3 ก.ค. 2562

ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ ? ... เทียบได้จากเกณฑ์มาตรฐานทั่วไป

กรณีเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดในหน้าที่จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐ หากเป็นการกระทำละเมิดอันเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่จะต้องรับผิดในการกระทำละเมิดเฉพาะกรณีที่ได้กระทำการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น หากเจ้าหน้าที่มิได้กระทำละเมิดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เจ้าหน้าที่ผู้นั้นไม่ต้องรับผิดในการกระทำละเมิด ซึ่งเป็นไปตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่งประกอบมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
คดีที่นำมาเป็นอุทาหรณ์ในวารสารกรมประชาสัมพันธ์ฉบับนี้ เป็นพฤติการณ์ของเจ้าหน้าที่ ที่กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำให้หน่วยงานของรัฐเสียหาย โดยคดีนี้นาย ส. (ผู้ฟ้องคดี) เป็นเจ้าหน้าที่สังกัดมหาวิทยาลัย ตำแหน่งผู้จัดการโครงการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี ของคณะพาณิชย์และการบัญชี สังกัดมหาวิทยาลัย (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑) มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ตามใบกำหนดหน้าที่ (Jop Description) ซึ่งต้องดูแลการบริหารงานทั่วไปของโครงการและได้รับมอบหมายให้เก็บกุญแจห้องของโครงการ แต่เพราะการเข้าทำงานของเจ้าหน้าที่โครงการที่เหลื่อมล้ำกัน โดยเจ้าหน้าที่บางคนเข้าทำงานเวลา ๘ นาฬิกา เลิกงาน ๑๖ นาฬิกา บางคนเข้าทำงาน ๙ นาฬิกา เลิกงาน ๑๗ นาฬิกา บางครั้งมีการสอนในวันเสาร์และวันอาทิตย์ นาย ส. จึงมอบกุญแจห้องทำงานให้แก่เจ้าหน้าที่โครงการทุกคน
ต่อมา หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องของโครงการ จำนวน ๒ เครื่องได้หายไป โดยไม่มีร่องรอยงัดแงะ มหาวิทยาลัยจึงแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงและมีมติว่าไม่มีผู้ใดต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน และรายงานผลการสอบข้อเท็จจริงไปยังกระทรวงการคลัง ซึ่งกระทรวงการคลังเห็นว่านาย ส. เป็นผู้รักษาและควบคุมการใช้กุญแจของเจ้าหน้าที่ภายในโครงการ แต่ละเลยไม่เก็บกุญแจไว้ในที่รัดกุมและมอบกุญแจให้บุคคลต่างๆ โดยไม่มีมาตรการควบคุมการใช้กุญแจห้องให้เป็นไปด้วยความระมัดระวัง และไม่ปรากฏร่องรอยการงัดแงะถือเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงให้นาย ส. รับผิดใช้เงินเต็มจานวนคือ ๓๒,๔๐๐ บาท (โดยหักค่าเสื่อม) มหาวิทยาลัยจึงมีคาสั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลัง (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒)
นาย ส. เห็นว่า ตนมีหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่กำหนดไว้ในใบกำหนดงานเท่านั้น ไม่มีหน้าที่ในการดูแลอาคาร สถานที่ และทรัพย์สิน ทั้งยังมีเจ้าหน้าที่อีกหลายคนมีกุญแจที่สามารถเข้าห้องได้และไม่มีพฤติการณ์ที่เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง นอกจากนี้ ความเสียหายไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท มหาวิทยาลัยไม่ต้องรายงานกระทรวงการคลัง หลังจากอุทธรณ์คาสั่งและมหาวิทยาลัย ได้ยกอุทธรณ์ นาย ส. จึงนาคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง ขอให้ศาลเพิกถอนคาสั่งเรียกให้นาย ส. ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทน
คดีนี้มีประเด็นที่น่าสนใจ ๒ ประเด็น คือ
(๑) พฤติการณ์ของนาย ส. เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ผู้ฟ้องคดี มีหน้าที่ความรับผิดชอบตามใบกำหนดหน้าที่ ซึ่งต้องดูแล การบริหารงานทั่วไปของโครงการ แม้ใบกำหนดหน้าที่จะไม่มีรายละเอียดให้ผู้ฟ้องคดีมีหน้าที่ดูแลรักษาทรัพย์สินภายในห้องของโครงการก็ตาม แต่ตามใบกำหนดหน้าที่ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การบริหารงานโดยทั่วไปของโครงการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ผู้ฟ้องคดีในฐานะผู้จัดการโครงการย่อมมีหน้าที่โดยปริยายที่ต้องดูแลรักษาทรัพย์สินของโครงการ ซึ่งใช้สาหรับการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ เนื่องจากหากขาดอุปกรณ์การเรียนการสอนก็ไม่สามารถทำให้โครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์ได้ ประกอบกับผู้ฟ้องคดีได้รับมอบหมายให้ถือกุญแจห้องโครงการย่อมเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบโดยตรงของผู้ฟ้องคดีในการที่จะต้องใช้ความระมัดระวังในการเก็บรักษากุญแจห้องโครงการ การที่ผู้ฟ้องคดีมอบกุญแจให้แก่เจ้าหน้าที่โครงการทุกคนถือ และผู้ฟ้องคดียังแขวนกุญแจลูกครอบไว้ที่โต๊ะในโครงการซึ่งสามารถมองเห็นและสามารถหยิบได้โดยง่าย ทั้งเจ้าหน้าที่ทุกคนในโครงการต่างทราบว่าผู้ฟ้องคดีแขวนกุญแจลูกครอบไว้ตรงจุดใด อันเป็นช่องทางหรือโอกาสให้เกิดมีการโจรกรรมเครื่องได้โดยง่าย พฤติกรรมของผู้ฟ้องคดีเป็นการกระทำที่เบี่ยงเบนไปจากเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นต้องมีตามภาวะวิสัยและพึงใช้ความระมัดระวังให้มาก แต่ผู้ฟ้องคดีหาได้ใช้ความระมัดระวังอย่างเพียงพอไม่ จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ถูกฟ้องคดี จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่งประกอบด้วยมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
(๒) นาย ส. ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพียงใด ? ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า การที่กระทรวงการคลัง (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒) ฟังข้อเท็จจริงว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ที่เข้ามาในห้องโครงการเป็นคนสุดท้ายเป็นการฟังข้อเท็จจริงที่คลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามสานวนการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ แต่งตั้ง ซึ่งปรากฏว่ามีบุคคลอื่นเข้ามาใช้ห้องเป็นคนสุดท้ายและมีพยานเห็นว่าประตูปิดล็อคเรียบร้อยตามปกติ เมื่อคำนึงถึงระดับความร้ายแรง แห่งการกระทำและความเป็นธรรมตามพฤติการณ์ ผู้ฟ้องคดีจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้เต็มจำนวนความเสียหาย นอกจากนี้การที่ทรัพย์สินสูญหายส่วนหนึ่งเกิดจากความบกพร่องของผู้ถูกฟ้องคดีที่ไม่มีการวางระบบป้องกันทรัพย์สินเพื่อป้องกันการโจรกรรม โดยปล่อยให้เจ้าหน้าที่และนักศึกษาจัดวางระบบดูแลทรัพย์สินกันเอง จึงหักส่วนแห่งความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๘ วรรคสองและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ จึงควรให้ผู้ฟ้องคดีรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนร้อยละ ๕๐ ของความเสียหายทั้งหมด ส่วนมูลค่าความเสียหายที่ไม่ต้องรายงานให้กระทรวงการคลังตรวจสอบนั้น ได้แก่มูลค่าความเสียหายตามที่ปรากฏจากการตรวจสอบของคณะกรรมการการสอบข้อเท็จจริงความรับผิด ทางละเมิด มิใช่มูลค่าความเสียหายภายหลังจากที่กระทรวงการคลังตรวจสอบและหักค่าเสื่อมราคา ของทรัพย์สินแล้ว เมื่อคณะกรรมการฯ ดังกล่าวเห็นว่า มูลค่าความเสียหายคิดเป็นเงินได้ ๖๐,๐๐๐ บาท ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงมีหน้าที่รายงานกระทรวงการคลังเพื่อตรวจสอบ คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีเฉพาะส่วนที่เรียกให้ผู้ฟ้องคดีชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มจานวนจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๓๕๔/๒๕๕๕)
จากคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดข้างต้นเห็นได้ว่า การกระทำใดจะถือว่าเป็นการกระทาโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ จะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในแต่ละกรณีประกอบกับพฤติการณ์และภาวะวิสัยของผู้กระทำละเมิดอันเป็นเหตุในเกิดความเสียหายขึ้น ซึ่งหากเป็นการกระทำที่เบี่ยงเบนไปจากมาตรฐานที่วิญญูชนทั่วไปพึงกระทาหรือหากแม้นได้ใช้ความระมัดระวังเพียงเล็กน้อย ก็จะไม่เกิดความเสียหายขึ้น ย่อมถือเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ซึ่งศาลปกครอง มีอำนาจตรวจสอบทั้งในส่วนของกระบวนการขั้นตอนในการออกคาสั่งว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ทั้งพฤติการณ์แห่งการกระทาว่าเป็นการกระทาโดยจงใจหรือประเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ และจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนที่หน่วยงานกำหนดในคาสั่งว่าถูกต้องเหมาะสมหรือไม่
Credit : นางสาวนิตา บุณยรัตน์ พนักงานคดีปกครองชานาญการ , กลุ่มเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการและวารสาร , สานักวิจัยและวิชาการ สานักงานศาลปกครอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...