10 มี.ค. 2556

เปลี่ยนแปลงวิธีการจัดหาพัสดุ เพื่อเบิกจ่ายเงินให้ทันปีงบประมาณ ... ผิดทั้งวินัยและละเมิด ?




                    การจัดหาหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งวัสดุครุภัณฑ์หรือบริการต่างๆ เพื่อประโยชน์ ในการสนับสนุนภารกิจการบริการสาธารณะของส่วนราชการ จะต้องดาเนินการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย การพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๙ หรือระเบียบเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างที่หน่วยงานของรัฐบางแห่งได้กาหนดไว้ เป็นการเฉพาะ เพื่อให้กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างเป็นไปอย่างโปร่งใสและ เป็นธรรมและให้ได้วัสดุครุภัณฑ์ที่มีมาตรฐานเกิดประโยชน์สูงสุดต่อทางราชการ

                ทั้งนี้ โดยกฎหมายหรือระเบียบแทบทุกฉบับจะกาหนดวิธีการจัดซื้อหรือจัดจ้างหลักๆ ไว้ ๖ วิธี คือ (๑) วิธีตกลงราคา (๒) วิธีสอบราคา (๓) วิธีประกวดราคา (๔) วิธีพิเศษ (๕) วิธีกรณีพิเศษ และ (๖) วิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์    ส่วนจะใช้วิธีการใดในการจัดหาขึ้นอยู่กับดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการที่จะ เลือกวิธีการในการจัดหาพัสดุภายใต้วงเงินงบประมาณที่จะใช้ในการจัดหาตามที่ กฎหมายหรือระเบียบกาหนดไว้ และภายใต้ความเหมาะสมและความจาเป็นตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น กรณีการซื้อหรือการจ้างโดยวิธีพิเศษกาหนดเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นกรณีหนึ่ง กรณีใดดังต่อไปนี้ (๑) เป็นงานจ้างซ่อมพัสดุที่จาเป็นต้องจ้างช่างผู้มีฝีมือโดยเฉพาะหรือผู้มีความ ชานาญเป็นพิเศษ (๒) เป็นงานจ้างซ่อมพัสดุที่จาเป็นต้องถอดตรวจให้ทราบความชารุดเสียหายก่อนจึงจะ ประมาณค่าซ่อมได้ (๓) เป็นงานที่ต้องกระทาโดยเร่งด่วน หากล่าช้าอาจเสียหายแก่ราชการ (๔) เป็นงานที่ต้องปกปิด เป็นความลับของทางราชการ (๕) เป็นงานที่จาเป็นต้องการจ้างเพิ่มในสถานการณ์ที่จาเป็น หรือเร่งด่วน หรือเพื่อประโยชน์ของส่วนราชการ และจาเป็นต้องจ้างเพิ่ม (๖) เป็นงานที่ได้ดาเนินการจ้างโดยวิธีการอื่นแล้วไม่ได้ผลดี


                    นอกจากนี้ ในการดาเนินการจัดหาพัสดุ หากต้องอาศัยเงินงบประมาณแผ่นดิน ตามมาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒ กาหนดว่า การขอเบิกจ่ายเงินจากคลังตามงบประมาณรายจ่ายประจาปีงบประมาณใด ให้กระทำได้แต่เฉพาะภายในปีงบประมาณนั้น เว้นแต่ (๑) เป็นงบประมาณรายจ่ายข้ามปี หรือ (๒) เป็นงบประมาณรายจ่ายที่ได้ก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณ หรือได้รับอนุมัติให้เบิกเหลื่อมปีและได้มีการกันเงินไว้ตามระเบียบ หรือข้อบังคับเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินจากคลัง ดังนั้น ส่วนราชการจึงต้องมีการวางแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณที่ได้รับอนุมัติให้ เสร็จสิ้นในปีงบประมาณนั้นๆ แต่หากส่วนราชการเห็นว่า ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ทันก่อนสิ้นปีงบประมาณ พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒ และระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้ผ่อนผันการเบิกจ่ายเงินไว้โดยส่วนราชการสามารถดาเนินการได้สองวิธี

               วิธีที่หนึ่ง ถ้าส่วนราชการได้ก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณ เห็นว่าการเบิกจ่ายเงินไปชาระหนี้ผูกพันไม่ทันสิ้นปีก็ขอกันเงินไว้เบิก เหลื่อมปีได้
               วิธีที่สอง กรณีที่ไม่ได้ก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณแต่มีความจาเป็นจะต้องใช้ เงินต่อไปอีก ส่วนราชการก็สามารถขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีได้

                ในทางปฏิบัติคงปฏิเสธไม่ได้ว่า  มีส่วนราชการหลายแห่งไม่ได้มีการวางแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณอย่างมี ประสิทธิภาพ ทาให้มีการเปลี่ยนแปลงการใช้จ่ายเงินงบประมาณอย่างกะทันหันในช่วงปลายปีงบ ประมาณหรือนาเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรในปีนั้นๆ ไปใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ในด้านอื่นๆ เพื่อให้มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่ได้รับอนุมัติอย่างครบถ้วน


                คดีที่นำมาเป็นอุทาหรณ์ฉบับนี้ จึงน่าจะเป็นบรรทัดฐานที่ดีสาหรับส่วนราชการต่างๆ ที่จะมีการวางแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจาปีอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้เป็นหัวหน้าส่วนราชการที่มีอานาจดาเนินการจัดหาพัสดุให้ใช้อานาจด้วยความ ระมัดระวัง  เพราะผลของการใช้อานาจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย  ไม่เพียงแต่หมดอานาจเท่านั้น ยังต้องชดใช้ค่าเสียหายให้กับส่วนราชการอีกด้วย ข้อเท็จจริงในคดีนี้ก็คือ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ (สานักงานเขตพื้นที่การศึกษา) ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ประจาปี ๒๕๔๑ (เพิ่มเติม) และได้มีการอนุมัติให้ดาเนินการจัดจ้างก่อสร้างและต่อเติม อาคารเรียนโรงเรียนในสังกัด ในช่วงเดือนกันยายนของปีงบประมาณ นาย อ. ผู้ช่วยผู้อานวยการ การประถมศึกษาจังหวัดรักษาราชการแทนผู้อานวยการการประถมศึกษาจังหวัดในขณะ นั้น จึงได้ออกประกาศประกวดราคาจ้างก่อสร้างอาคารเรียนและมีคาสั่งลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๔๑ แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา และวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๑ คณะกรรมการดังกล่าว ได้เสนอความเห็นต่อผู้อานวยการการประถมศึกษาจังหวัด (ผู้ฟ้องคดี) ว่าเห็นควรยกเลิกการประกวดราคาเนื่องจากผู้เสนอราคาทุกรายทาผิดเงื่อนไขและ ควรดาเนินการจ้างโดยวิธีพิเศษ


                    ผู้ฟ้องคดีจึงมีคาสั่งยกเลิกการประกวด ราคาและจัดให้มีการจ้างโดยวิธีการพิเศษ โดยดาเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ การคัดเลือกผู้เสนอราคาและการอนุมัติจ้างแล้วเสร็จภายในวันเดียว คือ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๑   ต่อมามีผู้ร้องเรียนในความไม่โปร่งใสในการจัดจ้าง   ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ (สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) จึงได้สอบสวนทางวินัย ขณะเดียวกันผู้ว่าราชการจังหวัดก็มีคาสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จ จริงความรับผิดทางละเมิด  ผลการสอบสวนทางวินัย ผู้ฟ้องคดีถูกลงโทษไล่ออกจากราชการ ผลการสอบสวนความรับผิดทางละเมิด เห็นว่าผู้ฟ้องคดีต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทางราชการอันเนื่อง มาจากกรณีการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษในราคาที่สูงกว่าราคาที่ผู้เสนอราคาต่าสุด เสนอในการประกวดราคาที่ถูกยกเลิก  ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีคาสั่งตามความเห็นของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ (กระทรวงการคลัง) ว่าผู้ฟ้องคดีปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงโดยไม่ ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการและขาดการกากับติดตามการปฏิบัติงานของผู้ใต้ บังคับบัญชาอย่างใกล้ชิด เป็นเหตุให้ทางราชการเสียหายให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นจานวนกึ่งหนึ่งของ ค่าเสียหาย ผู้ฟ้องคดีไม่เห็นด้วยจึงอุทธรณ์คาสั่ง แต่ผลการพิจารณาอุทธรณ์ให้ยืนตามคาสั่งเดิม   ผู้ฟ้องคดีจึงนาคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองขอเพิกถอนคาสั่งให้ผู้ฟ้องคดีชดใช้ค่า เสียหาย โดยอ้างว่า การสั่งให้ยกเลิกการประกวดราคาและอนุมัติให้จ้างโดยวิธีพิเศษ เป็นการสั่งตามความเห็น ของคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องถึง ๙ คน การมีคาสั่งให้ผู้ฟ้องคดีรับผิดชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดจึงไม่ถูกต้อง ประกอบกับเป็นงานที่ดาเนินการโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลดี  และต้องดาเนินการโดยเร่งด่วน หากล่าช้าจะเสียหายแก่ทางราชการ เพราะต้องดาเนินการให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๑ อันเป็นวันสิ้นปีงบประมาณ หากงบประมาณในการจ้างตกไปอาจถูกดาเนินการทางวินัย และผู้ฟ้องคดีมีอานาจตามข้อ ๒๔ (๓) และ (๖) ประกอบกับข้อ ๕๒ ของระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ จึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบด้วยกฎหมาย  ข้อกล่าวอ้างของผู้ฟ้องคดีฟังขึ้นหรือไม่ ?

ศาลปกครองสูงสุดมีคาพิพากษาในประเด็นต่างๆ ดังนี้

          ประเด็นแรก การก่อสร้างอาคารเรียนซึ่งผู้ฟ้องคดีอ้างว่าจะต้องดาเนินการให้เสร็จสิ้นภาย ในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๑ ถือเป็นงานที่ต้องกระทาโดยเร่งด่วน หากล่าช้าอาจเสียหาย แก่ราชการ และการอ้างว่าผู้เสนอราคากระทาผิดเงื่อนไข ถือเป็นงานที่ได้ดาเนินการจ้างโดยวิธีการอื่นแล้วไม่ได้ผลดีหรือไม่ ? ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า การที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ (เพิ่มเติม) เมื่อใกล้สิ้นปีงบประมาณ เป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีคาดหมายได้ว่าอาจใช้เงินงบประมาณดังกล่าวไม่ทันภายใน ปีงบประมาณนั้น และชอบที่จะให้กระทรวงเจ้าสังกัดขอทาความตกลงเพื่อขอกันเงินงบประมาณไว้เบิก เหลื่อมปีตามข้อ ๖๓ วรรคสอง ของระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง พ.ศ. ๒๕๒๐ ซึ่งหากได้มีการขอกันเงินดังกล่าวแล้ว แม้การประกวดราคาครั้งแรกจะถูกยกเลิกไปก็ยังสามารถจัดให้มีการประกวดราคา ครั้งต่อไปได้ โดยไม่จาต้องมีการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษแต่อย่างใด การที่ผู้ฟ้องคดีจัดให้มีการจ้างโดยวิธีพิเศษโดยอ้างว่า เป็นกรณีที่ได้ดาเนินการจ้างโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลดีตามข้อ ๒๔ (๖) และข้อ ๕๒ ของระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ จึงไม่อาจรับฟังได้ และการจัดจ้าง เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนก็ไม่มีลักษณะหรือความจาเป็นที่จะต้องดาเนินการจ้าง โดยวิธีพิเศษตามข้อ ๒๔ (๑) ถึง (๕) ของระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕


            ประเด็นที่สอง การที่ผู้ฟ้องคดียกเลิกการประกวดราคาและจัดให้มีการจ้างโดยวิธีพิเศษ เป็นการกระทาโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ ? ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า เมื่อการจัดจ้างก่อสร้างและต่อเติมอาคารเรียนโรงเรียนไม่มีลักษณะหรือความจา เป็นต้องดาเนินการ โดยวิธีพิเศษตามข้อ ๒๔ ของระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ ทั้งยังไม่ปรากฏด้วยว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ หรือกระทรวงเจ้าสังกัดได้เร่งรัดให้ดาเนินการโดยเร่งด่วนหรือหากไม่สามารถดา เนินการได้จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงแต่อย่างใด ตรงกันข้ามการดาเนินการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษเป็นเหตุให้ได้ราคาค่าก่อสร้าง สูงกว่าราคาที่ผู้เสนอราคารายต่าสุดเสนอในการประกวดราคาที่ยกเลิกไปแล้วเป็น เงินจานวน ๗๒๙,๘๕๐.๕๙ บาท อันถือเป็นความเสียหายที่เกิดแก่ทางราชการ   ดังนั้น การที่ผู้ฟ้องคดีมีคาสั่งให้ยกเลิกการประกวดราคาและอนุมัติให้จัดจ้างโดย วิธีพิเศษจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจน เป็นเหตุให้ทางราชการได้รับ ความเสียหาย จึงต้องรับผิดในผลแห่งการกระทาละเมิดตามมาตรา ๑๐ ประกอบกับมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙


              ประเด็นที่สาม ผู้ฟ้องคดีต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการยกเลิกการประกวดราคาและจัดจ้าง โดยวิธีพิเศษ เพียงใด ? ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า มาตรา ๘ วรรคสอง และวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่ไม่จำต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเต็มจานวน โดยให้คานึงถึงระดับความร้ายแรงแห่งการกระทาและความเป็นธรรม เป็นเกณฑ์ และในกรณีที่การกระทาละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคน ให้เจ้าหน้าที่แต่ละคนรับผิด เฉพาะส่วนของตน และไม่ให้นำหลักลูกหนี้ร่วมมาใช้บังคับ  ดังนั้น เมื่อผู้ฟ้องคดีมีอานาจหน้าที่โดยตรงในการยกเลิกการประกวดราคาและดาเนินการ ประกวดราคา ตามข้อ ๕๒ ของระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และถึงแม้จะเป็นการสั่งการตามความเห็นของคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา แต่ผู้ฟ้องคดี ในฐานะหัวหน้าส่วนราชการ มีหน้าที่ต้องพิจารณาความเห็นดังกล่าวก่อนการสั่งการทุกครั้ง ผู้ฟ้องคดี จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในความเสียหายที่เกิดจากการสั่งให้ยกเลิก การประกวดราคาและ จัดให้มีการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษในราคาที่สูงขึ้นโดยใช่เหตุ เป็นเงินจานวน ๗๒๙,๘๕๐.๕๙ บาท การที่ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคาสั่งตามความเห็นของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ให้ผู้ฟ้องคดีรับผิดเป็นจานวนกึ่งหนึ่ง ของค่าเสียหายทั้งหมด เป็นเงิน ๓๖๔,๙๒๕.๒๙ บาท โดยอีกกึ่งหนึ่งเป็นความรับผิดของนาย อ. ในฐานะประธานคณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา จึงเป็นสัดส่วนที่เหมาะสมกับความผิดตามมาตรา ๘ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ แล้ว โดยผู้ถูกฟ้องคดีชอบที่จะนาราคาของผู้เสนอราคารายต่าสุดจากการประกวดราคามา เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาค่าเสียหายได้ เนื่องจากเหตุที่มีการสั่งยกเลิกการประกวดราคาเพราะผู้เสนอราคาทุกรายทาผิด เงื่อนไขตามประกาศประกวดราคา มิได้มีปัญหาจากราคาจ้างที่ผู้เสนอราคาเสนอ จึงเป็นราคาที่เชื่อว่าผู้เสนอราคาสามารถ จะดาเนินการได้จริงหากไม่ได้ถูกยกเลิก  คาสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีชาระค่าเสียหาย จึงชอบด้วยกฎหมาย


                อย่างไรก็ตาม นอกจากประเด็นสาคัญทั้งสามประการตามที่กล่าวแล้ว ผู้ฟ้องคดียังได้โต้แย้งเกี่ยวกับกระบวนการในการออกคาสั่งว่าไม่ชอบด้วย กฎหมายอีกสองประเด็น คือ ประเด็นเรื่องสิทธิในการชี้แจงหรือโต้แย้งในชั้นของคณะกรรมการสอบข้อเท็จ จริงความรับผิดทางละเมิด และประเด็นเรื่อง ผู้มีอานาจในการออกคาสั่งให้ผู้ฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหายตามระเบียบสานักนายก รัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ข้อ ๑๔ ข้อ ๑๕ และข้อ ๑๘ ซึ่งทั้งสองประเด็นศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า กระบวนการออกคาสั่งชอบด้วยกฎหมายแล้ว ผู้อ่าน ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดได้จากคาพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๒๑๘ /๒๕๕๔


            คำพิพากษานี้จึงนับเป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติราชการที่ดีสาหรับหน่วยงานของ รัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาพัสดุของส่วนราชการ โดยเฉพาะหัวหน้าส่วนราชการที่มีอานาจอนุมัติให้ดาเนินการต่างๆ ตามระเบียบว่าด้วยการพัสดุที่จะต้องใช้อานาจดุลพินิจ อย่างระมัดระวังและถูกต้อง ตั้งแต่การเลือกวิธีการจัดหาพัสดุมาใช้ในราชการ ซึ่งมิใช่จะเลือกใช้ได้ ตามอาเภอใจ หรือการยกเลิกกระบวนการจัดหาที่ได้ดาเนินการไปแล้ว หรือการอนุมัติเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดหา ซึ่งผู้มีอานาจมีหน้าที่ความรับผิดชอบที่จะต้องตรวจสอบพินิจพิเคราะห์หลัก เกณฑ์หรือเงื่อนไข ปรับกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นด้วยความละเอียดรอบคอบและโปร่งใส นอกจากนั้น ในการใช้จ่ายเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรแต่ละปีจาเป็นอย่างยิ่งที่จะ ต้องวางแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณที่ได้รับด้วยความระมัดระวังภายใต้กฎหมาย และระเบียบ ตลอดจนวิธีปฏิบัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณของแผ่นดินเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทางราชการ เพราะหากมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่ ทางราชการ นอกจากเจ้าหน้าที่ผู้มีอานาจหน้าที่จะต้องรับผิดในทางวินัยแล้ว ยังต้องรับผิดในความเสียหาย ที่เกิดขึ้นอีกด้วย


ที่มา
นางสาวฐิติพร ป่านไหม พนักงานคดีปกครองชานาญการ
กลุ่มเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการและวารสาร
สานักวิจัยและวิชาการ สานักงานศาลปกครอง
จดหมายข่าว คอลัมน์พลิกแฟ้มคดีปกครอง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...