28 พ.ค. 2562

ลงชื่อตรวจรับพัสดุโดยไม่มีหน้าที่ อ้างเจตนาดี ทำไม่ได้ !!

หน้าที่ในการตรวจรับพัสดุ เป็นหน้าที่ของผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ โดยปัจจุบันมีกฎหมายเกี่ยวกับการพัสดุฉบับใหม่ใช้บังคับแทนระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ คือ พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยมาตรา ๑๐๐ กำหนดว่า “หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด” แต่ขณะนี้ยังไม่มีการออกระเบียบเรื่องนี้มาใช้บังคับ จึงต้องนำข้อ ๗๑ ของระเบียบ สานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ มาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะมีประกาศระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด ซึ่งเป็นไปตามที่บทเฉพาะกาลของพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๑๒๒๑ กำหนดไว้
คดีปกครองที่จะนามาเล่าสู่กันฟังฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ การตรวจรับพัสดุโดยผู้ที่ไม่มีอำนาจหน้าที่เป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ แต่กลับลงชื่อตรวจรับพัสดุไว้ก่อนแล้วจึงส่งเรื่องให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุต่อไป โดยอ้างว่า เพื่อให้ทันเบิกจ่ายเงินค่าพัสดุ เช่นนี้จะถือว่าเป็นการกระทำโดยจงใจที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการที่กำหนดให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ เป็นผู้ตรวจรับพัสดุหรือไม่ และหากการตรวจรับพัสดุดังกล่าวทำให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ เจ้าหน้าที่ดังกล่าวต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือไม่
ข้อเท็จจริงในคดีนี้ คือ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ (กองทัพเรือ) มีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีและคณะกรรมการตรวจรับพัสดุชดใช้ค่าสินไหมทดแทน กรณีที่ผู้ฟ้องคดีในขณะดำรงตำแหน่ง รองเสธ. ฐานทัพเรือ ทำหน้าที่รักษาการหัวหน้าแผนกส่งกำลังบำรุงและหัวหน้ากองขนส่ง ได้รับมอบหมายจาก ผู้บัญชาการฐานทัพเรือให้เป็นผู้ยืมเงินสวัสดิการของฐานทัพเรือเพื่อจัดซื้ออะไหล่รถยนต์สำหรับซ่อมเองและจ้างเอกชนซ่อม ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับอะไหล่รถยนต์ที่สั่งซื้อทั้งที่ไม่มีอำนาจ จนเป็นเหตุให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของผู้ฟ้องคดีจำใจลงนามตรวจรับพัสดุดังกล่าว โดยที่ไม่ได้มีการตรวจรับพัสดุจริง
๑ พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
มาตรา ๑๒๒ ให้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๙ และบรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ ข้อบัญญัติ และข้อกำหนดใด ๆ เกี่ยวกับพัสดุ การจัดซื้อจัดจ้าง หรือการบริหารพัสดุของหน่วยงานของรัฐอื่นที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย การพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๙ แล้วแต่กรณี รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับพัสดุ การจัดซื้อ จัดจ้าง หรือการบริหารพัสดุของหน่วยงานของรัฐ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศในเรื่องนั้น ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ผู้ฟ้องคดียื่นอุทธรณ์คำสั่งต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ (ผู้บัญชาการทหารเรือ) ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ไม่เห็นด้วยกับอุทธรณ์ ผู้ฟ้องคดีจึงยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
คดีนี้มีประเด็นปัญหาที่พิจารณา คือ คำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ?
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า แม้ว่าผู้ฟ้องคดีจะดารงตำแหน่ง รองเสธ. ฐานทัพเรือ ทำหน้าที่กองขนส่งและรักษาการหัวหน้าแผนกส่งกาลังบารุง ฐานทัพเรือ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างบำรุง ซ่อมบำรุง การจัดหา การสะสม การจัดซื้อ จัดจ้าง การแจกจ่าย และการจำหน่ายพัสดุ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของฐานทัพเรือและหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคใต้ก็ตาม แต่ถือเป็นอำนาจหน้าที่ทางบริหารมิใช่อำนาจหน้าที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งผู้บัญชาการฐานทัพเรือได้มีคำสั่งโดยเฉพาะแต่งตั้งให้นาวาตรี ฉ. เรือเอก ป. เรือเอก ก. และเรือโท ศ. เป็นคณะกรรมการตรวจรับอะไหล่รถยนต์ที่พิพาท ส่วนผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจรับอะไหล่รถยนต์ที่พิพาทแต่อย่างใด ซึ่งตามระเบียบสานักนายกนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๗๑ กาหนดให้คณะกรรรมการตรวจรับพัสดุมีหน้าที่ตรวจรับพัสดุที่ซื้อหรือจ้างให้ถูกต้องครบถ้วน แล้วจึงมอบพัสดุที่ซื้อหรือจ้างให้เจ้าหน้าที่พัสดุพร้อมทาใบตรวจรับพัสดุนั้น แล้วมอบใบตรวจรับให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างและเจ้าหน้าที่พัสดุเพื่อเบิกจ่ายเงินตามระเบียบของทางราชการต่อไป การที่ผู้ฟ้องคดีไปลงนามรับพัสดุอะไหล่รถยนต์ที่พิพาทโดยไม่ได้มีหน้าที่ในการตรวจรับพัสดุ จึงเป็นการกระทำไปโดยไม่มีอำนาจ และยังเป็นเหตุหนึ่งให้กรรมการตรวจรับพัสดุซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของผู้ฟ้องคดีย่อมมีความยำเกรงไม่มากก็น้อยในการที่จะไปรื้อการตรวจรับอะไหล่รถยนต์ที่จัดซื้ออีก อีกทั้งการส่งมอบอะไหล่รถยนต์ดังกล่าวหากมีอยู่จริงก็ยังมีเวลาตรวจรับได้ โดยเมื่อพิจารณาตามใบเสร็จรับเงินที่ผู้ฟ้องคดีเข้าไปเกี่ยวข้อง ก็อยู่ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม ๒๕๔๕ ซึ่งยังมีเวลาเพียงพอที่จะตรวจรับพัสดุได้ทันปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕ การที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าต้องลงชื่อรับพัสดุอะไหล่รถยนต์ไว้ก่อน แล้วจึงส่งมอบให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุตรวจต่อไปเพื่อให้ทันเบิกจ่ายเงินค่าอะไหล่ จึงไม่มีน้ำหนักที่จะรับฟังได้ ประกอบกับคำให้การของเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ควบคุมดูแลพัสดุของฐานทัพเรือ ได้ยืนยันว่าผู้ขายไม่ได้ส่งมอบพัสดุ ตนจึงไม่ยอมลงชื่อในช่องผู้รับสินค้า และคณะกรรมการตรวจรับพัสดุได้ให้การยืนยันว่าไม่เคยเห็นอะไหล่รถยนต์ที่จัดซื้อ แต่ต้องลงลายมือชื่อตรวจรับพัสดุ เนื่องจากผู้ฟ้องคดีได้ลงชื่อรับอะไหล่รถยนต์แล้ว นอกจากนั้น ลายมือชื่อของผู้ขายในใบเสร็จรับเงินก็ไม่ใช่ลายมือชื่อของผู้ขาย จึงเป็นที่เชื่อได้ว่าผู้ฟ้องคดีได้ลงชื่อรับพัสดุโดยไม่มีอะไหล่รถยนต์ตามที่จัดซื้อจริง การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ฟ้องคดีดังกล่าวจึงเป็นการกระทำที่จงใจฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่ให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุเป็นผู้รับมอบอะไหล่รถยนต์ที่พิพาท อันก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ผู้ฟ้องคดีจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ตามมาตรา ๔๒๐ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ คาสั่งเรียกให้ผู้ฟ้องคดีชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย (คาพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๑๓๓๘/๒๕๖๐)
คำพิพากษาดังกล่าวเป็นอุทาหรณ์ที่ดีในการปฏิบัติหน้าที่ราชการว่า ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น หากได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ใด จะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังละเอียดรอบคอบและอยู่ในกรอบของกฎหมาย อย่างไรก็ดี ในกรณีที่ไม่มีอานาจหน้าที่ที่จะต้องดูแลรับผิดชอบในเรื่องใด แต่เข้าไปทำหน้าที่ทั้งที่ไม่ได้รับมอบหมาย ดังเช่นกรณีของการตรวจรับพัสดุในคดีนี้ ที่ผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ จึงไม่มีหน้าที่ตรวจรับพัสดุ แต่กลับลงชื่อตรวจรับพัสดุถือว่าเป็นการจงใจฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ ซึ่งหากการตรวจรับพัสดุดังกล่าวทาให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ ถือว่าเป็นการกระทำละเมิด หน่วยงานของรัฐมีอานาจออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ดังกล่าวรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ ส่วนคณะกรรมการตรวจรับพัสดุมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องดำเนินการตรวจรับพัสดุของทางราชการตามระเบียบ หากบกพร่องต่อหน้าที่ดังเช่นคดีนี้ที่ลงชื่อตรวจรับทั้งที่ไม่มีการตรวจรับจริง แล้วก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ ก็จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทางราชการตามสัดส่วนแห่งความรับผิดด้วยเช่นกัน

เครดิต ; นางสาวจิดาภา มุสิกธนเสฏฐ์ พนักงานคดีปกครองชานาญการ , กลุ่มเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการและวารสาร , สานักวิจัยและวิชาการ สานักงานศาลปกครอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...