23 เม.ย. 2560

มันไม่ง่ายอย่างที่คิด

ถึง ทนายจำเลยทุกท่าน..
           ก่อนตกลงรับคดีอาญาซึ่งเป็นคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ นั้น ควรพิจารณากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาให้ดี เพราะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
แต่เดิมนั้น กระบวนการพิจารณาคดีอาญาในศาลจังหวัดหรือศาลอาญา เป็นระบบกล่าวหา ภาระการพิสูจน์ความผิดของจำเลยตกแก่โจทก์ ทนายจำเลยจึงทำงานน้อยเพียงแต่ซักค้านให้ข้อเท็จจริงไม่ครบองค์ประกอบความผิดอาญา หรือทำให้ข้อเท็จจริงเป็นที่น่าสงสัยก็พอ
            แต่ปัจจุบันนี้ หากคดีอาญาเป็นคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ กระบวนการพิจารณาคดีเป็นระบบไต่สวน ทำให้ทนายความจำเลยทำงานหนักขึ้น เพราะต้องกำหนดประเด็นต่อสู้และชี้ช่องพยานหลักฐานให้ชัดเจนเพียงพอเสียก่อน จะนำพยานหลักฐานใดบ้าง อยู่ที่ไหน จะมานำสืบในข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับประเด็นอะไร และพยานนั้นจะนำสืบประกอบกับพยานหลักฐานใด หากจะปฏิเสธพยานหลักฐานของโจทก์ จะต้องแถลงปฏิเสธให้ชัดแจ้งและให้เหตุผลแห่งการปฏิเสธว่า ไม่ชอบไม่ถูกต้องด้วยเหตุผลใด ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา หรือรูปแบบ ภายในวันนัดตรวจพยานหลักฐาน พร้อมทั้งให้เหตุผล โดยจะต้องทำการสรุปกับพนักงานคดีให้แล้วเสร็จก่อนวันนัดตรวจพยานหลักฐาน....
        ทนายสุนทร ชูแก้ว เพื่อนผม ให้คำแนะนำเพิ่มเติมอีกว่า ....คดีทุจริตภาครัฐหรือคดีสำนวนปปช.นั้น
1.ต้องทำงานเป็นทีม
2.ก่อนตรวจพยานหลักฐานต้องยื่นคัดเอกสารของโจทก์มาตรวจสอบเพื่อทำดัชนีและยื่นแนวทางการต่อสู้คดีพร้อมบัญชีพยานและเอกสารหมายล.ดังนั้นวันตรวจพยานหลักฐานของคดีทุจริตฯจึงสำคัญมากจะแสดงความพร้อมของทีมทนายความว่าเป็นมืออาชีพ
3.จำเลยจะไม่ค่อยเห็นทางที่จะชนะคดีประเภทนี้เพราะระบบไต่สวนจะให้ศาลเป็นประธานของคดีศาลจะรับฟังสำนวนการสอบสวนของอนุฯปปช.เป็นหลักพยานแต่ละปากที่ถูกไต่สวนในชั้นปปช.ทนายจำเลยจะถามค้านให้ทำเป็นคำร้องและตั้งคำถามให้ศาลพิจารณาก่อน
4.คงต้องพิจารณาต่อไปว่าระบบไต่สวนฯดังกล่าวนี้เหมาะสมหรือเป็นธรรมกับจำเลยหรือไม่ต่อไป
ทั้งนี้ให้ดูรายละเอียด เพียงบางส่วน นะครับ..
การฟ้องคดี การไต่สวนมูลฟ้อง และการตรวจพยานหลักฐาน
มาตรา ๑๕ ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือมีข้อความตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๕๘ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีข้อความที่เป็นการกล่าวหาเกี่ยวกับการกระทำอันเป็นความผิดคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ และต้องระบุพฤติการณ์ที่กล่าวหาว่ากระทำความผิดพร้อมทั้งชี้ช่องพยานหลักฐานให้ชัดเจนเพียงพอที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้
ในคดีที่อัยการสูงสุด พนักงานอัยการ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. หรือคณะกรรมการ ป.ป.ช.เป็นโจทก์ ในวันยื่นฟ้องให้จำเลยมาหรือคุมตัวมาศาล และให้โจทก์ส่งรายงานและสำนวนการสอบสวน
หรือสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงพร้อมสำเนาอิเล็กทรอนิกส์ต่อศาลเพื่อใช้เป็นหลักในการพิจารณาและรวมไว้ในสำนวน
กรณีที่ศาลเห็นว่าฟ้องไม่ถูกต้อง ให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้อง
มาตรา ๑๖ ถ้าฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ให้ศาลสั่งดังต่อไปนี้
(๑) ในคดีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ ให้ไต่สวนมูลฟ้อง แต่ถ้าคดีนั้นพนักงานอัยการหรือคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นโจทก์ หรือคดีนั้นอัยการสูงสุดหรือประธานกรรมการ ป.ป.ช. เป็นโจทก์ได้ฟ้องจำเลยโดยข้อหาอย่างเดียวกันด้วยแล้ว ให้จัดการตาม (๒) หรือ (๓) แล้วแต่กรณี
(๒) ในคดีที่พนักงานอัยการ หรือคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นโจทก์ ไม่จำเป็นต้องไต่สวนมูลฟ้อง แต่ถ้าเห็นสมควรจะสั่งให้ไต่สวนมูลฟ้องก่อนก็ได้
(๓) ในคดีที่อัยการสูงสุด หรือประธานกรรมการ ป.ป.ช. เป็นโจทก์ ให้ศาลประทับฟ้องไว้พิจารณาโดยไม่ต้องไต่สวนมูลฟ้อง
ในกรณีที่มีการไต่สวนมูลฟ้องตาม (๑) หรือ (๒) แล้ว ถ้าจำเลยให้การรับสารภาพ ให้ศาลประทับฟ้องไว้พิจารณา
มาตรา ๑๗ การไต่สวนมูลฟ้อง ให้ดำเนินการตามมาตรา ๑๖๕ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา สำหรับกรณีตามมาตรา ๑๖ (๒) ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการไต่สวนมูลฟ้องกรณีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์
ไม่ว่าจะเป็นคดีที่พนักงานอัยการหรือคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นโจทก์หรือคดีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ ก่อนเริ่มไต่สวนมูลฟ้อง ถ้าจำเลยมาศาล ให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีก็ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๗๓ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในการไต่สวนมูลฟ้อง จำเลยอาจแถลงให้ศาลทราบถึงข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายอันสำคัญที่ศาลควรสั่งว่าคดีไม่มีมูล และจะระบุในคำแถลงถึงตัวบุคคล เอกสาร หรือวัตถุที่จะสนับสนุนข้อเท็จจริงตามคำแถลงของจำเลยด้วยก็ได้ กรณีเช่นว่านี้ ศาลอาจเรียกบุคคล เอกสาร หรือวัตถุดังกล่าวมาเป็นพยานศาลเพื่อประกอบการวินิจฉัยสั่งคดีได้ตามที่เห็นสมควร โดยโจทก์และจำเลยอาจถามพยานศาลได้เมื่อได้รับอนุญาตจากศาล
ในระหว่างไต่สวนมูลฟ้องคดีที่พนักงานอัยการหรือคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นโจทก์ ศาลจะสั่งขังจำเลยไว้หรือปล่อยชั่วคราวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาก็ได้
คำสั่งของศาลที่ว่าคดีมีมูลให้แสดงเหตุผลอย่างชัดเจนประกอบด้วย
มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๗๓ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในวันยื่นฟ้องหรือวันนัดพิจารณาครั้งแรก แล้วแต่กรณี เมื่อจำเลยมาศาลและศาลเชื่อว่าเป็นจำเลยจริงแล้ว
ให้ศาลส่งสำเนาฟ้องแก่จำเลยรายตัวไป และอ่านกับอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง และถามว่าจำเลยกระทำความผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง ถ้าจำเลยให้การหรือไม่ยอมให้การก็ให้บันทึกไว้ และถ้าจำเลยให้การปฏิเสธหรือไม่ให้การ ก็ให้ศาลกำหนดวันตรวจพยานหลักฐานโดยให้คู่ความทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบสี่วัน
มาตรา ๑๙ ในคดีที่จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แม้ข้อหาที่จำเลยรับสารภาพนั้น กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกน้อยกว่าห้าปี หรือโทษสถานที่เบากว่านั้น ศาลอาจเรียก
พยานหลักฐานมาสืบพยานต่อไปเพื่อทราบถึงพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดจนกว่าจะพอใจว่าจำเลยกระทำความผิดจริงก็ได้
มาตรา ๒๐ คู่ความทั้งสองฝ่ายอาจอ้างตนเอง พยานวัตถุ พยานเอกสาร พยานบุคคลหรือหลักฐานอื่น ซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ได้ตามที่ศาลเห็นสมควร และมีสิทธิขอตรวจพยานหลักฐานและคัดสำเนาพยานหลักฐานของตนเอง หรือของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งได้
การอ้างพยานตามวรรคหนึ่ง ให้คู่ความยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันตรวจพยานหลักฐานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน พร้อมคำแถลงแสดงเหตุผลความจำเป็นในการอ้างพยาน และวิธีการได้มาซึ่งพยานดังกล่าว
การยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมเมื่อล่วงพ้นระยะเวลาตามวรรคสองจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาล โดยผู้ยื่นบัญชีระบุพยานจะต้องยื่นคำแถลงแสดงเหตุผลความจำเป็นและวิธีการได้มาซึ่งพยานหลักฐานดังกล่าวด้วย
ในกรณีที่พยานเอกสารหรือพยานวัตถุใดอยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอก ให้คู่ความที่ประสงค์จะอ้างอิงขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกพยานหลักฐานดังกล่าวมาจากผู้ที่ครอบครอง โดยยื่นคำขอต่อศาลพร้อมกับการยื่นบัญชีระบุพยาน เพื่อให้ได้พยานหลักฐานนั้นมาก่อนวันนัดตรวจพยานหลักฐานหรือวันที่ศาลกำหนด
มาตรา ๒๑ ในวันตรวจพยานหลักฐาน ให้คู่ความส่งพยานเอกสารและพยานวัตถุที่ยังอยู่ในความครอบครองของตนต่อศาลเพื่อให้คู่ความอีกฝ่ายตรวจสอบ เว้นแต่ศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...