6 ก.ค. 2559

นายก ! อนุมัติโดยไม่ตรวจสอบราคากลาง ... ต้องรับผิด ?

               
             
 คดีปกครองที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังฉบับนี้ เป็นกรณีที่เทศบาลมีคำสั่งให้นายกเทศมนตรีชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เนื่องจากให้ความเห็นชอบประมาณการราคาก่อสร้างและอนุมัติตามที่ปลัดเทศบาล เสนอ โดยไม่มีการตรวจสอบราคากลางตามที่คณะกรรมการกำหนดราคากลางเสนอ ทำให้หน่วยงานของรัฐได้รับความเสียหาย 

               ข้อเท็จจริงในคดีนี้เกิดจากการตรวจพบของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 3 ว่า คณะกรรมการกำหนดราคากลางไม่ได้ใช้ราคาวัสดุของสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ในขณะที่จัดซื้อจัดจ้าง ทำให้ราคาวัสดุโครงการก่อสร้างมีราคาสูงกว่าปกติ เป็นเหตุให้เทศบาลต้องจ่ายค่าก่อสร้างตามสัญญาสูงขึ้น ผู้ฟ้องคดีในขณะนั้นดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรี จึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด และต่อมากระทรวงการคลัง โดยกรมบัญชีกลางมีความเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีซึ่งมีหน้าที่ให้ความเห็นชอบราคากลางเพื่อนำไปประกวดราคา มิได้ตรวจสอบความถูกต้องของราคากลางตามที่คณะกรรมการกำหนดราคากลางดำเนินการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนด จึงให้รับผิดร้อยละ 10 ของค่าเสียหาย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 (นายกเทศมนตรี (คนใหม่)) จึงมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย 

               ผู้ฟ้องคดีได้อุทธรณ์คำสั่ง แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 (ผู้ว่าราชการจังหวัด) ยกอุทธรณ์ ผู้ฟ้องคดีจึงฟ้องต่อศาลปกครองขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว โดยโต้แย้งว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้บริหารเทศบาลนครมีหน้าที่กำหนดนโยบายให้ข้าราชการประจำ ปฏิบัติให้เป็นตามนโยบาย ไม่มีหน้าที่จะต้องตรวจสอบรายละเอียดการปฏิบัติงานของข้าราชการประจำ เพราะมีปลัดเทศบาลซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานเทศบาลและลูกจ้างเทศบาลและ รับผิดชอบควบคุมดูแลราชการประจำของเทศบาลให้เป็นไปตามนโยบายและมีอำนาจ หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดหรือที่นายกเทศมนตรีมอบหมาย ผู้ฟ้องคดีจึงเชื่อโดยสุจริตว่าการกำหนดราคากลางเป็นไปตามระเบียบที่กฎหมาย กำหนดไว้ครบถ้วนแล้ว ทั้งผู้ฟ้องคดีก็มิได้เป็นผู้ที่มีหน้าที่โดยตรงในการที่จะต้องลงไปดูราย ละเอียดในการกำหนดราคากลาง ประกอบกับเป็นเทศบาลนครใหญ่ผู้ฟ้องคดีจึงมีภารกิจในงานที่จะต้องบริหาร ตามนโยบายที่กำหนดไว้เป็นจำนวนมาก ผู้ฟ้องคดีได้ใช้ความระมัดระวังในฐานะนายกเทศมนตรีตามวิญญูชนพึงกระทำแล้ว จึงไม่เป็นการกระทำด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง และไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 

               คำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีชดใช้ค่าสินไหมทดแทนชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ? 

               ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ผู้ฟ้องคดีในฐานะผู้บังคับบัญชาปลัดเทศบาลมีหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบในการ บริหารกิจการของเทศบาลและเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานเทศบาลและลูกจ้างเทศบาล ตามมาตรา 48 เตรส และมาตรา 48 สัตตรส แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 (ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเทศบาล(ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2543) ในการกำหนดราคากลาง ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคากลาง โดยเมื่อคณะกรรมการกำหนดราคากลางแล้วจะต้องเสนอผู้ฟ้องคดีอนุมัติก่อน จึงจะถือเป็นการจ้างได้ ผู้ฟ้องคดีจึงมีหน้าที่ควบคุมและตรวจสอบคณะกรรมการกำหนดราคากลาง ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาให้ทำการกำหนดราคากลางโดยถูกต้องตามกฎหมาย ประกอบกับสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีหนังสือแจ้งเวียนการกำหนดราคากลางให้ ใช้ข้อมูลในการถอดแบบคำนวณราคากลางเป็นมาตรฐานเดียวกันตามราคาวัสดุที่ กระทรวงพาณิชย์กำหนด ดังนั้น คณะกรรมการกำหนดราคากลางที่ผู้ฟ้องคดีแต่งตั้งจึงต้องปฏิบัติตามมติคณะ รัฐมนตรีตามหนังสือเวียนฉบับดังกล่าวภายใต้การควบคุมตรวจสอบโดยผู้ฟ้ องคดีในขณะนั้น การที่ผู้ฟ้ องคดีลงนามอนุมัติโดยละเลยไม่ตรวจสอบความเป็นมาของจำนวนเงินที่ประมาณการ เป็นราคากลางว่าถูกต้องตามหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางที่กฎระเบียบทางราชการ กำหนดไว้หรือไม่ ทำให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้รับความเสียหาย ต้องจ่ายค่าจ้างก่อสร้างในราคาที่สูงกว่าปกติ กรณีจึงถือได้ว่าผู้ฟ้องคดีกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ตามมาตรา 420 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งหากผู้ฟ้ องคดีได้ใช้ความระมัดระวังในฐานะผู้มีอำนาจอนุมัติเพียงเล็กน้อย ก็อาจป้องกันมิให้เกิดความเสียหายได้ หรือหากมีข้อสงสัยในราคากลาง ก็ชอบที่จะซักถามคณะกรรมการกำหนดราคากลาง แต่ผู้ฟ้องคดีก็หาได้ทำไม่ ความเสียหายส่วนหนึ่งจึงเกิดจากการกระทำด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ของผู้ฟ้องคดี (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 843/2557) 

               คดีนี้ไม่เพียงจะเป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติราชการที่ดีให้กับเทศบาลซึ่งนายก เทศมนตรีมีหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบในการบริการกิจการของเทศบาล รวมทั้งเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานเทศบาลและลูกจ้างเทศบาลและมีอำนาจ อนุมัติให้ดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ในกิจการของเทศบาลเท่านั้น แต่ยังทำให้หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่นมีแนวทางในการปฏิบัติ ราชการตามอำนาจหน้าที่โดยจะต้องใช้ความระมัดระวังตรวจสอบกฎ ระเบียบ หรือแนวปฏิบัติ รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรีหรือข้อสั่งการต่าง ๆ ของราชการและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อให้การใช้อำนาจเป็นไปอย่างถูกต้องและป้องกันมิให้เกิดความเสียหายกับราชการ ครับ ! 


               เครดิต : นายปกครอง (หนังสือพิมพ์บ้านเมือง คอลัมน์คดีปกครอง ฉบับวันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม 2558) 

               เครดิตภาพ : http://www.insurancethai.net/liabil...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...