22 พ.ค. 2562

“เหตุเพราะฝน ถนนจึงชำรุด” ... รถยนต์ตกหลุมเสียหาย (ไม่) ต้องชดใช้ !

การบำรุงรักษาถนนสำหรับให้ประชาชนผู้สัญจรไปมาได้รับความสะดวกและปลอดภัยเป็นอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐตามที่กฎหมายกำหนด เช่น เทศบาลมีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496
แต่หากประชาชนผู้ใช้ถนนได้รับความเสียหายอันเป็นผลโดยตรงจากถนนชารุด หน่วยงานของรัฐ ที่มีหน้าที่ดังกล่าวต้องชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น โดยผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเลือก (1) ยื่นคำขอให้หน่วยงานของรัฐนั้นชดใช้ค่าเสียหาย หากหน่วยงานของรัฐไม่ชดใช้ ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาได้ หรือ (2) ยื่นฟ้องคดีต่อศาลโดยตรงเพื่อขอให้มีคำพิพากษาให้หน่วยงานของรัฐนั้นชดใช้ค่าเสียหาย
ดังเช่นคดีปกครองที่นำมาเล่าในฉบับนี้ เป็นเรื่องของผู้ใช้ถนนได้รับความเสียหายจากการที่รถยนต์ตกหลุมที่อยู่ในผิวการจราจรของถนน เป็นเหตุให้เครื่องยนต์ดับและไม่สามารถติดเครื่องยนต์ใหม่ได้ ใต้ท้องรถบริเวณบังโคลนและประตูหน้าด้านซ้ายมีรอยขูดขีดและบุบต้องนำรถยนต์ไปซ่อม
ผู้เสียหายเห็นว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นความรับผิดชอบของเทศบาลที่ไม่ซ่อมแซมถนนให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย จึงได้ยื่นคำขอให้เทศบำลชดใช้ค่าเสียหำย แต่เทศบำลปฏิเสธ โดยอ้างว่า ได้ซ่อมแซมถนนบริเวณที่เกิดเหตุแล้ว โดยครั้งแรกนำยางสาเร็จ (ยางมะตอย) มาลาดทับถนน และครั้งที่สอง ใช้หินคลุกใส่ถนนตลอดสาย แต่เนื่องจากมีฝนตกบ่อยทำให้ถนนที่ซ่อมแล้วเกิดความชารุดขึ้นอีก
ผู้เสียหายจึงฟ้องคดีต่อศาลปกครองว่า เทศบาลละเลยต่อหน้าที่ไม่บำรุงรักษาถนนตามที่กฎหมายกำหนด และขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เทศบาลชดใช้ค่าเสียหาย
การฟ้องคดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลย ต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ ซึ่งเป็นคดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
ปัญหา คือ การที่เทศบาลได้ซ่อมแซมถนนแล้ว แต่เพราะฝนตกบ่อยทำให้ถนนเกิดความชำรุด จะถือว่าเทศบาลละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายหรือไม่ ? โดยศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยว่า เทศบาลมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจัดให้มีการบารุงรักษาถนนเพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ได้โดยสะดวกและปลอดภัย เมื่อถนนชำรุดเป็นหลุมกว้างประมาณ 30 ซม. ลึกประมาณ 15 ซม. เกือบทั้งหลุมอยู่ในผิวการจราจร บริเวณไหล่ทางมีน้ำขังและน้าจากไหล่ทางบางส่วนได้ไหลมารวมในหลุม ทั้งน้ำในหลุมและบริเวณไหล่ทาง มีตะไคร่น้าสีเขียวขึ้น จึงน่าเชื่อได้ว่าเกิดจากการมีน้ำขังมาเป็นเวลานานและมีน้ำขังหล่อเลี้ยงตลอดเวลา จึงเกิดการกัดเซาะ และเมื่อมีรถวิ่งก็จะเกิดการเซาะทำให้เกิดหลุมกว้างและลึกขึ้นเรื่อย ๆ
จากสภาพดังกล่าว เทศบาลย่อมคาดหมายได้ว่าจะก่อให้เกิดอันตรายกับรถเล็กได้ และหากช่วงเวลาเกิดเหตุมีฝนตกบ่อยอันเป็นสาเหตุให้ถนนชำรุดได้ง่ายกว่าปกติหรือไม่อาจซ่อมแซมได้ เทศบาลยิ่งควรต้องป้องกันอันตรายโดยจัดทำสัญญาณหรือป้ายเตือนให้ผู้ใช้เส้นทางได้ทราบถึงความชำรุด แต่เทศบาลก็ไม่ได้ดำเนินการ และจากสถิติปริมาณรถที่ใช้ถนนในช่วงเวลาที่เกิดเหตุมีจำนวนมากถึง 422 ราย ซึ่งถ้าขับรถผ่านบริเวณดังกล่าวแล้วมีรถวิ่งสวนมา ผู้ฟ้องคดีย่อมไม่สามารถหักหลบหลุมนั้นได้ อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจึงเป็นผลโดยตรงจากการละเลยไม่ซ่อมแซมถนน ดังนั้น การที่เทศบาลไม่ซ่อมแซมถนนให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้โดยสะดวกและปลอดภัย และไม่ติดตั้งสัญญาณหรือป้ายเตือนว่ามีถนนชารุด จึงเป็นการละเลยต่อหน้าที่ ตามกฎหมาย และต้องชดใช้ค่าเสียหาย (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 220/2560)
คดีนี้เป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติราชการที่ดีสาหรับหน่วยงานของรัฐว่า เมื่อเทศบาลมีหน้าที่บารุงรักษาถนนเพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ในการสัญจรไปมาได้ตามปกติโดยสะดวกและปลอดภัย หากถนนชำรุดบกพร่องจะต้องแสวงหามาตรการหรือวิธีการต่าง ๆ ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ และถึงแม้จะได้ดำเนินการใด ๆ ไปบ้างแล้วก็ตาม แต่ถ้าถนนยังไม่มีความปลอดภัยต่อการใช้ประโยชน์ เทศบาลยังคงมีหน้าที่ต้องติดตามตรวจสอบและหามาตรการหรือวิธีการอื่นเพื่อให้ประชาชนได้รับความปลอดภัย (ปรึกษาคดีปกครอง ได้ที่สายด่วนศาลปกครอง 1355 และสืบค้นเรื่องอื่น ๆ ได้จาก www.admincourt.go.th เมนูวิชาการ เมนูย่อยอุทาหรณ์จากคดีปกครอง)
เครดิต : นางสาวฐิติพร ป่านไหม พนักงานคดีปกครองชำนาญการ, กลุ่มเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการและวารสาร, สำนักวิจัยและวิชาการ สำนักงานศาลปกครองหนังสือพิมพ์ส่องใต้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...