่อมา ร้านค้าได้นำวัสดุก่อสร้าง (หินและทราย) มากองบนถนนในลักษณะกีดขวางทางจราจร ซึ่งมีนายสมศักดิ์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นผู้ชี้จุดลงหินและทราย และคณะกรรมการตรวจรับพัสดุก็ได้ตรวจรับวัสดุก่อสร้างดังกล่าวแล้ว
ต่อมา ในเวลากลางคืน นายสิน ได้ขับขี่รถจักรยานยนต์ไปชนกองวัสดุก่อสร้างดังกล่าวจนได้รับบาดเจ็บสาหัสและภายหลังได้เสียชีวิตลง
นางสวยซึ่งเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายสิน เห็นว่าการเสียชีวิตของนายสิน เกิดจากการกระทำขององค์การบริหารส่วนตาบล ที่ได้กองหินและทรายไว้บนพื้นถนน โดยไม่มีสัญญาณไฟหรือมาตรการในการป้องกันอุบัติเหตุ อย่างเพียงพอและเหมาะสม ถือเป็นความประมาทเลินเล่อ องค์การบริหารส่วนตำบลจึงต้องรับผิดชดใช้เงินค่าสินไหมทดแทน
นางสวยจึงฟ้ององค์การบริหารส่วนตำบล (ผู้ถูกฟ้องคดี) ต่อศาลปกครอง ขอให้ชาระเงินค่าสินไหมทดแทน... ครับ
ส่วนที่ 2 กองวัสดุบนพื้นถนนทาให้คนตาย...เป็นละเมิดนะครับ !!!
คดีนี้ผู้ถูกฟ้องคดีกล่าวอ้างว่า ได้นำกรวยจราจรมาตั้งขวางข้างหน้าและข้างหลังกองหินและทราย และได้ประกาศเสียงตามสายแจ้งเตือนประชาชนในหมู่บ้านแล้ว
คดีนี้มีประเด็นที่น่าสนใจครับ ... ประเด็นแรก การกระทำดังกล่าวเพียงพอต่อการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยหรือไม่ ?
ศาลปกครองสูงสุดได้พิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายแล้ว เห็นว่า ตามมาตรา 67 (1) แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 บัญญัติให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบกในเขตองค์การบริหารส่วนตาบล
องค์การบริหารส่วนตำบลจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของตน เพื่อให้ประชาชนใช้ประโยชน์ในการสัญจรได้โดยสะดวกและปลอดภัย และกรณีที่สิ่งสาธารณประโยชน์ดังกล่าวชำรุดเสียหายหรือใช้การไม่ได้ก็จะต้องบำรุงรักษาหรือดำเนินการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพ ที่ใช้งานได้ตามปกติโดยเร็วด้วย และหากยังไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้ ก็จะต้องทำเครื่องหมายบ่งบอก หรือหาทางป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุแก่ผู้ใช้ทางด้วยครับ
การนำกรวยจราจรมาวางด้านหน้าและด้านหลังกองหินและทราย และการประกาศเสียงตามสายประชาสัมพันธ์ โดยไม่ได้ติดตั้งป้ายแจ้งเตือนและสัญญาณไฟฉุกเฉินในเวลากลางคืน เพื่อแจ้งเตือนให้ผู้ใช้ทางได้ทราบ เป็นสัญลักษณ์อีกชั้นหนึ่ง เนื่องจากเห็นว่าบริเวณดังกล่าวมีแสงสว่างจากไฟกิ่งสาธารณะตลอดเส้นทางแล้ว ย่อมเป็นการดำเนินการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่ยังไม่พอสมควรแก่เหตุและยังไม่เพียงพอกับสถานการณ์ จึงเป็นการละเลย ต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ ตามมาตรา 67 (1) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
เมื่อนายสินขับขี่รถจักรยานยนต์มาชนกับกองวัสดุบนถนนจนได้รับบาดเจ็บและถึงแก่ความตาย ซึ่งก็น่าจะมีสาเหตุมาจากการมองไม่เห็นกองวัสดุในเวลากลางคืน
จึงถือได้ว่าองค์การบริหารส่วนตำบลกระทำละเมิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ให้ต้องปฏิบัติ จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่นางสวยซึ่งเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายสิน ในผลแห่งละเมิด ตามมาตรา 420 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์...ครับ
ประเด็นที่สองครับ ... โดยที่ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า นายสินได้ขับขี่รถจักรยานยนต์ขณะมึนเมาสุรา ในเวลากลางคืน โดยมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดสูงถึง 300 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ซึ่งเกินกว่าปริมาณที่กฎหมายกำหนด (กรณีมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ให้ถือว่าเมาสุรา ตามข้อ 3 (1) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 16 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 21 (พ.ศ. 2560) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522) และไม่สวมหมวกนิรภัย
กรณีดังกล่าวจะถือว่าผู้เสียหายมีส่วนทำให้เกิดความเสียหาย อันจะมีผลทำให้ศาลมีอำนาจนำพฤติการณ์ดังกล่าวมาคำนวณค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ถูกฟ้องคดีต้องชดใช้ให้แก่ผู้ฟ้องคดีหรือไม่ ?
ศาลปกครองสูงสุดจึงวินิจฉัยว่า หากนายสินไม่มึนเมาสุราและได้สวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่รถจักรยานยนต์แล้ว ก็ไม่น่าจะเกิดเหตุร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต จึงแสดงให้เห็นว่า นายสินมีส่วนประมาทเลินเล่อหรือส่วนผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าความประมาทหรือความผิดของผู้ถูกฟ้องคดี
ดังนั้น การที่นายสินเสียชีวิตจึงเป็นผลมาจากความประมาทของนายสินรวมอยู่ด้วย ซึ่งศาลมีอำนาจ ที่จะวินิจฉัยจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่จะต้องชดใช้ โดยพิจารณาจากพฤติการณ์ของผู้ทำละเมิดและความร้ายแรง แห่งละเมิดได้ ตามมาตรา 438 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประกอบกับพฤติการณ์และการกระทำของผู้ถูกละเมิด ตามมาตรา 442 ประกอบกับมาตรา 223 แห่งประมวลกฎหมายดังกล่าว
คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดจึงกำหนดค่าเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดี โดยนำส่วนความประมาทหรือความผิดของนายสินมาพิจารณาความรับผิดของผู้ถูกฟ้องคดีด้วย ครับ (ผู้สนใจศึกษารายละเอียดได้จากคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ. 87/2561)
ลุงเป็นธรรมมีข้อสังเกตเกี่ยวกับข้อพิพาทในคดีลักษณะเดียวกันครับ ! เพราะมีหลายคดีที่ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยวางหลักไว้ว่า หน่วยงานของรัฐไม่จัดหามาตรการที่เพียงพอต่อการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยตามอำนาจหน้าที่ เช่น คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่องค์การบริหารส่วนตำบลไม่ได้ติดตั้งป้ายแจ้งเตือน หรือติดตั้งสัญญาณไฟฉุกเฉินว่ามีป้ายประชาสัมพันธ์หักโค่นวางพาดบริเวณของทางถนนเป็นเวลา 14 วัน จนเป็นเหตุให้มีผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย อันเป็นการกระทำละเมิดอันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ ส่วนผู้ตายก็มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดสูงกว่าปริมาณที่กฎหมายกำหนด หรือผู้ตายไม่สวมหมวกนิรภัย และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
หากปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้ตายคุ้นเคยกับบริเวณที่เกิดเหตุ เช่น เดินทางผ่านเป็นประจำ กรณีเช่นนี้ศาลปกครองสูงสุด จะวินิจฉัยว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากความประมาทของผู้ตายด้วย (เทียบเคียงคาพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ. 752/2560) ดังนั้น ไม่เฉพาะฝ่ายปกครองเท่านั้นที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเอาใจใส่ระมัดระวัง และหามาตรการป้องกันอุบัติเหตุหรือสาธารณภัยที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนอย่างเพียงพอและให้ประชาชนรับรู้ได้อย่างชัดเจน ในฝ่ายของประชาชนผู้รับบริการจากรัฐก็จำเป็นจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุกับตนเองหรือบุคคลอื่น มิฉะนั้นแล้ว หากเป็นผู้มีส่วนกระทำให้เกิดความเสียหายนั้นด้วย ศาลท่าน ก็มีอานาจที่จะนำพฤติการณ์ดังกล่าวมาพิจารณาจานวนเงินค่าสินไหมทดแทนได้ ... ครับ !!!
ส่วนที่ 3 รู้ทันการละเมิดอันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่
พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ได้กำหนดหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลเอาไว้ในมาตรา 67 เช่น การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้าและทางบก การรักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล การป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ หรือการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นต้น
หากองค์การบริหารส่วนตำบลใดไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามหน้าที่ที่กฎหมายกาหนด ก็อาจมีลักษณะเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ และหากการละเลยนั้นก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย ทรัพย์สิน หรือสิทธิต่าง ๆ ก็จะเป็นกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลนั้นกระทำละเมิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ ซึ่งเป็นคดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542... ครับ !!!
เครดิต : ลุงเป็นธรรม , สายด่วนศาลปกครอง 1355

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...