5 ก.ค. 2562

อุทธรณ์ฟังขึ้น … แต่ยัง “ฝืน” ไม่อนุญาต !

คดีปกครองที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังในวันนี้ เป็นเรื่องของเจ้าพนักงานท้องถิ่นละเลยต่อหน้าที่ไม่อนุญาตให้เจ้าของที่ดินก่อสร้างที่พักอาศัยบนที่ดินของตนเอง ทั้งที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มีความเห็นว่าการมีคำสั่งไม่อนุญาตไม่เป็นไปตามกฎหมาย
เรื่องมีอยู่ว่า ... ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นคำขอก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด 5 ชั้น จำนวน 1 หลัง บนที่ดินของผู้ฟ้องคดี แต่ผู้ถูกฟ้องคดี (นายกเทศมนตรี) มีคำสั่งไม่อนุญาตโดยให้เหตุผลว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวมีการต่อต้านจากประชาชนไม่ให้ก่อสร้างอาคาร เนื่องจากเป็นการบดบังทัศนียภาพ มีปัญหาสาธารณูปโภคด้านกระแสไฟฟ้า ปริมาณและแรงดันน้าประปาไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ และปัญหาน้าเน่าเสีย
ผู้ฟ้องคดีได้อุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตดังกล่าวและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยว่า เหตุผลในการออกคาสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
ผู้ฟ้องคดีจึงมีหนังสือถึงผู้ถูกฟ้องคดีพร้อมแนบเอกสารแบบแปลนชุดเดิมเพื่อขอรับใบอนุญาตก่อสร้างอาคารตามคาวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว แต่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่ดำเนินการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารให้แก่ผู้ฟ้องคดี โดยเห็นว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 66 ที่กำหนดให้ชุมชนท้องถิ่นมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน ซึ่งพื้นที่เทศบาลเป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม มีวัดและโบราณสถานที่สาคัญหลายแห่ง และอยู่ระหว่างการเสนอร่างเทศบัญญัติ เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร บางประเภทในพื้นที่เทศบาล เพื่อกำหนดประเภทอาคารที่ก่อสร้างในพื้นที่เทศบาล
ผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารให้แก่ผู้ฟ้องคดี
ประเด็นสาคัญในคดีนี้ก็คือ ผู้ถูกฟ้องคดีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือไม่ และต้องออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารให้แก่ผู้ฟ้องคดีหรือไม่ ? โดยมีข้อกฎหมายสาคัญ คือ มาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 บัญญัติว่า “ผู้ใดจะก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและดาเนินการตามมาตรา 39 ทวิ” และมาตรา 52 วรรคห้า บัญญัติว่า “ในกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือศาลได้มีคำวินิจฉัยหรือคำพิพากษาเป็นประการใด ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นปฏิบัติตามนั้น”
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า การที่ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นอุทธรณ์คาสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ไม่อนุญาตให้ ผู้ฟ้องคดีก่อสร้างอาคารและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำวินิจฉัยว่า เหตุผลในการออกคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จึงถือว่าคำสั่งที่ไม่อนุญาตให้ผู้ฟ้องคดีก่อสร้างอาคารถูกเพิกถอนโดยคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว และเมื่อผู้ฟ้องคดีขอรับใบอนุญาตก่อสร้างอาคารตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวและเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีได้ตรวจสอบหลักฐานต่างๆ ตามคำขอแล้วเห็นว่าถูกต้องครบถ้วนตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และเสนอผู้ถูกฟ้องคดีซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายควบคุมอาคารเพื่อพิจารณา ทั้งยังไม่ปรากฏว่าคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารของผู้ฟ้องคดีต้องห้ามตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ผู้ถูกฟ้องคดีจึงต้องปฏิบัติตามคาวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 52 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
ดังนั้น การที่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จึงเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกาหนดให้ต้องปฏิบัติ และแม้พื้นที่เทศบาลจะเป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและแหล่งเรียนรู้ทางจิตวิญญาณ และกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและโบราณวัตถุแล้ว ซึ่งเป็นเหตุผลความจำเป็นหรือเหตุผลพิเศษเฉพาะท้องถิ่นที่จะออกเทศบัญญัติกาหนดความสูงของอาคารแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 แต่การออกเทศบัญญัติจะมีผลใช้บังคับได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการควบคุมอาคารและได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง (2) และวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน ดังนั้น เมื่อร่างเทศบัญญัติของเทศบาลยังไม่มีผลใช้บังคับ การอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารในเขตพื้นที่เทศบาลจึงต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายควบคุมอาคาร ในขณะนั้นกาหนดพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารให้แก่ผู้ฟ้องคดี (คาพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 406/2555)
คดีนี้ถือเป็นอุทาหรณ์ที่ดีสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวกับการนำหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่ปรากฏตามร่างกฎหมายที่อยู่ระหว่างการดำเนินการมาใช้บังคับกับประชาชน โดยเจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจ ที่จะนำร่างกฎหมายมาใช้บังคับได้จนกว่ากฎหมายดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับ และในกรณีที่กฎหมายกาหนดอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ไว้ให้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด เจ้าหน้าที่มีหน้าที่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด และหากไม่ปฏิบัติหน้าที่หรือยังฝืนไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของผู้มีอำนาจเหนือชั้นขึ้นไป ย่อมถือเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติที่ศาลปกครองมีอานาจพิพากษาให้ปฏิบัติหน้าที่นั้นได้นะครับ ...
เครดิต : นายปกครอง , หนังสือพิมพ์บ้านเมือง คอลัมน์คดีปกครอง ฉบับวันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...