23 มี.ค. 2557

การย้ายข้าราชการกับความจำเป็นที่ต้องออกคำสั่งย้าย

          
การย้ายข้าราชการเป็นอานาจดุลพินิจของผู้มีอานาจเพื่อให้การบริหารราชการของ หน่วยงานราชการนั้นๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด ทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้ข้าราชการในองค์กรราชการได้มีโอกาสพัฒนาความรู้ ความสามารถอันจะเป็นประโยชน์ต่องานราชการ และโดยหลักการย้ายข้าราชการจะต้องให้ย้ายไปดารงตาแหน่งในระดับเดียวกัน แต่บางกรณีอาจย้ายไปแต่งตั้งให้ดารงตาแหน่งในระดับที่ต่ากว่าเดิม ซึ่งจะต้องได้รับอนุมัติจากองค์กรกลางในการบริหารงานบุคคลของข้าราชการนั้นๆ ตามที่กฎหมายกาหนดหรือได้รับความยินยอมจากข้าราชการนั้น ซึ่งโดยทั่วไปการย้ายข้าราชการจะมี ๒ ลักษณะ คือ การย้ายในกรณีปกติ (หรือย้ายตามฤดูกาล) โดยในรอบ ปีหนึ่งๆ หน่วยงานราชการหลายๆ แห่งจะมีการสารวจความต้องการของบุคลากรในองค์กรที่ประสงค์จะขอย้ายหรือ ผู้มีอานาจใช้อานาจของตนฝ่ายเดียวพิจารณาความเหมาะสมและความจาเป็นเพื่อ ประโยชน์ของราชการ และการย้ายกรณีพิเศษ (หรือการย้ายนอกฤดูกาล) เช่น การย้ายเพื่อแก้ปัญหาการบริหารงานบุคคล เป็นต้น
                       อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะเป็นการย้ายในกรณีปกติหรือการย้ายในกรณีพิเศษ หลักการสาคัญที่ผู้มีอานาจจะต้องตระหนักและระมัดระวังก็คือ การใช้อานาจในการบริหารงานบุคคลตามระบบคุณธรรมและการใช้ “อานาจดุลพินิจ” อย่างถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย เพราะแม้กฎหมายจะเปิดโอกาสให้ผู้มีอานาจสามารถเลือกตัดสินใจได้อย่างอิสระก็ ตาม แต่ก็มิได้หมายความว่าผู้มีอานาจจะใช้อานาจนั้นตามอาเภอใจหรือโดยไม่มีขอบ เขต แต่การใช้ดุลพินิจจะต้องคานึงถึงความเหมาะสม ความจาเป็น และความได้สัดส่วนระหว่างประโยชน์สาธารณะและความเสียหายของเอกชน ที่เกี่ยวข้องประกอบกัน


                    คดีปกครองที่จะยกมาเป็นอุทาหรณ์ในคอลัมน์กฎหมายใกล้ตัวฉบับนี้ นอกจากจะสอดคล้อง กับบรรยากาศการย้ายข้าราชการในรอบปกติของหน่วยงานของรัฐหลายๆ แห่งแล้ว ยังจะเป็นบรรทัดฐานที่ดีสาหรับหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งผู้มีอานาจในการออกคาสั่งย้ายข้าราชการทั้งในรอบการย้ายปกติและการ ย้าย ในกรณีพิเศษให้มีการใช้อานาจอย่างถูกต้องและเป็นธรรมต่อข้าราชการผู้ถูกย้าย และเกิดประโยชน์ต่อราชการอย่างแท้จริง
                  เรื่องที่ ๑ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ (อธิบดีกรมที่ดิน) มีคาสั่งย้ายผู้ฟ้องคดีจากตาแหน่งเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดกาญจนบุรี (เจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดิน ๘) ไปดารงตาแหน่งผู้อานวยการส่วนคุ้มครองที่ดินของรัฐ (นักวิชาการที่ดิน ๘) ซึ่งเป็นตาแหน่งเทียบเท่าเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาหรือเทียบเท่าหัวหน้า ฝ่าย เนื่องจากประชาชนได้ร้องเรียน การปฏิบัติหน้าที่ในการให้บริการเกี่ยวกับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของ เจ้าหน้าที่สานักงานที่ดินจังหวัด โดยให้เหตุผลว่าเพื่อแก้ไขปัญหาในทางบริหาร เพื่อลดกระแสความกดดันจากมวลชนที่ร้องเรียน และผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มี ความเหมาะสมทั้งความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญงานด้านคุ้มครองที่ดินของ รัฐ ผู้ฟ้องคดีโต้แย้งว่า มิได้กระทาผิดและมิได้เป็นการร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งยังเป็นการออกคาสั่งย้ายนอกฤดูกาลโดยไม่มีเหตุผลและเป็นการเลือกปฏิบัติ จึงฟ้องขอให้ศาลมีคาพิพากษาหรือคาสั่งเพิกถอนคาสั่งย้าย
                   ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ตาแหน่งนักวิชาการที่ดิน ๘ ส่วนคุ้มครองที่ดินของรัฐว่างลง เป็นระยะเวลากว่า ๔ เดือน โดยไม่ได้แต่งตั้งผู้ที่เหมาะสมมาดารงตาแหน่ง มีเพียงหัวหน้ากลุ่มคุ้มครองที่ดินของรัฐ เป็นผู้รักษาการในตาแหน่งแทน หากตาแหน่งดังกล่าวมีงานสาคัญค้างอยู่หลายเรื่อง และจาเป็นต้องแต่งตั้งผู้มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์และความชานาญในด้านการคุ้มครองที่ดินของรัฐมาดารงตาแหน่ง ก็ควรจะต้องรีบแต่งตั้งบุคคลอื่นที่มีคุณสมบัติเข้ามาดารงตาแหน่งโดยเร็ว และควรจะแต่งตั้งบุคคลที่ยังคงเหลือระยะเวลารับราชการ ก่อนเกษียณอีกอย่างน้อย ๒ ปี มาดารงตาแหน่งเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานตามภารกิจให้สาเร็จลุล่วง มิใช่แต่งตั้งผู้ฟ้องคดีซึ่งมีระยะเวลารับราชการเหลืออีกเพียง ๗ เดือน ก็จะเกษียณอายุราชการแล้ว ซึ่งอาจจะไม่สามารถปฏิบัติงาน ตามภารกิจได้เต็มความรู้ความสามารถและอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเมื่อผู้ฟ้องคดีได้เกษียณอายุราชการไปแล้วเกือบ ๓ เดือน ก็ยังไม่มีการแต่งตั้งบุคคลใดมาดารงตาแหน่งนี้แทน และการออกคาสั่งย้ายยังมีลักษณะที่รวบรัดและใช้เวลาด้วยความรวดเร็ว ทั้งๆ ที่ได้ปล่อยให้ตาแหน่งที่จะแต่งตั้งว่างมานานกว่า ๔ เดือน เหตุผลในการสั่งย้ายของผู้ถูกฟ้องคดีจึงเป็นเหตุผลที่ไม่อาจรับฟังได้ คาสั่งย้ายผู้ฟ้องคดีจึงเป็นคาสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (คาพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๔๑๔/๒๕๕๓)
                เรื่องที่ ๒ คดีนี้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ (ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา) มีคาสั่งย้ายผู้ฟ้องคดีจากนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ๖ ว ซึ่ง ก.พ. กาหนดตาแหน่งเป็น ๗ ว ไปเป็นนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ๖ ว สานักงานเกษตรอาเภอโชคชัย ที่ ก.พ. ไม่ได้กาหนดตาแหน่งเป็น ๗ ว โดยให้เหตุผลว่าเป็นการย้ายเพื่อปรับโครงสร้างใหม่ของกรมส่งเสริมการเกษตร ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคาสั่งย้ายดังกล่าวเป็นคาสั่งที่ไม่เป็นธรรมและจงใจกลั่น แกล้งผู้ฟ้องคดีทาให้ผู้ฟ้องคดีเสียสิทธิในความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ ราชการ จึงฟ้องขอให้ศาลมีคาพิพากษาหรือคาสั่งให้เพิกถอนคาสั่งย้ายและสั่งให้ผู้ ฟ้องคดีกลับมาทางานที่เดิม
               ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาบุคลากรของสานักงานเกษตรจังหวัดนครราชสีมา เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางการบริหารกรมส่งเสริมการเกษตรฯ และการบริหารราชการจังหวัดแบบบูรณาการ ให้มีอานาจหน้าที่ประการหนึ่ง คือ พิจารณาโยกย้ายข้าราชการเพื่อเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาความดีความชอบ หรือลงโทษทางวินัย ฯลฯ โดยมีผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ (เกษตรจังหวัดนครราชสีมา) เป็นประธานกรรมการ และเนื่องจากกรมส่งเสริมการเกษตรได้มีคาสั่งเลื่อน แต่งตั้ง โยกย้าย และยุบเลิกหลายตาแหน่ง ทาให้มีตาแหน่งว่าง ประกอบกับข้าราชการหลายคนที่สานักงานเกษตรจังหวัดปฏิบัติงานไม่ตรงตามโครง สร้างกลุ่มงาน/ฝ่าย ซึ่งปัจจุบันการประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานทั้งกรมส่งเสริมการเกษตรและจังหวัด มีการประเมินองค์รวมเกี่ยวกับงานที่มี การรับรองการปฏิบัติงานโครงการ ฉะนั้น ข้าราชการทุกคนจะมีผลงานเป็นตัวชี้วัด ซึ่งบางงานจะต้องคัดเลือกตัวบุคคลที่มีศักยภาพ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยยึดถือประโยชน์ของทางราชการเป็นหลัก เมื่อคณะอนุกรรมการฯ มีมติย้ายผู้ฟ้องคดีและข้าราชการอีก ๑๐ รายเสนอต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งต่อมาได้มีคาสั่งย้ายผู้ฟ้องคดีไปดารงตาแหน่งนักวิชาการส่งเสริมการ เกษตร ๖ ว สานักงานเกษตรอาเภอโชคชัย จึงเห็นได้ว่าการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายผู้ฟ้องคดีตามคาสั่งดังกล่าว เป็นการใช้อานาจของผู้บังคับบัญชาที่สามารถกระทาได้ในการเลือกสรรหรือจัดหา บุคลากรเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่เห็นสมควร ซึ่งเป็นการบริหารงานบุคคลภายในหน่วยงานฝ่ายปกครอง เพื่อความเหมาะสมและประโยชน์ของทางราชการ และไม่ปรากฏว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองกระทาการอันมีลักษณะเป็น การกลั่นแกล้งผู้ฟ้องคดี หรือกระทาการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด ดังนั้น คาสั่งย้ายผู้ฟ้องคดีจึงเป็นคาสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าไม่สามารถขอประเมินเพื่อแต่งตั้งให้ดารงตาแหน่ง ระดับ ๗ ว ได้ ปรากฏว่าเหตุที่ผู้ฟ้องคดีมิได้รับการพิจารณา ส่วนหนึ่งเกิดจากผู้ฟ้องคดีไม่ได้ดาเนินการจัดส่งข้อมูลบุคคลและผลงานตามที่ หน่วยงานกาหนด ผู้ฟ้องคดีจึงมิได้เสียสิทธิในความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ราชการแต่อย่างใด (คาพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๑๙๗/๒๕๕๕)
               จากคดีทั้งสองข้างต้นเป็นตัวอย่างที่ดีสาหรับการใช้อานาจออกคาสั่งย้ายข้า ราชการ โดยผู้มีอานาจจะต้องพิจารณาบนฐานข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่ชัดเจนและเคร่ง ครัดว่ามีเหตุผลความจาเป็นจะต้องย้ายข้าราชการผู้นั้นเพียงใด เป็นไปเพื่อประโยชน์ของทางราชการอย่างไร การย้ายมีความเหมาะสมกับการปฏิบัติงานในตาแหน่งหน้าที่นั้นอย่างไร ซึ่งไม่เพียงแต่จะต้องพิจารณาจากความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ความประพฤติ และความเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงานของตาแหน่งที่กฎหมายกาหน ดไว้เท่านั้น หากแต่ยังต้องพิจารณาถึงความเหมาะสม และความจาเป็นว่าการออกคาสั่งนั้นสามารถทาให้เจตนารมณ์หรือวัตถุประสงค์ของ การย้ายเพื่อประโยชน์ของราชการลุล่วงเป็นจริงขึ้นมาได้ (หลักความเหมาะสมหรือหลักความสมเหตุสมผล) และจะต้องกระทาเท่าที่จาเป็นแก่การดาเนินงานให้เป็นไปตามเจตนารมณ์หรือวัตถุ ประสงค์ของกฎหมาย โดยมีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิและเสรีภาพของข้าราชการน้อยที่สุด (หลักความจาเป็น) ทั้งจะต้องเกิดประโยชน์ต่อสาธารณะมากกว่าความเสียหายที่เอกชนจะได้รับ (หลักความได้สัดส่วนในความหมายอย่างแคบ) ด้วย การออกคาสั่งที่ไม่สามารถทาให้บรรลุเจตนารมณ์หรือวัตถุประสงค์ของกฎหมาย หรือเป็นการจากัดสิทธิและเสรีภาพของข้าราชการเกินขอบเขตแห่งความจาเป็น ย่อมเป็นคาสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ศาลปกครองมีอานาจในการเพิกถอนคาสั่ง นั้นได้

ที่มา นางสาวนิตา บุณยรัตน์ พนักงานคดีปกครองชานาญการ  กลุ่มเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการและวารสารสานักวิจัยและวิชาการ สานักงานศาลปกครอง วารสารกรมประชาสัมพันธ์ คอลัมน์กฎหมายใกล้ตัว ฉบับเดือนตุลาคม ๒๕๕๕๒

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...