โดย "การอุทธรณ์" ถือเป็นเงื่อนไขการฟ้องคดีที่สำคัญประการหนึ่งที่ผู้ฟ้องคดีจะต้องดำเนินการ ก่อนฟ้องคดีปกครองเพื่อขอให้ศาลปกครองมีคำ พิพากษาหรือคำสั่งให้เพิกถอน "คำสั่งทางปกครอง" ที่ตนเห็นว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องเพิกถอนประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเข้ารับ ราชการ เนื่องจากเห็นว่าเป็นประกาศที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะตนเองไม่มีชื่อเป็นผู้สอบแข่งขันเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจได้ กรณีดังกล่าวผู้ฟ้องคดีจะต้อง "อุทธรณ์" ต่อหน่วยงานทางปกครองผู้ออกประกาศก่อนฟ้องคดีต่อศาลปกครองหรือไม่
คดีนี้หลังจากที่ผู้ถูกฟ้องคดี (ผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้) ได้มีประกาศศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ประกาศรายชื่อผู้ได้รับ การคัดเลือกและผู้ได้รับการคัดเลือกสำรองเพื่อบรรจุเป็นนายสิบตำรวจ ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นหนังสือสองฉบับต่อผู้ถูกฟ้องคดี คือ ฉบับแรก หนังสือลงวันที่ 26 ตุลาคม 2555 เพื่อขอทราบเหตุผลที่ไม่ผ่านการคัดเลือก ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีมีหนังสือลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2555 ชี้แจงว่า ผู้ฟ้องคดีไม่ผ่านการทดสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งในขั้นตอนการตรวจสอบ คุณสมบัติ ประวัติและความประพฤติ โดยศาลได้มีคำพิพากษาว่าผู้ฟ้องคดีมีความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออก ฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 (ยาอัลปราโซแลม จำนวน 4 เม็ด)
หลังจากได้รับคำชี้แจง ผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2555 โดยเห็นว่าผู้ถูกฟ้องคดีใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบและไม่ให้โอกาสผู้ฟ้องคดีได้ ชี้แจงแสดงพยานหลักฐานเพื่อหักล้างข้อกล่าวหา จึงขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เพิกถอนประกาศดังกล่าวเฉพาะในส่วนที่ ไม่มีรายชื่อผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ผ่านการคัดเลือก
ฉบับที่สอง หนังสือลงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2555 โดยยื่นอุทธรณ์คำสั่ง เนื่องจากไม่แน่ใจว่าหนังสือชี้แจงเหตุผลของผู้ถูกฟ้องคดีนั้น เป็นหนังสือแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์หรือไม่ โดยเจ้าหน้าที่ได้รับเรื่องไว้เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2555
คดีนี้มีประเด็นที่น่าสนใจ คือ ประกาศศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการ คัดเลือกและผู้ได้รับการคัดเลือกสำรองเพื่อบรรจุเป็นนายสิบตำรวจเป็นคำสั่ง ทางปกครองหรือไม่ ซึ่งหากเป็นคำสั่งทางปกครองจะต้องอุทธรณ์ก่อนฟ้องคดีต่อศาลปกครองตามพระราช บัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ซึ่งเป็นกฎหมายกลาง ในกรณีไม่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาในการอุทธรณ์โต้แย้งไว้โดยเฉพาะ ซึ่งประเด็นนี้ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ประกาศดังกล่าวเป็นการแจ้งผลการสอบหรือการวัดผลความรู้หรือความสามารถของ บุคคล จึงเป็น "คำสั่งทางปกครอง" ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539
จึงมีประเด็นที่น่าสนใจต่อไปว่าการที่ผู้ฟ้องคดีมีหนังสือสองฉบับดัง กล่าว ถือว่าได้อุทธรณ์โต้แย้งประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเข้ารับราชการก่อน ฟ้องคดีแล้วหรือไม่?
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า หนังสือฉบับลงวันที่ 26 ตุลาคม 2555 เป็นเพียงการยื่นคำขอเพื่อขอทราบเหตุผลที่ผู้ฟ้องคดีไม่ผ่านการคัดเลือกตาม ที่ประกาศที่พิพาทได้กำหนดไว้ให้ผู้สมัครสอบที่ประสงค์จะตรวจสอบผลการคัด เลือกให้ยื่นคำขอ เพื่อขอทราบผลการสอบภายใน 7 วัน นับแต่วันประกาศผลสอบเท่านั้น จึงไม่อาจถือเป็นการยื่นอุทธรณ์แต่อย่างใด แม้ผู้ถูกฟ้องคดีได้มีหนังสือลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2555 ชี้แจงเหตุผลที่ผู้ฟ้องคดีไม่มีชื่อปรากฏเป็นผู้ได้รับการคัดเลือก ก็ไม่อาจถือเป็นการแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ให้ผู้ฟ้องคดีทราบเช่นเดียวกัน
ส่วนหนังสือลงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2555 ถือเป็นการอุทธรณ์ แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีได้รับหนังสือ อุทธรณ์ไว้ภายหลังจากที่ผู้ฟ้องคดีได้นำคดีมายื่นฟ้องต่อศาลเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2555 กรณีนี้จึงถือว่าผู้ฟ้องคดียังมิได้ดำเนินการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหาย ก่อนนำคดีมาฟ้องต่อศาลตามมาตรา 42 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 และแม้หลังจากที่มีการฟ้องคดีแล้วผู้ถูกฟ้องคดีจะได้มีหนังสือแจ้งว่าไม่ เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ และได้รายงานความเห็นพร้อมเหตุผลไปยังผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเพื่อพิจารณา คำอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีแล้ว ผลการพิจารณาอุทธรณ์เป็นประการใดจะแจ้งให้ทราบต่อไปก็ตาม กรณีก็ไม่มีผลทำให้คำฟ้องของผู้ฟ้องคดีชอบด้วยเงื่อนไขแห่งการฟ้องคดีแต่ อย่างใด จึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 113/2557) คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดได้วางหลักการสำคัญเกี่ยวกับการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 ว่า กรณีการฟ้องเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง ผู้ฟ้องคดีจะต้องยื่นคำอุทธรณ์เพื่อโต้แย้งคำสั่งทางปกครองนั้นภายในฝ่าย ปกครองให้เสร็จสิ้นก่อนฟ้องคดี เพราะเป็นเงื่อนไขสำคัญของการฟ้องคดีปกครอง ซึ่งหากไม่ดำเนินการศาลปกครองมีอำนาจไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาและสั่งจำหน่าย คดีออกจากสารบบความ ดังเช่นคดีนี้ ซึ่งประกาศศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ประกาศรายชื่อผู้ได้รับ การคัดเลือกและผู้ได้รับการคัดเลือกสำรองเพื่อบรรจุเป็นนายสิบตำรวจ มีลักษณะเป็นการแจ้งผลการสอบหรือการวัดผลความรู้ หรือความสามารถของบุคคล ถือเป็น "คำสั่งทางปกครอง" จึงต้องอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองเสียก่อนที่จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง ครับ!
เครดิต : นายปกครอง หนังสือพิมพ์บ้านเมือง -- เสาร์ที่ 2 มกราคม 2559 00:00:02 น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น