2 ก.ค. 2562

ละทิ้งหน้าที่ราชการเกินกว่า ๑๕ วัน ... ต้องให้โอกาส “คู่กรณี” ชี้แจง ?

ข้าราชการต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ทางราชการ โดยคํำนึงถึงผลประโยชน์ของราชการเป็นสำคัญ กฎหมายว่าด้วยวินัยของข้าราชการพลเรือนรวมทั้งกฎหมายหรือระเบียบเกี่ยวกับวินััยของข้าราชการประเภทอื่น จึงบัญญัติให้พฤติการณ์ที่ถือว่า ผิดวินัยอย่างร้ายแรงไว้ทำนองเดียวกัน อาทิ เช่น การละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่า ๑๕ วััน โดยไม่มีเหตุอันสมควร เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง และถือว่า เป็นความผิดที่ปรากฏโดยชัดแจ้ง เมื่อกรณีดังกล่าวเป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง ก่อนที่ผู้มีอํำนาจจะออกคํำสั่งลงโทษทางวินััยอย่างร้ายแรง เช่น ปลดออก หรือไล่ออก จะต้องให้โอกาสคู่กรณีได้ทราบข้อเท็จจริงและโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานเพื่อต่อสู้แก้ข้อกล่าวหาตามบทบัญญัติ มาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติวิธิีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ หรือไม่   
        คดีที่จะนำเป็นอุทาหรณ์ในคอลัมน์ระเบียบกฎหมายฉบับนี้ เป็นข้อพิพาทกรณีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลมีคําสั่งไล่พนักงานส่วนตำบลออกจากราชการ เนื่องจากละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเกินกว่า ๑๕ วััน โดยบทบััญญัติ ข้อ ๑๓ ข้อ ๒๓ วรรค ๗ และข้อ ๓๑ (๒) ของประกาศคณะกรรมการพนักงานส่วนตํำบล เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดํำเนินการทางวินัยว่า การละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวัน เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงและเป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง ซ่ึ่งประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตํำบล (ปัจจุบันคือ นายกองค์การบริหารส่วนตํำบล) จะดํำเนินการทางวินัยโดยไม่ต้องสอบสวน หรืองดการสอบสวนก็ได้ เมื่อได้ ดํำเนินการสืบสวนแล้วเห็นว่า ไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ และหากเห็นว่า พนักงานส่วนตํำบลกระทํำผิดวินัยอย่างร้ายแรงสมควรลงโทษปลดออกหรือไล่ออกจากราชการ ให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลและส่งเรื่องให้คณะอนุกรรมการพิจารณาดำเนินการทางวินัยและการให้ออกจากราชการพิจารณาทํำความเห็น และให้นายกองค์การบริหารส่วนตํำบลสั่งความเห็นของคณะกรรมการพนักงานส่วนตํำบล   
       ประเด็นปัญหาในเบื้องต้นคือ บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้ํกำหนดวิธีดํำเนินการสืบสวนไว้ ฝ่ายปกครอง จะมีีิวิธีดํำเนินการอย่างไร ? 
      ศาลปกครองสูงสุดวินิิจฉัยประเด็นนี้ว่า แม้ข้อกฎหมายดังกล่าว จะมิได้กำหนดวิธีดํำเนินการสืบสวน แต่ก็ชอบที่จะต้องดํำเนินการอย่างใดอย่างหน่ึ่งเพื่อที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงและเหตุในการละทิ้งหน้าที่ราชการ โดยหากไม่อาจติดตามตัวผู้ถูกกล่าวหาได้ก็จะต้องสืบสวนโดยสอบถามจากผู้บังคับบัญชาระดับต้น เพื่อนร่วมงาน รวมไปถึงญาติ หรือผู้ใกล้ชิดกับผููู้ถกกล่าวหา และหากต่อมา ก่อนที่จะมีคํำสั่ง ผูููู้ถูกกล่าวหาปรากฏตัวก็ชอบที่จะให้โอกาสผููู้ถูกกล่าวหาไดชี้แจง แสดงพยานหลักฐานเพื่อต่อสู้แก้ข้อกล่าวหาเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา ๓๐ ประกอบมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติวิธิีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙  
       คดีนีี้ มีข้อเท็จจริงว่า เดิมองค์การบริหารส่วนตํำบลได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง ผู้ฟ้องคดี ๔ ข้อกล่าวหา กรณีที่ ๑ มีพฤติการณ์ส่อเจตนาทุจริตและมีพฤติการณ์อันน่าเช่ือว่าปกปิดข้อเท็จจริงในการปฏิบัติราชการ กรณีท่ี ๒ ปฏิบัติหน้าที่โดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบของราชการ กรณีที่ ๓ ขัดคํำสั่งหรือหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคํำสั่งของผู้บังคัับบัญชาที่สั่งการในหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย กรณีที่ ๔ ละทิ้งหน้าที่ราชการ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรทำใหเ้กิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง โดยหยุดงาน ๓ ครั้ง รวม ๑๓ วัน โดยไม่เคยขออนุญาตผู้บังคับบัญชาและไม่เคยส่งใบลา ผููู้ถูกฟ้องคดี (นายกองค์การบริหารส่วนตํำบล) โดยคณะกรรมการสอบสวนได้แจ้งแบบ สว. ๒ และ สว. ๓ ให้แก่ผู้ฟ้องคดีทางไปรษณีย์ ต่อมา ปลัดองคก์ารบริหารส่วนตํำบลมีหนังสือถึงผููุ้ถูกฟ้องคดี ว่า  ผู้ฟ้องคดีละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร ตั้งแต่วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ ถึง วันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๔๖ รวม ๑๕๔ วัน โดยไม่ยื่นใบลาหรือแจ้งเหตุที่ไม่มาปฏิบัติราชการ ซ่ึงผููู้ถูกฟ้องคดีมีความเห็นท้ายหนงัสือว่า เป็นกรณีความผิดปรากฏชัดแจ้ง งดการสอบสวน โดยได้ดำเนินการสืบสวนแล้วเห็นควรลงโทษไล่ออกจากราชการ ต่อมา ผู้ถูกฟ้องคดีได้มีคํำสั่งลงโทษไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ เนื่องจากกระทําผิดวินัยฐานละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกิน ๑๕ วัน โดยไม่มีเหตุอันสมควรตามมติของคณะกรรมการพนักงานส่วนตําบล ผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์คํำสั่งดังกล่าว แต่ถูกยกอุทธรณ์ จึงนํำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง ขอให้มีคาํพิพากษาหรือคํำสั่งเพิกถอน คํำสั่งลงโทษไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ 
       ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า เมื่อการดาํเนินการทางวินัยแก่ผู้ฟ้องคดีก่อนออกคํำสั่งลงโทษไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ ฐานละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่า ๑๕ วัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ผูู้ถูกฟ้องคดีจะอ้างว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวผู้ฟ้องคดีไม่ได้มาปฏิบัติงานจึงไม่อาจพบตัวผู้ฟ้องคดี อันจะสามารถให้โอกาสผู้ฟ้องคดีได้โต้แย้งแสดงพยานหลักฐานได้ก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่า ผูููู้ถูกฟ้องคดีได้ดํำเนินการสืบสวน หาข้อเท็จจริงจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผูฟ้้องคดีว่า ผู้ฟ้องคดีมีเหตุอันควร หรือมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการหรือไม่ รับฟังเพียงหนังสือของปลัดองค์การบริหารส่วนตํำบล ซ่ึงระบุว่าผู้ฟ้องคดี ไม่มาปฏิบัติงานโดยไม่ส่งใบลาหรือไม่แจ้งเหตุที่ไม่มาปฏิบััติราชการ กรณีจึงไม่เป็นไปตามเงื่อนไขในการสอบสวน การลงโทษทางวิินัยการให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ ข้อ ๓๑ (๒) ประกอบกับผู้ฟ้องคดีโต้แย้งว่า ภายหลังที่หายจากอาการป่วยตามใบรับรองแพทยท์ี่ให้หยุดพักถึงวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๔๖ ผู้ฟ้องคดีได้กลับมาปฏิบัติราชการปกติ แต่ถูกขัดขวางไม่ให้ยื่นใบลาและลงเวลาปฏิบัติราชการ โดยได้ร้ับแจ้งจากผูู้ถูกฟ้องคดีว่า ถูกสั่งพักราชการ จึงถือว่า ผู้ฟ้องคดีมีข้อโต้แย้งในเรื่องที่ถูกกล่าวหา แต่ไม่ปรากฏว่า ผูู้ถูกฟ้องคดีได้ให้โอกาสผู้ฟ้องคดีโต้แย้ง และแสดงพยานหลักฐานของตนก่อนออกคํำสั่ง การกระทํำของผููู้ถกฟ้องคดี จึงไม่เป็นไปตามขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการพนักงานส่วนตํำบล เรื่อง หลัฏเกณฑ์และเงื่อนไขในการสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ ข้อ ๓๑ (๒) และมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙  ดังนั้น คาํสั่งลงโทษผู้ไล่ออกจากราชการ จึงเป็นคาํสั่งที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและคํำวินิจฉัยยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน (คาํพิพากษา ศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๑๗๔/๒๕๖๐) 
        แม้ข้อพิพาทในคํำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่นํามาเป็นตัวอย่าง จะเป็นการดําเนินการทางวินัย ตามประกาศคณะกรรมการพนักงานส่วนตํำบล เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ ซ่ึ่งไม่ได้นํำมาบังคับใช้กับการดํำเนินการทางวินัยกํานันผูใ้หญ่บ้านก็ตาม  แต่ข้อ ๓๑ (๒) ของระเบียบดังกล่าวมีบทบัญญัติของกฎหมายที่สอดคล้องกับ กฎ ก.พ.ว่าดว้ยการดํำเนินการทางวินัย  ขอ้ ๖๕ (๑) ซ่ึงมีสาระสาํคัญว่า การละทิ้งหนา้ที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่า ๑๕ วนั โดยไม่มีเหตุผล อันสมควร เป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง ผู้บังคับบัญชาใช้ดุลพินิจดํำเนินการทางวินัยโดยไม่ต้องสอบสวนหรืองดสอบสวนก็ได้ โดยได้ดํำเนินการสืบสวนแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจ ไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ คํำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดคดีนี้ จึงสามารถนำมาเป็นแนวบรรทัดฐานการปฏิบัติราชการที่ดีเกี่ยวกับวิธิีการสืบสวนความผิดวินัยฐานละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่า ๑๕ วัน ซ่ึ่งเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงและเป็นความผิดปรากฏชัดแจ้งว่า แม้การดําเนินการทางวินัยตามฐานความผิดนี้ กฎหมายจะมีข้อยกเว้น ให้ผู้บังคับบัญชามีอาํนาจใช้ดุลพินิจไม่ดํำเนินการสอบสวนหรืองดสอบสวนก็ตาม แต่คํำสั่งลงโทษทางวินัย เป็นคํำสั่งที่มีผลกระทบต่อสิทธิของข้าราชการผู้จะถูกลงโทษ  ดังนั้น การสืบสวนเพื่อให้ได้ความจริงว่า การละทิ้งหน้าที่ราชการดังกล่าว มีเหตุผลอันสมควร หรือมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการหรือไม่ จะต้องให้โอกาสผูู้ถูกกล่าวหาได้ชี้แจงและแสดงพยานหลักฐานเพื่อแก้ข้อกล่าวหาตามมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ซ่ึงเป็นขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญในการสืบสวน หากผูบ้ังคบับัญชามิได้ดํำเนินการดังกล่าวก่อนที่จะมีคำำสั่งลงโทษทางวินัยย่อมมีผลทํำให้คํำสั่งลงโทษทางวินัย ซ่ึ่งเป็นคํำสั่งทางปกครองไม่ชอบดว้ยกฎหมาย และอาจจะส่งผลใหม้ีการเพิกถอนคาํสั่งลงโทษทางวินัยต่อไป เครดิต : นางสาวนิตา  บุณยรัตน์ , พนักงานคดีปกครองชํำนาญการ สํำนักวิจัยและวิชาการ   , คอลัมน์ระเบียบกฎหมาย วารสารกํานันผู้ใหญ่บ้าน ฉบับเดือนกันยายน ๒๕๖๐

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...