1 ก.ค. 2562

ต้องพ้นจากตาแหน่ง ! เพราะ “มีหนี้สินล้นพ้นตัว”

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง... เป็นแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงพระราชทานแก่ประชาชนชาวไทยมายาวนานกว่า 25 ปี ซึ่งประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันในการพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ซึ่งก็คือการดำรงตนด้วยความไม่ประมาท มีความสมเหตุสมผล โดยใช้สติและปัญญาควบคู่กับการมีความรู้และคุณธรรม อันถือเป็นแนวทางในการดาเนินชีวิตที่จะทาให้มีความสุขอย่างแท้จริงและยั่งยืน
ในทางตรงกันข้าม... หากเราขาดซึ่งความพอเพียง ก็จะเกิดความโลภและมีการเบียดเบียนกันได้ง่าย ย่อมส่งผลกระทบหรือก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น การมีหนี้สิน มากบ้าง...น้อยบ้าง... ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง มิให้หนี้สินดังกล่าวนั้นกลายเป็น “หนี้สินล้นพ้นตัว” เพราะอาจนำไปสู่การเป็นบุคคลล้มละลายได้ ในที่สุด
สำหรับสาระน่ารู้จากคดีปกครองที่จะคุยกัน เป็นเรื่องที่ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นกรรมการสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์และได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ด้วย ได้ถูกนายกเทศมนตรีในฐานะนายทะเบียนสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ประจาท้องที่เทศบาล สั่งให้พ้นจากตำแหน่งนายกสมาคมฯ เนื่องจากขาดคุณสมบัติเพราะเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว โดยได้ถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ทั้งนี้ตามระเบียบกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ว่าด้วยคุณสมบัติของกรรมการสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. 2542 ข้อ 3 (14) ที่กาหนดให้กรรมการสมาคมฯ จะต้องเป็นบุคคลที่ไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือเป็นบุคคลล้มละลาย
หลังจากได้รับคำสั่งดังกล่าว... ผู้ฟ้องคดีก็ยื่นอุทธรณ์ซึ่งต่อมาผู้ว่าราชการจังหวัดได้พิจารณาแล้ว ยกอุทธรณ์ ผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้ตนพ้นจากตำแหน่งนายกสมาคมฯ โดยโต้แย้งว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะ 1. ตนยังไม่ตกเป็นบุคคลล้มละลายเพราะศาลเพียงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเท่านั้น 2. ก่อนมีคำสั่งมิได้ให้โอกาสตนได้รับทราบข้อเท็จจริงและโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานตามมาตรา 30 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ซึ่งหากตนทราบว่าจะถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งก็จะได้ลาออกก่อนเพื่อที่จะมีสิทธิกลับมาสมัครได้อีก เพราะการถูกคำสั่งให้พ้นจากตาแหน่งถือเป็นคุณสมบัติต้องห้ามสาหรับการสมัครเป็นกรรมการสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์
เรื่องนี้... ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยให้ความชัดเจนแก่ผู้ฟ้องคดีดังนี้
ประเด็นแรก การที่ศาลล้มละลายมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ทำให้ผู้ฟ้องคดีขาดคุณสมบัติการเป็นกรรมการสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์และต้องพ้นจากตาแหน่งนายกสมาคมฯ หรือไม่
ศาลเห็นว่า การมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดดังกล่าวศาลล้มละลายได้วินิจฉัยแล้วว่าผู้ฟ้องคดีมีหนี้สินล้นพ้นตัวเพราะมีทรัพย์สินไม่พอกับหนี้สินและไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชาระหนี้ได้ จึงฟังได้ว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว อันเป็นคุณสมบัติต้องห้ามที่ระเบียบในเรื่องดังกล่าวข้างต้นได้กาหนดไว้ชัดเจน โดยไม่จำต้องถึงขนาดตกเป็นบุคคลล้มละลายแต่อย่างใด
ประเด็นที่สอง คำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากตำแหน่งนายกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ ต้องให้โอกาสผู้ฟ้องคดีรับทราบข้อเท็จจริงและโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานหรือไม่
ศาลเห็นว่าแม้มาตรา 30 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ จะกำหนดให้คำสั่งที่อาจกระทบสิทธิต้องให้โอกาสผู้รับคำสั่งได้รับทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานของตนก่อนที่จะมีคำสั่งก็ตาม แต่กฎหมายดังกล่าวก็มีข้อยกเว้นอยู่ในวรรคสอง (6) โดยกรณีที่มีกฎกระทรวงกาหนดเป็นข้อยกเว้นไว้ก็ไม่จำต้องให้สิทธิในการโต้แย้งดังกล่าวได้ ซึ่งกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2540) ฯ ได้กาหนดลักษณะคำสั่งที่ไม่ต้องให้สิทธิดังกล่าว เช่น การบรรจุ การแต่งตั้ง การเลื่อนขั้นเงินเดือน การสั่งพักงาน หรือสั่งให้ออกจากงานไว้ก่อน รวมถึงการสั่งให้พ้นจากตำแหน่งด้วย กรณีของผู้ฟ้องคดีจึงเข้าข้อยกเว้นของกฎหมายที่ไม่ต้องให้โอกาสโต้แย้งตามมาตรา 30 วรรคหนึ่งข้างต้น นอกจากนี้แม้ผู้ฟ้องคดีจะขอลาออกก่อนที่จะถูกคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง ผู้ฟ้องคดีก็ยังคงไม่มีสิทธิสมัครในตำแหน่งที่พิพาทได้อีก เพราะยังคงขาดคุณสมบัติในข้อที่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของศาลล้มละลายนั่นเองค่ะ (คาพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 1085/2559)
เรื่องนี้จึงได้ข้อสรุปที่ว่า... การที่ศาลล้มละลายมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดถือได้ว่าบุคคลนั้นเป็นผู้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว ย่อมขาดคุณสมบัติการเป็นกรรมการและนายกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์โดยไม่ต้องรอให้ศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย และคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่งนายกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ตามมาตรา 46 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. 2545 เป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และเป็นคาสั่งประเภทที่เข้าข้อยกเว้นไม่จำต้องให้สิทธิโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานก่อนที่จะมีคำสั่งทั้งนี้ซึ่งแม้จะมีผลกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี (ผู้ฟ้องคดี) กฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2540) ฯ ดังกล่าวก็บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 30 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ เพื่อเป็นการผ่อนคลายภาระของเจ้าหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตาม ในกรณีที่เห็นว่าไม่จาเป็นหรือไม่สมควรต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว ทานองเดียวกับกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งให้กรรมการการเลือกตั้งพ้นจากตาแหน่งในคดีหมายเลขแดงที่ อ. 250/2549 และกรณีนายกเทศมนตรีมีคำสั่งถอดถอนเลขานุการนายกเทศมนตรีให้พ้นจากตาแหน่งเนื่องจากหมดความไว้วางใจซึ่งมิใช่การลงโทษจึงไม่จำต้องให้โอกาสโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 1593/2559 อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่มีโอกาสโต้แย้งในชั้นการออกคาสั่งแต่ผู้รับคำสั่งก็สามารถใช้สิทธิตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายในการออกคาสั่งได้ ถ้าตนไม่เห็นด้วยกับคาสั่งด้วยการนาคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองนั่นเอง
เครดิต : ธัญธร ปังประเสริฐ , พนักงานคดีปกครองชานาญการพิเศษ, สานักวิจัยและวิชาการ สานักงานศาลปกครอง, หนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์ คอลัมน์ “ก้าวสู่สังคมธรรมาภิบาลกับศาลปกครอง”
***********************
(หมายเหตุ : กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง คือ พ.ร.บ. ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 14, พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา 30, พ.ร.บ. การฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. 2545 มาตรา 20 มาตรา 21 มาตรา 46, กฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2540) ออกตามความใน พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 วรรคสอง, ระเบียบกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ว่าด้วยคุณสมบัติของกรรมการสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. 2545 ข้อ 3)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...