10 มี.ค. 2556

วันลาไม่มี หน้าที่ก็โดดเด่น ... เหตุไฉน ! ไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนพิเศษ


                    ในช่วงสิ้นปีงบประมาณ เรื่องสาคัญประการหนึ่งของข้าราชการทุกหน่วยงานเห็นจะหนีไม่พ้นการรอคาสั่ง เลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการแต่ละคน และผลพวงของการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนก็เห็นจะหนีไม่พ้น การวิพากษ์วิจารณ์การใช้อานาจของผู้บังคับบัญชาว่าไม่เหมาะสมบ้าง เลือกปฏิบัติบ้าง ไม่เป็นธรรมบ้าง และท้ายที่สุด หากไม่สามารถชี้แจงแสดงเหตุผลให้เป็นที่พอใจได้ก็คงหนีไม่พ้นการเป็นเรื่อง เป็นราวถึงโรงถึงศาล

                         ดังเช่น คดีปกครองที่จะนามาเล่าสู่กันฟังในวันนี้ ซึ่งเป็นเรื่องของข้าราชการครู (ผู้ฟ้องคดี) ที่เห็นว่า ผู้อานวยการโรงเรียน (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1) พิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนโดยมีอคติ เนื่องจากตนได้ปฏิบัติหน้าที่ไปด้วยความอุตสาหะ ไม่หยุด ไม่ลา และมีผลงานอันเป็นที่ประจักษ์ชัดได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นครูภูมิปัญญาไทย และเป็นผู้ประสานงานโครงการของโรงเรียนซึ่งควรได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือน กรณีพิเศษ แต่กลับได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน 0.5 ขั้น เท่ากับผู้ที่มีวันลา จึงนาคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองขอให้ยกเลิกคาสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน 0.5 ขั้น


                            ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 โต้แย้งว่าได้ประเมินผลการปฏิบัติงานให้ผู้ฟ้องคดีได้ 185 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 92.5 ซึ่งแม้คะแนนของผู้ฟ้องคดีจะอยู่ในเกณฑ์ดีเด่น แต่การพิจารณาในภาพรวมต้องอยู่ในวงเงินและโควตาร้อยละของจานวนข้าราชการที่ มีตัวอยู่จริงตามเกณฑ์ที่ทางราชการกาหนดด้วย กรณีของผู้ฟ้องคดีและข้าราชการครูที่ได้คะแนนประเมิน 185 คะแนน จึงพิจารณาให้เลื่อนขั้นคนละ 0.5 ขั้น จากนั้นได้เสนอผลการพิจารณาต่อคณะกรรมการกลั่นกรองระดับเขตพื้นที่การศึกษา พิจารณา ซึ่งต่อมาผู้อานวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2) ในฐานะผู้มีอานาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน ได้พิจารณาแล้วเห็นชอบตามที่เสนอจึงมีคาสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนผู้ฟ้องคดี 0.5 ขั้น


                          คดีนี้มีหลักกฎหมายที่สาคัญคือ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2523 ซึ่งกาหนดให้นากฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนมาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน พ.ศ. 2544 ข้อ 9 กาหนดว่า ในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการ ผู้ประเมินต้องนาผลการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานในรอบ ประเมินมาเป็นหลักในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน ส่วนข้อมูลการลาเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาร่วมกับพฤติกรรมการมาทางาน การรักษาวินัย การปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ และข้อควรพิจารณาอื่นๆ ของข้าราชการผู้นั้นประกอบด้วย


                           ข้อกล่าวอ้างของผู้ฟ้องคดีที่ว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการประเมินทั้งที่ผู้ฟ้องคดีไม่มีวันลาและมีผล การปฏิบัติงานในรอบการประเมินที่โดดเด่น ควรจะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนกรณีพิเศษ เป็นข้ออ้างที่รับฟังได้หรือไม่ และการมีคาสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้ฟ้องคดีจานวน 0.5 ขั้น เป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ?


                        ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า การที่ผู้ฟ้องคดีไม่มีวันลาก็ไม่ได้หมายความว่า ต้องได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนกรณีพิเศษ เนื่องจากข้อมูลการลาเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งที่ใช้พิจารณาร่วมกับข้อควร พิจารณาอื่นๆ เท่านั้น และเมื่อพิจารณาจากคะแนนในแต่ละหัวข้อแล้วไม่ปรากฏว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีอคติ เกณฑ์การให้คะแนนก็ไม่ได้แตกต่างกันกับข้าราชการครูในสถานศึกษาเดียวกัน และแม้ผลงานของผู้ฟ้องคดีอาจได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน 1 ขั้น แต่มีข้อจากัดเกี่ยวกับวงเงินที่ใช้เลื่อน จึงเป็นการประเมินที่เหมาะสมและไม่ปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับความเป็นธรรม ประกอบกับวัตถุประสงค์ของการเลื่อนขั้นเงินเดือนก็เพื่อประโยชน์ตอบแทนให้ แก่ข้าราชการที่ได้ประพฤติตนและปฏิบัติงานให้เป็นที่ประจักษ์ตามเงื่อนไขและ เวลาที่กาหนด


                ดังนั้น การพิจารณาจึงต้องพิจารณาจากความประพฤติและผลการปฏิบัติงานในรอบการประเมิน นั้น  นอกจากนี้ ผลงานที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างก็เป็นผลงานที่ได้รับการพิจารณาจากผู้บังคับ บัญชาไปแล้ว และแม้ผู้ฟ้องคดีได้ใช้ความรู้ความสามารถในการประสานงานโครงการของโรงเรียน แต่ผลสาเร็จของการดาเนินงานตามโครงการดังกล่าวนั้นย่อมต้องเกิดจากความร่วม แรงร่วมใจจากบุคลากรในสถานศึกษาทุกฝ่าย และไม่ปรากฏข้อมูลเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ผู้ฟ้องคดีได้ใช้ความรู้ความสามารถเป็นพิเศษอย่างไร และมีผลงานโดนเด่นเหนือกว่าข้าราชการคนอื่น อันสมควรจะได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนกรณีพิเศษแต่อย่างใด  การมีคาสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ผู้ฟ้องคดี 0.5 ขั้น จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายแล้ว (คาพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 243/2555)


                 คดีนี้เป็นบรรทัดฐานการปฏิบัติราชการที่ดีสาหรับข้าราชการในฐานะผู้บังคับ บัญชาว่า การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน หากได้ดาเนินการไปตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนที่กฎหมายกาหนด และใช้ดุลพินิจอย่างรอบคอบ เหมาะสม และปราศจากอคติ นอกจากจะเป็นธรรมกับข้าราชการด้วยกันแล้ว ยังทาให้การบริหารราชการแผ่นดินเกิดทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล ส่วนข้าราชการในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชาที่ไม่เห็นด้วยกับผลการประเมินของผู้ บังคับบัญชานอกจากจะต้องพิจารณาถึงผลงานที่เกิดขึ้นจริงในรอบการประเมินผล งานนั้นแล้ว ยังต้องพิจารณาด้วยว่าผลงานมีความโดดเด่นเหนือกว่าข้าราชการคนอื่นหรือไม่ ไม่ใช่เพียงแค่ไม่เจ็บ ไม่ป่วย ไม่ลา เท่านั้นครับ !



นายปกครอง, หนังสือพิมพ์บ้านเมือง คอลัมน์คดีปกครอง ฉบับวันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...