รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๖๑ ได้คุ้มครอง ส่งเสริม ขยายสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ลดการผูกขาดอำนาจรัฐเพิ่มอำนาจประชาชน ให้การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรม และจริยธรรม มีองค์กรตรวจสอบมีความอิสระ เข้มแข็ง และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ แต่เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารและพนักงานส่วนท้องถิ่นเกี่ยวข้องกับอำนาจ หน้าที่ สิทธิขั้นพื้นฐานของบุคล การใช้อำนาจต้องมีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้ ต้องเป็นไปตามรูปแบบขั้นตอนวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นสำคัญ
6 ก.ค. 2559
สัญญาจ้างให้ทำหน้าที่ “รปภ.” แต่สั่งให้ปฏิบัติหน้าที่อื่น ... ไม่ได้ครับ !
คดีปกครองที่นำมาเล่าในฉบับนี้ เป็นกรณีที่หน่วยงานของรัฐ (ผู้ว่าจ้าง) ได้ทำสัญญาจ้างพนักงานในตำแหน่งยาม แต่ในระหว่างสัญญาได้มีคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่พนักงานประจำรถเก็บขยะ แต่พนักงานดังกล่าวไม่ไปปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่ง ยังคงปฏิบัติหน้าที่เป็นยามตามปกติ ต่อมา เทศบาลตำบลได้มีคำสั่งงดจ่ายค่าตอบแทนและมีหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างก่อนครบ กำหนดสัญญา โดยอ้างว่าการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และเป็นการไม่ปฏิบัติตามสัญญาจึงบอกเลิกสัญญาจ้าง คดีนี้พนักงานจ้างที่ถูกบอกเลิกสัญญาในตำแหน่งยาม อ้างว่ามีหน้าที่ต้องคอยตรวจตราดูแลความเรียบร้อยความปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพย์สินของประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบล การที่ไม่ไปปฏิบัติหน้าที่พนักงานประจำรถเก็บขยะ จึงไม่เป็นการกระทำผิดตามสัญญาจ้าง หลังจากอุทธรณ์คำสั่งแล้ว จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองขอให้มีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งให้เทศบาลตำบลชดใช้ ค่าเสียหายให้ผู้ฟ้องคดี
เทศบาลตำบลมีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติหน้าที่พนักงานประจำรถ เก็บขยะ หรือไม่ ! และการบอกเลิกสัญญาจ้างชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ !
ถ้าเอกสารแนบท้ายสัญญาจ้างกำหนดว่า ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ เทศบาลตำบลอาจมีคำสั่งมอบหมายงานให้พนักงานจ้างปฏิบัติงานเป็นพิเศษนอกเหนือ จากขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบที่กำหนดไว้ได้ และพนักงานจ้างยินยอมปฏิบัติตามคำสั่งของเทศบาลตำบล และข้อ 7 (5) ของสัญญาจ้าง กำหนดว่ากรณีพนักงานจ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่งที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายมีผล ให้สัญญาจ้างสิ้นสุดลง
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดี (เทศบาลตำบล) จะมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดี ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตำแหน่งยามไปปฏิบัติหน้าที่เป็นอย่างอื่นหรือตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายเพื่อประโยชน์ของทางราชการโดยไม่ต้องแก้ไขสัญญา และถือว่าผู้ฟ้องคดียินยอมปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีนั้น จะต้องเป็นคำสั่งมอบหมายงานให้ปฏิบัติเป็นพิเศษที่ไม่นอกเหนือจากขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบตามสัญญาจ้างเท่านั้น เมื่อคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่มอบหมายให้ผู้ฟ้องคดีปฏิบัติหน้าที่อื่นนอกเหนือหน้าที่ยาม โดยให้ผู้ฟ้องคดีรับผิดชอบงานรักษาความสะอาดประจำรถเก็บขยะในกองสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม จึงเป็นคำสั่งมอบหมายงานให้ผู้ฟ้องคดีปฏิบัติเป็นพิเศษนอกเหนือจากขอบเขต หน้าที่ความรับผิดชอบที่กำหนดไว้ตามเอกสารแนบท้ายสัญญาจ้างซึ่งเป็นส่วน หนึ่งของสัญญาจ้าง กล่าวคือเป็นงานนอกเหนือขอบเขตของงานรักษาความปลอดภัยของสำนักงาน รวมทั้งในบริเวณเขตของผู้ถูกฟ้องคดี เมื่องานรักษาความสะอาดประจำรถเก็บขยะเป็นงานนอกเหนือขอบเขตความรับผิดชอบ ที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้าง จึงไม่อาจถือได้ว่าผู้ฟ้องคดียินยอมปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดี และผู้ฟ้องคดีไม่จำต้องปฏิบัติหน้าที่เป็นพนักงานประจำรถเก็บขยะตามคำสั่ง ของผู้ถูกฟ้องคดี การที่ผู้ฟ้องคดีปฏิบัติหน้าที่ยามต่อไป จึงไม่เป็นการประพฤติผิดสัญญาจ้าง ดังนั้น การบอกเลิกสัญญาจ้างจึงไม่ชอบด้วยสัญญาจ้าง ประกอบกับผู้ถูกฟ้องคดีบอกเลิกสัญญาจ้างโดยมิได้เสนอเหตุผลความจำเป็นและ ประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดพิจารณาให้ ความเห็นชอบก่อนที่จะบอกเลิกสัญญาจ้าง ผู้ถูกฟ้องคดีจึงต้องชำระเงินค่าตอบแทนการออกจากงาน โดยไม่มีความผิดเป็นจำนวนสามเท่าของอัตราค่าตอบแทนที่ผู้ฟ้องคดีได้รับอยู่ก่อนวันออกจากงานให้แก่ผู้ฟ้องคดี (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 145/2558)
คดีนี้ถือเป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติราชการที่ดี กรณีที่หน่วยงานของรัฐได้ทำสัญญาจ้างพนักงานเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา ซึ่งหากหน่วยงานของรัฐ (ผู้ว่าจ้าง) จะมีคำสั่งให้พนักงานจ้างตามสัญญาปฏิบัติงานพิเศษอื่น ๆ จะต้องเป็นงานที่อยู่ภายในขอบเขตของงานตามสัญญาจ้าง และหากสัญญาจ้างกำหนดให้สิทธิแก่คู่สัญญาฝ่ายรัฐ (ผู้ว่าจ้าง) สามารถมีคำสั่งมอบหมายงานพิเศษนอกเหนือจากสัญญาจ้างได้ จะต้องเป็นกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการและได้รับความยินยอมจาก พนักงานจ้างซึ่งเป็นคู่สัญญาด้วย ... ครับ !
เครดิต : นายปกครอง (หนังสือพิมพ์บ้านเมือง คอลัมน์คดีปกครอง ฉบับวันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม 2558)
เครดิตภาพ : http://www.professional-one.com/ส...
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !
คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...
-
ในการสั่งให้ไปช่วยปฏิบัติราชการของพนักงานส่วนท้องถิ่น ผู้บังคับบัญชาซึ่งหมายถึง นายกองค์การบริหารส่วนตําบล นายกเทศมนตรีหรือนายกองค์การบ...
-
1. การดำเนินการขององค์กรปกครองส่ว นท้องถิ่น 1.1 กรณี สตง. แจ้งผลการตรวจสอบโดยไม่มีข้อสัง เกต - องค์กรปกค...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น