1 ก.ค. 2562

แบบฟอร์มสำเนาชื่อผู้ลงนามล่วงหน้า ทำไม่ได้ ! : เสี่ยงเสียหายแก่ราชการ

“ก็เคยใช้... เคยทา... กันมาแบบนี้นานแล้ว !” เป็นวลี...ที่เรามักจะได้ยินคุ้นหูกันอยู่ บ่อย ๆ ในวงราชการ คาถาม คือ ข้อมูลดังกล่าวเป็นสิ่งรับรองความถูกต้องของการกระทำหรือไม่
แท้จริงแล้ว... สิ่งที่เราทำหรือใช้กันมานาน มิได้หมายความว่าสิ่งนั้นจะถูกต้องเสมอไป ผู้มีอำนาจหน้าที่โดยเฉพาะผู้บังคับบัญชาจะต้องคอยตรวจสอบงานในความรับผิดชอบอยู่เสมอว่า มีการดำเนินการโดยชอบและถูกต้องตามระเบียบหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือไม่ เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ อันเกิดจากความประมาทเลินเล่อในหน้าที่
เรื่องที่จะคุยกันวันนี้... เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้แบบฟอร์มต่าง ๆ ของหน่วยงานของรัฐแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใช้กันมานานหลายปี โดยมีการสำเนาลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงชื่อไว้ในแบบฟอร์มนั้น ๆ ก่อนล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการทำงานและการเบิกจ่ายต่าง ๆ เนื่องจากมีปริมาณงานมาก
ต่อมาผู้บริหารหน่วยงานดังกล่าวได้ตรวจสอบพบว่า หน่วยงานในสังกัดได้ปฏิบัติหน้าที่ โดยไม่เป็นไปตามระเบียบของทางราชการหลายกรณี มีทั้งกรณีที่เป็นความผิดวินัยร้ายแรงและไม่ร้ายแรง ส่งผลให้ผู้อำนวยการในหน่วยงานแห่งนั้นถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยไม่ร้ายแรง กรณีปล่อยให้เจ้าหน้าที่ใช้แบบฟอร์มต่าง ๆ ที่มีสำเนาลายมือชื่อเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติงานและเจ้าพนักงานผู้สั่งจ่ายไว้ล่วงหน้า และได้นำมาใช้ในการทารายงานเบิกจ่ายค่าพาหนะ ค่าป่วยการ และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง จึงถูกตั้งข้อกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยเนื่องจากไม่กำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชา
เรื่องนี้คณะกรรมการสอบสวนพิจารณาเห็นว่า ผู้อำนวยการมีความผิดฐานประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ ตามมาตรา 84 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 (ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท) แต่กรณีดังกล่าวถือเป็นความผิดวินัยเล็กน้อย มีเหตุอันควรงดเว้นโทษ จึงให้ว่ากล่าวตักเตือนเป็นหนังสือ โดย อ.ก.พ. กรม มีมติเอกฉันท์เห็นพ้องกับคณะกรรมการสอบสวน อธิบดีจึงได้มีหนังสือว่ากล่าวตักเตือนผู้อำนวยการ
ผู้อำนวยการเห็นว่า การที่ตนถูกว่ากล่าวตักเตือนเป็นหนังสือนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากแบบฟอร์มที่พิพาทได้ใช้กันมานานตั้งแต่สมัยผู้อำนวยการคนก่อน ทั้งไม่ได้ขัดต่อกฎหมายและยังไม่มีความเสียหายเกิดขึ้นจากเหตุดังกล่าวแก่ทางราชการ จึงไม่อาจถือได้ว่าตนกระทำประมาทในการปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตรา 84 วรรคหนึ่ง เพราะกฎหมายดังกล่าวไม่ได้กำหนดลักษณะการกระทำโดยประมาทไว้ การจะพิจารณาว่าเป็นการกระทำโดยประมาทหรือไม่ จึงต้องพิจารณาจากเกณฑ์ตามมาตรา 59 วรรคสี่ แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งการกระทำโดยประมาทจะต้องเป็นเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดผล เมื่อตนไม่ได้ปฏิบัติผิดระเบียบที่เกี่ยวข้อง คือ ระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนำเงิน ส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 และระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการส่งคำคู่ความ เอกสาร และสำนวนความ พ.ศ. 2522 และยังไม่เกิดผลคือยังไม่เกิดความเสียหายแก่ราชการ จึงไม่อาจถือได้ว่าตน ได้กระทำโดยประมาท จึงได้ยื่นคาร้องอุทธรณ์คาสั่งว่ากล่าวตักเตือนดังกล่าวแต่ได้ถูกยกอุทธรณ์ในเวลาต่อมา
ผู้อำนวยการจึงยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ศาลสั่งเพิกถอนหนังสือว่ากล่าวตักเตือนและขอให้หน่วยงานต้นสังกัดชดใช้ค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ตนใช้ในการจัดทำเอกสารหลักฐานต่าง ๆ เพื่อต่อสู้แก้ข้อกล่าวหา
มาดูกันว่า... ข้อต่อสู้ของผู้อำนวยการซึ่งเป็นผู้ฟ้องคดีในคดีนี้จะรับฟังได้หรือไม่ และ ศาลปกครองจะวินิจฉัยให้เหตุผลว่าอย่างไร !
คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของผู้ฟ้องคดีว่า ผู้ฟ้องคดีดำรงตำแหน่งผู้อานวยการซึ่งมีหน้าที่ในการกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชาให้ถูกต้องเป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ เมื่อพบว่าผู้ใต้บังคับบัญชาได้จัดทำแบบฟอร์มรายงานที่มีสำเนาลายมือชื่อไว้ล่วงหน้าและนำมาใช้ในการทำรายงานเบิกจ่าย อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในลักษณะที่อาจจะเกิดความเสียหายแก่ทางราชการ แต่ผู้ฟ้องคดีก็ยังคงปล่อยให้มีการใช้แบบฟอร์มดังกล่าวต่อไป โดยมิได้มีการสั่งการให้แก้ไขหรือห้ามมิให้ใช้แบบฟอร์มเช่นนั้นอีก
พฤติการณ์จึงถือว่ามิได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการตามมาตรา 84 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ซึ่งกาหนดให้ “ข้าราชการต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความอุตสาหะ เอาใจใส่ ระมัดระวังรักษาประโยชน์ของทางราชการ และต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ ซึ่งการประมาทเลินเล่อที่เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ถือเป็นความผิดวินัยร้ายแรง” เมื่อกรณีของผู้ฟ้องคดี ยังไม่เกิดความเสียหายแก่ทางราชการจึงถือเป็นความผิดวินัยไม่ร้ายแรง
ในส่วนข้อโต้แย้งของผู้ฟ้องคดีที่อ้างมาตรา 59 วรรคสี่ แห่งประมวลกฎหมายอาญา โดยอ้างว่าเมื่อยังไม่เกิดความเสียหายขึ้น จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยประมาทนั้น ศาลอธิบายว่าบทบัญญัติมาตรา 59 วรรคสี่ ดังกล่าวเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับความรับผิดทางอาญา การรับผิดในฐานประมาทจึงต้องมีบทบัญญัติไว้โดยชัดแจ้ง แต่ก็ไม่จำต้องเกิดผลเสียหายเสมอไป เช่น พระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (4) ที่บัญญัติห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว อันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน หากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติมีโทษปรับ ซึ่งจะเห็นได้ว่าแม้ยังไม่ได้เกิดความเสียหายก็มีโทษได้ ดังนั้น การพิจารณาความผิดฐานประมาทตามมาตรา 84 วรรคหนึ่ง ดังกล่าวก็เช่นเดียวกัน ผู้กระทำไม่จำต้องมีกระทำการที่ฝ่าฝืนกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ โดยไม่จำต้องมีผลของการกระทาเกิดขึ้นแต่อย่างใด เพียงแต่มีพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่ามิได้ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ราชการก็ถือเป็นการกระทำผิดวินัยฐานกระทำโดยประมาทได้แล้ว การที่อธิบดีพิจารณาว่าการกระทำของผู้ฟ้องคดีเป็นความผิดวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควรงดโทษ โดยให้ว่ากล่าวตักเตือนเป็นหนังสือนั้น จึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อบ. 14/2560)
เรื่องนี้ศาลปกครองสูงสุดได้วางแนวทางการปฏิบัติราชการที่ดี ในเรื่องการใช้แบบฟอร์ม ต่าง ๆ ของทางราชการที่ไม่สามารถสาเนาชื่อผู้มีอานาจลงนามไว้ล่วงหน้าได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่โดยตรงและโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บังคับบัญชา เมื่อเห็นความไม่ถูกต้องในการดาเนินการเรื่องใด ๆ ไม่ควรปล่อยปละหรือคิดว่าใช้กันมานานแล้วหรือยังไม่เคยมีความเสียหายเกิดขึ้น เพราะเท่ากับว่ามีลักษณะเป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ ซึ่งอาจต้องรับผิดทางวินัยฐานประมาทเลินเล่อต่อหน้าที่ราชการได้ ทั้งนี้ ตามมาตรา 84 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 และ ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นฉบับที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันก็ได้บัญญัติเรื่องดังกล่าวไว้ในมาตรา 83 เช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ ในการพิจารณากรณีการกระทำโดยประมาทเลินเล่อตามบทบัญญัติดังกล่าวนั้น ไม่จาต้องมีการกระทำที่ถึงขนาดฝ่าฝืนกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ เพียงแต่มีพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่ามิได้ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ราชการจนอาจก่อให้เกิดความเสียหาย ก็ถือเป็นการกระทาผิดวินัยฐานประมาทเลินเล่อได้แล้ว
ฉะนั้น เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกท่านจึงควรทบทวนงานในหน้าที่ของตนอยู่เสมอว่า ยังมีสิ่งใด ที่อาจเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อและอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการได้ โดยหากพบก็ควรรีบดำเนินการแก้ไข... เพื่อตัดไฟเสียตั้งแต่ต้นลม เพราะหากเกิดความเสียหายขึ้น ในฐานะเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ ก็จะต้องรับผิด โดยไม่อาจหนีพ้นความรับผิดชอบของตนได้ แต่ก็มิใช่เข้มงวดเกินไปหรือสร้างภาระเกินความจาเป็นจนกลายเป็นอุปสรรคในการทางาน ผู้มีอานาจหน้าที่จึงต้องพิจารณาดาเนินการอย่างรอบคอบ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการบริการสาธารณะที่ดีแก่ประชาชน ซึ่งก็คือเป้าหมายในการปฏิบัติหน้าที่ราชการนั่นเอง

เครดิต : นางสมฤดี ธัญญสิริ รองเลขาธิการสานักงานศาลปกครอง , หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ คอลัมน์รายงานพิเศษ
**********************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...