2 ก.ค. 2562

การรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบ

เทปบันทึกเสียงวัตถุพยานจำลยที่ 2 เป็นการแอบบันทึกขณะที่มีการสนทนากันระหว่างโจทก์ ร่วมกับ ช. มารดาโจทก์ร่วมพยานและจำเลยที่ 2 โดยโจทก์ร่วมและพยานไม่ทราบมาก่อน อันเป็นการ แสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบ ห้ามมิให้ศาลรับฟังเป็นพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226 แม้เป็นหลักกฎหมายใช้ตัดพยานหลักฐานของเจ้าพนักงานของรฐัเพื่อคุ้มครอง สิทธิเสรีภาพของประชาชนในกรณีเจ้าพนักงานของรัฐใช้วิธีการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบ  แต่มาตรา 226 ไม่ได้บัญญัติห้ามไม่ให้นำไปใช้กับการแสวงหาพยานหลักฐานของบุคคลธรรมดา  เมื่อระหว่างพิจารณาคดีได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 28) พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551 โดยมาตรา 11 บัญญัติให้เพิ่ม มาตรา 226/1 ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กำหนดให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบได้ ถ้าพยานหลักฐานนนั้จะเป็นประโยชนต่อการอำนวยความยุตธิรรมมากกว่าผลเสียอันเกิดจากผลกระทบต่อมาตรฐานของระบบงานยุติธรรมทางอาญา และปรากฏว่า บทบัญญัตินี้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 จึงต้องนำมาใช้บังคับในการรับฟังพยานหลักฐานของจำเลยที่ 2 ดังนี้ เทปบันทึกเสียงรวมทั้งบันทึกการถอดเทปแม้จะได้มาโดยมิชอบ ศาลฎีกานำมารับฟังเป็นพยานหลักฐานตามมาตรา 226/1 ได้    
      หมายเหตุ  บรรทัดฐานจากฎีกานี้ คือ ศาลต้องไม่รับฟังพยานหลักฐานที่ได้มา “โดยมิชอบ” ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226 เสียก่อน หลังจากนั้น ศาลจึงจะใช้ “ดุลพินิจ” “รับฟัง” พยานหลักฐานที่ได้มา “โดยมิชอบ” นั้น หากเข้าเงื่อนไขที่มาตรา 226/1 บัญญัติไว้ แต่การที่ศาลจะใช้ “ดุลพินิจ” ดังกล่าวได้ ความต้องปรากฏแก่ศาลในเบื้องต้นว่า พยานหลักฐานนั้น (1) เป็นพยานหลักฐานที่ “เกิดขึ้นโดยชอบ” แต่ (2) “ได้มาเนื่องจากการกระทำโดยมิชอบ      ข้อสังเกต  หากเป็นพยานหลักฐานที่ “เกิดขึ้นโดยมิชอบ” ศาลจะใช้ดุลพินิจตามมาตรา 226/1 “รับฟัง” พยานหลักฐานนั้นไม่ได้เลย  
      ประเด็นก็คือ พยานหลักฐานอย่างใด จึงจะถือว่า “เกิดขึ้นโดยชอบ” หรือ “เกิดขึ้นโดยมิชอบ” ให้ดูข้อความต่อไปนี้  
       ศาลฎีกาได้วินิจฉัยเป็นบรรทัดฐานมาโดยตลอดว่า คำรับสารภาพของผู้ต้องหาในกรณี ดังต่อไปนี้ จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดของผู้ต้องหาไม่ได้ (ในคดีที่ผู้ต้องหานั้นถูกฟ้องเป็นจำเลย)       (1) พนักงานสอบสวนแนะนำผู้ต้องหาว่า “ถ้ารับเสียคงได้ร้ับความกรุณาจากศาล เพราะเรื่องนี้มี หลักฐาน” (ฎีกาที่ 218/2475) ถือว่าเป็นการ “จูงใจ” นั่นเอง        (2) พนักงานสอบสวน “ให้สัญญา” แก่ผู้ต้องหาว่าถ้ารับสารภาพจะไม่ฟ้อง ผู้ต้องหาจึงรับ สารภาพโดยหวังประโยชน์ว่าจะได้รับการกันตัวเป็นพยาน (ฎีกาที่ 1039/2482 และ 500/2474)        (3) พนักงานสอบสวน “ล่อลวง” โดยบอกผู้ต้องหาว่า มีพยานรู้เห็นขณะเกิดเหตุ ซึ่งความจริงไม่มีพยานเลย (ฎีกาที่ 598/2482) อย่างไรก็ตาม หากมีพยานรู้เห็นจริงๆ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการหลอกลวง จ าเลย (ฎีกาที่ 173/2476)        (4) หากผู้ต้องหาเข้าใจว่าถ้าตนไม่รับสารภาพตำรวจจะต้องจับกุมภริยาผู้ต้องหาและคนในบ้าน ทั้งหมด ถือว่าเป็นการรับสารภาพโดยมีเหตุจูงใจให้กลัวและบังคับให้กลัว ไม่อาจรับฟังได้ (ฎีกาที่ 473/2539) หรือพนักงานสอบสวนชี้แนะว่าหากผู้ต้องหารับสารภาพตำรวจจะปล่อยสามี (ซึ่งถูกจับคดี อื่น) ส่วนผู้ต้องหาเป็นผู้หญิงเมื่อคดีไปถึงศาลก็อาจถูกภาคทัณฑ์ปล่อยเพราะเป็นหญิง เช่นนี้ หาก ผู้ต้องหารับสารภาพคำรับสารภาพก็รับฟังไม่ได้ (เทียบฎีกาที่ 102/2474)       ข้อสังเกตประเด็น ก็คือ “คำรับสารภาพ” ซึ่ง “รับฟังไมได้” ตามบรรทัดฐานของฎีกาข้างต้น จะถือว่าเป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้น “โดยชอบ” หรือ “โดยมิชอบ”   
      ในการพิจารณาประเด็นนี้ ให้ดูรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 29  วรรคสี่ซึ่งบัญญัติว่า  
      ในคดีอาญา จะบังคับให้บุคคลให้การเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเองมิได้        บทบัญญัติคือหลักที่เรียกกันว่า Privilege against self - incrimination         ข้อสังเกต  ผู้ต้องหาตามฎีกาข้างต้น มิได้ให้การรับสารภาพโดยสมัครใจ แต่เป็นเพราะมีการ “จูงใจ” “ให้สัญญา” “หลอกลวง” ผู้ต้องหาจึงให้การรับสารภาพ ค ารับสารภาพจึง “รับฟังไมได้” ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226 ประกอบมาตรา 135 ข้อสังเกต หากศาลรับฟังคำรับสารภาพดังกล่าว ก็เท่ากับ เป็นการ “บังคับให้การเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง” ซึ่งต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ         ประเด็นก็คือ เมื่อ “รับฟังไม่ได้” ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 266 ศาลจะใช้ดุลพินิจ “รับฟัง” ตาม  ป.วิ.อ. มาตรา 226/1 ได้หรือไม่ 
       เห็นว่า ศาลไม่อาจใช้ดุลพินิจรับฟังคำรับสารภาพเหล่านี้ โดยอาศัย ป.วิ.อ. มาตรา 226/1 เพราะเป็นพยานหลักฐานที่ “เกิดขึ้นโดยมิชอบ” จึงไม่เข้าเงื่อนไขที่จะให้ศาลใช้ดุลพินิจรับฟังได้ตาม มาตรา 226/1 
       ข้อสังเกต หากศาลใช้ดุลพินิจรับฟังคำรับสารภาพเหล่านี้ (โดยอาศัยบทบัญญัติมาตรา 226/1) ก็จะขัดต่อบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 วรรคสี่ เพราะการรับฟังคำรับสารภาพที่ผู้ต้องหาให้การออกมาโดยไม่สมัครใจ เป็นการ “บังคับให้บุคคล (ผู้ต้องหา) ให้การเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง” นั่นเอง         ข้อสังเกต ถ้อยคำของผู้ต้องหาในกรณีใดซึ่งรับฟังไม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226 แต่ศาลอาจใช้ ดุลพินิจ “รับฟัง” ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/1       ในประเด็นนี้ เห็นว่า หากพนักงานสอบสวนทำการสอบสวน “ผู้ต้องหาเด็ก” โดยไม่ได้ฝ่าฝืน มาตรา 135 มีการแจ้งสิทธิครบถ้วนตาม มาตรา 134/4 ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพโดย “สมัครใจ” อย่างแท้จริง แต่พนักงานสอบสวนมิได้จัดให้มี “สหวิชาชีพ” “ร่วมอยู่ด้วย” อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 133 ทวิ ประกอบมาตรา 134/2 ซึ่งคำรับสารภาพของผู้ต้องหาเด็กนัั้น “รับฟังไม่ได้” ทั้งนี้ ตามที่มาตรา 134/4 วรรคสองได้บัญญัติไว้ (ประกอบกับมาตรา 226)  
     อย่างไรก็ตาม คำรับสารภาพในลักษณะเช่นนี้ น่าจะต้องถือว่าเป็น “พยานหลักฐานที่เกิดขึ้น โดยชอบ” (เพราะผู้ต้องหาให้การโดยสมัครใจ) แต่ “ได้มาเนื่องจากการกระทำโดยมิชอบ” (เพราะ พนักงานสอบสวนไม่จัดหาสหวิชาชีพร่วมอยู่ด้วยในการสอบสวน) ดังนั้น ศาลจึงอาจใช้ “ดุลพินิจ”  “รับฟัง” ได้ตามหลักเกณฑ์ของ ป.วิ.อ. มาตรา 226/1   
    Cr. : เกียรตขิจร  วัจนะสวสัดิ์ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...