6 ก.ค. 2559

การใช้ดุลพินิจออกคำสั่งย้ายพนักงานตามสัญญาจ้าง


         
     การบริหารงานบุคคลในระบบราชการ แม้ผู้บังคับบัญชาจะมีอำนาจดุลพินิจออกคำสั่งให้ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างปฏิบัติหน้าที่อย่างหนึ่งอย่างใด หรือออกคำสั่งย้ายให้บุคคลดังกล่าว ไปปฏิบัติงานในตำแหน่งอื่นได้ นอกจากผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจออกคำสั่งดังกล่าวต้องคำนึงถึงประโยชน์ของ ทางราชการและการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้อำนาจยังต้องตั้งอยู่บนความเป็นธรรมในการบริหารงานบุคคลตามระบบ คุณธรรม อย่างไรก็ตาม หลายๆ ครั้งที่การออกคำสั่งสั่งย้ายทำให้เกิดเป็นข้อพิพาทเข้าสู่การพิจารณาของศาล ปกครอง อันเนื่องมาจากผู้มีอำนาจใช้ดุลพินิจ โดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ของทางราชการ หรือใช้อำนาจโดยไม่เหมาะสมทำให้ผู้ถูกสั่งย้ายเข้าใจว่าเป็นการ ถูกลงโทษ ถูกกลั่นแกล้ง ดังเช่นกรณีตามคาพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 478/2555 

               คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดได้นำหลักดุลพินิจ (Discretionary Power) มาวินิจฉัยซึ่งหลักนี้มีความหมายว่า หน่วยงานฝ่ายปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถเลือกตัดสินใจอย่างอิสระว่า จะเลือกกระทำการใดหรือไม่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กฎหมายกำหนด จากความหมายข้างต้น บ่อยครั้งอาจทำให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจสั่งย้ายเข้าใจว่ามีอิสระที่จะ ตัดสินใจอย่างไม่มีขอบเขต ซึ่งหาเป็นเช่นนั้นไม่ เนื่องจากการใช้อำนาจดุลพินิจจะต้องใช้อย่างเหมาะสมกับข้อเท็จจริง ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย และคำนึงถึงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้รับคำสั่งและประโยชน์ของราชการ ด้วย 

               ข้อเท็จจริงในคดีนี้มีว่า ตามสัญญาจ้างพนักงานจ้างระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดี ระบุว่าผู้ฟ้องคดีมีหน้าที่รับผิดชอบขับรถยนต์ บำรุงรักษาความสะอาดรถยนต์ โดยกำหนดเริ่มทำงานวันที่ 16 ตุลาคม 2547 และสิ้นสุดสัญญาจ้างวันที่ 30 กันยายน 2548 ซึ่งต่อมา ผู้ถูกฟ้องคดีได้มีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีย้ายไปปฏิบัติงานเป็นคนงานประจำรถขยะ ผู้ฟ้องคดีรับคำสั่งดังกล่าววันที่ 22 เมษายน 2548 และไปรายงานตัวต่อผู้บังคับบัญชา แต่หลังจากนั้นผู้ฟ้องคดีก็ไม่ไปปฏิบัติงานจนสิ้นสุดระยะเวลาตามสัญญาจ้าง 

               ผู้ถูกฟ้องคดีอ้างว่า แม้ในสัญญาจ้างจะระบุจ้างผู้ฟ้องคดีตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ แต่ตามข้อ 3 วรรคสองของสัญญากำหนดว่า ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ เทศบาลอาจมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงระยะเวลามาปฏิบัติหน้าที่ หรือมีคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่เป็นอย่างอื่นได้โดยไม่ต้องแก้ไขสัญญา ทั้งตามเอกสารแนบท้ายสัญญาจ้างยังระบุถึงหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงาน ที่ปฏิบัติของพนักงานจ้างว่า ให้ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย ดังนั้น การมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติหน้าที่เป็นคนงานประจารถขยะ จึงเป็นการออกคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติหน้าที่อื่น ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีมีอำนาจออกคำสั่ง และเป็นคำสั่งที่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างพนักงานจ้างข้อ 3 และเอกสารแนบท้ายสัญญาจ้าง

               การออกคำสั่งย้ายผู้ฟ้องคดีจากตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ไปปฏิบัติงานเป็นคนงานประจำรถเก็บขยะเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ? 

               ประเด็นนี้ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า แม้ว่าผู้ถูกฟ้องคดีมีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดี ไปปฏิบัติงานนอกเหนือจากเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญาจ้างได้ แต่การออกคำสั่งย้ายผู้ฟ้องคดีจากตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ไปปฏิบัติงาน ตำแหน่งคนงานประจำรถขยะเป็นคำสั่งที่ไม่เหมาะกับลักษณะการปฏิบัติงานของ พนักงานจ้างตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ คำสั่งดังกล่าวจึงไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะรับฟังได้ เนื่องจากการกระทำหรืองดเว้นกระทำการของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องเหมาะสมกับข้อเท็จจริงและสภาวการณ์ในแต่ละกรณี การดำเนินการดังกล่าวจึงต้องอยู่ภายใต้หลักความชอบด้วยกฎหมาย และการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่จะต้องเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย มิใช่จะใช้ดุลพินิจ ตามอาเภอใจอย่างไรก็ได้ อีกทั้งต้องใช้ดุลพินิจด้วยความระมัดระวังรอบคอบเพื่อมิให้เกิดความเสียหายต่อราชการหรือบุคคลอื่น ประกอบกับการออกคำสั่งดังกล่าวไม่มีเหตุผลหรือความจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่ง ราชการ และยังทำให้ผู้ถูกฟ้องคดีต้องขาดอัตราจ้างพนักงานขับรถยนต์ ขณะเดียวกันก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่ยืนยันว่าผู้ถูกฟ้องคดีมีความจำเป็น หรือเหตุผลที่ต้องเพิ่มคนงานประจารถขยะแต่ประการใด ดังนั้น คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย 

               เมื่อคำสั่งย้ายผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติงานตำแหน่งคนงานประจำรถเก็บขยะไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย จึงต้องพิจารณาว่า ผู้ถูกฟ้องคดีต้องจ่ายเงินเดือนตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน 2548 ให้แก่ผู้ฟ้องคดีหรือไม่ เพียงใด 

               ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า การที่ผู้ฟ้องคดีทราบคำสั่งแต่ไม่มาปฏิบัติงานจนสิ้นสุดสัญญาจ้างถือเป็นการ ขาดราชการ แต่เมื่อคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำสั่งดังกล่าวย่อมทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดี ซึ่งหากไม่มีคำสั่งย้ายผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีย่อมมีสิทธิปฏิบัติตามสัญญาจ้างจนครบกำหนดระยะเวลาและได้รับค่า จ้าง ดังนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีจึงต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดี 

               ส่วนจะชำระค่าสินไหมทดแทนให้ผู้ฟ้องคดีเพียงใดต้องอาศัยพฤติการณ์ว่า ความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันตามมาตรา 223 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นเพราะผู้ถูกฟ้องคดีเป็นผู้ก่อมากกว่าผู้ฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดีจึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวนเงินเท่ากับกึ่งหนึ่งที่ผู้ ฟ้องคดีควรได้รับ 

               คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดคดีนี้ เป็นบรรทัดฐานการปฏิบัติราชการที่ดีเกี่ยวกับ การบริหารงานบุคคลในระบบราชการ ซึ่งในปัจจุบันมีรูปแบบการจ้างงานหลากหลายลักษณะมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพนักงานหรือลูกจ้างตามสัญญา แม้ว่าสัญญาจ้างจะกำหนดว่า ในกรณีจำเป็นให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอานาจสามารถสั่งย้ายพนักงาน หรือลูกจ้างให้ไปปฏิบัติงานหน้าที่อื่นนอกเหนือจากขอบเขตหน้าที่ ความรับผิดชอบที่กำหนดไว้ในสัญญาได้ ก็มิใช่หมายความว่าผู้บังคับบัญชาจะใช้ดุลพินิจพิจารณาออกคาสั่งย้ายได้ อย่างอิสระ แต่ต้องคำนึงถึงขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบตามข้อตกลงในสัญญาและเงื่อนไข การจ้างเป็นสาคัญ นอกจากนี้ ในการใช้อำนาจก็จะต้องใช้ดุลพินิจอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับข้อเท็จจริง อย่างสมเหตุสมผล และอยู่ภายใต้ความชอบธรรมตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อมิให้เกิดความเสียหายต่อราชการหรือผู้รับคำสั่งนั้น 


               เครดิต นางสาวนิตา บุณยรัตน์ พนักงานคดีปกครองชานาญการ กลุ่มเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการและวารสาร สานักวิจัยและวิชาการ สานักงานศาลปกครอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ... จ่ายตามฐานะไม่ได้ !

คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยพิบัติจากฝนตกหนักและลมพัดแรงทำให้หลังคาบ้านเ...