5 ก.ค. 2562

โปรดส่งที่กั้น...มาให้ฉันที ! (ตอนที่ 2)

ต่อเนื่องจากตอนที่ 1 ... ในคดีที่ผู้ฟ้ องคดียื่นฟ้ององค์การบริหารส่วนตำบล ก ต่อศาลปกครองว่าละเลยต่อหน้าที่ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และละเลยไม่ดำเนินการซ่อมแซมสะพานที่ขาดชำรุด เป็นเหตุให้รถยนต์ของผู้ฟ้องคดีตกลงไปในแม่น้ำได้รับความเสียหาย โดยศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยแล้วว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิฟ้ องคดีต่อศาลปกครอง
คราวนี้... เรามาดูคำวินิจฉัยของศาลในส่วนที่เกี่ยวกับเนื้อหาของคดีกันบ้างว่า ผู้ถูกฟ้องคดีได้กระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีโดยการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือไม่ ?
โดยที่ มาตรา 420 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติไว้ว่า ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหาย ถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิด จำต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
คดีนี้ ผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องคดีต่อศาลว่า ผู้ถูกฟ้องคดีซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมายในการจัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบกรวมทั้งป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ละเลยต่อหน้าที่เป็นเหตุให้รถยนต์ของผู้ฟ้องคดีซึ่งขับโดยนายนิวบุตรเขยต้องพลัดตกลงไปในแม่น้ำซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีได้ให้การโต้แย้งว่าหลังจากที่สะพานขาดชำรุด ผู้ถูกฟ้องคดีก็ได้จัดทำป้ายเตือนมีข้อความว่า “อันตรายสะพานขาด” ซึ่งเป็ นป้ายขนาดใหญ่ ติดตั้งไว้บริเวณปากทางเข้าห่างจากสะพานที่เกิดเหตุ 2-3 กม. ส่วนนายจิ๋วซึ่งนั่งรถมากับนายนิวได้ให้การว่า เมื่อนายนิวขับรถไปถึงสามแยกเพื่อเลี้ยวขวาซึ่งเป็นบริเวณก่อนถึงจุดเกิดเหตุประมาณ 2 กม. บริเวณดังกล่าวไม่มีแสงสว่างจากไฟฟ้า นายจิ๋วมองเห็นท่อซีเมนต์ขนาดใหญ่วางตั้งอยู่บนถนนด้านริมซ้าย 1 ท่อ และด้านริมขวา 1 ท่อ ส่วนตรงกลางเป็นช่องว่างรถยนต์ขับผ่านเข้าไปได้ โดยไม่พบป้ายเตือนแต่อย่างใด กระทั่งขับต่อไปจนใกล้ถึงตัวสะพานก็ยังไม่พบป้ายสัญญาณจราจรเตือนภัยใดๆ นายนิวจึงขับรถขึ้นไปบนสะพานแล้วพลัดตกลงไปในแม่น้ำดังกล่าว
กรณีนี้ ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า... นับแต่วันที่สะพานชำรุดเสียหาย พบว่ามีผู้ประสบอุบัติเหตุเพียงรายเดียวคือนายนิว กรณีจึงเชื่อได้ว่าขณะเกิดเหตุมีป้ายเตือนสะพานขาดบริเวณปากทางเข้าจริง แต่น่าจะมีเพียงป้ ายเดียว และตามที่ผู้ถูกฟ้องคดีอุทธรณ์ต่อศาลว่ามีป้ายเตือนบริเวณใกล้ถึงสะพานอีกป้ายหนึ่งด้วยนั้น เป็นไปได้ว่าหลังจากที่เกิดเหตุแล้วผู้ถูกฟ้องคดีได้จัดทำป้ายเตือนก่อนถึงสะพานขึ้นอีกป้ายหนึ่ง ซึ่งไม่ว่าผู้ถูกฟ้องคดีจะได้ทำป้ายเตือนที่มีความแข็งแรงสักกี่ป้ายก็ตาม แต่การที่ผู้ถูกฟ้องคดีละเลยมิได้ดำเนินการปิดกั้นทางบริเวณก่อนถึงสะพานที่เกิดเหตุเพื่อป้องกันมิให้มีการสัญจรผ่านไปถึงสะพานได้นั้น ถือได้ว่าเป็นการดำเนินการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่ยังไม่พอสมควรแก่เหตุ นอกจากนั้น นับแต่วันที่เกิดเหตุ ผู้ถูกฟ้องคดีก็มิได้รีบดำเนินการเพื่อขอรับงบประมาณหรือเร่งรัดให้มีการซ่อมแซมสะพานดังกล่าวแต่อย่างใด กรณีจึงถือได้ว่าผู้ถูกฟ้องคดีได้กระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีโดยการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ และต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดี
มาดูกันต่อว่า... ผู้ถูกฟ้องคดีจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดีเพียงใด ? และมีหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าเสียหายอย่างไรบ้าง...โดยที่มาตรา 442 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติว่า ถ้าความเสียหายได้เกิดขึ้นเพราะความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดของผู้เสียหายประกอบด้วยไซร้ ท่านให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา 223 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งมาตรา 223 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้ว่า ถ้าฝ่ายผู้เสียหายได้มีส่วนทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหายด้วยไซร้ ท่านว่าหนี้อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดนั้นต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญก็คือว่าความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ถูกฟ้ องคดีได้ทำป้ายเตือนขนาดใหญ่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนว่า “อันตรายสะพานขาด” โดยนำไปวางขวางปากทางเข้า ซึ่งหากนายนิวมีความระมัดระวังในการขับรถตามสมควร ย่อมต้องสังเกตเห็นป้ ายดังกล่าว อุบัติเหตุที่เกิดขึน้ จึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของนายนิวรวมอยู่ด้วย แต่การที่มีป้ายเตือนติดตั้งไว้ที่ปากทางเข้าซึ่งห่างจากสะพานที่เกิดเหตุประมาณ 2-3 กม. เพียงป้ายเดียว แสดงถึงความไม่ใส่ใจที่จะป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้กับประชาชนทั่วไป ส่วนข้ออ้างของผู้ถูกฟ้องคดีที่ว่านายนิวเมาสุราขณะเกิดเหตุนั้น จากการไต่สวนของศาลไม่มีผู้ใดยืนยันว่านายนิวเมาสุราจริงเมื่อไม่ปรากฏพยานหลักฐานที่ยืนยันได้ว่านายนิวเมาสุราขณะเกิดเหตุจริง ความเสียหายที่เกิดขึ้นในกรณีนี้จึงมีผลมาจากการละเลยต่อหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีมากกว่าความประมาทเลินเล่อของนายนิว ศาลปกครองสูงสุดจึงพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้ องคดีชดใช้ค่าซ่อมรถยนต์ให้แก่ผู้ฟ้ องคดีเป็ นเงินร้อยละ 80 ของราคาค่าซ่อมรถยนต์ แต่ไม่เกิน 250,000 บาท รวมทัง้ ให้ชดใช้ค่าเสียหายที่ผู้ฟ้ องคดีไม่อาจใช้ประโยชน์จากรถยนต์ที่พิพาทตัง้ แต่วันเกิดเหตุจนถึงวันฟ้องคดีเป็นเงิน 40,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย กับให้ชดใช้ต่อไปอีกเดือนละ 8,000 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องคดีจนกว่าผู้ถูกฟ้องคดีจะชำระค่าซ่อมรถแล้วเสร็จ และคืนค่าธรรมเนียมศาลตามส่วนของการชนะคดีให้แก่ผู้ฟ้องคดี (คดีหมายเลขแดงที่ อ.33/2554)
จากคำพิพากษาดังกล่าว จะเห็นว่าศาลได้ให้ความสำคัญในเรื่องของความเอาใจใส่ในการป้องกันอันตรายของหน่วยงานผู้มีหน้าที่ ซึ่งกรณีนี้หากผู้ถูกฟ้องคดีทำที่กั้นหรือเครื่องกีดขวางทางเข้าเพื่อไม่ให้รถผ่านขึ้นไปบนสะพานได้ เหตุการณ์เช่นนี้ก็จะไม่เกิดขึ้น ... ปัจจุบันยังมีจุดที่ล่อแหลมต่อการเกิดอันตรายอยู่หลายจุดหลายกรณี ทั้งในต่างจังหวัดหรือแม้แต่ในกรุงเทพมหานคร ผมจึงอยากขอวิงวอนผู้มีหน้าที่ อย่าคิดเพียงว่าเหตุเกิดไม่บ่อยหรือยังไม่มีงบประมาณ เพราะชีวิตคนแม้เพียงคนเดียวที่ต้องสูญเสียไป ก็ประมาณค่ามิได้นะครับ ! ว่าแล้ว...ก็ขอลาด้วยบทเพลงที่แสนบาดใจ เจอกันใหม่คราวหน้าคร๊าบ... “โปรดส่งที่กัน้ มาให้ฉันที...อยู่อย่างนีมั้นอันตรายเกินไป...”
เครดิต : ครองธรรม ธรรมรัฐ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...