5 ก.ค. 2562

เห็นชอบมอบรอง...ก็ต้องรับผิดตามหน้าที่

1. ในระบบการทำงานไม่ว่าจะเป็นภาคราชการหน่วยงานของรัฐหรือภาคเอกชนก็ตาม ก็จะมีระบบผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นแกนหลัก เพื่อจะทำงานร่วมกันผลักดันภารกิจที่อยู่ในความรับผิดชอบให้สำเร็จโดยมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

2. โดยเฉพาะในภาคราชการและหน่วยงานของรัฐ จะมีการกำหนดฐานะและอำนาจหน้าที่ไว้ในกฎหมายไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวงก็ตาม ยกตัวอย่างที่ชัดเจนคือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ก็จะแบ่งระเบียบบริหารราชการออกเป็น 3 ส่วนคือ ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค และระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น (มาตรา 4)
3. ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง (มาตรา 7) จัดแบ่งออกเป็น (1)สำนักนายกรัฐมนตรี (2)กระทรวงหรือทบวงที่มีฐานะเทียบเท่ากระทรวง (3)ทบวงซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง (4)กรม
4. ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค (มาตรา 51) จัดแบ่งออกเป็น (1)จังหวัด (2)อำเภอ
5. ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น (มาตรา 70) จัดแบ่งออกเป็น (1)องค์การบริหารส่วนจังหวัด (2)เทศบาล (3)สุขาภิบาล (ยกเลิกแล้ว) (4)ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายกำหนด เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา
6. ในแต่ละส่วนราชการจะกำหนดตำแหน่งที่ทำหน้าที่หัวหน้าส่วนราชการซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาและมีอำนาจหน้าที่ต่างๆ กันไป เช่น นายกรัฐมนตรี (มาตรา 10) ปลัดกระทรวง (มาตรา 21) อธิบดี (มาตรา 32) และ ผู้ว่าราชการจังหวัด(มาตรา 54)
7. ในการปฏิบัติหน้าที่ของหัวหน้าส่วนราชการตามข้อ 6 ข้างต้น สามารถมอบหมายให้รองหัวหน้าส่วนราชการปฏิบัติราชการแทนได้ ตามมาตรา 38 ถึงมาตรา 40 แต่อย่างไรก็ดี ผู้มอบอำนาจก็ยังต้องกำกับดูแลและติดตามผลการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งมีอำนาจแนะนำหรือแก้ไขการปฏิบัติของผู้รับมอบอำนาจได้ด้วย (มาตรา 40 วรรคสอง)
8. ประเด็นการมอบอำนาจปฏิบัติราชการแทนนี้ มิได้หมายความว่าผู้มอบอำนาจลงไปไม่ต้องรับผิดชอบในเรื่องนั้นแล้วนะครับ...เห็นชอบมอบรอง..ตรงนี้เรามีแนวคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดที่ อ.316/2551 มาฝากครับ
9. คำพิพากษาฉบับนี้วางหลักการไว้โดยสรุปว่า ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติงานให้ถูกต้องและไม่ให้เกิดความเสียหาย หากปล่อยปละละเลยไม่ตรวจสอบ ควบคุมการปฏิบัติงานอย่างเพียงพอจนเป็นเหตุให้เกิดการทุจริตเบียดบังเงินราชการ หากการกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง ก็ย่อมเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงด้วย และขณะเดียวกันในการปฏิบัติงานก็ต้องพิจารณาสั่งการด้วยความละเอียดรอบคอบ จะอ้างว่ากระทำผิดเพราะหลงเชื่อตามที่เจ้าหน้าที่เสนอเพื่อแก้ตัวให้พ้นผิดไม่ได้ แต่โทษที่จะลงอาจแตกต่างกันไปตามข้อเท็จจริงและความร้ายแรงแห่งการกระทำของแต่ละคน (คำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดที่ อ.209/2551)
10...เห็นชอบมอบรอง...เห็นด้วย ผู้ช่วยทำ..จำไว้..
โดย...ปฏิรูป , หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- อาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม 2559 00:00:14 น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...