22 พ.ค. 2562

หนังสือราชการรั่วไหลสู่บุคคลภายนอก ... ทางสื่อสังคมออนไลน์...หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดหรือไม่ ? !!

การที่ประชาชนได้ยื่นคำขอหรือคำร้องต่าง ๆ ต่อหน่วยงานราชการไม่ว่าจะเป็นการขอข้อมูลข่าวสารของราชการหรือยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่าง ๆ เมื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับคำขอหรือคำร้องนั้นแล้ว เอกสารนั้นถือเป็นหนังสือราชการตามระเบียบสานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐต้องปฏิบัติเกี่ยวกับเอกสารราชการตามระเบียบสานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ ข้อ ๕๓ ที่กำหนดไว้ว่า การเก็บหนังสือที่ปฏิบัติยังไม่เสร็จให้อยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าของเรื่องโดยให้กำหนดวิธีการเก็บให้เหมาะสมตามขั้นตอนของการปฏิบัติงาน
แต่ถ้าเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐดูแลจัดเก็บเอกสารราชการไม่เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ ทำให้เอกสารราชการหลุดรอดรั่วไหลไปสู่บุคคลภายนอกที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทำให้เกิดความเสียหายกับผู้ยื่นคำขอหรือผู้เป็นเจ้าของเอกสาร ถือเป็นการละเมิดอันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือไม่ ?
ดังเช่นคดีปกครองที่จะมาเล่าสู่กันฟังวันนี้ครับ ... !!
เป็นเรื่องที่ผู้ฟ้องคดีได้ไปยื่นขอข้อมูลข่าวสารของราชการตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร ของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ต่อองค์การบริหารส่วนตำบล (ผู้ถูกฟ้องคดี) แต่ไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารตามที่ขอ และต่อมาได้มีบุคคลอื่นนำหนังสือพร้อมสาเนำบัตรประจำตัวผู้สื่อข่าวของผู้ฟ้องคดีไปลงในสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก (Facebook) โดยการเขียนข้อความใส่ร้ายผู้ฟ้องคดี
ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า องค์การบริหารส่วนตำบลไม่เก็บรักษาหนังสือขอข้อมูลข่าวสารของราชการพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องตามระเบียบกฎหมายทำให้เกิดความเสียหาย จึงฟ้องต่อศาลปกครองขอให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้องค์การบริหารส่วนตำบลชดใช้ค่าเสียหาย
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมีหนังสือขอข้อมูลข่าวสารมาถึงองค์การบริหารส่วนตำบล และเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีก็ได้รับไว้เป็นหลักฐานทางราชการแล้ว หนังสือของผู้ฟ้องคดีจึงเป็นหนังสือราชการ ซึ่งการเก็บรักษาหนังสือดังกล่าวระหว่างที่ยังปฏิบัติไม่แล้วเสร็จเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีจะต้องเก็บให้เหมาะสมของการปฏิบัติราชการตามข้อ ๕๓ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖
การที่มีบุคคลภายนอกนาสำเนาหนังสือและบัตรประจำตัวผู้สื่อข่าวของผู้ฟ้องคดีไปลงในสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กก่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงของผู้ฟ้องคดี จึงเป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีละเลยต่อหน้าที่ในการเก็บรักษาหนังสือและบัตรประจำตัวของผู้ฟ้องคดีให้เหมาะสมตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน จึงเป็นการกระทำละเมิดตามมาตรา ๔๒๐ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ถูกฟ้องคดีจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ฟ้องคดีตามมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ (คาพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๘๗๙/๒๕๖๑)
คดีนี้เป็นอุทาหรณ์ที่ดีให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในการจัดเก็บข้อมูลหนังสือราชการที่ยังดาเนินการไม่แล้วเสร็จให้เหมาะสมตามขั้นตอนของการดำเนินงานของทางราชการตามระเบียบสานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ โดยต้องใช้ความระมัดระวังมิให้หนังสือราชการหลุดรอดหรือรั่วไหลไปสู่บุคคลภายนอกที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน ... ครับ
เครดิต นายปกครอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...