5 ก.ค. 2562

เพลิงไหม้กองขยะ ... ลามไหม้ไร่อ้อย เทศบาลต้องชดใช้ !

คดีนี้เป็นคดีปกครองที่น่าสนใจสาหรับหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ตามกฎหมายในการดูแลรักษาความสะอาดและกาจัดขยะมูลฝอย แต่ละเลยต่อหน้าที่ไม่ควบคุมดูแลปล่อยให้มีการจุดไฟเผาขยะจนทาให้เกิด เพลิงไหม้แล้วลุกลามไปไหม้ไร่อ้อยของชาวบ้านได้รับความเสียหาย และได้นำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง
ข้อเท็จจริง คือ ผู้ฟ้องคดีปลูกอ้อยและต้นยูคาลิปตัส จานวน 18 ไร่ ซึ่งติดกับที่ทิ้งขยะของผู้ถูกฟ้องคดี (เทศบาลตำบล) ต่อมา วันที่ 29 พฤศจิกายน 2546 เวลาประมาณ 1 นาฬิกา เกิดเพลิงไหม้ไร่อ้อยเสียหายทั้งแปลง ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า เพลิงไหม้ไร่อ้อยต้นเพลิงมาจากกองขยะที่มีการจุดไฟเผาขยะในที่ทิ้งขยะโดยไม่มีการเฝ้าระวังและไม่ทำแนวกันไฟ จึงขอให้ศาลมีคาพิพากษาหรือคาสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหาย
ผู้ถูกฟ้องคดีโต้แย้งว่า ที่ทิ้งขยะเป็นบ่อลูกรังเก่ามีรั้วหนามกั้น มีถนนดินลูกรังขนานติดกับ รั้วลวดหนามเป็นแนวกันไฟ เวลาเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืนในฤดูหนาวอากาศชื้นน้ำค้างมาก เศษขยะมีความชื้นสูง ไม่น่าจะเป็นเชื้อเพลิงได้และใช้วิธีกำจัดขยะโดยวิธีฝังกลบ จึงไม่เกิดเพลิงไหม้จากที่ทิ้งขยะลามไปไหม้ไร่อ้อย ของผู้ฟ้องคดี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 วางหลักเกี่ยวกับการกระทาละเมิดว่า ผู้ใดจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด ผู้นั้นกระทำละเมิดจาต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น และพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 50 (3) กำหนดอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลว่า มีหน้าที่รักษาความสะอาดของถนนหรือทางเดินและที่สาธารณะรวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลในเขตเทศบาลตำบล
ดังนั้น การที่เกิดเพลิงไหม้ไร่อ้อยของผู้ฟ้องคดีถือเป็นการกระทำละเมิดอันเกิดจากการละเลย ต่อหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีหรือไม่ ? และผู้ถูกฟ้องคดีต้องชดใช้ค่าเสียหายเพียงใด ?
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ผู้ถูกฟ้องคดีมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการดูแลรักษา ความสะอาดและกาจัดขยะมูลฝอย ซึ่งอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตาบล เมื่อที่ทิ้งขยะของผู้ถูกฟ้องคดีมีรั้วลวดหนามกั้นระหว่างที่ดินของผู้ฟ้องคดีซึ่งปลูกอ้อยและต้นยูคาลิปตัส และจากภาพถ่ายสถานที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ ผู้ถูกฟ้องคดี ทิ้งขยะทั้งในพื้นต่ำลงไปในลักษณะคล้ายหลุมซึ่งน่าจะเป็นบ่อลูกรังเก่าและพื้นที่ราบกระจายไปจนใกล้กับแนวรั้วลวดหนาม หลังเกิดเหตุ 4 วัน มีการทิ้งขยะใหม่เพิ่มเติมลงไปบนกองขยะที่ถูกเพลิงไหม้ยังมีไฟคุกรุ่นอยู่ สามารถมองเห็นควันไฟลอยขึ้นมาชัดเจนและจากพยานหลักฐานต่างๆ เชื่อได้ว่า ก่อนเกิดเหตุเพลิงไหม้ ผู้ถูกฟ้องคดีไม่ได้ใช้วิธีการฝังกลบขยะและมิได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่คอยดูแลไม่ให้มีการเผาขยะในเวลากลางคืน อีกทั้งไม่จัดทำแนวกันไฟตลอดรั้วลวดหนาม ทั้งที่ผู้ถูกฟ้องคดีทราบว่าไร่อ้อยของผู้ฟ้องคดีมีเศษใบไม้แห้งที่เป็นเชื้อเพลิงได้ดีและเคยเกิดเหตุเพลิงไหม้มาแล้ว ก่อนหน้านี้ (แต่สามารถดับไฟได้ทัน) กรณีจึงเชื่อได้ว่า เพลิงไหม้มีสาเหตุมาจากการจุดไฟเผากองขยะในที่ทิ้งขยะ ของผู้ถูกฟ้องคดีแล้วลุกลามไหม้ไร่อ้อยของผู้ฟ้องคดี เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีมีหน้าที่ในการกาจัดขยะมูลฝอยแต่กลับละเลยต่อหน้าที่ไม่ควบคุมดูแล ปล่อยให้มีการจุดไฟเผาขยะในที่ทิ้งขยะหลายครั้ง จนกระทั่งทำให้เกิดเพลิงไหม้กองขยะแล้วลุกลามไปยังที่ดินข้างเคียง จนไร่อ้อยของผู้ฟ้องคดีถูกเพลิงไหม้เสียหายทั้งหมด จึงเป็นกรณีที่ผู้ถูกฟ้องคดีประมาทเลินเล่อทำให้ผู้ฟ้องคดี ได้รับความเสียหายเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีอันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกาหนด ให้ต้องปฏิบัติ ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 เมื่อไร่อ้อยของผู้ฟ้องคดีมีผลผลิตประมาณไร่ละ 12 ตัน ถึง 13 ตัน จึงกำหนดให้ผลผลิตอ้อยเท่ากับ 12.5 ตัน ต่อไร่ พื้นที่ปลูกอ้อยของผู้ฟ้องคดีมี 11 ไร่ 3 งาน ได้ผลผลิตอ้อยน้าหนักรวม 146.87 ตัน และจากเอกสาร ของบริษัท น. จากัด ในการคำนวณค่าเฉลี่ยการขายอ้อยให้กับโรงงานน้าตาลตันละ 405.85 บาท ซึ่งเป็นราคาขายอ้อยในขณะนั้นจึงเป็นราคาที่เหมาะสมตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามมาตรา 438 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ฟ้องคดีจึงควรได้รับชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจานวน 41,289.90 บาท (คาพิพากษา ศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 13/2555)
คดีนี้คงเป็นอุทาหรณ์ที่ดีสำหรับหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ ตามที่กฎหมายกำหนดว่าจะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเอาใจใส่ รอบคอบและระมัดระวัง มิให้เกิดความเสียหายขึ้น ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นกับทางราชการหรือกับประชาชนเพราะเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นจากการละเลย ต่อหน้าที่ ผู้ได้รับความเสียหายย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องศาลปกครองเรียกค่าเสียหายได้ครับ !
เครดิต : นายปกครอง, หนังสือพิมพ์บ้านเมือง คอลัมน์คดีปกครอง ฉบับวันเสาร์ที่ 7 เมษายน 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...