22 พ.ค. 2562

สัญญาทางแพ่ง ... สัญญาทางปกครอง ... พิจารณาอย่างไร ? !!

การทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ อาจเป็นสัญญาทางปกครองหรือสัญญาทางแพ่ง และการเป็นสัญญาประเภทไหน สำคัญต่อการใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาล
ถ้าเป็นสัญญาทางแพ่ง เมื่อมีข้อโต้แย้งขึ้นต้องฟ้องต่อศาลยุติธรรม และหากเป็นสัญญาทางปกครอง ต้องฟ้องต่อศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ครับ
แน่นอนครับ!! อาจเป็นเรื่องยากพอสมควรที่จะบอกว่าสัญญาใดเป็นสัญญาทางแพ่งหรือสัญญาทางปกครอง ... วันนี้ นายปกครองจะชวนท่านผู้อ่านมาทำความเข้าใจสาระสาคัญของ “สัญญาทางปกครอง” ครับ
สัญญาทางปกครองพิจารณาจากไหนครับ จากนิยามของ“สัญญาทางปกครอง” ที่กำหนดไว้ในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และมติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ครั้งที่ ๖/๒๕๔๔ ...
สรุปได้ดังนี้ครับ
ประการแรก คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายหนึ่งต้องเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายให้กระทำการแทนรัฐ (คู่สัญญา)
ประการที่สอง สัญญานั้นมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ หรือเป็นสัญญาที่หน่วยงานทางปกครองหรือบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐตกลงให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเข้าดำเนินการหรือเข้าร่วมดำเนินการบริการสาธารณะโดยตรง (วัตถุประสงค์ของสัญญา) หรือเป็นสัญญาที่มีข้อกำหนดในสัญญา ซึ่งมีลักษณะพิเศษที่แสดงถึงเอกสิทธิ์ของรัฐ (ข้อกำหนดในสัญญา) ทั้งนี้ เพื่อให้การใช้อำนาจทางปกครองหรือการดำเนินกิจการทางปกครองซึ่งก็คือการบริการสาธารณะบรรลุผล
ดังนั้น หากสัญญาใดเป็นสัญญาที่หน่วยงานทางปกครองหรือบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐมุ่งผูกพันตนกับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งด้วยใจสมัครบนพื้นฐานแห่งความเสมอภาค และมิได้มีลักษณะเช่นที่กล่าวมาแล้วข้างต้น สัญญานั้นย่อมเป็นสัญญาทางแพ่ง
เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นเรามาทำความเข้าใจลักษณะของสัญญาทางปกครองจากข้อพิพาท ในคดีปกครองกันดีกว่านะครับ
ข้อพิพาทในคดีนี้ มูลเหตุของคดี เป็นกรณีที่หน่วยงานของรัฐทำ “สัญญาซื้อขายวัสดุไฟฟ้า” จากเอกชนเพื่อนาไปใช้ในงานปรับปรุงซ่อมแซมไฟฟ้าแสงสว่างทางสาธารณะ แต่หน่วยงานของรัฐค้างชาระค่าสินค้า เอกชนได้มีหนังสือทวงถาม หน่วยงานของรัฐกลับเพิกเฉย
จึงนาคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้หน่วยงานของรัฐชำระหนี้ตามสัญญา
ปัญหา คือ สัญญาซื้อขายวัสดุไฟฟ้า … เป็นสัญญาทางปกครอง ที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลปกครองหรือไม่ ?
จากความหมายของสัญญาทางปกครองข้างต้นจะเห็นว่า คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง วัตถุประสงค์ของสัญญา คู่สัญญาฝ่ายเอกชนอ้างว่าการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าตามสัญญามีวัตถุประสงค์เพื่อติดตั้งซ่อมแซมไฟฟ้าแสงสว่างทางสาธารณะ ...
คดีนี้ ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า สัญญาดังกล่าวเป็นเพียงการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์เท่านั้น มิใช่สัญญาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดทาบริการสาธารณะโดยตรง แต่เป็นสัญญาทางแพ่งที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายสมัครใจเข้าร่วมบนพื้นฐานแห่งความเสมอภาค จึงยังมิอาจรับฟังได้ว่าเป็นสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาดังกล่าวไม่ใช่ข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ศาลปกครองจึงไม่อาจรับคดีนี้ไว้พิจารณาได้ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน (คาสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๖๓๓/๒๕๖๐)
นอกจากคดีนี้ ยังมีคดีที่ศาลปกครองสูงสุดและคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลได้วินิจฉัยเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชนว่าไม่เป็นสัญญาทางปกครอง เช่น สัญญาซื้อขายเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประมวลผล พร้อมติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๑๓๒/๒๕๔๔) สัญญาซื้อขายเตาเผาขยะ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๔๒๓/๒๕๔๖) สัญญาซื้อขายกล้องวงจรปิด (CCTV) พร้อมอุปกรณ์ และติดตั้ง (คำวินิจฉัยชี้ขาดฯ ที่ ๙๖/๒๕๕๘)
การจัดทำบริการสาธารณะตามภารกิจของแต่ละหน่วยงาน ต้องมีการจัดซื้อสิ่งของหรือจัดหาวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งสิ่งของหรือวัสดุอุปกรณ์นั้น ไม่ใช่การจัดทำบริการสาธารณะโดยตรง แต่ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้การจัดทำบริการสาธารณะของหน่วยงานบรรลุผล สัญญาลักษณะดังกล่าว เป็นเพียงสัญญาทางแพ่ง หากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาต้องยื่นฟ้องใหม่ต่อศาลยุติธรรมซึ่งเป็นศาล ที่มีเขตอานาจ ครับ !! (ปรึกษาคดีปกครองได้ที่สายด่วนศาลปกครอง ๑๓๕๕ และสืบค้นเรื่องอื่น ๆ ได้จาก www.admincourt.go.th เมนูวิชาการ เมนูย่อยอุทาหรณ์จากคดีปกครอง)
เครดิต โดย นายปกครอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...