1 ส.ค. 2554

มองต่างมุมกับกฎหมาย ป.ป.ช.

                 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550  กำหนดว่า  รัฐจะต้องให้ความเป็นอิสระและส่งเสริมให้ อปท.เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำบริการสาธารณะและมีความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบาย การจัดบริการสาธารณะ การบริหารงานบุคคล การเงินและการคลัง  แต่ครั้นเมื่อสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้เข้าตรวจสอบการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วได้ชี้มูลความผิดว่า ผู้บริหารและพนักงานส่วนท้องถิ่น ปฏิบัติหน้าที่ราชการไม่เป็นไปตาม ระเบียบข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือของกระทรวงมหาดไทย หรือหนังสือกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นการกระทำผิดวินัย อาญา และให้คืนเงิน
ต่อมา ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด  ผู้บังคับบัญชาต้องพิจารณาโทษทันที  มีสิทธิอุทธรณ์ได้แต่ดุลพินิจในการลงโทษเท่านั้น   ทั้งนี้ตาม มาตรา 93 และ 96 แห่ง พรบ.ป.ป.ช.  
               แต่ครั้นเมื่อนายกฯ ออกคำสั่งลงโทษพนักงานท้องถิ่นโดยความเห็นชอบของผู้กำกับดูแล    กลับอ้างมาตรา 15 แห่ง พรบ.บริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ประกอบกับประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัด เรื่องการดำเนินการทางวินัย มาเป็นเหตุผลในการออกคำสั่ง
                 ดังนั้น พนักงานท้องถิ่นอาจใช้สิทธิฟ้อง นายกฯ ในฐานะผู้บังคับบัญชา และผู้ว่าราชการจังหวัด  คณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัด อนุกรรมการพิจารณาวินัย อนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ในฐานะผู้กำกับดูแล ฟ้องเป็นคดีต่อศาล ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
คดีอาญา     คลิ๊กได้ที่ http://www.mediafire.com/?qepi15rtpjjim
คดีปกครอง คลิ๊กได้ที่ http://www.mediafire.com/?281fibqd1vnwt52

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...